กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: พระนางศุภยาลัต(ราชินีองค์สุดท้ายของพม่า)ตอนที่ 2 ''ฉันไม่ได้ฆ่าพวกเจ้าฟ้าชาย''

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ พระนางศุภยาลัต(ราชินีองค์สุดท้ายของพม่า)ตอนที่ 2 ''ฉันไม่ได้ฆ่าพวกเจ้าฟ้าชาย''

    พระนางศุภยาลัต(ราชินีองค์สุดท้ายของพม่า)ตอนที่ 2 ''ฉันไม่ได้ฆ่าพวกเจ้าฟ้าชาย''

    ฉันไม่ได้ฆ่าพวกเจ้าฟ้าชาย” พระนางศุภยะลัตบอกกับผู้สื่อข่าวในย่างกุ้งในการสัมภาษณ์พิเศษ

    หลัง จากที่พระเจ้าธีบอสวรรคต ราชินีศุภยะลัตกลับจากอินเดียคืนสู่พม่าในปี1919 และประทับอยู่ในตำหนักที่รัฐบาลอังกฤษจัดถวายที่ถนนเชอร์ชิล(เดี๋ยวนี้ เปลี่ยนชื่อเป็นถนนโกมินโกชิน)ในเมืองย่างกุ้งจนตลอดพระชนม์ชีพ มีฝรั่งและคนพม่าทุกวงการได้ไปเข้าเฝ้าพระองค์ ในเดือนกันยายน1924 ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นได้มีโอกาสอันหาได้ยากยิ่งที่จะได้รับพระราชทานสัมภาษณ์ นายหม่อง กา เล ผู้สื่อข่าวอาวุโสของBandoola Journal เป็นผู้เขียนรายงานบทสัมภาษณ์นี้แบบคำต่อคำ


    พระนางศุภยาลัต(ราชินีองค์สุดท้ายของพม่า)ตอนที่ 2 ''ฉันไม่ได้ฆ่าพวกเจ้าฟ้าชาย''



    พระนางศุภยาลัต(ราชินีองค์สุดท้ายของพม่า)ตอนที่ 2 ''ฉันไม่ได้ฆ่าพวกเจ้าฟ้าชาย''

    “ ผมหมอบกราบถวายบังคมพระราชินีตามประเพณีของเรา เมื่อเห็นพระองค์เสด็จเข้ามาในห้องพักผ่อนพระอริยาบทชั้นบนของพระตำหนัก ผมรู้สึกตื้นตันเมื่อเห็นพระราชินีและเจ้าหญิงศุภพญาพระราชธิดา เจ้าหญิงทรงเป็นที่รู้จักในอีกพระนามหนึ่งว่า มัทดราสศุภพญา เนื่องจากทรงประสูติที่เมืองมัทดราสในอินเดีย ทุกวันนี้ มันเป็นการยากที่จะเห็นใบหน้าที่ดูสัตย์ซื่ออย่างที่ปรากฏบนพระพักตร์ของ ทั้งสองพระองค์

    พระราชินีทอดพระเนตรมายังผมแล้วทรงถามว่ามาจากไหนล่ะ


    ราชบุตรเขย เที้ยก ทิน ยี กราบทูลว่า เป็นผู้สื่อข่าวของนิตยสารบันดูลา ขอเข้าเฝ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

    พระราชินี- เธออยากจะทราบอะไรล่ะ ถามฉันได้ทุกอย่างที่เธออยากจะทราบ
    หลังจากนั้น ทรงมีรับรับสั่งให้ผมลุกขึ้นนั่งและทำตัวตามสบาย
    ผู้สื่อข่าว- ทรงพระเกษมสำราญดีอยู่หรือพุทธเจ้าค่ะ....
    ร- ก็สบายดี
    ผ- ทรงมีพระชนมายุได้เท่าไรแล้ว
    ร- ฉัน65แล้ว
    ผ- ทรงได้รับเงินเดือนที่ฝรั่งทูลเกล้าฯถวายเท่าไรตอนที่ประทับอยู่ที่รัตนคีรี(พม่าเรียกยาดานาคีรี)
    ร- ตอนแรกก็ 10000รูปี แล้วก็ลดมาเป็น6000
    ผ- นอกจากเงินเดือนแล้ว ทรงได้รับเงินอื่นๆอีกบ้างไหม
    ร- ทุกๆปี ถึงเดือนเมษายนเขาก็ให้ 5000รูปี เดือนตุลาคมอีก1500 อีกครั้งละ3000ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระราชา และศุภพญาลูกหญิงของเรา

    ผ- หลังกลับมาพม่าแล้ว เขาถวายเท่าไรพุทธเจ้าค่ะ
    ร- แรกๆก็ให้2500 แล้วก็มีการหักลด 500เหลือ 2000 พอภรรยาของทนายความไปบอกให้เขาฟัง เขาก็เลยเพิ่มกลับมา 500
    ผ- เงินเดือนที่เขาถวายนี้ต่ำมากพุทธเจ้าค่ะ
    ... ร- ฉันไม่ทราบ เขาก็ให้เท่าที่เขาอยากจะให้นั่นแหละ ฉันไม่อยากจะพูดอะไรหรอก
    ผ- นอกจาก2500 แล้ว เขาถวายเงินพิเศษอะไรอย่างที่เขาถวายที่รัตนคีรีหรือไม่พุทธเจ้าค่ะ
    ร- ไม่มี ตอนเดือนเมษายนฉันเคยขอไป เขาก็ให้มา3000 แต่ก็ไปตัดเงินเดือนๆนั้นออก 250 ตอนฉันทำบุญงานเผาศพท่าน มยา ทอง สยาดอ (พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์สูง) ไป 1000 ฉันก็ต้องไปขอยืมจากเถ้าแก่เนี้ยมา นี่ฉันก็ยังผ่อนชำระหนี้อยู่เลย

    หลังจากนั้น พระราชินีได้ตรัสถามคำถามที่นอกเหนือความนึกคิด “ จริงหรือเปล่าที่ประชาชนเชื่อว่าฉันฆ่าพวกเจ้าฟ้าชาย”

    ผ- พุทธเจ้าค่ะ เขาเชื่อ
    ร- สิ่งที่ประชาชนเชื่อเป็นเรื่องไม่จริง ฉันไม่ได้ฆ่าพวกเจ้าฟ้าชาย ฉันยังเป็นเด็กตอนที่ฉันได้เป็นพระราชินี

    ...
    จึง เป็นไปได้ว่า คนที่ จัดการสำเร็จโทษพวกเจ้าชายทั้งหลาย คือ พระนางอเลนันดอ และ พรรคพวก ที่ ต้องการอำนาจการควบคุม บัลลังค์พระเจ้าสีป่อ อย่างเบ๊ตเสร็จ โดยคิดว่าพระนางศุภยลัต เอง ก็ คงทรงเป็นแค่หมากตัวหนึ่ง เท่านั้นเอง

    แต่พอกาลต่อมา เรื่องราวมันมันเริ่มซับซ้อนใหญ่โต สถานะการบ้านเมืองสับสน และมาจบที่ พระนางและพระราชสวามี
    ทั้งที่ตอนนั้น แม่ของพระนางทั้งนั้นที่ จัดซะ ทุกอย่าง

    มีที่หนีไปหาอังกฤษได้สององค์ คือ เจ้ายองยัน กับ เจ้ายองโอ๊ก สองพี่น้อง
    องค์พี่เป็นที่นิยมในหมู่คนพม่าแต่ตายเสียก่อน องค์น้องเป็นที่รังเกียจเพราะความประพฤติไม่ดี

    นอกจากนั้นยังมี เจ้าเมียงกูน กับ เมียงกูนแดง สองพี่น้องที่เคยก่อกบฏฆ่าพระมหาอุปราชากะหน่อง
    ก็หนีไปอยู่กับอังกฤษ แต่สององค์นี้เป็นที่รังเกียจของชาวพม่ามาก

    นอกจากนั้นยังมีเชื้อพระวงศ์ชั้นหลานเธอของพระเจ้ามินดง ที่รอดจากการประหารในคราวผลัดแผ่นดินเนื่องจากยังเล็กนัก
    เจ้านายน้อยๆเหล่านั้น ในเวลาเสียเมืองให้อังกฤษก็เจริญเป็นวันหนุ่มกันแล้ว
    ซึ่งเจ้ากลุ่มนี้จะค่อนข้างภักดีกับพระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัตมาก
    เนื่องจากทั้งสองพระองค์เป็นผู้ขอชีวิตเจ้านายกลุ่มนี้จากพระนางอเลนันดอ โดยใช้เหตุผลว่ายังเด็กนัก


    พม่านั้นจะสร้างพระราชวัง พระมหาปราสาทด้วยเครื่องไม้ครับ และมีการปิดทองด้วย
    ถึงเรียกกษัตริย์ว่า "พระเจ้ามนเทียรทอง"
    เครื่องไม้ของพม่านั้นงดงามมากครับ การแกะสลักมีความละเอียดประณีตสุดยอดจริงๆ

    ผ- พระตำหนักนี้เป็นของรัฐบาลหรือพุทธเจ้าค่ะ
    เจ้า หญิงศุภพญา- ใช่ แต่เขาก็จะให้เสียภาษีตอนที่เราทำสวนในสนามเล็กๆของตำหนัก แต่เราก็ไม่ได้จ่ายเพราะเรามีภาระต้องเสียค่ารักษาความปลอดภัย
    ผ- ข้าพุทธเจ้าอยากทราบเรื่องการสวรรคตของพระเจ้าธีบอ
    ร- ท่านสิ้นพระชนม์ตอนเที่ยงคืนวันที่15 ธันวาคม 1916 หลังจากนั้น3ปี ฉันก็เดินทางออกจากรัตนคีรีในวันที่ 10 เมษายน 1919 มาถึงพม่าวันที่18

    ผ- ข้าพุทธเจ้าอยากทราบเรื่องพระบรมศพของพระเจ้าธีบอ
    ร- เมื่อพระองค์สวรรคต ฉันไม่มีเงินพอที่จะจัดพระราชพิธี ไม่มีแม้โอกาสที่จะทำบุญสวดศพตามประเพณี ตอนแรกก็ตั้งพระบรมศพไว้ในห้องของพระตำหนัก หลังจากนั้น ในวันที่ 9 กุมภาพันธุ์ 1917 ก็อัญเชิญมาไว้ในสุสานที่สร้างไว้บนสนาม แต่พอถึงเดือนมีนาคม1919 หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก็มาย้ายสุสานไปไว้ในป่าแห่งหนึ่ง สุสานนี้อยู่ไกลวังมาก ใช้เวลาตั้งครึ่งวันที่จะเดินทางไปถึง สุสานสร้างขึ้นบนภูเขา อยู่ใจกลางของป่าเลย

    ร- เมื่อฉันรู้ว่าฉันจะกลับพม่า ฉันก็คิดจะนำพระบรมศพกลับมาด้วย แต่ฉันก็ครุ่นคิดว่าประชาชนพม่าจะชื่นชอบความคิดของฉันหรือไม่ ตอนที่ฉันบอกกับเจ้าหน้าที่อังกฤษที่เกียวข้องว่าฉันจะเอาพระบรมศพกลับไป พม่าพร้อมกับฉัน เขาบอกว่าคนพม่าจะโกรธที่ส่งพระราชาของเขากลับ ในสภาพที่เป็นศพ เพราะตอนที่จับตัวไปยังไม่ตาย ความตายของศุภยาเล น้องสาวของฉันก็แปลก เธอตายอย่างเฉียบพลัน หลังจากที่ปวดท้องอย่างรุนแรง เธอตายในวันที่23 มิถุนายน1912 ตอนนั้นเราก้ไม่มีโอกาสทำบุญตามธรรมเนียมพิธีศพเหมือนกัน

    ผ- ตอนอยู่ที่รัตนคีรี ทรงมีโอกาสได้อ่านหนังสือพิมพ์จากพม่าบ้างไหมพุทธเจ้าค่ะ

    ร- ฉันอ่าน “หงสาวดี” กับ “แสงใหม่แห่งพม่า” อยู่เสมอ

    ผ-ข้าพุทธเจ้าอยากทราบเรื่องเกี่ยวกับใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทระหว่างประทับอยู่พระตำหนักใหม่ที่รัตนคีรี
    พระนางศุภยาลัต(ราชินีองค์สุดท้ายของพม่า)ตอนที่ 2 ''ฉันไม่ได้ฆ่าพวกเจ้าฟ้าชาย''

    ร-เนื้อที่ ดินของตำหนักก็68ไร่รวมทั้งสวนและสระน้ำ ก่อสร้างในปี1900 เสร็จปี 1910 ค่าก่อสร้างกว่า 200000 รูปี วัสดุเครื่องใช้ในตัวตำหนักก็อย่างเลิศ พรมขนาดใหญ่2ผืนก็ตกเข้าไปผืนละ6000แล้ว เก้าอี้บุกำมะหยี่ มูลค่าของใช้พวกนี้ก็เป็นเงิน18000 มีรถยนต์สองคัน คันละ10000 แล้วก็รถม้าอีก3คัน

    เมื่อผมได้ยินพระราชินีมีพระดำรัสถึงพระตำหนัก อย่างนั้น ก็พิจารณาได้ว่าทั้งพระราชาและพระราชินี ทรงพระเกษมสำราญดีที่รัตนคีรี ระหว่างการสนทนา ผมนึกขึ้นมาได้ถึง ทับทิมที่ชื่อ หงามุก อันเป็นพระราชมรดกของบูรพกษัตริย์พม่า จึงกราบทูลถามว่า

    ผ- ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทยังทรงเก็บหงามุกไว้ตอนที่ถูกส่งตัวไปรัตนคีรีหรือหามิได้พุทธเจ้าค่ะ

    ร- เปล่าเลย มันได้ถูกมอบให้นายพันเอกสลาเดนเอาไปเพื่อเก็บ ไว้ ฉันไม่รู้ว่าใครครอบครองมันอยู่ตอนนี้ ยังมีเพชรกับทับทิมอีกหลายเม็ดนะ อย่างเช่น ราชรัตนะหอข่าเที๊ยกทินเล ราชรัตนะหอข่าทินจี ราชรัตนะซินมาตอ ราชรัตนะซาน และอื่นๆอีกมาก
    พระนางศุภยาลัต(ราชินีองค์สุดท้ายของพม่า)ตอนที่ 2 ''ฉันไม่ได้ฆ่าพวกเจ้าฟ้าชาย''
    หมายเหตุ ผ คือ ผู้สัมภาษณ์ ร คือ ราชินีศุภยาลัต
    เี๋ดี๋ยวมาต่อค่ะ

  2. #2
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ สำหรับผู้สนใจโดยเฉพาะ

    สำหรับผู้สนใจโดยเฉพาะ


    ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทประทับใน มัทราสนาน เท่าไรหลังจากที่เสด็จจากพม่า

    ร- 6เดือน หลังจากนั้น เราถูกส่งไป รัตนคีรี อยู่ที่นั่นไม่มีความสบายเลยตลอด 23... ปีหลังจากที่ออกจากพม่า หลังจาก พระตำหนักใหม่สร้างเสร็จ เราก็มีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น

    หลังจากเฝ้า พระราชินี อยู่ร่วมชั่วโมง ทรงผินพระพักตร์ไปที่เที้ยก ทิน ยี และตรัสถาม “เธอเอาน้ำชามาเลี้ยงคุณนี่หรือยัง”
    หลังจากนั้น พระราชินีก็เสด็จขึ้น กลับไปยัง ห้องส่วนพระองค์”(จบการสัมภาษณ์)

    สำหรับผู้สนใจโดยเฉพาะ


    (ที่ฝังพระศพพระนาง ศุภยาลัต อยู่ในย่างกุ้ง โดยรัฐบาลอังกฤษจัดการพระศพให้ตามธรรมเนียม แต่ไม่อนุญาตให้เชิญพระศพขึ้นไปที่ราชธานีกรุงมัณฑะเลย์ คงอนุญาตเพียงแต่ทำเป็นมณฑปบรรจุพระอัฐิเท่านั้น ปัจจุบันนี้อยู่ที่ถนนเจดีย์ชเวดากอง (Shwe Dagon Pagoda Rd.) ห่างจากบันไดด้านทิศใต้ ของพระเจดีย์ชเวดากองมา ประมาณ 200 เมตร สร้างเป็นกู่ทรงมณฑปยอดปราสาทแบบพม่า ก่ออิฐฉาบปูนขาว รูปทรงคล้ายที่ฝังพระศพของพระเจ้ามินดงใน กรุงมัณฑะเลย์ ที่ฐานล่างมีแผ่นจารึกแผ่นเล็กของตอปยากะเล (Taw Payar Kalay) หรือออง ซาย (Aung Zay) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์สุดท้ายของพระเจ้าสีป่อ ที่เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 2006 และนำอัฐิมาฝังไว้ในกู่เดียวกับพระนางศุภยาลัต โดยพระนางมีศักดิ์เป็น "พระอัยยิกา" ของนัดดาองค์นี้)

    สำหรับผู้สนใจโดยเฉพาะ

    พม่าเสียเมือง ฉบับ พม่าบันทึก---- ตัดตอนจากบางส่วน==ที่ว่าฉบับ"คนพม่า"บันทึก ก็คืออ้างอิงมาจาก พงศาวดาร โคนบ่องเซกมหาราชวงษ์หลวง เขียนโดย--เจ้าชายมองติน==

    พม่าเสียเมือง เป็นสารคดีเกี่ยวกับความผันแปรในประเทศพม่า เริ่มตั้งแต่ต้นราชวงศ์อลองพญาในแผ่นดินพม่ายุคที่ 3 เรื่อยมาจนถึงรัชสมัยของพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัต พระมหเสี ที่อาณาจักรพม่าต้องตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิอังกฤษ

    โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ประพันธ์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสารคดีเรื่อง เที่ยวเมืองพม่า พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2512 โดยสำนักพิมพ์ก้าวหน้า ครั้งล่าสุดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์



    ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากรัชทายาทองค์อื่นๆที่มีความสำคัญเหนือกว่า อยู่ในลำดับที่สูงกว่า แต่ท่านก็ก้าวผ่านข้อครหานั้นมาได้

    จริงๆ แล้ว พระธิดาองค์ที่ถูกวางตัวไว้ให้เป็นมเหสี คู่กับพระเจ้าสีป่อ คือพระนางศุภยาจี ธิดาองค์โต เพราะตามธรรมเนียม พี่ก็ต้องออกเรือนก่อนน้อง แต่เมื่อพระนางศุภยาลัต ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้าสีป่อ ก็เกิดอาการ"ตกหลุมรัก"เข้าอย่างจัง ถึงขนาดเอ่ยปากกับพี่สาวว่า ฉันนี่แหละ ที่อยากแต่งงานกับพระเจ้าสีป่อ พี่อย่าขัดฉัน
    (พระนางศุภยาลัต ทรงมีอุปนิสัยที่เด็ดเดี่ยว ไม่ยอมใคร มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์) สุดท้าย พระนางก็เป็นฝ่ายยึดพระเจ้าสีป่อเป็นพระสวามีได้สำเร็จ และได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ และ มเหสีแห่งมัณฑเลย์ ถัดจากพระเจ้ามินดุง

    สำหรับผู้สนใจโดยเฉพาะ

    ท่าม กลางเสียงไม่พอใจ ดังอื้ออึง พระนางอะแลนันดอว์ จึงมีคำสั่งให้ประหารพระโอรสและพระธิดาของพระเจ้ามินดุงทั้งหมด โดยเหตุการณ์นี้พระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตมิได้ล่วงรู้เลย

    เหตุการณ์ นี้ ทำให้รัฐบาลอังกฤษมีโอกาสโจมตีพระเจ้าแผ่นดิน พม่าได้อีกครั้ง โดยนายชอว์ (Mr. Shaw) ผู้แทนรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งอยู่ที่เมืองมัณฑเลย์ ส่งจดหมายมาขอให้มีการอธิบาย ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากคณะรัฐบาลพม่า

    .
    ==รัชกาลพระเจ้าสีป่อ==(ธีบอ)


    การปกครองบ้านเมือง ในรัชกาลพระเจ้าสีปอ ถือว่ามีเจริญความก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นมากทีเดียว โดยการปกครอง จะแบ่งออกเป็น ๑๔ กระทรวง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน คือ
    1.กระทรวงเกษตร
    2.กระทรวงแรงงาน
    ... 3.กระทรวงกลาโหม (ทหารบก)
    4.กระทรวงการค้า
    5.กระทรวงศาสนา
    6.กระทรวงการคลัง
    7.กระทรวงสรรพากร
    8.กระทรวงยุติธรรม
    9.กระทรวงไต่สวนอาชญากรรม
    10.กระทรวงกลาโหม (ทหารเรือ)
    11.กระทรวงต่างประเทศ
    12.กระทรวงการปกครองชาวต่างชาติ
    13.กระทรวงมหาดไทย
    14.กระทรวงโรงงานอุตสาหกรรม

    นอก จากนี้ พระเจ้าสีป่อยังทรงรับสั่งให้บรรดาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายเขียนรายงานวิจัย ว่าจะทำอย่างไร จะเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองแบบไหน จึงจะทำให้ประเทศพัฒนาได้ทุกด้านมาถวาย


    ในรัชกาลนี้ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวยุโรปเป็นอย่างดี โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี มีการส่งทูตานุทูตไปเยือนประเทศฝรั่งเศส อิตาลี และอินเดีย มีการจ้างครูฝึกทหารจากอิตาลีและฝรั่งเศสมาสอนวิชาการรบ และเทคโนโลยีต่างๆให้แก่ทหารพม่า

    ไม่ค่อยมีใครพูดถึงคุณงามความดีของพระเจ้าสีป่อมาก นัก ทั้งๆที่ในรัชกาลพระองค์ มีความเจริญก้าวหน้าในเมืองมัณฑเลย์หลายด้าน อาจเป็นเพราะ"ผู้ดี"ได้สร้างภาพ ตั้งธงไปเสียแล้วว่าพระเจ้าสีป่อ อ่อนแอ ขี้ขลาด ไม่เอาไหน กลัวเมีย ฯลฯ ทั้งๆที่ในสมัยพระองค์นั้นมีการลงนามในข้อตกลงการค้าและการพัฒนาขึ้นมากมาย


    ca. 1885, Mandalay, Burma --- Throne Room of the Royal Palace --- Image by ฉ Hulton-Deutsch Collection/CORBIS ฉ Corbis. All Rights Reserved.
    ใน เวลานั้น พระเจ้าสีป่อทรงมีความสนิทสนมกับรัฐบาลฝรั่งเศสมากกว่า จึงได้ทรงลงพระนามในข้อตกลงว่าด้วยการพัฒนาประเทศระหว่างรัฐบาลพม่ากับ รัฐบาลฝรั่งเศส เช่น การสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองมัณฑเลย์กับเมืองโตงกิน (Tongkin) การเปิดธนาคารที่เมืองมัณฑเลย์
    และขอให้พระเจ้าสีป่ออนุญาตให้ฝรั่งเศลทำการค้าอัญมณีกับสิทธิการปลูกชา โดยรัฐบาลฝรั่งเศสให้เงินรัฐบาลพม่ากู้เพื่อสร้างทางรถไฟเป็นข้อแลกเปลี่ยน ส่วนการคืนหนี้นั้น ฝ่ายรัฐบาลพม่าอนุญาตให้รัฐบาลฝรั่งเศสเก็บภาษีอากรจากการค้าน้ำมันจนกว่าจะ คืนเงินกู้ได้หมด และจะขายอาวุธให้แก่รัฐบาลพม่าด้วย

    รัฐบาลอังกฤษ ได้ทราบเรื่องนี้ จึงพยายามขัดขวางทุกอย่างไม่ให้รัฐบาลฝรั่งเศสกับรัฐบาลพม่าทำสำเร็จ ส่วนสมาคมหอการค้าอังกฤษในพม่าก็พยายามผลักดันรัฐบาลอังกฤษให้ยึดพม่าให้ เร็วที่สุด เพราะเกรงว่าจะเสียสิทธิทางการ

    ในห้วงเวลานั้นเอง เจ้าหน้าที่กรมการตรวจสอบการตัดไม้ของพม่า ตรวจพบว่าบริษัทบอมเบย์เบอร์มา (Bombay Burma Company) ซึ่งได้รับสัมปทานตัดไม้ในเขตตองอูจากรัฐบาลพม่า ได้ตัดไม้จำนวนกว่า 80,000 ต้นในระยะเวลาสองปี แต่ทางบริษัทได้ส่งรายงานถึงเจ้าหน้าที่พม่าว่า ได้ตัดไปเพียง 30,000 ต้น จึงจะจ่ายภาษีเพียงแค่จำนวนสามหมื่นต้นที่ได้ตัดไปเท่านั้น เจ้าหน้าที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงแจ้งทางบริษัทว่า จะต้องจ่ายค่าปรับในการตัดไม้เกินเป็นเงิน 2,300,000 รูปี
    สำหรับผู้สนใจโดยเฉพาะ
    ทางบริษัท ไม่พอใจที่รัฐบาลพม่าสั่งปรับ จึงไปฟ้องรัฐบาลอังกฤษว่ารัฐบาลพม่ารังแกบริษัท ลอร์ดดัฟฟรินซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ (Lord Dufferin, Chief Governor) จึงส่งสาส์นมาถึงรัฐบาลพม่าว่า
    1.สำหรับคดีไม้นั้น รัฐบาลพม่าจะต้องรอผู้แทนที่ข้าหลวงใหญ่จะส่งมาไต่สวน
    2.ห้ามไต่สวนคดีก่อนผู้แทนมาถึง
    3.รัฐบาลพม่าต้องอนุญาตผู้แทนที่ข้าหลวงใหญ่จะส่งมา เข้ามาในเมืองมัณฑเลย์พร้อมอาวุธครบมือ
    4.รัฐบาลอังกฤษจะขอเป็นผู้ควบคุมดูแลการติดต่อระหว่างประเทศของพม่าแต่เพียงผู้เดียว

    เมื่อพระนางศุภยาลัต อัครมเหสีทรงทราบเรื่อง ก็ทรงกริ้วอย่างยิ่ง พระนางตัดสินพระทัยอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องรบกับอังกฤษ โดยพระนางทรงให้เหตุผลว่า การกระทำเช่นนี้เห็นได้ชัดว่าอังกฤษจ้องจะรังแก และกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศเรา หากเราไม่รบ และยอมอังกฤษ เขาก็จะไม่เกรงใจเรา จะปฏิบัติต่อเราเหมือนเป็นทาส หากเป็นเช่นนั้น เรายอมตายในศึกก็ยังมีศักดิ์ศรีดีกว่ายอมตายอย่างเป็นหมา
    สำหรับผู้สนใจโดยเฉพาะ

    แต่ เสนาบดี เกงหวุ่นเมงจีไม่เห็นด้วยกับพระองค์ ที่จะรบกับอังกฤษ และทูลแนะนำให้เจรจากับอังฤษ เรื่องนี้เป็นเหตุให้พระนางศุภยาลัตกับเสนาบดีแตกกัน เพราะท่านเสนาบดีแค้นมาก ที่พระนางตำหนิเสนาบดีอย่างรุนแรงว่าเป็นคนขี้ขลาด ให้ไปหาลองยี (ผ้านุ่ง) มานุ่งเสีย (ประวัติศาสตร์พม่าบันทึกไว้แบบนี้จริงๆ) แต่สุดท้ายสมาชิกในรัฐสภาต้องยอมตกลงตามความเห็นของเสนาบดี เพราะนับถือท่านเกงหวุ่นเมงจี ฐานะผู้อาวุโส รวมถึงพระเจ้าสีป่อเอง ก็ค่อนข้างจะทรงเห็นคล้อยไปตามเกงหวุ่นเมงจี ด้วยทรงไม่อยากมีปัญหากับอังกฤษ
    สำหรับผู้สนใจโดยเฉพาะ
    เสนาบดีเกงหวุ่นเมงจีมีจดหมายไปถึงรัฐบาลอังกฤษว่า

    ข้อหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัวยอมความในคดีไม้ ขอให้แล้วไป และไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ

    ข้อที่สอง พระเจ้าอยู่หัวอนุญาตผู้แทนเข้ามาอยู่ในเมืองมัณฑเลย์เหมือนเดิม

    ข้อ ที่สาม กรณีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีของพม่ากับนานาประเทศนั้น เป็นสิทธิส่วนพระองค์ของพระเจ้าอยู่หัว หากมีความจำเป็นต้องควบคุมการติดต่อของพระราชวังพม่ากับประเทศอื่น การควบคุมนี้น่าจะมาจากการตัดสินของประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย ไม่ใช่รัฐบาลอังกฤษจะมาบังคับได้


    เมื่อ รัฐบาลอังกฤษทราบความในจดหมายโดยเฉพาะข้อสุดท้าย ก็ไม่พอใจยิ่ง จึงประกาศเปิดศึกกับพม่าอีกครั้ง ในเดือนพฤศจิกายน นายพลแปรนเดอร์กัสท์ (General Prendergast) เริ่มเดินทัพ พร้อมรบกับพม่า แต่การเผชิญหน้ารบกันนั้นยังไม่กระทำเต็มที่ เพราะมีสาเหตุสามประการที่กองทัพพม่ายังสับสนอยู่

    หนึ่งก็คือยังไม่ ได้รับคำสั่งอย่างเป็นทางการจากพระราชวังว่าจะให้รบกับอังกฤษหรือไม่ สองก็คือได้รับคำสั่งส่วนตัวจากเสนาบดีเกงหวุ่น เมงจีว่าไม่ให้กองทัพพม่ารบ กับอังกฤษ สาม มีข่าวลือออกมาว่า รัฐบาลอังกฤษจะให้พระเจ้าญองรัม ซึ่งเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้ามินดุง และลี้ภัยอยู่ที่ประเทศอินเดียในขณะนั้น ขึ้นครองราชย์แทนพระเจ้าสีป่อ (ประชาชนส่วนใหญ่พากันเชื่อข่าวลือนี้ เพราะประชาชนได้เห็นชายคนหนึ่ง แต่งกายลักษณะเหมือนพระโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน นั่งอยู่ที่หัวเรือในกระบวนเรือรบของอังกฤษ ซึ่งล่องมาตามแม่น้ำอิระวดี จึงพากันเชื่อข่าวลือว่าชายคนนั้นคือ เจ้าชายญองรัมจริงๆ
    แม้แต่ เสนาบดีเกงหวุ่นเมงจีก็เชื่อว่าเป็นเจ้าชายด้วย และ เกงหวุ่นเมงจีเคยเจรจาตกลงกับนายพล Sladen ผู้ช่วยนายพลแปรนเดอร์กัสท์ว่าจะแต่งตั้งเจ้าชายญองรัมเป็นกษัตริย์หลังจาก จับพระเจ้าสีป่อได้แล้ว ซึ่งเกงหวุ่นเมงจีก็เห็นด้วย เพราะกำลังไม่พอใจพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตที่กำลังมีข้อพิพาทกับตน

    เดี๋ยวมาต่อค่ะได้ข้อมูลเชิงลึกมาน่าสนใจแต่ยาวขนาด
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 02-07-2012 at 12:00.

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23
    ..ไม่เคยได้อ่านเกี่ยวกับข้อมูลการล่มสลายของปท.เพื่อนบ้านที่เรียกได้ว่า..
    .. เป็นเพื่อนรักเพื่อนชังกับบ้านเรามาตั้งแต่อดีตกาลได้ละเอียดขนาดนี้..
    จะว่าไปแล้ว..ด้วยเหตุของสงครามและการกวาดต้อนเฉลยศึกกันไปมา..
    อาจมีผลให้แยกไม่ออกว่า ปท.พม่านี้ เป็นอะไรกับปท.สยามกันแน่ ..
    ระหว่างพี่น้อง ญาติสนิท หรือ คู่อริ..
    อ่านไปก็ให้นึกสงสารและสลดใจด้วยเหมือนกัน..และภาวนาหวังว่าคงจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นกับบ้านเมืองเรา..

    .....ขอบคุณ..และรออ่านอยู่นะคะ...
    มองต่าง..อย่างปลง

  4. #4
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ จบแล้วค่ะ

    จบแล้วค่ะ

    พระนางศุภยาลัตเองก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง จึงรีบทรงมีพระบัญชาให้สร้างหอสูงไว้สำหรับสังเกตการณ์ (ใครเคยไปเที่ยวพระราชวังมัณฑเลย์ คงเคยเห็นหอคอยอยู่หลังหนึ่ง ใครๆมักจะนึกว่าหอนี้มีไว้เพื่อพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตไว้ชมดาวเดือน แท้จริงแล้ว ท่านสร้างไว้เพื่อคอยดูความเคลื่อนไหวและการลาดตระเวนพลของฝั่งอังกฤษ) ท่านมักจะขึ้นไปบนหอนี้เสมอๆ เพื่อคอยประเมินสถานการณ์กับเหล่ากองทหารที่ถือข้างท่าน

    คราใดที่เห็นกองทัพอังกฤษเคลื่อนประชิดมัณฑเลย์เข้ามาทุกทีๆ ก็ให้ใจเสียยิ่งนัก

    ความ ที่ทุกฝ่าย "เชื่อ" อย่างที่เสนาบดีเกงหวุ่นเงจีนกล่าวอ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ จนถึงวันที่กองทัพอังกฤษ เดินทัพไปจนถึงภายในพระราชวังมัณฑเลย์อย่างง่ายดาย และล้อมกำแพงไว้ทุกด้าน ไม่มีใครล่วงรู้เลยว่า บัดนี้ ได้เสียแผ่นดินไปแล้ว ยังเชื่ออยู่ว่าอังกฤษจะเข้าเจรจากับพระเจ้าอยู่หัว

    กองทัพอังกฤษ เคลื่อนไปล้อมตำหนักพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัต แม่ทัพได้เชิญทั้งสองพระองค์ลงมาเบื้องล่าง พร้อมกับกล่าวว่า "You are under arrested" เท่านั้นเอง

    พระ เจ้าสีป่อทรงประทับนิ่งด้วยความตก พระทัย ส่วนพระนางศุภยาลัต ทรุดลงกับพื้น ตีอกชกหัว ร่ำไห้ พร่ำรำพันว่า ข้าเสียแผ่นดินไปแล้ว ข้าเสียไปแล้ว....

    กระทั่งตอนเย็น กองทัพอังกฤษนำพระเจ้าสีป่อกับพระมเหสีศุภยาลัตลงเรือไปเมืองย่างกุ้งแล้ว ประชาชนก็ยังไม่รู้ว่าเสียแผ่นดินไปแล้ว คิดแต่เพียงว่าเดี๋ยวพระเจ้าญองรัมก็ขึ้นครองราชย์แทน แม้แต่เกงหวุ่นเมงจีก็ยังเชื่อแบบนั้น และตัวเองก็รู้อยู่แก่ใจว่าการจับพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตนั้นเป็นการ วางแผนของตนเอง แต่เสนาบดีมารู้ภายหลังว่าเสียรู้อังกฤษเสียแล้ว เพราะบุคคลที่แต่งกายเป็นเจ้าชาย และนั่งมากับเรืออังกฤษนั้น ไม่ใช่เจ้าชายญองรัม แต่อย่างใด เป็นเพียงล่ามภาษา ชาวเมาะละแหม่งชื่อว่านายบะตัน

    ทุกอย่างเป็นเพียงแผนการณ์หลอก ลวง ของรัฐบาลอังกฤษทั้งนั้น แท้จริงแล้ว พระเจ้าญองรัมสวรรคตไปก่อนหน้านั้นแล้ว ตามการบันทึกของพระธิดาพระเจ้าญองรัม นามว่าเจ้าหญิงถิปตินมะจี ได้กล่าวว่าพระเจ้าญองรัมสวรรคตที่เมืองกัลกัตต้า เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2428 ขณะพระชนมายุได้ 38 พรรษาเท่านั้น ในขณะที่อังกฤษยกทัพขึ้นมัณฑเลย์เมื่อเดือนพฤศจิกายน หลังพระเจ้าญองรัมสวรรคตไปแล้วประมาณ 6 เดือน

    จบแล้วค่ะ

    ==ผู้ดีอังกฤษ==

    หากวิเคราะห์อย่างตรงไป ตรงมาโดยยึดตามข้อเท็จจริงที่มีการบันทึกไว้ จะพบว่าผู้ดีอังกฤษนั้นไม่ได้เป็นผู้ดีอย่างที่กล่าวอ้างเลย ในการรบกับพม่านั้น คุณภาพของอาวุธ ความยิ่งใหญ่ของกองทัพ รวมไปถึงกำลังทหารของอังกฤษเหนือชั้นกว่าพม่ามาก แต่วิธีการรบนั้นสกปรกจริงๆ

    การ ยึดประเทศพม่าไม่ได้มีสาเหตุมาจาก การที่พระเจ้าแผ่นดินพม่ากินเหล้าเมายา ทำร้ายราชานุวงศ์ ทำร้ายประชาราษฎร์ รวมถึงชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ที่มัณฑเลย์ รวมไปถึงการที่พม่าไม่ยอมเจรจาสงบศึกกับรัฐบาลอังกฤษ ดังที่อังกฤษกล่าวหาแต่อย่างใด และอังกฤษยังลงข่าวผิดๆดังกล่าวในหนังสือพิมพ์ที่ประเทศอินเดีย และอังกฤษด้วย

    ในหนังสือ A Lord Randolf Churchill เขียนโดยวินสตัน ชาร์ชิล (Winston Churchill) ซึ่งเคยเป็นนา...ยกรัฐมนตรีอังกฤษในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง กล่าวในหนังสือหน้าที่ 517 อย่างชัดเจนว่า “เตรียมทัพยึดประเทศพม่าโดยด่วน เพราะรัฐบาลฝรั่งเศสแทรกแซงขัดขวางผลประโยชน์ของรัฐบาลอังกฤษในประเทศพม่า” จะเห็นว่ารัฐบาลอังกฤษต้องการเปิดศึกกับพม่า ด้วยต้องการปกป้องผลประโยชน์ของตนเองทั้งนั้น แต่ทำเป็นอ้างเหตุผลต่างๆนาๆและโยนความผิดให้พม่า

    จบแล้วค่ะ

    หมายเหตุ ในสมัยนั้นลอร์ดรันดอล์ฟเชอร์ชิลเป็นข้าราชการ ตำแหน่งเลขาธิการรัฐอินเดีย (Lord Randolf Churchill, Secretary for the State of India) การบันทึกของนายเชอร์ชิลสอดคล้องกับข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งตีพิมพ์ใน ประเทศอังกฤษ และประเทศอินเดียว่าลอร์ดดัฟฟรินซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ (Lord Arls Dufferin, Chief Governor) ส่งรายงานรัฐบาลอังกฤษทางโทรเลขว่า ณ เวลานี้มีเหตุการณ์สมควรยึดประเทศพม่าโดยการเปิดศึก เพราะพระเจ้าแผ่นดินพม่าปฏิเสธการขอเจรจาคดีป่าไม้อย่างสิ้นเชิง ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงรัฐบาลพม่าพยายามประณีประณอม โดยให้คำตอบไปว่า รัฐบาลพม่ายกเลิกค่าปรับจำนวนเงินสองล้านสามแสนรูปีให้แก่บริษัทบอมเบย์เบอร์มา)
    จบ...

    ติดตามเรื่องราวของปราสาทไม้ที่งดงามที่สุดในโลกแต่ถูกเผาไปในสมัยล่าอาณานิคมโดยฝีมือของอังกฤษ ในล่มเมืองมัณฑ์(มัณฑะเลย์)

    จากหนังสือ พงศาวดารพม่า ราชวงศ์คองบอง(อลองพญา)
    จดหมายเหตุข้าหลวงแห่งมัณฑะเลย์
    ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์แด่นักเรียนนักศึกษา และผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายค่ะ:
    :*-:*-:*-:*-
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 03-07-2012 at 07:13.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •