มักน้องสาวหมู่

ถนอมดวงตายุคดิจิตอล

Rate this Entry


ถนอมดวงตายุคดิจิตอล

"ดวงตา" เป็นอวัยวะที่สำคัญมากและมีอยู่คู่เดียว เมื่อเกิดความเสื่อมแล้วก็ยากจะรักษาให้กลับมาเป็นปกติ แต่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามและละเลยการดูแลสุขภาพดวงตาอย่างจริงจัง ทำให้ตัวเลขผู้มีปัญหาทางด้านสายตามีจำนวนสูงมากจนน่าวิตก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ พบว่าคนยุคใหม่มักใช้เวลาอยู่หน้าจอเฉลี่ยวันละ 10 ชั่วโมง

นพ.วสุ ศุภกรธนสาร อาจารย์ประจำภาควิชาจักษุวิทยา หน่วยต้อหิน คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล ระบุว่า ปัจจุบันจอมอนิเตอร์ต่างๆ เป็นจอแบบแอลซีดี หรือจอแอลอีดี ซึ่งจอเหล่านี้ให้ความสว่างที่มากกว่าแต่ก่อนมาก การใช้หรือจ้องเป็นเวลานานๆ และบ่อยครั้งอาจทำให้เกิดอาการทางตา เช่น อาการมึนศีรษะ, ปวดเมื่อยตา, กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า และเกิดอาการตาแห้ง อาการเหล่านี้ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพดวงตาในระยะยาว

ดังนั้นเราควรดูแลสุขภาพดวงตาตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการ ปรับท่าทางในการใช้งาน ควรก้มศีรษะและคอเล็กน้อย หากเราก้มมากเกินไปและอยู่ในท่านั้นเป็นเวลานาน ๆ อาจก่อให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณด้านหลัง ก่อให้เกิดอาการปวดคอ และอาจปวดร้าวไปตำแหน่งอื่น เช่น ขมับและรอบกระบอกตาได้ ควรปรับความสว่างของหน้าจอ ให้เหมาะสมกับความสว่างภายในห้อง และทำให้มองได้อย่างสบายตา ขนาดของมือถือ หากต้องใช้งานนานควรเลือกเครื่อง ที่มีหน้าจอขนาดใหญ่

โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัย 40 ปีขึ้นไป หากใช้หน้าจอขนาดเล็กต้องใช้สายตาเพ่งมากขึ้น ชนิดของงานที่ทำ ควรเลือกใช้งานอย่างเหมาะสมตามความจำเป็น เช่น การทำ งานเอกสารต่าง ๆ ควรใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหรือคอม พิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีขนาดหน้าจอใหญ่ หรือดูรายการทีวีก็ควรดูผ่านทีวี ทำให้ได้ภาพที่เหมาะสมกับสายตามากกว่า

ส่วนโทรศัพท์มือถือควรใช้งานแบบชั่วคราว หลีกเลี่ยงการดูหนังหรือเล่นเกมต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ แนะนำให้พักสายตาประมาณ 10-15 นาทีเมื่อใช้งานครึ่งชั่วโมง ผู้ที่มีปัญหาด้านสายตา ควรสวมแว่นสายตาหรือใช้อุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้มีระดับการมองเห็นที่ดีที่สุดเป็นการลดการเพ่งมอง และผู้ที่พบว่าเริ่มมีปัญหาเรื่องการมองเห็นควรพบจักษุแพทย์ทันที

Submit "ถนอมดวงตายุคดิจิตอล" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "ถนอมดวงตายุคดิจิตอล" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "ถนอมดวงตายุคดิจิตอล" to แชร์ไปที่ Printerest

แท็ก: ไม่มี แก้ไข Tags คำค้นหา
Categories
Uncategorized

Comments

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: