กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ


    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ





    วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488

    รัฐบาลไทยประกาศว่า การที่ไทยได้ประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และอังกฤษ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เป็นโมฆะ


    พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยประกาศว่า การที่ไทยได้ประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และอังกฤษ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เป็นโมฆะเพราะขัดต่อรัฐธรรนูญ และความประสงค์ส่วนใหญ่ของประชาชนชาวไทย โดยสหรัฐฯรับรองความเป็นเอกราชของไทย เป็นชาติแรก ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการปฎิบัติของเสรีไทย ซึ่งเป็นขบวนการต่อต้านประเทศที่เป็นศัตรูต่อสัมพันธมิตร และสหรัฐฯเข้าใจในสถานการณ์ของไทยในขณะนั้น และด้วยการหนุนหลังของสหรัฐฯ ทำให้อังกฤษรับรองเอกราชของไทย เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489






    ขบวนการเสรีไทย



    เสรีไทย (อังกฤษ: Free Thai Movement) เป็นขบวนการใต้ดินที่ดำเนินการระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วง พ.ศ. 2484 - 2488 มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย ขบวนการเสรีไทยกำเนิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยกทัพเข้ามาทางด้านทิศตะวันออกและยกพลขึ้นบกจากอ่าวไทย เดิมเรียกขบวนการนี้ว่า "องค์การต่อต้านญี่ปุ่น" ภายหลังจึงเปลี่ยนไป "เสรีไทย" มีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร



    การที่รัฐบาลไทยนำโดยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยินยอมตกลงเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ทำให้บุคคลสำคัญทางการเมืองการปกครอง ข้าราชการ และชาวไทยทั้งในและนอกประเทศไม่เห็นด้วยกับนโยบายประกาศสงคราม มีการรวมตัวกันเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มในประเทศ นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มคนไทยในสหรัฐอเมริกา นำโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการไม่ยอมส่งคำประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา และถือว่าการประกาศสงครามนั้นมิใช่เจตนาของคนไทย กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มคนไทยในอังกฤษ นำโดยนักเรียนไทย ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์



    ช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี การดำเนินงานของกลุ่มทั้งสามไม่ค่อยประสบผลสำเร็จมากนักเพราะขาดการประสานงานร่วมกัน แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล โดยมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ความร่วมมือระหว่างกันก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่านายควง อภัยวงศ์จะแถลงนโยบาย ร่วมมือกับญี่ปุ่นโดยใกล้ชิด ตามสัญญาพันธกรณีที่ได้มีต่อกันไว้ด้วยดี และให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นตามข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นทุกประการ แต่ขณะเดียวกันคณะรัฐบาลก็มีรัฐมนตรีหลายคนที่เป็นบุคคลระดับหัวหน้าในองค์การต่อต้านญี่ปุ่น และคอยให้ความช่วยเหลือองค์การอย่างลับ ๆ



    เสรีไทยมีเครือข่ายความร่วมมือในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตร สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่งหน่วยปฏิบัติการมาประจำในกรุงเทพฯ ด้านฝ่ายไทย นายปรีดี พนมยงค์ ได้ส่งทหารไปประจำที่กองบัญชาการของฝ่ายสัมพันธมิตร ณ เมืองแคนดี ลังกา พร้อมกับส่งทหาร ตำรวจ และพลเรือนไปรับการฝึกกับ สำนักงานบริการด้านยุทธศาสตร์ (O.S.S : Office of Strategic Services) ของสหรัฐอเมริกา และกองกำลัง 136 ของอังกฤษ ในอินเดียและลังกา



    นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งโรงเรียนนายทหารสารวัตร และโรงเรียนนายสิบสารวัตรทหาร โดยรับสมัครนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเรียนเตรียมปริญญาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และนักเรียนโรงเรียนเตรียมนายเรือ มาฝึกให้เป็นผู้บังคับบัญชาของกองกำลังใต้ดินเพื่อเตรียมสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นในวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนด มีการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในประเทศร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น ส่งข่าวด้านยุทธศาสตร์ทางทหารตลอดจนรายงานสภาพดินฟ้าอากาศให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทราบ ซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถปฏิบัติการทางทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ



    อย่างไรก็ดี การปะทะกันระหว่างขบวนการเสรีไทยกับกองทัพญี่ปุ่นไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิเมื่อวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แม้ว่าไทยจะร่วมกับญี่ปุ่นในการประกาศสงคราม แต่ความร่วมมืออย่างลับ ๆ ของไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้ไทยมีอำนาจต่อรองในการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรหลังสงครามยุติ โดยสหรัฐอเมริกาถือว่าไทยไม่เคยประกาศสงครามต่อประเทศของตน ขณะที่อังกฤษดำเนินนโยบายต่อไทยแตกต่างไปจากสหรัฐอเมริกา




    สมาชิกขบวนการที่มีชื่อเสียง



    สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
    ควง อภัยวงศ์
    อดุล อดุลเดชจรัส
    หลวงบรรณกรโกวิท
    ดิเรก ชัยนาม
    หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
    ปรีดี พนมยงค์ (รูท)
    ทวี บุณยเกตุ
    หลวงศุภชลาศัย
    สงวน ตุลารักษ์
    ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (เข้ม เย็นยิ่ง)
    สิทธิ เศวตศิลา
    อนันต์ จินตกานนท์

    ชื่อในวงเล็บเป็นรหัสที่ใช้เรียกในขบวนการเสรีไทย



    สมเด็จพระนางรำไพพรรณี พระบรมราชินี



    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ


    สมเด็จพระนางรำไพพรรณี พระบรมราชินี


    พระนามเต็ม
    สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี


    สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ทรงเป็นพระธิดาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ต้นราชสกุล สวัสดิวัตน์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ ชาววังเรียกขานพระนามพระองค์ว่า ท่านหญิงนา



    พระอิสริยยศ
    สมเด็จพระบรมราชินี


    ฐานันดรศักดิ์
    สมเด็จพระบรมราชินี


    ราชวงศ์
    ราชวงศ์จักรี

    พระราชสมภพ
    20 ธันวาคม พ.ศ. 2447
    กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย


    สวรรคต
    22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527
    กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
    (พระชนมายุ 79 พรรษา)


    พระราชบิดา

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์




    พระราชมารดา

    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี



    พระราชสวามี

    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว



    .......................................



    พันตรี ควง อภัยวงศ์


    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ




    พันตรี ควง อภัยวงศ์ หรือที่นิยมเรียกว่า นายควง อภัยวงศ์ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2511) อดีตนายกรัฐมนตรีไทย 4 สมัย ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก


    พันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ที่ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. 2475 เคยมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงโกวิทอภัยวงศ์



    พันตรีควง ถือเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งกระทรวงคมนาคมยุคใหม่ เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการคนแรก ด้วยประสบการณ์ที่เคยรับราชการจนมีตำแหน่ง เป็นถึง อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข นอกจากนี้พันตรีควง ยังเคย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ว่าการ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตราธิการ และกระทรวงมหาดไทย อีกด้วย



    ………………………...........................



    พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส




    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ



    พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส หรือ หลวงอดุลเดชจรัส (28 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512) นามเดิม บัตร พึ่งพระคุณ อดีตองคมนตรี รองนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมตำรวจ ผู้บัญชาการทหารบก



    มีสมญานามว่า "นายพลตาดุ" เป็นหนึ่งในผู้ร่วมคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นรองนายกรัฐมนตรีและผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง รองหัวหน้าขบวนการเสรีไทย หนึ่งในอภิรัฐมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และองคมนตรี



    ...................................................................



    หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช



    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ




    ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 4 สมัย ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนเข้าสู่วงการเมือง เคยเป็นผู้พิพากษา และเคยดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา มาก่อน



    ม.ร.ว.เสนีย์ เกิดที่ค่ายทหาร ในจังหวัดนครสวรรค์ เวลาใกล้รุ่ง เป็นโอรสใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) ชื่อ "เสนีย์" หมายถึง ทหาร หรือ เสนาบดี ได้รับพระราชทานนามนี้จากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สันนิษฐานว่า เนื่องจากเสด็จพ่อ (พระองค์เจ้าคำรบ) เป็นทหาร



    ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช มีบุตรชาย-หญิง 3 คน บุตรชายได้แก่ ม.ล.เสรี ปราโมช (ถึงแก่กรรม) ม.ล.อัศนี ปราโมช (องคมนตรีในรัชกาลปัจจุบัน) และ บุตรหญิงได้แก่ ม.ล.นียนา ปราโมช (ถึงแก่กรรม)



    ม.ร.ว.เสนีย์ มีน้องชายที่มีชื่อเสียงคู่กันคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีความสามารถในหลายสาขา โดยสื่อมวลชนนิยมเรียก ท่านทั้งคู่ว่า "หม่อมพี่ หม่อมน้อง" นอกจากนี้ยังมีพี่สาวคือ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี (สมรสกับ พล.ต.อ.พระพินิจชนคดี หรือ พินิจ อินทรทูต)


    ....................................................................



    ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์




    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ



    ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 — 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองและเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทยซึ่งต่อมาเรียกว่าธนาคารแห่งประเทศไทย



    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีเป็นผู้นำ ขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม นอกจากนี้ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส" ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งทางการเมืองอันทรงเกียรติสูงสุดของไทย



    ปรีดี พนมยงค์ ต้องยุติบทบาททางการเมืองหลังเกิดเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8 และถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้ท่านต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศสรวมระยะเวลากว่า 30 ปี ไม่ได้กลับสู่มาตุภูมิอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม ใน พ.ศ. 2526
    ในปี พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติประกาศให้ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" และได้ร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของท่าน ระหว่าง พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544 นอกจากนี้นิตยสารเอเชียวีคยังได้เสนอชื่อของท่านเข้าชิงตำแหน่ง "Asian Of The Century" อีกด้วย



    ....................................................



    นายทวี บุณยเกตุ




    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ



    นายทวี บุณยเกตุ (10 พ.ย. 2447 - 3 พ.ย. 2514) นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 (รัฐบาลที่ 12) หนึ่งในคณะราษฎรสายพลเรือน และขบวนการเสรีไทยและเป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง พ่อสอนลูก



    นายทวี บุณยเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2447 เวลา 13.20 น. ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นบุตรของพระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุณยเกตุ) กับคุณหญิงรณชัยชาญยุทธ์ (ทับทิม) โดยชื่อ ทวี มาจากการที่บิดาและมารดาสมรสกันในวันทวีธาภิเษก บุคคลที่เข้าร่วมงานเมื่อเลิกจึงมาในงานสมรสโดยไม่ได้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ติดเหรียญตราทวีธาภิเษกเข้าร่วมงานเลย



    นายทวีสมรสกับคุณหญิงอำภาศรี บุณยเกตุ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2514 รวมอายุได้ 67 ปี



    ........................................................



    ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์




    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ




    ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ (ชื่อจีน: 黃培謙 Huáng Péiqiān 9 มีนาคม พ.ศ. 2459 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เคยเป็นผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย สมาชิกขบวนการเสรีไทย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2508 และเป็นเจ้าของข้อเขียน "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน"



    นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ เกิดที่บ้านตรอกโรงสูบน้ำ ตลาดน้อย เป็นบุตรของ นายซา แซ่อึ้ง และ นางเซาะเซ็ง แซ่เตียว ชื่อ "ป๋วย" นั้น บิดาของป๋วยตั้งให้เป็นชื่อตัว ส่วนชื่อสกุลของป๋วย คือ "อึ้ง" ชื่อรุ่นคือ "เคียม" อ่านทั้งสามตัวตามลำดับประเพณีจีน สำเนียงแต้จิ๋วจะเป็น "อึ้ง ป้วย เคียม" แต่ถ้าอ่านโดดๆ วรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป ชื่อสกุลเป็น "อึ๊ง" และชื่อตัวเป็น "ป๋วย". คำว่า "ป๋วย" แปลตรงตัวได้ว่า "พูนดินที่โคนต้นไม้" เพราะตัวประกอบในอักษรระบุไว้เช่นนั้น แต่มีความหมายกว้างออกไปอีกคือ "บำรุง" "หล่อเลี้ยง" "เพาะเลี้ยง" และ "เสริมกำลัง"



    มารดาของป๋วย เป็นบุตรสาวคนแรกของเจ้าของร้านขายผ้าที่สำเพ็ง อยู่ใกล้ตรอกโรงโคม ส่วนบิดาเป็นคนจีน ทำงานช่วยพี่ชายที่แพปลา แถวปากคลองวัดปทุมคงคา ทั้งสองสามีภรรยาไม่ค่อยมีรายได้มากนัก แต่ก็ตั้งใจส่งลูกชายเข้าเรียน ที่แผนกภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีค่าเล่าเรียนแพง คือปีละ 70 บาทในสมัยนั้น. เมื่อเด็กชายป๋วยอายุได้เก้าขวบ บิดาของป๋วยก็เสียชีวิต โดยไม่มีทรัพย์สินเงินทองทิ้งไว้ให้ ลุงเป็นคนรับอุปการะ ส่งเสียเงินให้เป็นรายเดือน แม้ว่าจะมีปัญหาด้านการเงิน มารดาของป๋วย ก็สนับสนุนให้เรียนหนังสือที่เดิม จนสำเร็จการศึกษา ขณะอายุได้ 18 ปี ป๋วยได้มาเป็นมาสเตอร์ หรือครู ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ สอนวิชาคำนวณ และภาษาฝรั่งเศส มีรายได้เดือนละ 40 บาท แบ่งให้แม่ 30 บาท



    ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ป๋วยได้สมัครเข้าเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นนักศึกษารุ่นแรก ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการบังคับให้เข้าชั้นเรียน ทางมหาวิทยาลัยได้จัดพิมพ์คำบรรยายออกจำหน่ายในราคาถูก วิชาละประมาณ 2 บาท เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่กำลังทำงานอยู่สามารถศึกษาเองได้ ป๋วยใช้เวลาในตอนค่ำและวันหยุดเรียนอยู่ 4 ปี ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางกฎหมายและการเมือง ในปี พ.ศ. 2480. หลังจากนั้น ก็ลาออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญ มาทำงานเป็นล่ามภาษาฝรั่งเศส ให้แก่อาจารย์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองในเดือนเมษายน พ.ศ. 2481 ป๋วยสอบชิงทุนรัฐบาล ได้ไปเรียนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการคลัง ที่ London School of Economics & Political Science มหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งหลังจากนั้นอีกเพียง 6 เดือน มารดาของป๋วยก็เสียชีวิตลง



    ป๋วยใช้เวลาสามปีก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ป๋วยเป็นนักเรียนดีเด่น และเป็นศิษย์เอกของ ศาสตราจารย์เฟรเดอริก ฮาเย็ก (ซึ่งได้รับ รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2517) ป๋วยเป็นคนไทยคนเดียว ในมหาวิทยาลัยนี้ ที่สอบได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยกันในปี พ.ศ. 2485 ได้เกรดเอแปดวิชา และเกรดบีหนึ่งวิชา


    .......................................................................




    ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม



    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ



    ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม (18 มกราคม พ.ศ. 2447 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2510) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว กรุงลอนดอน และกรุงบอนน์ [1] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยได้รับการเสนอชื่อจากนายปรีดี พนมยงค์ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ได้ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง และเคยได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลไทย ต่อองค์การยูเนสโกให้ประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญแห่งโลก แต่ไม่ได้รับพิจารณาเนื่องจากข้อเสนอของรัฐบาลไทยไม่เข้าข่ายที่จะได้รับการพิจารณา



    ดิเรก ชัยนาม เกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2447 ปีมะโรง เป็นบุตรชายของพระยาอุภัยพิพากษา (เกลื่อน ชัยนาม) อดีตข้าราชการตุลาการเมืองพิษณุโลก และคุณหญิงอุภัยพิพากษา (จันทน์ ชัยนาม) สมัยที่ยังเป็นเด็กสุขภาพไม่แข็งแรง จนกระทั่งทางครอบครัวได้มายกถวายให้เป็นลูกของพระพุทธชินราช พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลกและประเทศไทย สุขภาพจึงกลับมาแข็งแรงเป็นที่น่าพอใจ



    ดิเรกศึกษาเล่าเรียนในระดับมัธยมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 โดยเริ่มต้นเป็นนักเรียนประจำ และออกมาเป็นนักเรียนไปกลับใน 2 ปีสุดท้าย จากนั้นได้ย้ายมาเรียนชั้นมัธยม 8 ที่ โรงเรียนราชวิทยาลัย และมาเข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมายจนจบการศึกษาเป็นเนติบัณฑิต ใน ปี พ.ศ. 2471


    ดิเรกสมรสกับ ม.ล.ปุ๋ย (นพวงศ์) ชัยนาม ดิเรกถึงแก่กรรมเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 เมื่ออายุ 63 ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 [1] ส่วน ม.ล.ปุ๋ย ชัยนาม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2541 รวมอายุ 94 ปี


    ................................................................



    นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น.



    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ



    นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. (22 มกราคม พ.ศ. 2438 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2508) มีชื่อจริงว่า บุง ศุภชลาศัย รองผู้บัญชาการทหารเรือ อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง กรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2481


    หลวงศุภชลาศัย เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2438 ณ ตำบลถนนพระอาทิตย์ อำเภอชนะสงคราม จังหวัดพระนคร เป็นบุตรนายเบี้ยวและนางพ่วง เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดชนะสงคราม, โรงเรียนวัดบวรนิเวศ และโรงเรียนวัดราชบูรณะ (โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) จนจบชั้นมัธยมเมื่อ พ.ศ. 2454 และสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนนายเรือ เรียนเก่งถึงขั้นได้รับเกียรตินิยมของสถาบัน


    บุง ศุภชลาศัย เริ่มต้นชีวิตราชการทหารเรือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2461 ประจำการบนเรือรบหลวง "สุครีพครองเมือง" ตำแหน่งสุดท้ายก่อนออกจากกองทัพเรือ คือรองผู้บัญชาการทหารเรือ ต่อมาในรัฐบาล พระยาพหลพลพยุหเสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้สถาปนากรมใหม่ขึ้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 เพื่อจัดการงานด้านพลศึกษาของชาติ มี อำมาตย์เอกพระยาประมวลวิชาพูล (วงษ์ บุญ-หลง) รักษาราชการในตำแหน่งอธิบดี จนกระทั่ง วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย) จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา คนแรกอย่างเป็นทางการ


    หลวงศุภชลาศัย เป็นผู้วางรากฐานการพลศึกษาและกีฬานักเรียนเมืองไทยหลายประการ อาทิ การบรรจุหลักสูตรวิชาพลศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาทั่วประเทศ และสิ่งสำคัญ สำหรับชาวพลศึกษา คือการกำหนดสัญญลักษณ์ วงกลมห่วง 3 สี ประดิษฐานอยู่ใต้รูปพระพลบดี ซึ่งห่วงสีขาวแทนพุทธิศึกษา, ห่วงสีเหลืองแทนจริยศึกษา และห่วงสีเขียวแทนพลศึกษา โดยความหมายแห่งนัย คือบุคคลจะมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และก่อประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมืองได้อย่างแท้จริงจะต้องมีความสมดุลระหว่าง ความรู้ ความประพฤติและพลานามัย ดังเช่นห่วงทั้ง 3 วง ที่วางทับกันอย่างมีเอกภาพ


    หลวงศุภชลาศัย ได้ส่งเสริมการแข่งขันกีฬานักเรียนของกรมพลศึกษา จัดให้มีการมอบเสื้อสามารถแก่นักกีฬาที่มีความยอดเยี่ยมทุกประเภท ก่อนจัดแข่งขันกีฬาประชาชนทั่วประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก และใน พ.ศ. 2479 จึงย้ายสนามแข่งขันกีฬานักเรียนประจำปี จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ไปทำการแข่งขัน ณ สนามหลวง


    เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2478 กรมพลศึกษา ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน เนื้อที่ 114 ไร่ 1 งาน 25.12 ตารางวา ตรงบริเวณที่เดิมเป็นวังวินเซอร์ ซึ่งเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อจัดสร้างสนามกีฬาแห่งชาติ และได้ดำเนินการของบประมาณแผ่นดิน เพื่อใช้การจัดสร้างสนามกีฬา ใช้ชื่อว่า สนามกรีฑาสถาน (National Stadium) และโรงเรียนพลศึกษากลาง เริ่มงานตั้งแต่ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 จวบจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2484


    ในขณะที่สนามกรีฑาสถานยังสร้างไม่เสร็จ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการแข่งขันกีฬาประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2481 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขัน ณ สนามกรีฑาสถาน เป็นครั้งแรก


    เมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 กรมพลศึกษา ได้เปลี่ยนชื่อสนามกรีฑาสถาน เป็น สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงศุภชลาศัย ปัจจุบัน นิยมเรียกสั้นๆ เพียงว่า สนามศุภชลาศัย หรือ สนามกีฬาแห่งชาติ



    ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2485 - 2487 นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. ได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หลวงศุภชลาศัย ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 กรมพลศึกษา ได้ยกย่องและเชิดชูเกียรติให้ท่านเป็น บุคคลพลศึกษาของชาติ สาขาการบริหารการพลศึกษา



    หลวงศุภชลาศัย เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นผู้ที่รับหน้าที่อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่แปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล นิวัติยังพระนคร



    รวมทั้งเคยได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ของพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ด้วย



    หลวงศุภชลาศัย สมรสกับ สวาสดิ์ หุวนันท์ และ หม่อมเจ้าจารุพัตรา อาภากร พระธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ประสูติในหม่อมกิม อาภากร ณ อยุธยา (ธิดานายตั๊น ชุ่นเพียว)




    .............................................................



    พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา



    ย้อนรอยอดีต ตอนที่ 5 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหรัฐเป็นโมฆะ




    พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา (7 มกราคม พ.ศ. 2462 - ) องคมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ


    พลอากาศเอกสิทธิ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) และคุณหญิงวันพฤกษ์พิจารณ์ (ขลิบ เศวตศิลา สกุลเดิม บุนนาค) เป็นหลานปู่ของนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ และหลานตาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)


    พลอากาศเอกสิทธิ สมรสกับเภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิงธิดา เศวตศิลา มีบุตรธิดา 4 คน หนึ่งในนั้นคือ ธาดา เศวตศิลา สามีของมยุรา ธนบุตร นักแสดงหญิงและพิธีกรไทย


    ....................................................................



    อนันต์ จินตกานนท์



    อนันต์ จินตกานนท์ หนึ่งในสมาชิกขบวนการเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา โดยในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 นายอนันต์รับราชการในตำแหน่งเลขานุการตรีประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่เนื่องจากไม่ได้รับราชการทหาร หลายครั้งชื่อของนายอนันต์จึงตกหล่นเมื่อมีผู้พูดถึงขบวนการเสรีไทย จนครั้งหนึ่ง คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร ได้เขียนบทความถึงนายอนันต์ว่าเป็นเสรีไทยที่ถูกลืม


    นายอนันต์ จินตกานนท์ เป็นบุตรของพระยาอรรธวิรัชวาทะเศรณี (ปลั่ง จินตกานนท์) เป็นน้องชายของ พลโทอัมพร จินตกานนท์ อดีตนักการเมือง และรัฐมนตรีที่มีบทบาทสำคัญในยุคสมัยของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจรและเป็นน้องชายของ นายอเนก จินตกานนท์



    นายอนันต์ เข้ารับราชการ ณ กระทรวงการต่างประเทศ และถูกส่งไปประจำการ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมี ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นเอกอัครราชทูต และหลวงดิษฐการภักดี เป็นเลขานุการเอก



    หลังจากนั้นนายอนันต์กลับมารับราชการ ณ กรุงเทพ ต่ออีกระยะหนึงจนถึงตำแหน่งเลขานุการเอก ก่อนที่จะถูกยืมตัวจาก ECAFE (ESCAP ในปัจจุบัน) เนื่องจากความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ นายอนันต์ ดำรงตำแหน่งระดับสูงใน ECAFE ก่อนที่จะโอนกลับกระทรวงการต่างประเทศก่อนจะเกษียณอายุราชการเพื่อรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง

    นายอนันต์เสียชีวิตอย่างกระทันหันเพราะหัวใจวายเฉียบพลันในปี 2519






    ขอบคุณ
    วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 16-08-2010 at 15:28.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ wundee2513
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    ตามภารกิจ
    กระทู้
    1,108
    บล็อก
    11
    ...ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีๆและมีประโยชน์ กอปรกับความตั้งใจในการนำเสนอ
    ข้อมูลมากขนาดนี้พิมพ์ตกหล่นแทบไม่มีเลยครับ.
    เสรีภาพ เสมอภาค ยุติธรรม

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •