ประโยชน์ของพืชสมุนไพรบางชนิด

1. กระเพรา

สมุนไพรมีประโยชน์

กระเพรา ใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพรา
แดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลม
เกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์ แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี
ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด


2.กระชาย

สมุนไพรมีประโยชน์

กระชาย ใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ
รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามี
ฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร


3. ขมิ้นชัน


สมุนไพรมีประโยชน์

ขมิ้นชัน ใช้เหง้ารักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำหรือเหง้าสด ฝนทาน้ำ มีรายงานว่า
พบน้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี จากการ
ทดลองทารักษาโรคผิวหนังพุพองในเด็กพบว่าให้ผลเท่ายาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังใช้เหง้ารักษา
โรคท้องอืด ท้องเฟ้อและแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วัน
ละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน ฤทธิ์แก้ท้องอืดน่าจะเกิดน้ำมันหอมระเหย ส่วนการเพิ่มน้ำย่อย
และขับน้ำดีเกิดจาก ฤทธิ์ของ curcumin และ p-tolylcarbinol ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น อาการ
จุกเสียดลดลง curcumin ยังสามารถยับยั้งการเกิดก๊าซที่สร้างโดยเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย
(Escherichia coli) แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในทางเดินอาหาร จึง
ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่มีข้อควรระวังคือ curcumin ในขนาดที่สูงกว่าขนาดรักษา 2
เท่า ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร


4.มะขาม


สมุนไพรมีประโยชน์

มะขาม ยาระบาย แก้อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10–20 ฝัก (หนัก 70–150 กรัม)
จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือต้มน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม
ขับพยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกออก เอาเนื้อในเมล็ดไปแช่น้ำเกลือจน
นุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เม็ด
ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร
คุณค่าทางโภชนาการ ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ
ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรด
อินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความ
ร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย



5.ขี้เหล็ก


สมุนไพรมีประโยชน์

ขี้เหล็ก ใช้ดอกเป็นยานอนหลับ ลดความดันโลหิตดอกตูมและใบอ่อนเป็นยาระบาย ใบแก้ระดู
ขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก่นแก้ไข้ ทำให้นอนหลับ รักษากามโรค ใบอ่อนและแก่นมีสารกลุ่มแอ
นทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบายใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5
ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ในใบอ่อนและดอกตูมยังพบสารซึ่ง
มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับโดยใช้วิธีดองเหล้าดื่มก่อนนอน

6.ชุมเห็ดเทศ


สมุนไพรมีประโยชน์

ชุมเห็ดเทศ รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ดอกและใบต้มรับประทานแก้
อาการท้องผูก มีสาร แอนทราควิโนน กลัยโคซายด์ หลายชนิด ได้แก่ emodin, aloe -
emodin และ rhein ใช้เป็นยาระบายกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้บีบตัว การทดลองในสัตว์ และคน พบ
ว่า ใบแก่มีฤทธิ์ น้อยกว่าใบอ่อน นอกจากนี้น้ำจากใบ ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย


7.ยอ

สมุนไพรมีประโยชน์

ยอ ใช้ผลสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไฟอ่อน ๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำ ดื่มแก้
คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ asperuloside


8.ฟักทอง


สมุนไพรมีประโยชน์

ฟักทอง เนื้อฟักทองประกอบด้วยแป้ง โปรตีน ไขมัน ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก และ สารเบต้า
- แคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายนำไปสร้างวิตามิน เอ เมล็ดมีฟอสฟอรัสในปริมาณสูง รวมทั้งแป้ง
โปรตีน และน้ำประมาณร้อยละ 40 ส่วนเมล็ดแห้งมีสารคิวเคอร์บิทีน (Cucurbitine) เป็นสาร
สำคัญ ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิได้ผลดี นอกจากนั้น ฟักทองสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งช่วย
ป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงนัยน์ตา ตับและไต เมล็ด
ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ป้องกันการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และช่วยดับพิษปอดบวม รากช่วย
แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ยางช่วยแก้พิษผื่นคัน เริม และงูสวัด

9.ทองพันชั่ง

สมุนไพรมีประโยชน์

ทองพันชั่ง ใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์เอาน้ำทาแก้กลากเกลื้อน สาร
สำคัญคือ rhinacanthin และ oxymethylanthraquinone

10.ตะไคร้หอม

สมุนไพรมีประโยชน์

ตะไคร้หอม ใช้เหง้าเป็นยาบีบมดลูก ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว เหง้า ใบและกาบมี
น้ำมันหอมระเหยซึ่งมีขายในชื่อว่า citronella oil ใช้เป็นยากันยุง โดยละลายน้ำ ตะไคร้หอม 7
ส่วนในแอลกอฮอล์เช็ดแผล (70%) 93 ส่วน ฉีดพ่น หรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ในอัตรา
ส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตูที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบ
ตะไคร้หอมมัดแล้วทุบให้ช้ำวางไว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง นอกจากนี้ยังมีรายงานฤทธิ์ต้านเชื้อรา
ที่ทำให้เกิดโรคพืชด้วย


11.กล้วยน้ำว้า

สมุนไพรมีประโยชน์

กล้วยน้ำว้า ใช้ผลดิบซึ่งมีสารแทนนินมาก รักษาอาการท้องเสียและบิด โดยกินครั้งละครึ่งหรือ
หนึ่งผล มีรายงานว่า มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยยา
แอสไพริน เชื่อว่าฤทธิ์ดังกล่าวเกิดจากการถูกกระตุ้นผนังกระเพาะอาหารให้หลั่งสารเมือกออกมา
มากขึ้น จึงนำมาทดลองรักษาโรคกระเพาะอาหารของคน โดยใช้กล้วยดิบ หั่นเป็นแว่น ตากแห้ง
บดเป็นผง กินวันละ 4 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนแกง ก่อนอาหารและก่อนนอน อาจทำให้เกิดอาการ
ท้องอืด ซึ่งป้องกันได้โดยกินร่วมกับยาขับลม เช่น ขิง


12.ว่านหางจรเข้

สมุนไพรมีประโยชน์

ว่านหางจรเข้ ใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้งเรียวกว่า ยาดำ เป็นยาระบาย พบว่าเนื่องจาก
มีสารกลุ่มแอนทราควิโนน แต่พันธุ์ที่ปลูก ในประเทศไทยมีปริมาณน้ำยางน้อย ไม่อาจใช้ในการ
ผลิตยาดำ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ใช้วุ้นสดของใบปิดขมับแก้ปวดหัว การทดลอง
กับผู้ป่วยพบว่าวุ้นสดใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดดและการฉาย
รังสี แผลสดแผลเรื้อรังตลอดจนกินเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่าง
สุดของต้นก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออก ให้หมด เพราะ
อาจระคายเคืองผิวหนังและทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็น
แผ่นบางปิดแผลพันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย
นอกจากนี้ยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่นแชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด
เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีนชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบและเพิ่มการ
เจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสียคือสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสด
ไว้เกิน 24 ชั่วโมง


:) :) :)