กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์

    ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ล้านช้างและลาว




    ตลิ่งของสองข้างทางน้ำของ
    แม้ยืนมองดูยังคอตั้งบ่า
    เขาหาบน้ำตามขั้นบันไดมา
    แต่ตีนท่าลื่นลู่ดังถูเทียน
    เหงื่อที่กายไหลโทรมลงโลมร่าง
    แต่ละย่างตีนยันสั่นถึงเศียร
    อันความทุกข์มากมายหลายเล่มเกวียน
    ก็วนเวียนอยู่กับของสองฝั่งเอย”




    นี่คือบทกวี “ตลิ่งของ” อันเป็นผลงานชั้นครู ของ “นายผี” หรือ “อัศนี พลจันทร์” ที่ให้ภาพชัดเจน ของ “แม่น้ำของ” หรือ “แม่น้ำโขง” อย่างแจ่มชัด ชนิดที่ “เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์” กวีซีไรต์ และศิลปินแห่งชาติ ยังนิยามว่า “มหากาพย์แห่งลำน้ำโขง”



    แม่น้ำที่สองฟากฝั่ง สะท้อนภาพความเป็นไปแห่งวิถีชีวิต สายน้ำโขงที่ไหลผ่านไทยและลาว เป็นสายน้ำแห่งชีวิต ชีวิตที่เงียบสงบ ของดินแดนสองฝั่งโขง


    และก็เป็นแม่น้ำสายเดียวกันนี้ กลับเป็นสายน้ำที่แบ่งแยก 2 ฝั่ง อา...แม่น้ำที่แยกแผ่นดินออกจากกัน โดยหลักดินแดนอธิปไตย ตามนัยแห่งความเป็น “รัฐชาติ”


    ฟากหนึ่งของแม่น้ำ คือ “ฝั่งลาว”

    ขณะที่อีกฝากหนึ่งคือ คือ “ฝั่งไทย”




    ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์



    สายน้ำแห่งนี้ กั้นสองฝั่งประเทศ แต่ไม่อาจกั้นความสัมพันธ์แห่งวิญญาณได้ วัฒนธรรมสองฝากฝั่งโขงที่เชื่อมโยงกัน เป็น วิถีแห่งชีวิต วัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนสองฝากฝั่งโขงที่ไม่เคยถูกแบ่งแยกวิถีชีวิตโดยสายน้ำ ทุกชีวิตมีของสองฝากฝั่งโขง ถูกเชื่อมโยงด้วยวิถีแห่งจิตวิญญาณเดียวกัน




    “สุจิตต์ วงษ์เทศ” ได้ให้คำอธิบายใน “แผนที่ประวัติศาสตร์(สยาม)ประเทศไทย”
    บ่งชี้รายละเอียดบางประการ สำหรับอาณาจักรในดินแดนอีสาน


    มีการจำแนก 5 กลุ่มคร่าว ๆ เป็น
    “แคว้นอิสระ” หรือ “รัฐเอกเทศ”

    หากแต่มีความสัมพันธ์ฉันเครือญาติ


    -กลุ่มลุ่มน้ำโขง-ชี-มูล หรือ เจนละ
    -กลุ่มกลางลุ่มน้ำมูล หรือ พนมวัน-พิมาย-พนมรุ้ง
    -กลุ่มต้นลุ่มน้ำมูล หรือ ศรีจนาศะ
    -กลุ่มลุ่มน้ำชี
    -กลุ่มสองฝั่งโขง หรือ เวียงจัน ที่มีชื่อในตำนานว่า “ศรีโคตรบูร”



    “อาณาจักรศรีโคตรบูร” ที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ผ่าน “ร่องรอยกาลเวลา” ของ “ดินแดนสองฝั่งโข เวลา” และ “วรรณกรรมสองฝั่งโขง” ที่สะท้อนความเป็น “พหุลักษณ์ทางสังคม”

    ไม่ว่าจะเป็น “ประวัติศาสตร์บันทึก” หรือ “ประวัติศาสตร์บอกเล่า” ก็ตาม



    นอกเหนือจาก “ประวัติศาสตร์บันทึก” ว่าด้วย
    “ตำนานอุรังคธาตุ” หรือ “ตำนานพระธาตุพนม” และตำนานอื่น ๆ แล้ว
    ก็ยังมี “ประวัติศาสตร์บอกเล่า” ที่เติมเต็มสีสันของกาลเวลาอย่างยิ่ง


    โดยเฉพาะ “ตำนานพระยาศรีโคตร” ที่ทรงฤทธานุภาพฆ่าไม่ตาย และสามารถลากท่อนซุงขนาดใหญ่มาทำกระบอง เพื่อปราบช้างป่านับล้านตัว ให้กับ “อาณาจักรเวียงจันทน์” จนเป็นที่มาของ “อาณาจักรล้านช้าง”


    แล้วก็ต้องตกตายในที่สุด เพราะ “ภัยการเมือง” จากเจ้าเมืองเวียงจันทน์ ที่ส่งธิดามาเป็นชายาล้วงความลับ จนพบว่า จุดอ่อนอยู่ที่ทวารหนัก



    และพระยาศรีโคตร ได้ซ่อนปริศนาที่ว่าด้วย “คำสาป” ก่อนตาย ที่ทำให้ดินแดน “สองฝั่งโขง” ไม่ได้เจริญอย่างถึงที่สุด และถึงจะเจริญ ก็เพียงแค่ช่วง “ช้างพับหู-งูแลบลิ้น” เท่านั้น


    และ “คำสาป” นี้ ก็มีจุดสิ้นสุด ถ้ามี...


    ”หินฟูน้ำ-พญางูใหญ่เข้ามา-ช้างเผือกเข้ามา”



    บางที “ตำนาน” ก็อาจเป็นเพียง “ความเชื่อ” ที่เล่าสืบต่อกันมา


    แต่บางทีในห้วงเวลาปัจจุบัน อาจปรากฏซ้อนทับ บน “ร่องรอยกาลเวลาจากอดีตสุ่ปัจจุบัน”



    เพราะ ณ เวลาปัจจุบัน เราได้พบว่า มีสะพานมิตรภาพอยู่เหนือน้ำ เชื่อมข้ามสองฝั่งโขง พร้อม ๆ กับ “เส้นทางรถไฟ” ที่เลื้อยเรื่อยไป เพื่อเชื่อมการเดินทางและการขนส่ง


    เช่นเดียวกับ “คนผิวขาว” ที่เข้ามาเต็มพื้นที่ ในรูปของการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ก็คือขุมทรัพย์หลากหลายที่ได้ถูกค้นพบ
    เช่นว่า แหล่งน้ำมัน และแหล่งสายแร่ทองคำ


    เหตุการณ์นี้ทำให้เป็นข้อคิดมิใช่หรือ สำหรับตำนาน และปรากฏการณ์ความเป็นไป ในห้วงเวลาปัจจุบัน


    จากตำนาน “แม่น้ำของ” ที่กั้นกลางแผ่นดินสองฝั่ง มีนิทานและตำนาน บอกเล่ากำเนิดแม่น้ำ ในลักษณะของ “มุขปาฐะ” ว่าด้วย “ยักษ์สลึคึ” ที่มีอวัยวะเพศทั้งใหญ่และยาวเกินตัว เวลาเดินไปไหน ก็จะลากไปรายทางตามเส้นทางเดิม จนกลายเป็นแม่น้ำใหญ่ เพราะการลาก “ของ” ที่หมายถึง “อวัยวะเพศ” จนได้ชื่อว่า “น้ำของ”


    นี่ยังไม่รวมถึงกำเนิดสถานที่อีกมากมาย ที่ผูกเรื่องเข้ากับตำนานของ “ยักษ์สลึคึ” กับคู่รักอย่าง “ยักษ์นางแก้ว(โยนี)หลวง”


    “อาณาจักรศรีโคตรบูร” ที่น่าเชื่อว่า ทั้งสองฟากฝั่งคือเมืองเดียวกัน ที่มิได้แยกออกจากกันเพราะน้ำโขง ยังมีร่องรอยประวัติศาสตร์สะท้อนผ่านสองฟากฝั่ง เช่นว่า “บ้านหนองจันทน์-เมืองเก่า” ที่อยู่ฟากหนึ่งของน้ำโขงในพื้นที่ฝั่งไทย และอยู่ตรงกันข้ามอย่างน่าคิด กับ “พระธาตุศรีโคตรบอง” อีกฟากของน้ำโขง ในพื้นที่ฝั่งลาว


    สายน้ำแห่งนี้ จึง สะท้อนให้เห็นเด่นชัด ผ่าน “อำนาจของภาษา-อำนาจของวรรณกรรม” ดังที่ “ชัชวาลย์ โคตรสงคราม” จากสโมสรนักเขียนภาคอีสาน ย้ำว่า “ไร้พรมแดน” เป็น “สัมพันธภาพ บนความหลากหลาย ของชาติพันธุ์”




    อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ล้านช้างและลาว
    (พุทธศตวรรษที่ ๑๔-ปัจจุบัน)




    ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์




    เมื่อมองจากมุมของ ประวัติศาสตร์

    พบว่า ในราว พ.ศ.๗๐๐ ประเทศพนม เป็นประเทศรุ่งเรืองขึ้นมาใหม่ในอินโดจีน โดยมี


    ทิศตะวันตกของพนมมี ประเทศเจนละ(เขมร)
    ถัดจากประเทศเจนละ คือประเทศกิมหลิน
    เหนือ ประเทศกิมหลิน คือประเทศบูหลุน



    ในเวลานั้นพระมหาราชกรุงพนม ได้ยกกองทัพเรือไปปราบประเทศในคาบมหาสมุทรมลายาได้กว่า ๑๐ ประเทศ ภายหลังให้รัชทายาทของกรุมพนมนามว่า กิมแซ ไปปราบประเทศกิมหลินได้(ราวพ.ศ.๗๗๓)


    ทำให้เราได้รู้ว่า ประเทศสุวรรณภูมิ และประเทศเล็กๆในสุวรรณภูมิทวีป(คาบมหาสมุทรมลายา) ที่เคยเป็นอิสระตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกอยู่ได้ ๕๐๐ ปี ก็เป็นประเทศราชของประเทศพนม ไปตั้งแต่บัดนั้นมา


    พระพุทธศาสนาในดินแดนแห่งนี้ ยังคงรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิทวีปตลอดมา เพราะปรากฏตามหนังสือของภิกษุจาริกจีนว่า ดินแดนแถบนี้ยังคงมีพุทธศาสนารุ่งเรืองดีอยู่ ภิกษุอี้จิงจึงเรียกแถบนี้ว่า ดินแดน กิมหลิน ตามชื่อเก่า" (จากนิตยสารพุทธศาสนา เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๐)



    แต่เมื่อได้ศึกษาดูแล้วกลับพบว่าในตำนานพระธาตุพนมเล่าว่า"ในราว พ.ศ.๘ ดินแดน ศรีโคตรบูร ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ อยู่เหนือสุวรรณเขตประเทศลาว ครั้นต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เหนือธาตุพนม ในดงไม้รวกจึงมีนามว่า" มรุกขนคร"มีกษัตริย์ครองเมือง ๕ องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระยานิรุฏฐราช บ้านเมืองเลยเกิดวิบัติล่มร้างเป็นบึงและป่า


    ต่อมาในราวพ.ศ.๑๘๐๐ ปรากฏว่าได้ไปตั้งเมืองขึ้นใหม่อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่ปรากฎว่าอยู่เหนือที่เดิมมาก ได้แก่เมืองเก่าใต้ท่าแขก ประเทศลาวเดี๋ยวนี้


    (ดังนั้นการที่อาณาจักรศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงในพ.ศ.๘ นั้นน่าจะผิดพลาดเนื่องจากเวลาห่างจากปีที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณฑูตออกไปประกาศพระศาสนาในปี พ.ศ.๒๓๖ ถึง ๒๒๘ ปี ดังนั้น หากเป็นพุทธศตวรรษที่ ๘ คือ พ.ศ.๘๐๐ ก็น่าจะพอเชื่อถือได้บ้าง)


    แต่มีข้อสนับสนุนตามตำนานว่า การสร้างพระธาตุพนมนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนาด้วยพระองค์เอง


    และใน พ.ศ.๘ พระมหากัสสปะและท้าวพญาทั้งห้าพระองค์ ได้สร้างพระธาตุโดยอัญเชิญพระอุรังคธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์สูง ประมาณ ๘ เมตร


    สำหรับ ท้าวพญา ๕ พระองค์ที่ร่วมสร้างพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.๘ นั้น คือ

    พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตรบูร
    พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี
    พญาอินทปัตถ์ ครองอินทปัตนคร
    พญาคำแดง ครองเมืองหนองหารน้อย
    และพญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหารหลวง

    ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณเมื่อครั้งที่ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ ฝั่งสุวรรณเขตประเทศลาว



    จากตำนานพระธาตุพนมนั้น อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณได้ตั้งขึ้นก่อนแล้วเมื่อพ.ศ.๘
    ต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่เหนือพระธาตุพนมฝั่งอาณาจักรสยาม ดังนั้นเรื่องของ
    อาณาจักรแห่งนี้จึงมีความแตกต่างกัน



    ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔–๑๕ ครั้งสมัยอาณาจักรทวารวดีมีอำนาจอยู่นั้น บริเวณสองฟาก
    แม่น้ำโขงได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่เรียกว่าอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ หรือ โคตรปุระ
    แปลว่า เมืองตะวันออก

    โดยมีพระยาโคตรบอง เป็นผู้ครองนคร ดินแดนแห่งนี้มีเมืองสำคัญคือ
    เวียงจันท์ หรือเวียงจันทน์
    หนองหานหลวง(สกลนคร)
    มรุกขนคร(นครพนม)
    เมืองจันทบุรี ศรีสัตนาคนหต
    ล้านช้างร่มขาว(หลวงพระบาง)
    เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง เป็นต้น



    พ.ศ.๑๘๙๖ สมัยอยุธยาตอนต้น พระเจ้าฟ้างุ้มทรงสถาปนานครเวียงจันท์ขึ้นเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรลาว


    พ.ศ. ๑๙๙๑ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนา ภายหลังได้อภิเษกพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างและได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ร่วมกันสร้างพระเจดีย์ศรีสองรักษ์ เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งมิตรภาพ (ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย)



    อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นี้ได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมา และภายหลังได้เป็นอาณาจักรล้านช้าง (ปัจจุบันคือพระราชอาณาจักรลาว) ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นอาณาจักรลานช้างได้ตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม

    ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้นอาณาจักรสยามต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสจึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสต่อมา



    โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นั้น คือ
    พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นปูชนีย์สถานพุทธศาสนาสำคัญ
    โดยสร้างทับบนปราสาทขอม



    สมัยโบราณ มีตำนานพระธาตุพนมว่า

    พระธาตุนี้ได้สร้างขึ้นในพ.ศ.๘ สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณฅ โดยก่ออุโมงค์เป็นรูปเตามีประตูปิดเปิด ๔ ด้านสูง ๕ เมตร สำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุโดยมีผ้ากัมพลห่อไว้ภายในอุโมงค์ ต่อมาพ.ศ.๕๐๐ พระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์คือ

    พระสังขวิชาเถระ
    พระมหารัตนเถระ
    พระจุลรัตนเถระ
    พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ
    พระจุลสุวรรณปราสาทเถระ
    พร้อมด้วยพระยาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร
    ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุพนมสูงประมาณ ๒๔ เมตรและอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาประดิษฐานบนพานทองคำ



    อมรฤาษีและโยธิกฤาษีไปเอาอุโมงศิลาบนยอดเขาภูเพ็กมาตั้งไว้ชั้นบนของพระธาตุ
    ชั้นที่ ๒ ซึ่งอยู่สูง ๑๔ เมตรแล้วพระสุมิตธรรมวงศาได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุฐาปนาไว้
    บนเจดีย์ศิลานั้น


    ต่อมาพระโพธิศาล ซึ่งครองเมืองหลวงพระบางเมื่อพ.ศ.๒๐๗๓-๒๑๐๓ นั้นได้ตำนานอุรังคธาตุ(ที่พระธาตุพนม)มาจากกัมพูชา จึงเกิดความศรัทธาและได้มาสร้างบริเวณภูกำพร้าขึ้นเป็นวัด อุทิศข้าทาสให้แก่พระธาตุ


    พระไชยเชษฐาธิราช โอรสของพระโพธิศาล ซึ่งสร้างเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.๒๑๕๗ ต่อมาพ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๓๕ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งนครเวียงจันทน์ได้นำช่างมาจากเวียงจันทน์มาทำการบูรณะพระธาตุพนมต่อเติมจนสูง ๔๗ เมตร โดยพ่อออกพระขนานโคตร พร้อมด้วยบุตรภริยาได้"นำเอาอูบพระชินธาตุเจ้าที่จันทรปุระ(เวียงจันทน์)มาฐาปนาที่ธาตุปะนม และบรรจุพระพุทธรุปเงิน-ทอง แก้วมรกต อัญมณีมีค่าไว้มากมาย


    และพ.ศ.๒๔๘๓-๘๔ กรมศิลปากรได้ทำบูรณะพระธาตุให้สูงขึ้นเป็น ๕๗ เมตร หลังจากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ


    ครั้นเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๐ น. เศษ องค์พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ยอดพระธาตุฟาดมาทางทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้บูรณะตามแบบเดิมเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๒๒





    ………………………………………………………………….


    ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์


    ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์


    พระธาตุพนม





    ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์


    ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์

    ถ้ำนางแอ่น แขวงคำม่วน สปป.ลาว


    ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์


    พระธาตุศรีโคตรบูร




    ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์


    พระธาตุศรีโคตรบอง




    ย้อนรอยอดีต อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์


    ภาพปูนปั้นนูนต่ำ รอบพระอุโบสถ






    ................................................................






    ขอบคุณ

    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    http://www.oknation.net/blog

    http://www.siamrecorder.com







    ................................................................
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 20-09-2010 at 15:40.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ wundee2513
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    ตามภารกิจ
    กระทู้
    1,108
    บล็อก
    11
    ... เบิ่งของไหลใจอ้ายนี่ม่วนซื่น
    ใจมันตื้นตันเต็มยามเบิ่งน้ำของใส
    สุขแท้เด้ยามเมือบ้านแลเห็นอยู่ไกลๆ
    สุขแท้ใจยามอ้ายได้เซยซม

    ขอบใจหลายสายน้ำที่แต่งแต้ม
    ยามได้แนมสายน้ำซ้างงามสม
    งามหลายเด้เมืองนครพนม
    จังแม้นสมดีศรีโคตรบูรณ์...
    เสรีภาพ เสมอภาค ยุติธรรม

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน

    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน



    สองฝั่งโขง เชื่อมสัมพันธ์ ของน้องพี่
    มหานธี ยิ่งใหญ่ แผ่ไพศาล
    เรื่องราวของ สองฝั่ง เป็นตำนาน
    ที่กล่าวขาน ความเป็นแผ่น แดนเดียวกัน


    สองสบตา สองเรา ก่อฟากฝัน
    สองใจนั้น ถักร้อย ถึงโขงกั้น
    แม้จันทรา ดวงดาว และตะวัน
    มิอาจกั้น ฝั่งใจ สองใยรัก



    ตะวันลอย เย็นย่ำ ที่ลำโขง
    คุ้งน้ำโค้ง ก่อใจ ให้พร่ำฝัน
    คนฝั่งไทย ส่งใจ ฝากตะวัน
    ที่ฟากฝัน สองสายใย ส่งใจคอย




    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน




    ฤ จะเป็นเช่นคำสาป




    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน


    วิวทัศน์จาก สปป.ลาว วัฒนธรรมสองฝั่งโขงปัจจุบัน






    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 21-09-2010 at 10:38.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวกบินทร์
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    ที่อยู่
    ซุหม่อง...ที่ไป..!!!
    กระทู้
    598
    ข้อมูลเพิ่นแน่นอิหลีแหมะ...ป่านเฮ็ดรายงานส่งครูเอาโลด......
    ขอบคุณข้อมูลดีๆ จ้า......

  5. #5
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ครูโนช
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    290
    ขอบคุณหลายๆครับ เบิ่งแล้วกะคึดฮอดสมัยไปนั่งกินปลา แถวตลาดอินโดจีน นครพนมเด๊.....

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •