เล่าขานเรื่องราว สุรพล สมบัติเจริญ


ทางคุณพ่อต้องการให้สุรพล หรือเด็กชายลำดวนเป็นช่าง เมื่อเรียนจบที่สุพรรณบุรี คุณพ่อจึงส่งสุรพลเข้ามาเรียนต่อที่ช่างก่อสร้างอุเทนถวายแต่สุรพลก็เรียนได้เพียงปีครึ่งไม่ถึงดีก็ต้องลาออกเพราะใจไม่รัก แต่มาเรียนด้วยไม่อยากขัดใจคุณพ่อ การเรียนก็เลยไม่ดี แต่ถึงกระนั้นคุณพ่อเปลื้องก็ไม่ค่อยเอ่ยปากดุด่าหรือว่ากล่าวอะไรลูกสักคำเดียว เพราะเป็นคนเข้าใจลูก เข้าใจโลก เพียงแต่ปลอบใจ และให้สุรพลเลือกทางเดินชีวิตเอาเอง
เมื่อเป็นเช่นนั้นสุรพลก็ต้องเลือกที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยลำแข้งของตัวเอง เขาไปสมัครเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสุพรรณกงลิเสียเสี้ยว เป็นโรงเรียนจีน แต่สอนอยู่ได้แค่ครึ่งปีก็ลาออก ด้วยใจไม่ได้รักอาชีพนี้อย่างจริงจัง
เลาขานตำนาน สุรพล สมบัติเจริญ
"นักร้อง " ต่างหากล่ะ ที่สุรพลใฝ่ฝันอยากจะเป็นมากที่สุดในเวลานั้น เขาหลงใหลในน้ำเสียงของราชาเพลงรำวง อย่างเบญจมินทร์มากที่สุด
ด้วยเหตุนี้ การสมัครเข้าไปเป็นทหารอยู่ที่โรงเรียนนักเรียนจ่าทหารเรือในเริ่มแรกที่หวังจะได้รับใช้ชาติและหาลู่ทางเข้าสู่ถนนเสียงเพลง จึงค่อนข้างจะผิดหวัง ประกอบกับเกิดเหตุการณ์คึกคะนองตามประสาวัยรุ่น สุรพลได้แอบหนีไปกับเพื่อนคู่ใจเพื่อไปดูเขาเล่นการพนัน โดยอาศัยความมืดหลบยามรักษาการณ์แล้วปีกำแพงและว่าจ้างเรือแจวข้ามฟากที่ท่าช้าง เพื่อไปแหล่งการพนันที่ใหญ๋ในยุคนั้น แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกเข้าจับพวกนักพนันรวมทั้งสุรพลด้วย โดนตำรวจจับไปที่โรงพักชนะสงคราม โดยเป็นที่ขังครั้งแรกเพื่อรอการพิจารณาคดี ผลการสอบสวนปรากฎว่ามีความผิดทางวินัยทหาร 3 กระทง ได้แก่

1. ออกนอกบริเวณโดยไม่ได้รับอนุญาต
2. เล่นการพนันอันผิดกฎหมาย
3. หลบหนีเจ้าพนักงาน

สุรพลกับเพื่อนทหารจึงถูกส่งตัวไปยัง " สมอแดง " ซึ่งเป็นที่คุมขังนักโทษทหารเรือของกรมแพทย์โดยเฉพาะเป็นเวลา 45 วัน ก็เลยกลายเป็นขวัญใจของนักโทษทหารทั้งหมดเพราะเขาคอยร้องเพลงกล่อมทหารจนกว่าทุกคนจะหลับหมด จึงจะหลับได้ เมื่อถึงเวลาพ้นโทษทุกคนรู้สึกเสียดาย และอาลัยอาวรณ์
ออกจากคุกทหารก็ถูกปลดจากนักเรียนจ่ามาเป็น " พลทหารหมวดเรือเล็ก " เป็นหมวดสำหรับทหารเกณฑ์เป็นเวลา 4 เดือนเต็ม เมื่อครบกำหนด 2 ปี ที่เป็นลูกประดู่รับใช้ชาติอยู่นั้น เขามองไม่เห็นแสงสว่างที่จะก่าวไปสู่ประตูการเป็นนักร้องได้เลย สุรพลเลยตัดสินใจทิ้งเครื่องแบบทหารเรือ แล้วหันไปสมัครเป็นคนงานธรรมดาอยู่ที่กองทัพอากาศรับค่าแรงเป็ยรายวันวันละ 12 บาท และที่นั่นเขาได้ตัดสินใจเด็ดขาดเปลี่ยนชื่อจาก " ลำดวน " มาเป็น

" สุรพล สมบัติเจริญ "

ชื่อเสียงทางด้านการร้องเพลงเริ่มต้นมาจากในหมู่เพื่อนฝูง จากกลุ่มเล็กๆ ค่อยๆขยายเป็นกลุ่มใหญ่ความหวังที่เคยมืดสนิทเริ่มจะส่องประกายเล็กๆขึ้นมาบ้างแล้ว จนกระทั่งได้มีโอกาสโชว์ลูกคอในงานสังสรรค์ภายในกองทัพอากาศคราวหนึ่ง น้ำเสียงของเขาได้ไปสะดุดหู เรืออากาศศรีปราโมทย์วรรณพงษ์ หัวหน้าคณะนักมวยเลือดชาวฟ้าเข้าอย่างจัง รุ่งขึ้นอีกวันเขาก็ถูกเรียกเข้าไปพบที่ห้องทำงานของหัวหน้าคณะนักมวย หลังจากนั้นสุรพล สมบัติเจริญก็ได้ย้ายเข้าไปประจำกองดุริยางค์ทหารอากาศ
ในเวลาต่อมาโดยการสนับสนุนของเรืออากาศตรีปราโมทย์ ชีวิตที่สุรพลเคยฝันปละโปรดปรานที่สุดก็เริ่มต้นจากที่นี่ เขาขยันและฝึกตัวเองอย่างหนักจนที่สุดก็ได้ออกร้องเพลงประจำดุริยางค์บ่อยขึ้น
เลาขานตำนาน สุรพล สมบัติเจริญ
เพลงแรกในชีวิตการเขียนเพลงและร้องบันทึกแผ่นเสียงของเขาจึงเกิดขึ้นในห้วงเวลานั้น เพลง " น้ำตาสาวเวียง " เป็นเพลงแรกที่เขาได้บันทึกเสียงเมื่อปี พ.ศ.2496 พร้อมๆกับอีก 9 เพลง แต่ที่ดังและเป็นที่รูจักของคนทั่วไปก็คือเพลง " ชูชกสองกุมาร " ที่ร้องคู่กับเด็กชื่อ " จ้อย " (ไม่ทราบชื่อจริง )

และจากเพลงนี้ที่คนเริ่มจะรู้จัก สุรพลก็มีงานเพลงชุดใหม่ตามออกมา มีชื่อเสียงมากในหมู่นักดูวงกองทัพอากาศ หรือจะว่าดังในเขตทหารอากาศ ชุดใหม่ก็มีเพลง โดดร่ม , พระรามตามกวาง และ คำเตือนเพื่อนชาย

เพลงที่ดังสนั่นเมืองเลื่องลือไปทั่วประเทศและทำให้คนรู้จักความเป็น " สุรพล สมบัติเจริญ " อย่างแท้จริงในเวลาต่อมาก็คือเพลง " ลืมไม่ลง " และเมื่อชื่อเสียงเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป สุรพลจึงมีงานร้องเพลงนอกสังกัดถี่ขึ้นเป็นลำดับ อาทิ ร่วมร้องกับวง " แมมโบ้ร็อค " ของ เจือ รังแรงจิตร วง " บางกอกช่ะช่ะช่ะ " ของ ชุติมา สุวรรณรัตน์ และ สมพงษ์ วงษ์รักไทย ส่วนวงดนตรีที่สุรพลร้องด้วยมากที่สุดคือ วง " ชุมนุมศิลปิน " ของ จำรัส วิภาตะวัตร และตัวจำรัสกับ ทองแป๊ะ สินจารุ โฆษกยุคนั้นก็เป็นคนที่สุรพลรักและเคารพนับถือมาก


สิบล้อน้อย

ที่มา : ธรรมดาดอทคอม