กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: หย่ากันแล้วให้หญิงจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรฝ่ายเดียว จะขอเรียกคืนจากชายได้หรือไม่

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ maxwell007
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    ที่อยู่
    สามย่าน
    กระทู้
    474
    บล็อก
    14

    กระพริบตา หย่ากันแล้วให้หญิงจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรฝ่ายเดียว จะขอเรียกคืนจากชายได้หรือไม่

    ประเด็นความรับผิดชอบในการออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรนั้นเป็นข้อขัดแย้งของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่เมื่อแยกกันอยู่หรือหย่าขาดจากกันแล้วเกิดเป็นปัญหาว่าใครต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายของบุตร ปัญหานี้เป็นเรื่องที่พบบ่อยมาก และถ้าฝ่ายใดแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายไปแล้วจะขอเรียกร้องจากอีกฝ่ายได้หรือไม่? อย่างไร? จึงขอนำตัวอย่างข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวนี้มาให้พิจารณากันดังนี้

    นางสมจิต และจ่าเอกสมชาย แต่งงานและจดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่กินกันมาได้ 20 ปี มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายเก่งอายุ 16 ปี และ ด.ญ.แก้วอายุ 14 ปี แต่เนื่องจากจ่าเอกสมชายแอบไปมีภริยาอีกคนหนึ่ง ซึ่งนางสมจิตจับได้และขอให้จ่าเอกสมชายเลิกยุ่งเกี่ยวด้วย แต่จ่าเอกสมชายไม่สามารถทำได้ นางสมจิตจึงขอหย่าขาดกับจ่าเอกสมชาย ในปี 2545 ทั้งสองจึงได้ไปจดทะเบียนหย่ากันในวันที่ 5 มกราคม 2545 โดยในทะเบียนหย่าตกลงให้บุตรทั้ง 2 คือนายเก่ง และด.ญ.แก้ว อยู่ในความปกครองของนางสมจิต โดยมิได้มีการตกลงกันเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในท้ายทะเบียนหย่าด้วย

    เมื่อทั้งสองหย่าขาดจากกันแล้วนางสมจิตได้พาบุตรทั้งสอง คือ นายเก่ง และ ด.ญ.แก้วย้ายไปอยู่ที่จังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นบ้านของบิดามารดาของนางสมจิต โดยนางสมจิตได้เลี้ยงดูและส่งเสียให้บุตรทั้งสองได้เรียนหนังสือตลอดมา ตามวัยที่บุตรทั้งสองต้องศึกษาเล่าเรียน ซึ่งนางสมจิตต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง ทั้งค่าใช้จ่ายทั่วไปในการดำเนินชีวิตประจำวัน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษา ต่อคนประมาณปีละ 60,000 บาท รวมบุตรทั้งสอง

    นางสมจิตมีค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นเงิน 120,000 บาทต่อปี นางสมจิตได้เลี้ยงดูบุตรทั้งสองต่อมาเป็นเวลา 5 ปี จนนายเก่งมีอายุได้ 21 ปี และ นางสาวแก้วมีอายุ 19 ปี นางสมจิตเกิดมีปัญหาขัดสนเรื่องการเงิน เพราะธุรกิจที่ทำขาดทุนนางสมจิตจึงได้ทวงถามไปยังจ่าเอกสมชายให้ช่วยเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตรบ้างแต่จ่าเอกสมชายกลับอ้างว่าตนได้มีบุตรกับภรรยาคนใหม่ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลเช่นกัน จ่าเอกสมชายเห็นว่านางสมจิตเลี้ยงดูบุตรมาได้ตั้ง 5 ปีแล้วคงเลี้ยงได้ต่อไป

    นางสมจิตเห็นว่าตนเลี้ยงลูกมาเป็นเวลา 5 ปี เสียเงินค่าเลี้ยงดูบุตรทั้งสองไปเป็นเงิน 600,000 บาท โดยที่จ่าเอกสมชายไม่ช่วยเลี้ยงดูและไม่ช่วยค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเลย นางสมจิตจึงได้ยื่นฟ้องให้จ่าเอกสมชายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นเงิน 600,000 บาท เท่ากับที่ตนต้องเสียไป จ่าเอกสมชายให้การว่านางสมจิตหย่าขาดจากตนแล้วย่อมไม่มีสิทธิมาฟ้องเรียกสิ่งใดเอากับตนได้ และบุตร คือ นายเก่ง มีอายุ 21 ปีแล้วไม่ใช่ผู้เยาว์ นางสมจิตไม่อาจอ้างมาเป็นเหตุในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากตนได้อีก ส่วนนางสาวแก้วที่มีอายุ 19 ปีนั้น เหลืออีกเพียง 1 ปี ก็จะพ้นภาวะการเป็นผู้เยาว์แล้ว นางสมจิตจะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูของนางสาวแก้วจากตนเกินกว่า 1 ปีไม่ได้และนางสมจิตไม่อาจฟ้องแทนนางสาวแก้วได้ จากกรณีดังกล่าวเห็นได้ว่านางสมจิตได้ดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) มาตรา 1565 ซึ่งนอกจากจะกำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยกคดีขึ้นว่ากล่าวแล้วยังกำหนดให้บิดาหรือมารดาสามารถนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้เองอีกด้วย โดยบทบัญญัติแห่งปพพ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะมีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ตามปพพ. มาตรา 296 นางสมจิตและจ่าเอกสมชายได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันโดยตกลงให้บุตรทั้งสองอยู่ในความปกครองของนางสมจิต แต่มิได้มีการตกลงกันว่านางสมจิตต้องเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว เมื่อนางสมจิตได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรฝ่ายเดียวจนกระทั่งนายเก่งบุตรชายบรรลุนิติภาวะแล้ว และนางสาวแก้วมีอายุได้ 19 ปี นางสมจิตก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในขณะที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ ซึ่งตนได้เป็นผู้ออกไปก่อน นับแต่วันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะจากจ่าเอกสมชายได้ เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมซึ่งได้เข้าใช้หนี้นั้น ตามปพพ.มาตรา 229 (3) แม้ว่าในขณะที่ยื่นฟ้องนั้น นายเก่งบุตรชายจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ศาลมีอำนาจกำหนดตาม ปพพ.มาตรา 1522

    การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์นี้มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันที่บิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไป ในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียวก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ นับแต่วันที่ตนได้ชำระไปแต่ต้องไม่เกินกว่า 5 ปี ตามปพพ.มาตรา 193/33 (4) (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 2697/2548)

    สรุปได้ว่านางสมจิตจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในขณะที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ไปเท่าไรนั้นก็สามารถเรียกจากจ่าเอกสมชายให้ต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกันได้ คือ ต้องรับผิดกันคนละครึ่งจากค่าอุปการะเลี้ยงดูทั้งหมด เมื่อนางสมจิตจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูในส่วนของนายเก่ง 4 ปี ขณะที่นายเก่งยังไม่บรรลุนิติภาวะก็เรียกได้เพียง 4 ปี ส่วนของนางสาวแก้วนางสมจิตจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูไป 5 ปี ขณะที่นางสาวแก้วยังไม่บรรลุนิติภาวะก็เรียกได้ 5 ปี กฎหมายกำหนดอายุความเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ 5 ปี หมายความว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูย้อนหลังขึ้นไปเกินกว่า 5 ปีไม่ได้

    โดยในส่วนที่ย้อนหลังไปเกินกว่า 5 ปีนั้นถือเป็นสิทธิที่ขาดอายุความ ซึ่งอีกฝ่ายยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ที่จะไม่ชำระได้ แต่ในกรณีของนางสมจิตฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูย้อนหลังไม่เกินกว่า 5 ปี จึงเรียกร้องเอาจากจ่าเอกสมชายได้ทั้งหมด แต่จำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลที่จะกำหนด ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูนางสาวแก้วที่เหลืออีก 1 ปีที่จะพ้นจากสภาพผู้เยาว์นั้นก็เป็นความรับผิดร่วมกันของทั้งนางสมจิตและจ่าเอกสมชายเป็นส่วนเท่าๆกันเช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถขอให้ศาลกำหนดให้ได้ตามสมควร

    หย่ากันแล้วให้หญิงจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรฝ่ายเดียว จะขอเรียกคืนจากชายได้หรือไม่ ที่มา : มังกรซ่อนกาย ผู้จัดการออนไลย์ หย่ากันแล้วให้หญิงจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรฝ่ายเดียว จะขอเรียกคืนจากชายได้หรือไม่


    เซื้อซาติแฮ้งอย่าเหม็นสาบกุยกัน
    เกิดเป็นคนอีสานให้ฮักแพงกันไว้
    ไผเฮ็ดดีให้ซ่อยยู้ ซอยซูอย่าย่านเหลิน
    ไผเฮ็ดผิดให้ซอยเว้า ไขแก้ดอกซอยกัน ซันดอกหวา

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ bnserver
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    กระทู้
    331
    แล้วตอนหย่ากันได้ตกลง กันต่อหน้านายทะเบียน หรือเปล่าครับ....เพราะบางทีเขาจะเขียน ข้อตกลงกันไว้ครับ แต่ตามหลักแล้วก็สามารถเรียกดูค่าดูแลบุตรได้อยู่แล้วครับ .........หรือไม่ก็ให้ถามที่ทนายได้ครับ...เขาจะมีข้อแนะนำหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ มากครับ........

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •