ย้อนรอยอดีต 6 กบฎบวรเดช!!





กบฎบวรเดช!!! เริ่มขึ้นเมื่อ ประวัติศาสตร์การนองเลือดอันเกิดจากคนไทยด้วยกัน เปิดฉากรบราฆ่าฟันกัน!!!!!



เริ่มขึ้นเมื่องวันที่ 11 ตุลาคม 2476



ในประวัติศาสตร์การสู้รบกันทางความคิดของคนไทยเปิดขึ้นมาหลายครั้ง
เป็นการขัดแย้งทางความคิด ซึ่งนำมาสู่การเสียเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกัน ความคิดเห็นที่แตกต่างกันนำมาสู่ภาวะสงคราม


ความสามัคคีกันในชาติ เป็นสิ่งที่ประเสริฐมากที่สุดค่ะ
เราเป็นคนไทยด้วยกัน สมควรที่จะรัก สามัคคีกัน คงดีกว่า


วันนี้ย้อนรอยอดีตได้นำเสนอ กบฏในราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นตำนานของหลายสิ่งหลายอย่าง



เหตุการณ์เมื่อครั้งกบฏบวรเดช ทิ้งรอยประวัติศาสตร์ไว้หลายประการ เช่น อนุสาวรีย์หลักสี่ (อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ-อนุสาวรีย์ปราบกบฏ) ตำนานคุกนรกตะรุเตา และการจัดงานศพสามัญชนครั้งแรกบนท้องสนามหลวง






ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!




กบฏบวรเดช (คณะกู้บ้านเมือง) อันสืบเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายคณะราษฎรและอำนาจเดิม


ตั้งแต่เค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์ จนถึง พระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ และการฟ้องร้องในหลวงรัชกาลที่ ๗


เกิดความวุ่นวายจนนำไปสู่การรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำฝ่ายทหาร



ต่อเนื่องด้วยกบฏบวรเดช ที่นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช



เหตุการณ์เมื่อครั้งกบฏบวรเดช ทิ้งรอยประวัติศาสตร์ไว้หลายประการ เช่น อนุสาวรีย์หลักสี่ (อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ-อนุสาวรีย์ปราบกบฏ) ตำนานคุกนรกตะรุเตา และการจัดงานศพสามัญชนครั้งแรกบนท้องสนามหลวง





ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!

รถไฟชนกันเสียหายจากกบฏบวรเดช





รัฐบาลสมัยนั้น (พระยาพหลพลพยุหเสนา) ประสงค์สร้างเมรุชั่วคราวเผาศพผู้เสียชีวิตฝ่ายรัฐบาลบนท้องสนามหลวง


เกิดการ “คัดง้าง” กันขึ้นระหว่างรัฐบาลกับล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗


ซึ่งในเบื้องต้นไม่ทรงยินยอม เพราะเป็นสถานที่ประกอบพิธีสำหรับเจ้าเท่านั้น


แต่ท้ายที่สุดก็จำต้องทรงยินยอม โดยระบุถ้อยคำว่า “ไม่ได้เป็นพระราชประสงค์”




ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!





เนื้อหาโดยละเอียด



ภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 โดย " คณะราษฎร์ " ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีคณะนายทหารฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นความรีบร้อนช่วงชิงอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ทรงดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในกาลเวลาอันเหมาะสมอยู่แล้ว เพียงแต่ทรงต้องการให้ราษฎรมีความเข้าใจในวิถีทางรัฐธรรมนูญอย่างถ่องแท้เสียก่อนเท่านั้น



11 ตุลาคม 2476 ประวัติศาสตร์การนองเลือดอันเกิดจากคนไทยด้วยกัน เปิดฉากรบราฆ่าฟันกันขึ้น ซึ่งเป็นทหารฝ่ายรัฐบาลกับทหารปฏิวัติ โดยการนำของพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งเคยทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมมาแต่ก่อน ยกกำลังจากหัวเมือง คือ จากกองทัพนครราชสีมา สระบุรี อยุธยา นครสวรรค์ ราชบุรี ปราจีนบุรี อุบลราชธานี อุดรธานี พร้อมกับมุ่งหน้าสู่พระนคร เพื่อบังคับให้รัฐบาลกราบถวายบังคมลาออก





ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!



รถถังขนาดเบาเข้ามาใช้ในกรมทหาร- ขณะดำลงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ทรงต่อสู้เพื่อขัดขวางการตัดทอนงบประมาณทางทหาร ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว




เมื่อฝ่ายรัฐบาล อันมีพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี รู้ข่าวแต่ต้น จึงได้ส่งกำลังตำรวจในความควบคุมของนายพันตำรวจโทพระกล้ากลางสมร ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษมุ่งหน้าไปยังนครราชสีมา



ขบวนรถไฟของกองกำลังทหารฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดช ได้ปะทะกับฝ่ายตำรวจสันติบาลของรัฐบาลที่ปากช่อง ฝ่ายปฏิวัติระดมยิงฝ่ายตำรวจทันที กระสุนปลิดชีวิตนายร้อยตำรวจโทขุนประดิษฐสกลการ กับนายดาบตำรวจทองแก่น อบเชย และพลตำรวจอีก 2 ราย นอกจากนั้น ได้รับบาดเจ็บอีกหลายนาย การยิงต่อสู้กันดำเนินไปไม่นาน ตำรวจทั้งหมดก็ต้องยกธงขาว ตกอยู่ในความควบคุมของทหารฝ่ายปฏิวัติ



ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!

การขนทหารฝ่ายรัฐบาลที่บางซื่อคราวกบฏบวรเดช (ต้นฉบับ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)




นายพันตำรวจโทพระกล้ากลางสมร ถูกควบคุมตัวมากับขบวนของทหารฝ่ายปฏิวัติจนกระทั่งถึงดอนเมือง ทหารฝ่ายปฏิวัติเข้ายึดดอนเมืองไว้ได้เมื่อ 12 ตุลาคม 2476 แต่พระกล้ากลางสมรได้เล็ดลอดหนีจากการควบคุมของฝ่ายปฏิวัติออกมาได้ในความมืด แล้วมุ่งกลับพระนครทันที



เมื่อฝ่ายปฏิวัติยึดดอนเมืองไว้แล้ว ได้ส่งตัวแทนไปติดต่อกับรัฐบาลพร้อมกับยื่นหนังสือเป็นคำขาดให้รัฐบาลลาออกภายใน 1 ชั่วโมง ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ทางฝ่ายปฏิวัติจะยกกำลังเข้าบังคับ



ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ( ผู้ว่าการรถไฟในสมัยต่อมา ) เป็นตัวแทนไปเจรจากับฝ่ายปฏิวัติให้เลิกทัพกลับไปแต่โดยดี เพื่อมิให้เสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกัน โดยจะกราบบังคมทูลขอนิรโทษกรรมให้




ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!




กบฎบวรเดช!!! ประวัติศาสตร์การนองเลือดอันเกิดจากคนไทยด้วยกัน


เมื่อฝ่ายปฏิวัติไม่ได้รับผลจากการยื่นคำขาดเช่นนั้น จึงให้กักตัวพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ไว้ พร้อมกับยื่นข้อเสนอใหม่ รวม 6 ข้อต่อรัฐบาล คือ.-




1.ต้องจัดการในทุกทางที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศภาย


ใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน


2. ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาลต้องเป็นไปตามเสียงของหมู่มาก


3. ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการทั้งหลายและพลเรือนต้องอยู่นอกการเมือง ตำแหน่งฝ่ายทหารตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือลงไปต้องไม่มีหน้าที่ทางการเมือง


4. การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งราชการ จักต้องถือคุณวุฒิและความสามารถเป็นหลัก ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมืองเป็นความชอบหรือเป็นข้อรังเกียจในการบรรจุเลื่อนตำแหน่ง


5. การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ต้องถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกจริงๆ


6. การปกครองกองทัพบกจักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้รวมกำลังไว้เฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง




ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!


รถจักรสวิส 450 แรงม้า หมายเลข 504 ขณะสวมเกราะกันกระสุน




ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!

ปตอ. 76 จากโรงงานวิกเกอร์อาร์มสตรองที่นิวคาสเซิล




สุดท้ายได้ขอประกาศนิรโทษกรรมแก่คณะปฏิวัติ ซึ่งคำขอทั้งหมดนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลยืนกรานไม่ยินยอม



คณะปฏิวัติจึงเคลื่อนกำลังเข้าสู่พระนครทันที โดยยึดพื่นที่เรื่อยมาจากดอนเมืองถึงบางเขน

บ่ายวันนั้น 12 ตุลาคม 2476 เสียงปืนใหญ่ระเบิดกึกก้องไปทั่วท้องทุ่งบางเขน ฝ่ายปฏิวัติรอกำลังทหารจากจังหวัดหัวเมืองต่างๆ ที่จะตามมาสมทบทหารฝ่ายรัฐบาลได้ยกพลมาถึงสถานีโคราชแล้ว วันที่ 25 ตุลาคม 2476



ฝ่ายรัฐบาลนั้น นายพันโท พระเริงรุกปัจจามิตร ผู้บังคับการปราบปรามแนวหน้า นำคณะทหารเข้าต่อสู้โดยลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น ปืนกลหนัก ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ( ปตอ. ) ขึ้นรถ ขต. และใช้รถจักรไอน้ำดุนวิ่งไปตามราง เข้ากระหน่ำยิงอย่างไม่ลดละ



ฝ่ายปฏิวัติเสียเปรียบในด้านกำลังอาวุธ พระยาศรีสิทธิสงคราม แม่ทัพหน้าของฝ่ายปฏิวัติ สั่งให้พวกของตนถอยทัพมาตั้งมั่นอยู่ที่สถานีหลักสี่



ส่วนกำลังทหารปืนใหญ่จากนครสวรรค์ ซึ่งขณะยกกำลังมาเพื่อสมทบกับกำลังฝ่ายปฏิวัตินั้น ได้ถูกกองกำลังฝ่ายรัฐบาลที่สถานีโคกกระเทียมตีสกัดไว้จนถอยร่นกระจายกลับคืนไป ส่วนพระยาเสนาสงครามแม่กองได้พยายามหนีเล็ดลอดลอบมาสมทบได้ในภายหลัง



กองทหารเพชรบุรีก็เช่นกัน ถูกทหารฝ่ายรัฐบาลที่ราชบุรีตีสกัดกั้นไว้ที่สถานีบ้านน้อย (สถานีเขาย้อย) ไม่สามารถจะผ่านมารวมกำลังกับฝ่ายปฏิวัติได้



ส่วนทหารจากปราจีนบุรีนั้นเล่า ไม่มั่นใจว่าฝ่ายปฏิวัติจะมีชัยชนะต่อรัฐบาลได้ จึงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาลทำการปราบปรามฝ่ายปฏิวัติเสียอีกด้วย เหตุการณ์ระส่ำระสายทำให้ฝ่ายปฏิวัติสูญเสียกำลังใจในการสู้รบเป็นอย่างมาก
การส่งกำลังบำรุงฝ่ายรัฐบาลที่ย่านสถานีบางซื่อ



การรบขับเคี่ยวกันอยู่ถึง 2 วัน 2 คืน กระทั่งวันที่ 14 ตุลาคม ฝ่ายปฏิวัติยังคงปักหลักอย่างเหนียวแน่นที่สถานีหลักสี่ มีกำลังทหารม้าจำนวน 5 กองร้อยของนครราชสีมาประจำแนวรบอย่างทรหด แม้จะมีปืนกลอยู่เพียง 5 กระบอกเท่านั้นก็ตาม ยังสามารถรุกไล่ทหารฝ่ายรัฐบาลถอยร่น จนเข้ายึดคลองบางเขนไว้ได้อีกครั้งหนึ่ง



คุณทวดฮาโนแมก 277 ชนรถ บทน. 4 ผล ทหารรัฐบาลตาย 9-10 คน รวมถึงนายร้อยโทที่โดนรถ ปตอ. 76 ทับขาตายคาที่



รุ่งขึ้น วันที่ 15 ตุลาคม ฝ่ายรัฐบาลได้หนุนกำลังพร้อมอาวุธหนักนำขึ้นรถไฟ มีทั้งรถเกราะและปืนกล รุกไล่ฝ่ายปฏิวัติจนเกือบประชิดแนวหน้าฝ่ายปฏิวัติซึ่งเป็นรองทั้งกำลังสนับสนุนและอาวุธต่างๆ จำเป็นต้องถอยกลับ



ระหว่างที่ยกกำลังถอยร่นนั้น ได้ปล่อยรถจักรเปล่าซึ่งเปิดฝีจักรเต็มที่พุ่งเข้าชนขบวนรถเกราะ ปืนกลของฝ่ายรัฐบาลตกรางพินาศยับเยิน ทหารของฝ่ายรัฐบาลเสียชีวิตไปจำนวนไม่น้อย ทำให้ชะงักการรุกไล่ของทหารฝ่ายรัฐบาลไปได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง



เมื่อประเมินกำลังการต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลแล้วเห็นว่า ฝ่ายตรงข้ามมีกำลังเหนือกว่าเพราะ โดนฝ่ายรัฐบาลสั่งให้เอานัดดินออกจาก ลูกกระสุนปืนใหญ่หมดไปก่อนหน้าที่จะก่อกบฏ พระองค์เจ้าบวรเดชก็สั่งให้ถอยทัพไปยึดช่องแคบสถานีปากช่อง เตรียมการต่อสู้กับรัฐบาลต่อไป ขณะที่เคลื่อนกำลังถอยไปนั้น ก็ได้ทำการระเบิดทำลายสะพานและทางรถไฟเสียหายหลายแห่ง เพื่อเป็นการประวิงเวลาการติดตามรุกไล่ของฝ่ายรัฐบาล



ฝ่ายปฏิวัติถูกกำลังฝ่ายรัฐบาลติดตามปราบปรามถึงสถานีหินลับ และปากช่อง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก พระองค์เจ้าบวรเดชขึ้นเครื่องบินหนีออกนอกประเทศ และฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามฝ่ายปฏิวัติได้สำเร็จ




ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!

พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา




การยุทธครั้งนั้น ทรัพย์สินของชาติโดยเฉพาะกิจการรถไฟได้รับความเสียหายมาก เป็นภาระของกรมรถไฟหลวงต้องดำเนินการซ่อมบำรุงทั้งล้อเลื่อนและทางรถไฟให้เรียบร้อยใช้การได้ ในเวลาต่อมาจะเห็นได้ว่า รถไฟ มีภารกิจต่อประเทศชาติในภาวะปกติ โดยการรับใช้ประชาชนด้วยบริการโดยสารและการขนส่งสินค้าในฐานะรถไฟเป็นกิจการสาธารณูปโภค อีกทั้งในภาวะสงคราม " รถไฟ " ก็พร้อมที่จะเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกับกองทัพแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการป้องกันประเทศเช่นเดียวกัน ภารกิจดังกล่าว คนรถไฟทุกคนตระหนักในความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงนี้ด้วยความภาคภูมิใจ นับแต่อดีตกระทั่งปัจจุบัน และแม้ในอนาคตข้างหน้าต่อไป



และการสู้รบกับทหารกรุงเทพฯที่บางเขน(ทุ่งบางเขน) ทางการสมัยนั้นจึงเรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า ‘กบฏบวรเดช’ แต่องค์แม่ทัพและพวกนายทหารผู้ใหญ่ ผู้น้อยที่ร่วมด้วยเรียกพวกของตนว่า คณะกู้บ้านกู้เมือง ทว่าเมื่อฝ่ายที่ยกมาพ่ายแพ้จนองค์แม่ทัพต้องเสด็จหนีไปเขมร จึงต้องเป็น ‘กบฏบวรเดช’ อยู่หลายสิบปี ทางการครั้งนั้นได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้ตรงหลักสี่ให้เรียกว่า ‘อนุสาวรีย์ปราบกบฏ’ เวลานี้อนุสาวรีย์ก็ยังมีอยู่ แต่เรียกกันใหม่ว่า ‘อนุสาวรีย์หลักสี่’



ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!


..........................................................................................




พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช




พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช (2 เมษายน พ.ศ. 2420-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำกบฎบวรเดชพยายามยึดอำนาจจากรัฐบาลคณะราษฎร เมื่อ พ.ศ. 2476



ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!




พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระนามเดิม หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร (พ.ศ. 2420-2496) พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา




ย้อนรอยอดีต 6  กบฎบวรเดช!!

พระเจ้าบรมวงค์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วฤทธิ์




พระนามเดิม หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา


หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร สำเร็จการศึกษาวิชาทหารจากเยอรมนี และรับราชการทหาร ทรงเสกสมรสกับ เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ ธิดาของเจ้าเทพดำรงรักษาเขตกับเจ้าแม่พิมพา กนิษฐาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2445 จากนั้นทรงรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นเวลา 3 ปี หม่อมเจ้าบวรเดชได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปราชมณฑลพายัพ ที่เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2458-2462 และดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2472


พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในปลายปี พ.ศ. 2474 เนื่องจากทรงขัดแย้งกับจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพบก



ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เกิดความแตกแยกในคณะราษฎร พระยาพหลพลพยุหเสนา ก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เกิดความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับผู้นำในคณะราษฎรหลายครั้งเกี่ยวกับแนวทางการเมืองของประเทศ สาเหตุสำคัญมีอาทิการกำหนดสถานภาพของพระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองใหม่ จนถึงข้อเสนอของนายปรีดี พนมยงค์ที่เรียกว่า "เค้าโครงเศรษฐกิจ" ซึ่งนำเสนอรัฐสภาและทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัย ซึ่งทรงวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอดังกล่าวอย่างรุนแรง โดยทรงเห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อพื้นฐานทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความวุ่นวายได้ ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรถือว่าปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและเป็นความต้องการรักษาอำนาจของ "ฝ่ายศักดินา" หรือ "ระบอบเก่า" ความขัดแย้งดังกล่าวขยายตัวชัดเจนมากขึ้นจนมีการอภิปรายในรัฐสภาคัดค้านเค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าว กดดันให้นายปรีดี พนมยงค์ ต้องเดินทางไปพำนักในฝรั่งเศส ก่อนที่ผู้นำฝ่ายทหารของคณะราษฎรคือ พระพหลพลพยุหเสนา ต้องก่อรัฐประหารเพื่อรักษาอำนาจของคณะราษฎรไว้ ทำให้ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายรุนแรงมากขึ้น



ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงส่งกำลังทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางนครราชสีมา อุบลราชธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และเพชรบุรี เคลื่อนกำลังทางรถไฟเข้ายึดกองทัพอากาศดอนเมืองได้เมื่อวันที่ 12 และเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดพื้นที่ไปตามแนวคลองบางเขนจนถึงสถานีรถไฟบางเขน เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา กระทำตามเงื่อนไข 6 ข้อ ใจความโดยย่อคือ ให้รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้อำนาจรัฐสภามากขึ้นและจำกัดอำนาจของรัฐบาลมิให้กลายเป็นคณะเผด็จการ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของพระองค์เจ้าบวรเดชในครั้งนั้นถูกมองจากฝ่ายนิยมคณะราษฎรว่าเป็นความพยายามในการฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และต่อต้านระบอบประชาธิปไตย



ในเวลาเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันโทหลวงพิบูลสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้บังคับกองผสมทำการรุกตอบโต้ จนทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก จนถึงวันที่ 15 กำลังทหารหัวเมืองได้ถอนกำลังออกจากดอนเมือง เคลื่อนที่ไปยังปากช่องอันเป็นที่มั่นด่านสุดท้าย ขณะที่กองหน้าของกองบังคับการผสมได้ติดตามไปจนถึงสถานีปากช่อง และ พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) แม่ทัพซึ่งรับหน้าที่เป็นกองระวังหลัง ถูกยิงเสียชีวิตบนทางรถไฟใกล้สถานีหินลับ อำเภอปากช่อง



เมื่อที่มั่นแห่งสุดท้ายคือสถานีปากช่องถูกยึด และแม่ทัพเสียชีวิต พระองค์เจ้าบวรเดชและพระชายาจึงเสด็จหนีโดยทางเครื่องบินจากฐานบินโคราช มีหลวงเวหนเหิรเป็นนักบิน ไปขอลี้ภัยทางการเมืองที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียตนาม จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงย้ายไปประทับที่ประเทศกัมพูชา และเสด็จกลับประเทศไทยพร้อม หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร พระชายา เมื่อ พ.ศ. 2491




พระโอรส และ พระธิดา

เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ (13 มิถุนายน พ.ศ. 2426 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2497) มีพระธิดา 1 คน อนิจกรรมตั้งแต่คลอด


เจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่ พระขนิษฐาใน เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ มีพระโอรส 1 คน คือ หม่อมราชวงศ์ จิรเดช กฤดากร

หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร (พ.ศ. 2426-2524) พระขนิษฐาต่างมารดา






วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

http://www.moremove.com





.........................................................