หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 4 หน้า 123 ... หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 32

หัวข้อ: การเลี้ยงต่อ

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    การเลี้ยงต่อ

    การเลี้ยงต่อ

    การเลี้ยงต่อ

    ต่อเป็นแมลงดุร้าย เลี้ยงง่าย หากเข้าใจธรรมชาติ
    ตัวต่อเป็นแมลงที่ดุร้าย ความจำดี ดมกลิ่นได้ไกล มีพิษรุนแรง หากโดนต่อยมาก ๆ มีอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ถ้าหากเข้าใจธรรมชาติวิถีชีวิตของตัวต่อ ก็จะทำให้เลี้ยงง่าย อยู่ด้วยกันกับมนุษย์โดยไม่มีอันตราย จึงมีปราชญ์ชาวบ้านของกิ่งอำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม อาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านมาจัดการความรู้เลี้ยงต่อเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้อย่างงดงาม

    การเลี้ยงต่อภูมิปัญญาชาวบ้านเขาทำกันอย่างไร

    1. การหาตัวต่อหรือแม่ต่อ
    กลุ่มผู้เลี้ยงต่อชาวกิ่งอำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม เริ่มเลี้ยงต่อในขั้นแรกโดยการหาตัวต่อหรือแม่ต่อในช่วงเดือน เมษายน - พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงการเริ่มต้นฤดูฝน แมลงต่าง ๆ ก็จะฟักออกจากไข่เริ่มวงจรชีวิตใหม่เช่นเดียวกับตั๊กแตนซึ่งเป็นอาหารของตัวต่อ กลุ่มผู้เลี้ยงต่อจะออกหาตัวต่อบริเวณที่มีน้ำ มีดอกไม้ใบหญ้า มีตั๊กแตนตามไร่นาและสระน้ำในบริเวณใกล้เคียงหมู่บ้าน ซึ่งแม่ต่อจะออกมาหาตั๊กแตน ตัวหนอน ไปเป็นอาหารเลี้ยงลูก ในการหาตัวต่อกลุ่มผู้เลี้ยงต่อจะออกหานเป็นทีม ๆ ละ 3 - 5 คน

    2. การล่อและการตามตัวต่อ
    เมื่อเห็นตัวต่อออกมาหาอาหารบริเวณทุ่งนา ทุ่งหญ้า สระน้ำ ก็จะทำการล่อตัวต่อทันที วิธีการล่อก็จะใช้ตั๊กแตนเล็กเสียบไม้ยื่นให้ตัวต่อทันที หากไม่มีตั๊กแตนอาจจะใช้ปลาแห้ง เศษเนื้อแทนก็ได้ เมื่อเจอเหยื่อตัวต่อก็จะคาบเหยื่อบินไปยังรังทันที เมื่อต่อบินไปก็จะเริ่มสังเกตทิศทางว่าบินไปทางใด บินสูงหรือบินต่ำ เมื่อวางจุดทีมงานในการสังเกต แล้วรอแม่ต่ออยู่ที่เดิม พร้อมทั้งจับเวลาว่าแม่ต่อจะกลับมาที่เดิมใช้เวลาเท่าไหร่ หากแม่ต่อกลับมาภายใน 3 นาที แสดงว่ารังต่อจะอยู่ไม่ไกลเกิน 500 เมตร (เวลาบินของต่อประมาณ 150 - 200 เมตรต่อนาที)

    การเลี้ยงต่อ

    เมื่อแม่ตัวกลับมารอบ 2 จะใช้เหยื่อล่อเหมือนเดิม จะใช้เชือกด้ายเล็ก ๆ เบา ๆ ผูกกระดาษสีติดไว้ ใช้เชือกยาวประมาณ 5 ซ.ม. ต่อจะคาบเหยื่อบินไปรังแล้วก็จะบอกทีมงานว่าต่อบินไปแล้ว ทีมงานที่วางเป็นระยะ 2 - 3 คน ก็จะสังเกตเห็นกระดาษสีและตัวต่อว่าบินไปลงตรงจุดใด จะล่อเหยื่ออยู่เช่นนี้ไม่เกิน 3 - 4 ครั้ง ก็จะเจอรังต่อทันที

    3. วิธีการหารังต่อ

    การเลี้ยงต่อ

    เมื่อทราบจุดหมายบริเวณที่แม่ต่อบินลง ก็จะเริ่มค้นหารังต่อ ณ บริเวณนั้น เทคนิคการค้นหารังต่ออีกอย่างก็คือการสังเกตดู ถ้าหากแม่ต่อบินต่ำแสดงว่ารังต่อจะอยู่บริเวณต้นไม้สูง ถ้าหากแม่ต่อบินสูงแสดงว่ารังต่อจะอยู่ต่ำ ซึ่งเป็นทางหลอกทิศทางของศัตรู เดินวนหารังต่อไม่นานก็จะเจอรังต่อ เมื่อเจอรังต่อแล้วก็จะทำเครื่องหมายไว้ เช่น ผูกผ้าสีไว้ หรือทำเครื่องหมายไว้บริเวณต้นไม้ เมื่อคนอื่นมาเจอก็จะเข้าใจกันว่ามีคนเจอแล้ว

    4. การนำรังต่อมาเลี้ยง

    การเลี้ยงต่อ

    พอตกเย็นถึงเวลากลางคืน แม่ต่อเข้ารังหมดแล้ว ก็เตรียมอุปกรณ์ เช่น สำลี เลื่อย มีดพร้า กรรไกรตัดแต่งกิ่ง ถุงพลาสติกพร้อมไฟฉาย หรือไฟแบตเตอรี่ แล้วเดินเข้าไปใกล้บริเวณรังต่อส่งหารูต่อว่าอยู่ด้านใด เมื่อเจอแล้วใช้สำลีอุดรู ใช้ถุงพลาสติกครอบไว้ แล้วตัดไม้ นำรังต่อกลับมาเลี้ยงหรือผูกไว้บริเวณท้ายสวนหลังบ้านหรือหัวไร่ปลายนา แล้วถึงสำลีที่อุดปากรูไว้ออก ต่อก็จะทำรังอยู่ที่นั่นต่อไป

    เทคนิคหรือข้อควรระวัง

    1) เวลาฝนตกจะไปเอารังต่อไม่ได้เพราะเวลาฝนตก แม่ต่อจะออกข้างนอกรัง และรังจะเปียกทำให้แม่ต่อกัดรังทะลุออกมาได้ขณะที่ใช้ถุงพลาสติกคลุม
    2) ขณะเข้าไปอุดรูรังต่อและขณะตัดกิ่งไม้อย่าให้กระเทือนรังต่ออย่างรุนแรงเพราะจะทำให้รังแตก
    3) ขนาดรังที่นำมาเลี้ยงควรมีขนาดเท่าลูกตะกร้อหรือลูกฟุตบอล หากรังเล็กกว่านี้อาจจะทำให้ต่อไปสร้างรังใหม่
    4) การเลือกทำเลที่ไว้รังต่อจะต้องเหมาะสมไกลจากบริเวณเด็กเล่น ไกลจากที่คนจะรบกวน เพราะต่อจะโมโหง่าย ดุร้าย สามารถต่อยได้หลายครั้ง
    บริเวณที่นำรังต่อมาเลี้ยงต้องไม่มีมดแดง มดดำ มดคัน ถ้ามีบทต้องใช้ผ้าเศษชุบน้ำมันมัดไว้บริเวณโคน เพื่อป้องกันมด หลังจากนั้น ต่อก็จะออกหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ อาหารของต่อ ได้แก่ ปลา ตัวหนอน ตั๊กแตน แมงมุม เนื้อสัตว์อื่น ๆ ฯลฯ ระยะทางหรือรัศมีการออกหาอาหาร โดยเฉลี่ยประมาณ 5 กิโลเมตร ต่อจะเป็นแมลงที่หาอาหารธรรมชาติได้เก่งมาก จมูกไว บินเร็ว แบ่งหน้าที่กันชัดเจน เช่น แผนกหาอาหารและน้ำ แผนกสร้างรัง และรักษารัง แผนกเลี้ยงลูก

    ลูกต่อจะมี 3 ประเภท ได้แก่
    1. ตัวหนอน
    2. ตัวนาง
    3. ตัวแก่
    พอนำมาเลี้ยงไว้ 4 - 5 เดือน รังต่อจะใหญ่ขึ้น มีลูกต่อเต็มรัง ก็จะเริ่มเก็บรังต่อขาย ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 4 - 6 เดือน ส่วนใหญ่จะขายในช่วงเดือน สิงหาคม - ตุลาคม จะมีคนมารับซื้อเป็นรัง รังละ 400 - 600 บาท ตามขนาดของรัง หากขายเป็นลูกต่อ กิโลกรัมละ 300 - 400 บาท

    การเลี้ยงต่อ

    5. การเก็บรังต่อขาย (จูดต่อ)
    เมื่อรังต่อได้ขนาดพอเหมาะเท่าลูกฟุตบอลขนาดใหญ่ขึ้นไป ก็จะเริ่มเก็บรังต่อขาย หรือชาวบ้านเรียกว่า "จูดต่อ" โดยใช้ฟางมัดให้แน่น 2 มัด แล้วจุดบริเวณรูต่อ เผารังต่อให้แม่ต่อตายประมาณ 70% ก็ตัดรังออกมาจำหน่ายหรือนำมาประกอบอาหาร โดยเฉลี่ย 1 รัง จะได้น้ำหนักประมาณ 2 - 3 กิโลกรัม

    การเลี้ยงต่อ

    อาหารที่นิยมปรุงได้แก่ นึ่ง ก้อย แก้งส้ม ผักใสไข่ หมก คั่ว แกงอ่อม ฯลฯ
    การจูดต่อ จะทำทั้งเวลากลางวันและกลางคืน หากมีการสั่งซื้อไว้ล่วงหน้าก็จะจูดเวลากลางคืน หากลูกค้าไปซื้อกลางวันก็จะจูดกลางวันฤดูแล้งต่อหายไปไหน

    การเลี้ยงต่อการเลี้ยงต่อ

    เมื่อถึงฤดูแล้งตัวต่อก็จะจำศีล แยกย้ายกันไปหาทำเลที่เหมาะสม มีอาหารสะสมไว้เพียงพอ เป็นสถานที่ปลอดภัย เช่น อาศัยอยู่ตามโพรงต้นไม้ บริเวณกอไผ่ ตามรูใต้ดิน พอถึงต้นฤดูฝนก็จะออกมาสร้างรังขยายเผ่าพันธุ์ หมุนเวียนตามวงจรชีวิตต่อไป




    หากท่านใดสนใจอยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรืออยากเลี้ยงต่อเสริมรายได้ สามารถติดต่อได้ที่ นายขันตี วันนาพอก ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงต่อ หมู่ 3 ตำบลดอนชาด กิ่งอำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม หรือติดต่อคุณวิชาญ ซาตัน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว สำนักงานเกษตรกิ่งอำเภอวังยาง กิ่งอำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงต่อด้วยตนเองในพื้นที่หนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม โทรศัพท์ 08-6236-8903 , 0-4257-7037 ในปี 2549 นายสินสมุทร โนนมี เกษตรอำเภอกิ่งอำเภอวังยาง ได้จัดทำทะเบียนผู้เลี้ยงต่อทั้งอำเภอมี 15 กลุ่ม มีสมาชิกประมาณ 80 ครัวเรือน สนใจขอเชิญเลยครับทวี มาสขาว
    นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว
    จังหวัดนครพนม

  2. #2
    thongcama
    Guest
    อ้ายศรี ตรงใหนมีขายบอกค้วยครับผมจะตามไปชื้อมารับประทาน อยากลองของแปลก

  3. #3
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    คักอาวคัก แกงใส่หน่อไม้ส้มแบบบ้านเฮากะแซบ คั่วเกลือ ผัดน้ำมันแบบทางภาคใต้กะหรอย
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  4. #4
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ thongcama
    อ้ายศรี ตรงใหนมีขายบอกค้วยครับผมจะตามไปชื้อมารับประทาน อยากลองของแปลก
    แถวยะลาพอได้กินอยู่ตั้วอาว ข้อยได้กินเรื่อยอยู่ แต่ทางบ้านเฮา กะลองถามบ่าวภูไทเลาลองเบิ่งเด้อ
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  5. #5
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    แถวอิสานบ้านเฮา กะช่วงดำนาแล้วเด้อครับ จั่งสิได้กินต่อ

  6. #6
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421
    บ่ย่านต่อ ตอดติครับ ตอดหัวกะหัวหงอกไปเลย ::)::)::)

  7. #7
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    เวลาเขาไปหาต่อ เขาสิเอาสำลีอุดฮูมันไว้แล้วกะเอาถุงพลาสติกครอบไว้อีกทีหนึ่ง ไปเอาฮังตอนกลางคืนเด้อ เพราะต่อมันสิเข้าฮังนอน

  8. #8
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421
    ระวังแนเด้อมันมีบางโตที่ไปเที่ยวผับกลับดึกแน มันกะยังบ่ทันนอนเด้อ

    กับอีกบางโตนั่งจิบกาแฟเบิ่งบอลยุนั่น

    มันตอดเจ้าเด๊

  9. #9
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ Tid Sri
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    กระทู้
    249
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ หนุ่มบ้านดอน
    ระวังแนเด้อมันมีบางโตที่ไปเที่ยวผับกลับดึกแน มันกะยังบ่ทันนอนเด้อ

    กับอีกบางโตนั่งจิบกาแฟเบิ่งบอลยุนั่น

    มันตอดเจ้าเด๊
    โตมันไปผับมากะไคยุเด้มันเมาอาจสิตอดบ่ถืก แต่โตมันนั่งจิบกาแฟอยู่นี่ไห่เจ้าระวังไว้::)

  10. #10
    บ่าวเมฆินทร์
    Guest
    ผู้เฒ่าเผิ่นว่า คันต่อมาไล่ตอดให้หาขี่ควายแห้งแล้วแล่นลงน้ำ มุดน้ำไปขึ้นอีกฝั่งหนึ่งปล่อยขี่ควายแห้งไว้ ต่อมันกะสิลุมตอดแต่ขี่ควายแห้งบ่สนใจเฮา.....ว่าซั่น

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 4 หน้า 123 ... หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •