กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2556

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2556



    ****************************
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน
    สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง 2556
    ****************************


    ในปี 2556 นี้ มีบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน
    สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
    นายโชคดี ปรโลกานนท์ เกษตรกรจากจังหวัดนครราชสีมา




    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2556



    หลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมปราชญ์เกษตรของแผ่นดินว่า

    ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายในการยกย่องและเชิดชูเกียรติแก่ผู้ทรงภูมิปัญญา ในสาขาต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้มีคุณความดี มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ สมควรเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดินตามระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการส่งเสริมและการจัดสวัสดิการสำหรับปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

    ในปี 2556 นี้ มีบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดินซึ่งผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการฯ ทั้งสิ้น จำนวน 2 สาขา

    1 สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายโชคดี ปรโลกานนท์ เกษตรกรจากจังหวัดนครราชสีมา

    2 สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายสุวิทย์ ไตรโชค จากจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา สำหรับสาขาปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคเกษตรไทย

    3 สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ในปีนี้ไม่มีผู้ผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา

    ทั้งนี้ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ทั้ง 2 ท่าน จะเข้ารับพระราชทานโล่ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2556 นี้และได้รับเงินทุนเกียรติยศท่านละ 50,000 บาท

    สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายโชคดี ปรโลกานนท์ เกษตรกรจากจังหวัดนครราชสีมา


    โชคดี ปรโลกานนท์ ผู้สร้างเกษตรสวนป่าแห่งอำเภอวังน้ำเขียว


    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2556


    โชคดี ปรโลกานนท์ ผู้สร้างเกษตรสวนป่าแห่งอำเภอวังน้ำเขียว


    บ้านหลังใหญ่ในร่มไม้ครึ้มเขียวร่มรื่น รายล้อมด้วยหุบเขาและชุมชนชาวไร่ และสังคมเมืองที่กำลังไล่เข้ามาโดยรอบ

    ในสวนลุงโชค หรือ นายโชคดี ปรโลกานนท์ กลับเงียบสงบ ร่มรื่น เป็นอีกมุมหนึ่งของสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป

    นายโชคดี ปรโลกานนท์ เกษตรกรชาวอำเภอวังน้ำเขียว นครราชสีมา อดีต NGOs ที่ทำงานฟื้นฟูป่าเขาใหญ่เขาแผงม้า หลังปิดสัมปทาน และในอีกด้านหนึ่งเป็นเกษตรกรที่หันกลับมาทำสวนแนววนเกษตรจนประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ

    จากเกษตรกรที่ปลูกต้นไม้ ดูแลต้นไม้ ดูแลป่าเขาใหญ่ เขาแผงม้า อุดมสมบูรณ์และให้เติบโต


    “ลุงโชค” ในปัจจุบันนอกจากเป็นเกษตรกรยั่งยืนแล้วยังเป็นวิทยากรอบรมแนวคิด วิธีการทำเกษตรธรรมชาติอีกด้วย

    แรงบันดาลใจ ที่ทำให้มีความมุ่งมั่นที่จะเดินบนถนนสายนี้ และพร้อมที่จะเผชิญโชค ก็คือ

    นิสัยรักการเกษตร ชอบอยู่กับธรรมชาติและต้นไม้ แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดแนวคิดสำหรับการทำสวนเกษตรแห่งนี้แบบชุมชนมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    “ในเรื่องนี้ ผมชอบการเกษตรอยู่และจบเกษตรมา และที่อยากเป็น ก็อยากเป็นเกษตรแบบที่ผมเรียนมา ในตอนนั้นะครับ ผมจบพืชไร่มาก็อยากทำไร่ แต่พอมาทำแล้วมันไปไม่ได้ ก็เลยคิดว่า มาทำสวนแบบสวนสมรมที่บ้านที่ปักษ์ใต้ ผมก็เลยมาปลูกต้นไม้ พอเริ่มปลูกต้นไม้ ชีวิตผมก็หักเห ด้วยทางมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าเขาก็ชวนมาทำงานแถบนี้แหละ พอไปทำงานก็ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนรู้วัฒนธรรม การทำการเกษตรที่เขาประสบความสำเร็จในชีวิต อย่างเช่นท่านผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม พ่อผาย สร้อยสระกลาง พ่อคำเดื่อง พ่อมหาอยู่ ผมก็เคยไป ซึ่งท่านล้วนแต่เป็นปราชญ์ท้องถิ่น แล้วพอมาปี 2533 ผมก็เริ่มทำสวนนี้ ตอนนี้พอเช็คไปเช็คมา สวนผมนี่ใหญ่ที่สุดมนแถบนี้ ประมาณ 100 ไร่ เป็นสวนที่ใหญ่แล้วก็มีองค์ประกอบครบด้วย”


    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2556


    กิจวัตประจำวันในการดูแลสวน

    1 ตื่นมาก็ใส่ชุดทำงานรดน้ำต้นไม้เลย
    2 การดูแลสุขภาพ โดยการ กินผลไม้ กินสมุนไพร พวกขมิ้น กล้วยน้ำหว้าที่ตากไว้
    3 ลงสวนเลย รดน้ำ เดินไปดูตรงไหนที่มันรกก็ตัดหญ้า
    4 ถ้าหน้าฝนตรงไหนที่มันว่างๆ ก็ไปปลูกต้นไม้


    “ตอนนั้น ตอนเริ่มต้นผมทำอยู่สองส่วน ส่วนหนึ่ง งานฟื้นฟูป่าในอำเภอวังน้ำเขียว พื้นที่เบ็ดเสร็จแล้ว 2 หมื่นไร่ ทำในมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า เป็นการปลูกป่าที่ใช้นโยบายของรัฐเป็นการทะลุทะลวง แนวกระบวนการการฟื้นฟูของเราจะแตกต่างจากรัฐทำมาก เพราะรัฐมองว่าการปลูกป่าแค่จัดสรรงบประมาณ แล้วให้หน่วยงานรับผิดชอบ ก็แค่นั้น แต่พอเรามาทำ มาเน้นเรื่องการมีส่วนร่วม เน้นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ เน้นเรื่องของการเรียนรู้ร่วมกัน เลยทำให้งานค่อนข้างโดดเด่น ในตอนนั้น ประมาณปี2537

    งานของเราเอาชาวบ้านเป็นตัวตั้ง เอาประชาชนเป็นตัวตั้ง เราต้องทำความเข้าใจ เมื่อก่อนเราทำงานเราต้องลงไปหาชาวบ้านทุกวันเราต้องลงหมู่บ้าน ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พาชาวบ้านไปดูงาน เมื่อก่อนชาวบ้านให้ความร่วมดีมาก เพราะในตอนนั้นแถวนี้แม้แต่ไฟฟ้ายังไม่มีใช้

    ในยุคนั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากเหมือนอย่างปัจจุบันนี้ เราทำงานกับชาวบ้านช่วง 2531 ถึง 2536 เป็นการเตรียมชุมชนซึ่งยุคนั้นเศรษฐกิจยังไม่แตกยังไม่เกิดฟองสบู่ การเปลี่ยนแปลงของสังคมก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง ยังเป็นสังคมเกษตรธรรมดา ติดอยู่กับฐานทรัพยากรซึ่งก็คือเขาใหญ่แค่นั้นเอง

    และกลุ่มเราก็เป็นกลุ่มแรกๆ ที่พาชาวบ้านปลูกต้นไม้ ปัญหาทรัพยากรในตอนนั้นคือมันเสื่อมโทรมเพราะถูกใช้โดยรัฐ ในเรื่องของการให้สัมปทาน ปี 2531 นี่เองที่รัฐบาลประกาศยกเลิกการให้สัมปทาน แต่ว่าก็ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการฟื้นฟูอย่างเป็นรูปธรรม คือปิดป่าแล้วจะทำยังไงต่อ ?

    ซึ่งการปิดป่าตรงนั้นเราเห็นด้วย แต่ต้องดำเนินนโยบายต่อด้วยสิ ต้องให้ชาวบ้านเข้ามาฟื้นฟูที่ดินทำกิน ต้องปลูกต้นไม้ ปลูกป่าต้นน้ำลำธาร ก็ต้องปลูกเสริม นี่พอปิดป่าเสร็จคุณกลับไปเอาไม้ที่เขมร เอาไม้ที่ลาว ไปตัดที่อื่นซึ่งมันก็ไม่ไหว เพราะฉะนั้น รัฐต้องเร่งฟื้นฟูเพราะว่า ป่าไม้มันตัวบ่งบอกอะไรหลายๆ อย่าง อย่างน้อยปัจจัยสี่ในการดำรงชีพ ง่ายๆ เลย โดยเฉพาะอีสาน ภาคเหนือ เพราะว่าถ้าป่าหมดมันส่งผลกระทบโดยตรง อาหารการกินหมด ยาหมด แล้วก็ต้องไปพึ่งพิงตลาด พึ่งพิงคนอื่นหมดเลย นี่เป็นบทบาทผมในยุคแรกๆ”


    “ในยุคนั้นเองที่ผมคิดเรื่องนี้ ทำสวนไปด้วย ปลูกต้นไม้ควบคู่กับทำงานไปด้วย ในตอนนั้นที่ทำไม่ได้คิดว่ามันเป็นโมเดลการเรียนรู้นะ เพราะก่อนที่ผมจะมาทำงานเป็นนักพัฒนาผมจบปริญญาตรี ผมไม่รับราชการ ผมสนใจเรื่องของการเกษตร รุ่นผมมีผมคนเดียวที่หันมาสนใจทำแบบนี้ ผมปลูกไปตามภูมิสังคมปลูกไปตามลักษณะพื้นที่ ฉะนั้นใครจะมาถอดบทเรียน ว่าผมคิดยังไงกับการปลูกกอไผ่ คือผมไม่รู้จะบอกยังไง ทำไมต้องเอาต้นนี้มาปลูกตรงนี้ ทำไมทำยังงั้น คือผมบอกไม่ได้ แต่ทำๆ มา แล้วมันเรียนรู้มันเห็นคุณค่าในภายหลังนี่แหละเยอะมาก”


    “ผมชอบเกษตร ผมเคยลองทำมาเยอะนะ เช่นเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาเคยมาทำหมด แต่สุดท้ายสู้ปลูกต้นไม้ไม่ได้ เพราะปลูกต้นไม้ มันไม่ใช่ได้เงินนะ ผิดไปจากเป้าหมายแรกๆ ที่ผมมาอยู่วังน้ำเขียวนี่เป้าจริงๆ คือเพื่ออยากได้เงิน มาทำเกษตรส่งตลาดนี่แหละ แต่ว่าพอเราล้มเหลวไม่ประสบความสำเร็จตรงนั้น เป้าชีวิตก็เปลี่ยนไป เป้าชีวิตของเราก็คือเรื่องของความสุข ทำอย่างไรให้มีความสุข แล้วชีวิตที่มีความสุขก็ต้องมีกินมีอยู่มีใช้ ไม่เจ็บไม่ไข้ครอบครัวอบอุ่น เพราะฉะนั้นถ้าเราเอาคำพูดของ อาจารย์ระพี สาคริก ท่านอาจารย์บอกว่า เกษตรไม่ใช่อาชีพ แต่เกษตรเป็นวัฒนธรรม เกษตรเป็นเรื่องของความงดงาม เป็นเรื่องของภูมิปัญญา ความรู้ จิตวิญญาณ จารีตประเพณี วัฒนธรรม”


    “ถ้าทำเกษตรแบบผมหรือที่เรียกว่าวนเกษตรนะครับ มันมีทางลัดเยอะนะครับ ของผมนี่เวลาได้ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผมมักจะบอกว่าอะไรที่เขาลองผิดลองถูกได้คำตอบไปแล้ว เราไม่ต้องเริ่มต้นตาม เราทำก้าวต่อจากนั้นไปเลย อย่างของผมในตอนแรกที่ทำนี่ปลูกกล้วยก่อนนะ ปลูกพริก มะเขือ ปลูกพืชเศรษฐกิจ ปลูกของเก็บกินได้ หลักๆ ต่อมาคือลดต้นทุนปัจจัยการผลิต ที่ต้องพึ่งพิงจากภายนอก


    ฉะนั้นถ้าเข้าไปในสวนของผม ผมยังคงสภาพนี้ แม้แต่กล้วยกินเหลือก็ตาก ผมเน้นเลยว่าผลผลิตการเกษตรอย่าไปขายดิบๆ ถ้าขายดิบๆ มันจะถูกมาก ข้าวนี่ดึงชลอไว้ ไม่เห็นหรือคนโบราณเขามียุ้ง แต่ลูกหลานไม่สนใจแล้วไปเชื่อ ธกส. แล้วยังไง พอเขาเอาไปจำนำก็เรียบร้อยหมด นี่ไงคือสิ่งที่เขามอมเมาเรา ก็คือสะดวก ไปเอาเงินกู้ง่ายมาก อยากได้อะไรเขาเอามาให้ผ่อน สะดวกสบายมาก ถูกธรรมชาติของคนมาก เพราะมนุษย์ถ้าสะดวกสบาย มนุษย์ชอบ”





    ขอบคุณ
    เดลินิวส์ออนไลน์
    monmai.com





    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 12-05-2013 at 11:04.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ อ้ายพจน์
    วันที่สมัคร
    Mar 2012
    กระทู้
    263
    :*-ขอบคุณเรื่องราวดีๆของบุคคลดีๆครับ

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ปราชญ์เกษตรแผ่นดินสาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น 2556


    ***************************
    ปราชญ์เกษตรแผ่นดินสาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น 2556
    นายสุวิทย์ ไตรโชค จากจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา
    ***************************




    ปราชญ์เกษตรแผ่นดินสาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น 2556
    นายสุวิทย์ ไตรโชค จากจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา


    ในปี 2556 นี้ มีบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน
    สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายสุวิทย์ ไตรโชค จากจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา สำหรับสาขาปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคเกษตรไทย




    ปราชญ์เกษตรแผ่นดินสาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น 2556

    ปราชญ์เกษตรแผ่นดินสาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น 2556


    สุวิทย์ ไตรโชค - เกษตรกรผู้ปลูกเมล่อนเงินล้าน จ.พระนครศรีอยุธยา

    อดีตวิศวกรไอเดียเจ๋ง สุวิทย์ ไตรโชค พลิกผืนนามา "ปลูกเมล่อน" ขายได้เดือนเป็นล้าน...

    กับ Rocky Melon green ร็อกกี้เมล่อนเนื้อเขียว
    ยิ่งเคี้ยวยิ่งหวาน เนื้อสัมผัสไม่นุ่มเละ อร่อยมากๆๆ



    ปี 2529 นายสุวิทย์ ไตรโชค เริ่มทดลองปลูกเป็นครั้งแรกที่อำเภอบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีนางจินตนา ไตรโชค เป็นผู้ดูแลแปลงปลูก จำนวน 100 ต้น เป็นพันธุ์ sun lady ผิวสีขาวเหลือง เนื้อสีส้ม


    ปี 2530 นายสุวิทย์ ไตรโชค ขยายการปลูกเป็นการค้าและเพิ่มจำนวนพันธุ์มากขึ้น คือ แคนตาลูปพันธุ์ Hi Lineจากสหรัฐอเมริกา และพันธุ์ Honey World จากไต้หวัน


    ปี 2534 เริ่มตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูป เนื่องจากนายสุวิทย์ ไตรโชค ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกให้กับเกษตร ในหลายจังหวัดทำการตลาดขายส่งในซูเปอร์มาร์เกตหลายแห่ง

    ปี 2537 กลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกมากขึ้น จึงตั้ง Brand“Thai Fresh” ขึ้น และเริ่มผลิตพันธุ์ Musk melon ซึ่งเป็นพันธุ์ญี่ปุ่น


    ปี 2538- 2551 จัดการระบบการผลิตและระบบการตลาดอย่างสอดคล้องกัน มีการวางแผนการผลิต การตลาดล่วงหน้า บริหารกลุ่มเกษตรกรอย่างเป็นระบบ ผลิตส่งผู้ส่งออก Modern Tradeสายการบินโรงแรมร้านอาหารและร้านค้าปลีกภายใต้ Brand“Thai Fresh”และ “Navita”


    ในปี 2556 นี้ นายสุวิทย์ ไตรโชค เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดินสาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจะเข้ารับพระราชทานโล่ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2556 นี้ โดยได้รับเงินทุนเกียรติยศท่านละ 50,000 บาท



    จาก
    MelonCenter
    zthai.net
    invention53.blogspot.com




    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ เปี๊ยกครับ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    156
    ขอบคุณครับที่นำข้อมูลดีๆมานำเสนอ ครับ

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนคลองห้า
    วันที่สมัคร
    May 2011
    กระทู้
    275
    เรื่องนี้ต้องขยายๆ กดไลส์ให้เลยครับผม ภูมิปัญญาไทยแท้ๆ ครับผม

  6. #6
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    เมืองไทยยังมีเกษตรมั่งคั่งเกษตรภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกมากมายแต่ต้องเอาหรือนำพวกผู้รู้ทั้งหลายมารวมกันให้ทำกิจกรรมรวมกันก็คงจะดีไม่น้อยเพราะแต่ละคนนั้นอาจจะมีดีไปคนละอย่างก็เป็นได้ครับ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •