คำถามกฎหมายแพ่ง




คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า นายศศินทร์ ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ในโครงการบ้านจัดสรร โดยมีนายตะวันและนางสาวปลายฟ้า เป็นหุ้นส่วนในการขายที่ดินดังกล่าว เมื่อถึงวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน นายศศินทร์ไม่มีเงินพอที่จะชำระราคาที่ดินส่วนที่เพิ่มขึ้น แต่ได้ตกลงรับโอน กรรมสิทธิ์ โดยลงลายมือชื่อในสัญญา กู้ยืมเงิน โดยระบุว่าศศินทร์กู้ยืมเงินจากตะวัน และตะวันลงชื่อในสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้ ตะวันจึงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ศศินทร์ ต่อมาครบกำหนดเวลาชำระเงินตามสัญญากู้ศศินทร์ไม่ชำระหนี้

ให้วินิจฉัยว่า

(ก) ตะวันมีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญากู้หรือไม่

(ข) ศศินทร์ต้องรับผิดในสัญญากู้หรือไม่

.
.
.
..
..
..
.
.
.
.
.
.
.
..
.
.
.

..

.
.
..

คำตอบ


(ก)นายตะวันกับนางสาวปลายฟ้าเป็นหุ้นส่วนในการขายที่ดินให้แก่นายศศินทร์ นายศศินทร์ไม่มีเงินชำระค่าที่ดินในส่วนของที่ดินที่เพิ่มขึ้น แต่นายศศินทร์ตกลงรับโอนกรรมสิทธิ์โดยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินให้ผู้จะขายไว้ โดยระบุว่านายศศินทร์กู้ยืมเงินนายตะวันเท่ากับเป็นการกู้เงินจากผู้ขายมาชำระราคาที่ดินในส่วนเนื้อที่ที่เกินไปจากสัญญาจะซื้อจะขาย นายตะวันจึงเป็นผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อในสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้ได้และผูกพันนายศศินทร์ (4 คะแนน)


(ข)หนี้เดิมเป็นการตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน นายศศินทร์ไม่มีเงินพอจะจ่ายในส่วนของเนื้อหาที่ดินที่เกิน จึงตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินขึ้นเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินส่วนที่เกิน ถือว่าเป็นการแปลง สาระสำคัญแห่งนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่จากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมาเป็นสัญญากู้ยืมเงินโดยผู้ให้กู้อยู่ในฐานะผู้จะขายเช่นกัน การแปลงหนี้ใหม่ในครั้งนี้จึงมิได้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ จึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 349 วรรค 3 นายศศินทร์จึงต้องรับผิดชำระหนี้ ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่นายตะวัน (6 คะแนน)

(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 3209/2550)