วันนี้ในอดีต 24 กรกฎาคม


พ.ศ. 2326 วันเกิดของ ซีมอน โบลิวาร์ วีรบุรุษของอเมริกาใต้ ผู้กู้อิสรภาพให้แก่ประเทศโบลิเวีย โคลัมเบีย อีเควดอร์ ปานามา เปรู และเวเนซูเอล่า ให้พ้นจากอำนาจของสเปน จนได้รับสมญานามว่า ผู้ปลดปล่อย

พ.ศ. 2405 มาร์ติน แวน บูเรน ประธานาธิบดีคนที่ 8 ของสหรัฐฯ ถึงแก่กรรม เขาเกิดเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม 2326

พ.ศ. 2512 ยานอวกาศอพอลโล 11 พร้อมด้วยมนุษย์อวกาศทั้ง 3 คือ นีล อาร์มสตรอง เอ็ดวิน แอลดริน และไมเคิล คอลลิน ซึ่งพิชิตดวงจันทร์สำเร็จ เป็นคณะแรกเดินทางกลับถึงพื้นมหาสมุทรแปซิฟิค เมื่อเวลา 23.00 น. เศษ





วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม.


เหตุการณ์ที่ 1

24 กรกฎาคม พ.ศ. 2326 วันเกิดของ ซีมอน โบลิวาร์ วีรบุรุษของอเมริกาใต้ ผู้กู้อิสรภาพให้แก่ประเทศโบลิเวีย โคลัมเบีย อีเควดอร์ ปานามา เปรู และเวเนซูเอล่า ให้พ้นจากอำนาจของสเปน จนได้รับสมญานามว่า ผู้ปลดปล่อย


วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม

วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม

วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม

หลังจากที่ สเปน และ โปรตุเกส กำชัยชนะในภาคพื้น อเมริกาใต้ ได้แล้ว ผู้คนจากยุโรปก็แห่กันเข้ามาตั้งรกรากใน ลาติน อเมริกา กันยกใหญ่ คนพวกนี้คงหวังจะมากอบโกยเอาผลประโยชน์จากดินแดนที่พึ่งยึดมาได้ที่นี่เปรียบประดุจขุมทรัพย์อันมีทั้ง เงิน และ ทอง จำนวนมหาศาล แถมยังมีพื้นดินอันกว้างใหญ่ เอาไว้ให้ทำการเกษตรเสียด้วย คน ยุโรป ใช้พื้นแผ่นดินที่ไม่ใช่ของตัวเองนี้ ทำไร่ กาแฟ ฝ้าย หรือไม่ก็ อ้อย ในช่วงปี 1500 ถึง 1800 อาณานิคมของ ชาวยุโรป ได้แผ่ขยายไปทั่ว อเมริกาใต้


เมื่อถึงปี 1800 อเมริกาใต้ ก็เต็มไปด้วยผู้คนจากหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวพื้นเมือง อเมริกาใต้ เอง และ ทั้งลูกหลานชาว ยุโรป ที่ลืมตาดูโลกที่นี่ แล้วไหนจะพวกลูกผสมอีก ดินแดนส่วนใหญ่อยู่ในความครอบครองของ สเปน และ ผู้คนก็ไม่ค่อยมีอิสรภาพกันสักเท่าไร ที่ยิ่งร้ายไปกว่านั้น ประเทศที่ ตกเป็นอาณานิคม ไม่สามารถทำการค้ากับใครได้เลย นอกจาก สเปน กับ โปรตุเกส ซึ่งจำกัดวงเงินที่พวกเขาสามารถหาได้จากการส่งสินค้าออกให้กับตนอีกด้วย

การกอบกู้เอกราช
ปัญหาเหล่านี้ ทำให้ชาวอมริกาใต้ รวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความรู้สึกว่าพวกตน ก็คือ ชนชาติหนึ่งที่ต้อง ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพ และแล้วในที่สุด ความหวังก็เรืองรองขึ้น เมื่อได้เห็นตัวอย่าง ของความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดิ้นรนต่อสู้ของ ทุส ซอง ลูแวร์ (Toussaint L?Ouveture 1746-1803) บุคคลที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นทาสมาก่อน แต่ต่อมาได้เป็นผู้นำคนต่อสู้กับ ฝรั่งเศส ในไฮติ บนเกาะ แคริเบียน ของ ฮิสเปนนิโอลา จนได้รับชัยชนะ


ในช่วงเดียวกัน รัศมีของ สเปน และ โปรตุเกส ที่เคยเรืองรองใน ยุโรป ก็เริ่มจางลงทุกที จนในที่สุด ในปี 1807 นโปเลียน โบนาปาร์ต ซึ่งเป็นทั้งนายพล และจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แห่ง ฝรั่งเศส 1762-1821 ได้บุกเข้ายึดครอง โปรตุเกส ได้สำเร็จ และในปี 1808 เขาก็กำจัด กษัตริย์แห่ง สเปน คือ เฟอร์ดินานด์ ที่ 7 พร้อมกับสถาปนาพี่ชายของตนคือ โจเซฟ โบนาปาร์ต ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน คราวนี้ก็ถึงเวลาที่ชาวอเมริกาใต้จะต้องเริ่มต่อสู้กันบ้างหละ

บราซิล เป็นอาณานิคมของ โปรตุเกส ซึ่งชาว บราซิล นั้นนับว่าโชคดีกว่าเพื่อน ที่ได้อิสรภาพมาโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ กษัตริย์ จอห์น ที่ 6 แห่ง โปรตุเกส พำนักอยู่ที่นั้นในช่วงที่ นโปเลียน ยังยึดครองโปรตุเกสอยู่เมื่อพระองาค์เสด็จกลับ โปรตุเกสในปี 1821 พระโอรสที่ชื่อ เปรโดร (Prdro) ก็ได้รับมรดกเป็นผู้ปกครองเมืองขึ้นแห่งนี้ แทน เปรโดร ประกาศ อิสรภาพให้ บราซิล ในปี 1822 ซึ่งกว่ากษัตริย์ จอห์น จะเข้าใจความคิดของลูกชายก็เมื่อเขาได้กลายเป็นจักรพรรดิ แห่ง บราซิล ในปี 1825 โดยใช้ชื่อว่า เปโดรที่ 1 ไปแล้ว

การต่อสู้เพื่อเสรีภาพ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศราชของ สเปน ในบริเวณที่ปัจจุบันรู้จักกันในนาม เอควาดอร์ โคลัมเบีย ปานามา และ เวเนซูเอลา นั้นแตกต่างกัน สเปนไม่เคยปล่อยให้ใครมีอิสรเสรีภาพ โดยปราศจากการต่อสู้และ สงคราม ผู้นำทางการทหารที่แกร่งกล้า และ โด่งดังหลายคนผุดขึ้นมาในยุคนี้ และหนึ่งในจำนวนนั้นคือ ซิมอน โบลิวาร์

โบลิวาร์ เกิดใน คาราคัส (Caracas) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เวเนซูเอลา ในปี1793 เขาได้ไปเที่ยวยุโรป ตามประสาคนหนุ่ม ทำให้ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญาหลายคน อย่างเช่น รุสโซ ซึ่งมักพูดถึงเสรีภาพ และความเสมอภาค โบลิวาร์ จึงสาบานกับตัวเองว่า เขาจะต้องปลดปล่อยประเทศอันเป้นที่รักของเขาจากการปกครองของ สเปน ให้จงได้

ในปี 1810 โบลิวาร์ กลับสู่ดินแดนมาตุภูมิ และพบว่าการก่อการกบฏ เพื่อแสวงหาอิสรภาพได้ปะทุขึ้นแล้ว โบลิวาร์ เข้าร่วมกับขบวนการนี้ และกลายเป็นผู้นำไป ในไม่ช้ากลุ่มผู้ก่อการยึด คาราคัส ได้ในปีนั้น และประกาศให้ คาราคัส เป็น เอกราชในปีถัดมา อย่างไรก็ตาม โบลิวาร์ ได้ถูกบีบให้ต้องออกจากประเทศไป พร้อมๆกับ อิสรภาพ ซึ่งเพิ่งจะได้มาหมาดๆ ก็ต้องมีอันต้องมลายหายไปด้วย โบลิวาร์ กลับมาใหม่ในปี 1813 และทำให้ คาราคัส ได้รับอิสรภาพอีกครั้ง โดยการก่อตั้งสาธารณรัฐ เวเนซูเอลาที่ 2

ในปี 1817 โบลิวาร์ และคณะผู้ก่อการได้รับ ชัยชนะ ในสงคราม โบยากา (Battle of Boyaca) ชัยชนะครั้งนี้ได้นำอิสรภาพมาสู่ นิว กรานาดา (New Granada) ซึ่งต่อมาได้รับการขนานนามใหม่ว่า โคลัมเบีย จากนั้น โบลิวาร์ ก็สร้างเสรีภาพให้แก่ ดินแดนส่วนที่เหลือของ เวเนซูเอลา และ เอควาดอร์ รวมทั้งจัดตั้ง สหพันธรัฐ หรือ สหภาพแห่งรัฐอิสระทั้งสาม ในที่สุดเขาก็กลายเป็นประมุขของสหพันธรัฐซึ่งใช้ชื่อว่า แกรนด โคลัมเบีย (Gran Columbia)

ชัยชนะครั้งสุดท้าย
เมื่อถึงปี 1823 โบลิวาร์ ก็ได้เป็นผู้ปกครองของ เปรู ชัยชนะที่มีต่อ สเปน ในสงคราม อะยากุโซ Battle of Ayacucho ในปี 1824 ได้ปลดปล่อย อเมริกาใต้ให้เป็นอิสระจากการปกครองของ สเปน โดยสิ้นเชิง ปี 1825 เปรู ตอนบนได้กลายเป็นอิสระ และใช้ชื่อว่า โบลิเวีย Bolivia ตามชื่อ วีรบุรุษผู้กอบกู้อิสรภาพให้ตน

โบลิวาร์ ใฝ่ฝันที่จะได้เห็นสาธารณรัฐอันประกอบด้วยรัฐทั้งหลายที่เขาพากเพียรสร้าง เสรีภาพ ให้ แต่เหตุการณ์ไม่เป็นเช่นนั้นการจะนำรัฐต่างๆที่เพิ่งจะได้สัมผัสกับอิสรภาพให้มาอยู่ภายใต้การควบคุมอีกครั้งไม่ใช่เรื่องง่ายรัฐเหล่านั้นถอนตัวออกจาก แกรนโคลัมเบียไปทีละรัฐจนในที่สุด โบลิวาร์ ก็ มีเหลือเพียง โคลัมเบียเท่านั้น เขาจึงลาออกจากการเป็น ประธานาธิบดี ในปี 1830

ความปวดร้าวที่ต้องสูญเสียชาติ ที่อุตส่าห์พากเพียรรวบรวมขึ้นมานี้ ทำให้ โบลิวาร์ ตรอมใจตายในปีนั้นเอง อย่างไรก็ตาม วีรบุรุษที่รู้จักกันในฐานะนักกอบกู้อิสรภาพผู้นี้ ก็ยังมีอิทธิพลต่อ อเมริกาใต้ ต่อมาอีกเป็นเวลานาน ถึงแม้เขาจะไม่สามารวบรวม สาธารณรัฐขั้นมาได้จริง แต่แนวความคิดเกี่ยวกับรูปแบบของการจัดตั้งรัฐบาลก็ยังมีอิทธิพลต่อมาอีกนานทั้งยังช่วยวางอนาคตให้รัฐใหม่ๆ ทั้งหลายเหล่านั้นด้วย




ที่มา puansanid.com/forums/showthread.php?t=6339


วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม??.
วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม??.
วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม??.




เหตุการณ์ที่ 2


พ.ศ. 2405 มาร์ติน แวน บูเรน ประธานาธิบดีคนที่ 8 ของสหรัฐฯ ถึงแก่กรรม เขาเกิดเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม 2326


วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม

มาร์ติน แวน บูเรน (Martin Van Buren) ดำรงตำแหน่ง ค.ศ.๑๘๓๗-๑๘๔๑ พรรคดีโมแครต
เกิด ๕ ธันวาคม ค.ศ.๑๗๘๒ ตาย ๒๔ กรกฎาคม ๑๘๖๒

รองประธานาธิบดี สมัย มาร์ติน แวน บูเรน (Martin Van Buren) ดำรงตำแหน่ง คือ แอนดรูว์ แจ็คสัน

มาร์ติน แวน บูเรน เป็นที่มาของคำว่า O.K.

คำๆ นี้มีประวัติบันทึกเมื่อปี ค.ศ. 1839 หลังจากนักอักษรศาสตร์ทั้งหลายพยายามหาที่มาของคำๆ นี้ กระทั่งนายอัลเลน วอล์กเกอร์ รีด สรุปว่า O.K.เป็นโจ๊ก เรื่องฮา....น่ะ ที่แกล้งพูดเพี้ยนๆมาจากคำว่า All correct เป็น oll correct เป็น ollm Korrect

ในปีค.ศ. 1840 มาร์ติน แวน บูเรน สมาชิกพรรคเดโมแครต ซึ่งมีชื่อเล่นว่า Old kinderhook ย่อชื่อ นี้ทำเข็มกลัด O.K. มาหาเสียงว่า ถ้าเลือกเขาล่ะก็ทุกอย่างจะ all correct หรือถูกต้อง O.K.

จากนั้นคำว่า โอเคก็เลยเป็นคำพูดติดปากคนทั่วโลก เขียนได้ทั้ง O.K. และ o kay



วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม??.
วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม??.
วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม??.



เหตุการณ์ที่ 3

วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ยานอวกาศอพอลโล 11 พร้อมด้วยมนุษย์อวกาศทั้ง 3 คือ นีล อาร์มสตรอง เอ็ดวิน แอลดริน และไมเคิล คอลลิน ซึ่งพิชิตดวงจันทร์สำเร็จ เป็นคณะแรกเดินทางกลับถึงพื้นมหาสมุทรแปซิฟิค เมื่อเวลา 23.00 น. เศษ

วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม

วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม


อะพอลโล่ 11 (Apollo 11)
ลูกเรือของอะพอลโล่ 11

1) นิล อาร์มสตรอง ( Neil A. Armstrong) ผู้บังคับการปฏิบัติการ เกิดที่ Wapakoneta รัฐโอไฮโอ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 1930 จบวิศวะการบินจากมหาวิทยาลัย Purdue เมื่อปี 1955 และปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย Southern California เมื่อปี 1970 เป็นนักบินสำรองของโครงการ Gemini 5,8 และ 11 และโครงการอะพอลโล่ 8 เป็นนักบินอวกาศคนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกผู้บริหารของสมาคมการบินที่นาซ่า ระหว่างปี 1970-1971
2)ไมเคิล คอลลิน (Michael Collins) ผู้บังคับการนำร่อง เกิดที่กรุงโรมในอิตาลี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 1930 จบปริญญาตรีจากวิทยาลัยทหาร West Point รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี 1952 เป็นนักบินสำรองโครงการ Gemini 7 และ 10 และเป็นลูกเรือของยานอะพอลโล 8 แต่ถูกเปลี่ยนตัวภายหลัง ลาออกจากนาซ่าเมื่อเดือนมกราคม 1970
3) เอ็ดวิน บัส อัลดริน (Edwin E. Aldrin) ผู้บังคับการยานลูน่าโมดูล เกิดใน Montclair รัฐนิวเจอซี่ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 1930 จบปริญญาตรีจากวิทยาลัยทหาร West Point รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี 1951และจบปริญญาเอกจาก MIT เมื่อปี 1963 เป็นนักบินสำรองโครงการ Gemini 9 และ 12 และอะพอลโล่ 8 เป็นนักบินอวกาศคนที่สองที่เหยียบดวงจันทร์ ลาออกจากนาซ่าเมื่อเดือนกรกฏาคม 1971

นับถอยหลัง
ยานอะพอลโล่ 11 จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดขับดับ Saturn V (แซทเทิร์น ไฟว์) ซึ่งเตรียมพร้อมอยู่ที่ฐานในศูนย์อวกาศแคนเนดี้ รัฐฟอริดา ในวันที่ 16 กรกฏาคม 1969 (พ.ศ.2512) และปล่อยจากฐานเมื่อเวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น
หลังจากที่จรวดขับดัน Saturn V พุ่งออกจากฐาน จะใช้เวลาเพียง 11 นาที ก็จะอยู่ในวงโคจรนอกโลก เชื้อเพลิงของจรวด Saturn V ส่วนแรกจะถูกใช้จนหมด แล้วจะถูกสลัดทิ้งลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิค จรวดท่อนที่ 2-3 จะจุดเชื้อเพลิงให้ยานโคจรรอบโลกอีก 1 รอบครึ่ง ระหว่างนี้ ยานบังคับการ (โคลัมเบีย) จะเชื่อต่อกับยานลูน่าโมดูล (อีเกิ้ล) แล้วอาศัยแรงเหวี่ยงของโลกเดินทางสู่ดวงจันทร์ ซึ่งใช้เวลาเดินทางอีก 72 ชั่วโมง หรือประมาณ

สู่การเดินทาง
วันที่ 19 กรกฏาคม ยานอะพอลโล่ 11 จะเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์

วันที่ 20 กรกฏาคม นักบินอวกาศ นิล อาร์มสตรอง และ เอ็ดวิน อัลดริน จะย้ายจากยานบังคับการ ไปอยู่ที่ยานลูน่าโมดูล เตรียมการแยกตัว คงเหลือไว้เพียง ไมเคิล คอลลิน จะทำหน้าที่บังคับยานโคลัมเบีย โคจรอยู่รอบดวงจันทร์ รอให้ยานลูน่าโมดูลที่เสร็จภาระกิจบนดวงจันทร์แล้ว มาเชื่อมต่อเพื่อเดินทางกลับโลกอีกครั้ง

เหยียบดวงจันทร์
วันที่ 20 กรกฏาคม 1969 เวลาแห่งประวัติศาสตร์ก็มาถึง หลังจากที่ยานบังคับการและยานลูน่าโมดูลแยกตัวแล้ว อีกราว 2 ชั่วโมงต่อมา ยานลูน่าโมดูลก็ร่อนลงบนดวงจันทร์ บริเวณที่เรียกว่าทะเลแห่งความสงบ
เมื่อเวลา 22.56 น.ของวันที่ 20 กรกฏาคม 1969 ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 02.56 UT ของวันที่ 21 กรกฏาคม 1969 ก้าวแรกของมนุษย์ชาติที่นิล อาร์มสตรอง ลงสัมผัสผิวดวงจันทร์ มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก และสายตาทุกคู่ของคนบนโลกจับจ้องอยู่กับนาทีแห่งประวัติศาสตร์นี้ โดยมีคำกล่าวว่า "That's one small step for man, one giant leap for mankind"

กลับสู่โลก
วันที่ 21 กรกฏาคม 1969 ตลอดระยะเวลา 2 ชั่วโมงที่นิล อาร์มสตรอง และเอ็ดวิน อัลดริน ปฏิบัติภาระกิจอยู่บนผิวดวงจันทร์ ก็ได้เวลากลับบ้าน โดยจะทิ้งเครื่องต่างๆไว้บนดวงจันทร์ เวลา 17.54 UT ยานลูน่าโมดูลจุดจรวดดีดตัวออกจากส่วน Descent Stage ทิ้งไว้บนดวงจันทร์ เหลือแต่ส่วนบังคับการ Ascent Stage ขึ้นสู่วงโคจร เพื่อมาพบกับยานโคลัมเบีย หรือ ยานบริการที่มีไมเคิล คอนลิน ควบคุมโคจรอยู่รอบดวงจันทร์ เมื่อยานลูน่าโมดูลเชื่อมต่อกับยานโคลัมเบีย รวมเวลาที่อยู่บนดวงจันทร์ 21 ชั่วโมง 36 นาที นักบินอวกาศทั้งสองจะย้ายตัวเองไปอยู่ที่ยานบังคับการของยานโคลัมเบีย แล้วสลัดยานลูน่าโมดูลทิ้งไว้ในวงโคจรของดวงจันทร์ ซึ่งจะใช้เวลาอีกราว 1- 4 เดือนที่ยานจะตกลงสู่ดวงจันทร์ แล้วมุ่งหน้ากลับโลก โดยใช้เวลาเดินทางกลับอีก 3 วัน

นั่นคือ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ยานอวกาศอพอลโล 11 พร้อมด้วยมนุษย์อวกาศทั้ง 3 คือ นีล อาร์มสตรอง เอ็ดวิน แอลดริน และไมเคิล คอลลิน ซึ่งพิชิตดวงจันทร์สำเร็จ เป็นคณะแรกเดินทางกลับถึงพื้นมหาสมุทรแปซิฟิค เมื่อเวลา 23.00 น. เศษ




วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม?..
วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม?..
วันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต  24 กรกฎาคม?..