khonsurin

"พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ชัยชนะของพระพุทธเจ้าอันเป็นมงคล

Rate this Entry

+++++++++++++++++++++++
"พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ชัยชนะของพระพุทธเจ้าอันเป็นมงคล
+++++++++++++++++++++++






"พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา"
ชัยชนะของพระพุทธเจ้าอันเป็นมงคล





[music]http://audio.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=2180[/music]




"พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา"
ชัยชนะของพระพุทธเจ้าอันเป็นมงคล



เป็นบทสวดมนต์ที่ไพเราะและมีความหมายมาก
โดยเฉพาะในการเอาชนะศัตรูซึ่งครอบคลุมกว้างขวาง


บทสวดมีอยู่ ๘ บท มีความหมาย แตกต่างกันทั้งแปดบท



บทที่ ๑
สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ


บทที่ ๒
สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์


บทที่ ๓

สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้


บทที่ ๔
สำหรับเอาชนะโจร


บทที่ ๕
สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ


บทที่ ๖
สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ


บทที่ ๗
สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย


บทที่ ๘
สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน



เราจะเห็นได้ว่า ของดีวิเศษอยู่ในนี้
และถ้าพูดถึงการที่จะเอาชนะหรือ
การแสวงหาความมีชัย
ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร
นอกเหนือไปจาก ๘ ประการที่กล่าวข้างต้น


การที่จะนำเอาตัวคาถาบทสวดมนต์
และคำแปลมาจำให้ขึ้นใจ

จะต้องทำความเข้าใจคำอธิบายบทต่างๆ ไว้พอสมควรก่อน
เพราะความในคาถาเองเข้าใจยาก
ถึงจะแปลออกมาก็ยังเข้าใจยากอยู่นั่นเอง
เมื่อเราไม่เข้าใจ เราอาจจะไม่เกิดความเลื่อมใส
จึงควรจะหาทางทำความเข้าใจกันให้แจ่มแจ้งไว้ก่อน



ในบทที่ ๑.
เป็นเรื่องผจญมาร
ซึ่งมีเรื่องว่าพระยามารยกพลใหญ่หลวงมา
พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถเอาชนะได้
จึงถือเป็นบทสำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก
เช่น ในการสู้รบ


คำแปล
- พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน
ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างชื่อ ครีเมขละ
พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้อง
มาองค์พระจอมมุนีก็เอาชนะมาร ได้
ด้วยทานบารมีด้วยเดชะอันนี้
ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา




ในบทที่ ๒.
เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ
เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลังยิ่งกว่าพระยามาร
พยายามมาใช้กำลังทำร้ายพระองค์อยู่จนตลอดรุ่ง
ก็ทรงทรมานยักษ์ตนนี้ให้พ่ายแพ้ไปได้
จึงถือเป็นบทที่ ใช้เอาชนะปฏิปักษ์หรือคู่ต่อสู้


คำแปล
- อาฬะวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง
มีฤทธิ์ใหญ่ยิ่งกว่าพระยามารเข้ามา
ประทุษร้ายอยู่ตลอดรุ่ง
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้
ด้วยขันติบารมี ด้วยเดชะอันนี้
ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา



ในบทที่ ๓.
มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า
ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสารที่กำลังตกมัน
ชื่อนาฬาคีรีเพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า
แต่เมื่อช้างมาถึงก็ไม่ทำร้าย
จึงถือเป็นบทที่เอาชนะสัตว์ร้าย


คำแปล
- ช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี เป็นช้างเมามัน
โหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า
มีกำลังเหมือนจักราวุธ และสายฟ้า
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้
ด้วยพระเมตตาบารมีด้วยเดชะอันนี้
ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา



ในบทที่ ๔.
เป็นเรื่องขององคุลีมาล
ซึ่งเรารู้กันแพร่หลาย
คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่า
ถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือ มาร้อยเป็นสร้อยคอ
ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่
องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ ๙๙๙
เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน
ก็มาพบพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะ
ถึงกับองคุลีมาลเลิกเป็นโจรและยอมเข้ามาบวช
กลายเป็นสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่ง
จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะโจรผู้ร้าย


คำแปล
- โจร ชื่อ องคุลีมาล
มีฝีมือเก่งกล้า ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์
ไปตลอดทาง ๓ โยชน์
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้
ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์
ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา



ในบทที่ ๕.
หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้าย
พระพุทธเจ้าโดยเอาไม้กลมๆ
ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวป่าวข่าว
ให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กับพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ
ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่
าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้
จึงถือเป็นบทที่เอาชนะคดีความ
หรือการกล่าวร้ายใส่โทษ


คำแปล
- นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง
ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์
เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบ
ระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน
ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา




ในบทที่ ๖.
เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า
ทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์
ซึ่งเป็นคนเจ้าโวหาร
เข้ามาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า
จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะ
ในการโต้ตอบ


คำแปล
- สัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์
ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูง
ประหนึ่งว่ายกธงเป็นผู้มืดมัวเมา
องค์พระจอมมุนี ก็เอาชนะได้
ด้วยรู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาด้วยเดชะอันนี้
ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา



ในบทที่ ๗.
เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า
ให้พระโมคคัลลาน์ อัครมหาสาวกไปต่อสู้
เอาชนะพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ
ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้มากหลาย
จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย


คำแปล
- องค์พระจอมมุนี ได้โปรดให้พระโมคคัลลาน์เถระ
นิรมิตกายเป็นนาคราช
ไปทรมานพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ
ผู้มีฤทธิ์มากให้พ่ายแพ้
ด้วยวิธีอันเป็นอุปเท่ห์แห่ง ฤทธิ์ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา


ในบทที่ ๘. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า
ทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้า
สำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด
แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหม
ยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ
และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า
จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน


คำแปล
- พรหม ผู้มีนามว่า ท้าวผกา มีฤทธิ์
และสำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์
มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่างแน่นแฟ้น
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะ
ได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ
ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา




นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


๑. พุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน
สุคะโต โลกะวิทูอนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ
สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ


๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ


๓. สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ
ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ



พาหุง สะหัส
สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคลานิฯ


มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

อุกขิตตะขัคคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ


กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฎฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ


สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธีนา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ


ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทะพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ



* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)




+++++++++++++++++++++++++




ขอบคุณ
เว็บไซด์พลังจิต





Submit ""พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ชัยชนะของพระพุทธเจ้าอันเป็นมงคล" to แชร์ไปที่ Facebook Submit ""พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ชัยชนะของพระพุทธเจ้าอันเป็นมงคล" to แชร์ไปที่ Twitter Submit ""พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ชัยชนะของพระพุทธเจ้าอันเป็นมงคล" to แชร์ไปที่ Printerest

Updated 23-12-2011 at 12:25 by khonsurin

Categories
Uncategorized

Comments

  1. สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    ครับก็เป็นส่วนหนึ่งของพระมงคลคาถาที่ชาวไทยเรานิยมนำมาสวดบ่อยๆมาก.อีกอย่างการสวดพุทธคุณคาถานั้นเป็นการสวดสรรเสริยพระบารมีของพระพุทธองค์หลังจากเอาชนะหรือมีชัยของพระพุทธเจ้า

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: