กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: อวสานโทรเลขไทย

  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    อวสานโทรเลขไทย

    อวสานโทรเลขไทย

    หากจะถามเด็กสมัยใหม่ว่ารู้จักโทรเลขหรือรหัสมอร์สรึเปล่า คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่ก็คงเป็นคำว่า ไม่

    แต่สำหรับผู้สุงอายุหรือผู้ที่อยู่ในวัยร่วมสมัยสักหน่อย คงได้เคยใช้บริการโทรเลขในการส่งข้อความด่วนถึงคนไกล

    สำหรับคนที่เคยใช้บริการโทรเลขคงใจหาย เมื่อรุ้ว่าในวันที่ 30 เม.ย. 2551 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะยกเลิกการให้บริการโทรเลขอย่างเป็นทาง
    การทั่วประเทศ ปิดตำนานบริการโทรเลขที่ให้บริการมากว่า 133 ปี (พ.ศ. 2418-พ.ศ. 2551)

    หากจะเปรียบกับในยุคนี้การส่งโทรเลขคงคล้ายๆกับการส่งเอสเอ็มเอส ที่มีหลักสำคัญในการส่งข้อความ คือ ข้อความต้องสั้น กระชับ ได้ใจความ
    ต่างกันก็ตรงที่โทรเลขเป็นข้อความเร่งด่วนและมีความหมายทั้งต่อผู้ส่งและผู้รับอย่างยิ่ง อาทิ

    พ่อ ป่วย หนัก กลับ บ้าน ด่วน

    ผม จะ กลับ บ้าน เดือน หน้า

    แม่ ส่ง เงิน ให้ หนู ด่วน

    สมัยก่อน ในช่วงที่วิทยาการยังไม่ก้าวหน้ามากนัก โทรเลขมีความสำคัญทางการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งข้อดีของโทรเลข คือสามารถส่งข่าวสารและข้อมูลไปได้ในระยะทางไกลๆ ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถใช้ปริการโทรเลขได้ในราคาถูก

    ส่วนข้อเสียของโทรเลข ต้องแปลรหัสโทรเลขทั้งขณะส่งและขณะรับ ทำให้เสียเวลา หากแปลรหัสผิดอาจทำให้ข่าวสารและข้อมูลนั้นๆมีใจความเปลี่ยนไป

    ในยุคสงสรามโลกโทรเลขมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งทางการทหาร ต่อมาเมื่อสงครามสงบโทรเลขเปลี่ยนบทบาทมาใช้ในการสื่อสารทั่วไป ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างจังหวัดระหว่างเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล

    มีการให้บริการโทรเลขในประเทศ 7 ชนิด ภายใต้ข้อบังคับของการสื่อสารฯ ในขณะนั้น ได้แก่ โทรเลขแจ้งเหตุสาธารณภัย, โทรเลขรัฐบาล, โทรเลขบริการ, โทรเลขอุตุ
    นิยมวิทยา, โทรเลขสามัญ, โทรเลขข่าว หนังสือพิมพ์ และโทรเลข ร้องทุกข์ ส่วนการใช้บริการโทรเลขในประเทศสำหรับประชาชนทั่วไปมี 2 ชนิด คือ โทรเลขบริการ (
    โทรเลขบริการเสียเงิน) และโทรเลขสามัญ คือโทรเลขที่รับ-ส่ง ไปมาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว

    ขณะที่การให้บริการโทรเลขต่างประเทศมี 8 ชนิด โดยเพิ่มโทรเลขเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งได้รับความคุ้มครองในระหว่างสงคราม ตามอนุสัญญาเจนีวา (ลงวันที่ 14 ส.ค.
    2492) และโทรเลขสาร โดยไม่มีโทรเลข ร้องทุกข์ ส่วนการให้บริการโทรเลขต่างประเทศสำหรับประชาชนทั่วไปมี 3 ชนิด คือ โทรเลขสามัญ, โทรเลขบริการ และโทรเลขสาร

    ประวัติโทรเลข

    โทรเลขตามสายระบบแรกของโลกที่เปิดให้บริการทางการค้าสร้างโดย เซอร์ ชาร์ลส์ วีทสโตน (Sir Charles Wheatstone) และ เซอร์ วิลเลียม ฟอเทอร์กิลล์ คุก (Sir
    William Fothergill Cooke) และวางสายตามรางรถไฟของบริษัท Great Western Railway เป็นระยะทาง 13 ไมล์ จากสถานีแพดดิงตัน (Paddington) ถึง

    เวสต์เดร์ตัน (West Drayton) ในอังกฤษ เริ่มดำเนินงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2382 ระบบนี้ได้มีการจดสิทธิบัตรเมื่อ พ.ศ. 2380

    ระบบโทรเลขนี้พัฒนาและจดสิทธิบัตรพร้อม ๆ กันในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2380 โดย แซมูเอล มอร์ส (Samuel Morse) เขาและผู้ช่วยคือ อัลเฟรด เวล (Alfred Vail) ประดิษฐ์รหัสมอร์ส

    สายโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2409 ทำให้สามารถส่งโทรเลขข้ามมหาสมุทรระหว่างยุโรปและอเมริกาเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้นมี
    ความพยายามสร้างในปี พ.ศ. 2400แ



    ละ 2401 แต่ก็ทำงานได้ไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะเสีย การศึกษาสายโทรเลขใต้น้ำทำให้เกิดความสนใจการวิเคราะห์เรื่อง transmission line ทางคณิตศาสตร์

    ความก้าวหน้าที่สำคัญอีกด้านของเทคโนโลยีโทรเลขเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2435 เมื่อ โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ได้รับสิทธิบัตรสำหรับโทรเลขสองทาง (two-way telegraph)

    วิทยุโทรเลข

    นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) และนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์อื่น ๆ แสดงประโยชน์ของเทคโนโลยีไร้สาย วิทยุ และวิทยุโทรเลข ตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษ 1890
    เป็นต้นมา กูกลีเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ส่งและรับสัญญานวิทยุสัญญานแรกในประเทศอิตาลีในปี พ.ศ. 2438 เขาส่งวิทยุข้ามช่องแคบอังกฤษในปี
    พ.ศ. 2442 และข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในปี พ.ศ. 2445 จากอังกฤษถึงเมืองนิวฟันด์แลนด์

    วิทยุโทรเลขพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการกู้ภัยทางทะเล โดยสามารถติดต่อระหว่างเรือ และจากเรือถึงฝั่ง

    ความหมายของโทรเลข

    โทรเลข (Telegraph Service) คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าทำหน้าที่ส่งข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อ
    ถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งไร้สายหรือที่รู้จักกันในชื่อ "วิทยุโทรเลข" (Radio Telegraph, Wireless
    Telegraph หรือ Continuous Wave หรือ CW)

    ทั้งนี้ โทรเลขเป็นบริการรับ-ส่ง ข่าวสารที่จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อกันได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยผู้ประสงค์จะใช้โทรสารต้องมาใช้บริการ ณ
    ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเท่านั้น เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ฝากส่งจะขอส่งโทรเลขทางเทเล็กซ์ หรือ โทรศัพท์

    หลักการทำงานของเครื่องโทรเลข

    การทำงานของเครื่องส่ง และเครื่องรับโทรเลข เกิดจากคันเคาะของเครื่องส่งให้วงจรไฟฟ้าปิด จากนั้นกระแสไฟจะไหลเข้าไปในขดลวดของเครื่องรับ ทำให้ขดลวดของ
    เครื่องรับเกิดสนามแม่เหล็ก และดูดแผ่นเหล็กมากระทบแกนเหล็ก ทำให้เกิดเสียงที่มีจังหวะเดียวกับคันเคาะ ซึ่งการเปิด-ปิด วงจรนี้ทำให้เกิดเสียงเป็นสัญญาณโทรเลข
    แล้วจึงแปลงสัญญาณโทรเลขให้เป็นข้อความ โดยมีการกำหนดรหัสในโทรเลขไว้ 2 ลักษณะ คือ เคาะแล้วกดไว้ (กดยาว) กับ เคาะแล้วปล่อย (กดสั้น) ซึ่งแทนด้วย - กับ
    . ( ขีด กับ จุด ) เรียกรหัสที่ใช้ในการส่งโทรเลขว่ารหัส "มอร์ส"

    สำหรับเครื่องรับ-ส่ง โทรเลขประกอบด้วย แบตเตอรี่, คันเคาะ หรือเครื่องส่ง, เครื่องรับ และสายไฟ

    รหัสมอร์ส

    รหัสมอร์ส (Morse code) คือวิธีการส่งข้อมูลด้วยการใช้รูปแบบสัญลักษณ์สั้นและยาวที่กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานไว้แล้ว ซึ่งมักจะแทนด้วยเครื่องหมายจุด (.) และ
    เครื่องหมายขีด (-) ผสมกันเป็นความหมายของตัว หนังสือ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษต่างๆ บางครั้งอาจเรียกว่า CW ซึ่งมาจากคำว่า Continous Wave
    จุดกำเนิดรหัสมอร์สเริ่มต้นขึ้นในราวกลาง ค.ศ. 1830 โดย ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส (Samuel F. B. Morse) และ อัลเฟรต เวล (Alfred Vail) ได้คิดค้นเครื่องส่ง
    โทรเลขโดยใช้กระแสไฟฟ้าควบคุมสนามแม่เหล็กของเครื่องรับปลายทางผ่านทางสายส่งสัญญาณ

    ความหมายของ SOS

    เวลาชมภาพยนต์ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ จะทำตัวอักษร SOS ลงบนที่ต่างๆ บนพื้น หรือเวลาติดในป่า พวกเขาก็จะเอากิ่งไม้มาวางเป็นรูปตัวอักษรนี้
    คำว่า SOS เกิดมาจากในกลุ่มชาวเรือ



    หมายความง่ายๆ ว่า Save Our Ship (ช่วยเรือของเราด้วย)

    ทว่าในหลักสากล มีหลายคนเชื่อว่าคำๆ นี้ไม่ได้แทนคำพูดใดๆ แต่เป็นสัญลักษณ์ทางการใช้โทรเลขต่างหาก
    โดยในปี ค.ศ. 1912 ในการประชุมวิทยุสากลนั้น ได้มีการตกลงว่า สัญลักษณ์ของการขอความช่วยเหลือ

    จะใช้ว่า "...-..." และในระบบโทรเลขได้กำหนดไว้พอดีว่า ... ใช้ตัวแทนคือตัว S
    ส่วน – ตัวที่ใช้แทนก็คือตัว O

    ดังนั้น เวลาเราโทรเลขขอความช่วยเหลือ เราก็จะใช้รหัสว่า SOS นั่นเอง และปัจจุบัน แม้จะไม่มีการใช้โทรเลขเท่าไหร่แล้ว แต่คำว่า SOS ก็ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายอยู่ดี

    กำเนิดโทรเลขในประเทศไทย

    สำหรับสังคมไทยรู้จักโทรเลขในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงมีพระราชดำริให้จัดทำไปรษณีย์ขึ้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยา
    เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่าง วงศ์ ร่วมกับเจ้าหมื่นเสมอใจราช เตรียมการต่าง ๆ เพื่อเปิดทำการไปรษณีย์

    โดยโทรเลขถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2418 จากการที่รัฐบาลไทยมอบหมายให้กรมกลาโหมสร้าง ทางสายโทรเลขสายแรก จากกรุงเทพฯ ไปปากน้ำ ( จ.สมุทรปราการ)

    กระทั่งปี พ.ศ. 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมโทรเลขขึ้นเพื่อรับช่วงงานโทรเลขต่อจากกรมกลาโหม ซึ่งกิจการโทรเลขในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นลำดับ

    จนเข้าสู่ยุควิทยุโทรเลขในประเทศไทย ซึ่งเริ่มขึ้นในสมัยจอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือและได้มีเครื่องรับ-ส่งวิทยุโทร
    เลขแบบมาร์โคนีใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 โดยวิทยาการด้านวิทยุรู้จักแพร่หลายมากขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัฐบาลได้
    ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยุโทรเลข พ.ศ. 2457 โดยกำหนดให้กรมไปรษณีย์โทรเลขมีอำนาจหน้าที่ในการตั้งเครื่องและใช้วิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ในประเทศไทย และให้ข้าราชการทหารเรือทำความตกลงกับกรมไปรษณีย์โทรเลขให้ประชาชนใช้วิทยุโทรเลขได้

    ปี พ.ศ. 2471 กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลขเปิดการสื่อสารทางวิทยุโทรเลขโดยตรงกับทวีปยุโรป โดยติดต่อกับกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นครั้งแรกของ
    ประเทศไทยที่สามารถส่งข่าวสารทางโทรเลขกับต่างประเทศด้วยคลื่นวิทยุ โดยไม่ต้องอาศัยประเทศต่าง ๆ ให้ช่วยถ่ายทอดโทรเลขอีกต่อหนึ่ง

    เดิมนั้นการส่งโทรเลขจากประเทศไทยไปต่างประเทศ โดยเฉพาะในทวีปยุโรปต้องอาศัยส่งผ่านทางสายโทรเลข ของต่างประเทศ เช่น จากกรุงเทพฯ ไปหาดใหญ่ เข้า
    ประเทศมาเลเซีย ซึ่งอังกฤษปกครอง หรือ จากกรุงเทพฯ ผ่านแม่สอดเข้าประเทศพม่า ซึ่งทำให้เสียเวลาและล่าช้ามาก

    สำหรับการเปิดการสื่อสารทางวิทยุโทรเลขกับต่างประเทศครั้งแรกโดยไม่ต้องผ่านประเทศอื่น ๆ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงกระทำพิธีเปิด
    ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2490-2496 กรมไปรษณีย์โทรเลขเปิดการติดต่อทางวิทยุโทรเลขกับต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ได้แก่ เวียดนาม, ไต้หวัน, อินเดีย, ญี่ปุ่น และเดนมาร์ก

    ในปี พ.ศ. 2496 นายสมาน บุณยรัตพันธ์ นายช่างโทรเลขของไทยได้คิดค้นเครื่องโทรพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ โดยคิดระบบกลไก (SPACING CONTROL
    MECHANISM) ต่อมาได้ผลิตเครื่องโทรพิมพ์ทำงานได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเครื่องเดียว โดยใช้ชื่อว่า "เครื่อง โทรพิมพ์ไทย



    แบบ S.P."

    กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับรองเครื่องพิมพ์ไทยแบบ S.P. ในปี พ.ศ . 2498 และเริ่มสั่งสร้างเครื่องโทรพิมพ์ไทยจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาใช้งานรับ-ส่งโทรเลขเป็นรุ่นแรก
    ระหว่างกรุงเทพฯ-นครสวรรค์, กรุงเทพฯ-อุตรดิตถ์-เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2500 ซึ่งต่อมาได้ขยายการรับ-ส่งโทรเลขโดยใช้เครื่องโทรพิมพ์ออกไปทั่วประ เทศ

    อุปกรณ์โทรเลขต่าง ๆ ได้ดำเนินการติดตั้งปี พ.ศ. 2504 และเปิดรับ-ส่งใช้งานโทรเลขติดต่อกับต่างประเทศด้วยวงจร HF 1 ARQ เป็นต้นมา โดยเริ่มทำการติดต่อกับโอซากา ประเทศญี่ปุ่น เป็นวงจรแรก

    พ.ศ. 2520 กรมไปรษณีย์โทร เลขได้โอนส่วนปฏิบัติการบริการโทรคมนาคมของประเทศไปอยู่ในความรับผิดชอบของการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นผลให้การให้บริการขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง

    การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ทำการปรับปรุงและเปลี่ยนระบบการรับ-ส่งโทรเลขในประเทศ และระหว่างประเทศจากระบบ MANUAL มาเป็นระบบถ่ายทอดโทรเลข
    แบบอัตโนมัติ โดยในวันที่ 20 พ.ย. 2521 ได้ทำการขยายการติดต่อโทรเลขระหว่างกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด จำนวน 80 แห่ง พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดโทรเลขย่อย
    ในระบบ TORN TAPE ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 7 แห่ง ต่อมาได้จัดตั้งชุมสายโทรเลขอัตโนมัติเพิ่มขึ้นในส่วนภูมิภาคอีก 3 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับ-ส่ง โทรเลข โดยกำหนดให้ชุมสายที่หาดใหญ่เป็นศูนย์ถ่ายทอดโทรเลขภาคใต้ ขอนแก่นเป็นศูนย์ถ่ายทอดโทรเลขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนครสวรรค์เป็นศูนย์ถ่ายทอด

    โทรเลขภาคเหนือ ซึ่งชุมสาย อัตโนมัติทั้ง 4 แห่ง รวมทั้งกรุงเทพฯ และบางรัก สามารถติดต่อกันด้วยระบบสื่อสารทางดาวเทียมและทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2531 ซึ่งเป็นผลให้การรับ-ส่ง โทรเลขรวดเร็วยิ่งขึ้น
    ยุคสมัยเปลี่ยนหลายๆสิ่งก็เปลี่ยนไป การสื่อสารในยุคปัจจุบันมีความสะดวกรวดเร็วด้วย อินเตอร์เน็ท โทรศัพท์ไร้สาย เมื่อมีสิ่งใหม่ๆมาทดแทนสิ่งเก่าๆก็ต้องสูญหายไปตามกาลเวลา
    ดังเช่นโทรเลข ที่อีกไม่นานคงเหลืออยู่แต่ในความทรงจำเท่านั้น


    โค้ด PHP:
    http://www.koosangkoosom.com/pages/hotNews_detail.asp?hidID=79 
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    devas
    Guest
    เอ้อ อยากถาม ว่า เป็นหยัง คือจั่งเอิ้นแต่ โทร เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรเลข โทรโข่ง

  3. #3
    Super Moderator
    Guide & Photographer
    สัญลักษณ์ของ เจ้าซายน้อย
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    อยู่ในใจเสมอ
    กระทู้
    1,412
    โอ้...ขอบคุณที่ช่วยเพิ่มพูนความฮู้ครับ...:g

  4. #4
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    เฒ่าจังไรก็เคยใช้บริการครับ ข้อเสียของโทรเลข คือการแปลงสารผิด ผมโทรเลขมาหาเพื่อนบอกว่า "ขอเลื่อนเป็น 7 ก.ค." เขาดีดโทรเลข เป็น "ขอเลือดเป็ด 7 ก.ก." ช่วงนั้นพ่อเขาไม่สบายมากเข้าโรงพยาบาล เขาก็เพิ่งกลับไป นึกว่าไม่มีเลือดต้องเอาเลือดเป็ดแทน เขารีบขึ้นมาจากใต้มาดูพ่อเขา นึกว่าอาการโคม่าต้องการเลือด ฮ่า ๆ ๆ ๆ :g

    อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ (ถ้าอ่านให้จบ อิ อิ)

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นวรัตน์
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    687

    ความเยือกเย็น

    ผมก็เคยใช้บริการโทรเลขอยู่เหมือนกันเป็นวิธีการติดต่อที่เร็วที่สุดในสมัยที่โทรศัพท์ยังไม่ค่อยมีเหมือนปัจจุบันนี้ 8)

  6. #6
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ Tid Sri
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    กระทู้
    249
    เมียเพิ่นส่งโทรเลข ไปหาผัวที่เฮ็ดงานอยู่กรุงเทพ "ถ้ามา ไม่ต้องมา ถ้าไม่มาให้มา" ขยายความแล้ว ถ้าประจำเดือนมาบ่ต้องมา ถ้าประจำเดือนบ่มาสิไห่มา

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •