โครงการ"ตรวจหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 64 สไลซ์"
ร่วมเฉลิมฉลอง 73 พรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

รหัส H2280-0511-01

โครงการรังสีวินิจฉัยก้าวหน้าและรังสีร่วมรักษา ร่วมกับ ศูนย์โรคหัวใจหลอดเลือด และเมตาบอลิคศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ปัจจุบันอุบัติการณ์โรคนี้ในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์มีการเสื่อมสภาพ หรือ บาดเจ็บ จนเกิดไขมันและแคลเซียม (atheromatous plaques) มาเกาะที่ผนังในบริเวณนั้นๆ ทำให้หลอดเลือดมีการตีบเกิดขึ้น โรคนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมถึงผู้ที่มีความเครียดและสูบบุหรีจัด


โครงการตรวจหลอดเลือดหัวใจ



การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เป็นมาตรฐาน ในปัจจุบันคือ การสวนหัวใจ (conventional angiogram) ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยจะต้องถูกใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดแดงโดยตรง เพื่อฉีดสารทึบรังสีสำหรับดูรายละเอียดของหลอดเลือด การตรวจด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำสูงที่สุด และสามารถทำการรักษาได้ทันทีที่พบโรคหลอดเลือดตีบด้วยการขยายด้วยบอลลูม หรือใส่ขดลวด แต่การตรวจด้วยวิธีนี้มีข้อเสียคือ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผนังหลอดเลือดแตก (dissection) แม้จะมีโอกาสเกิดน้อยในมือของแพทย์ผู้เชียวชาญก็ตาม และยังมีค่าใช้จ่ายสูง รวมถึงผู้ป่วยจะต้องนอนพักในโรงพยาบาลหลังจากที่ทำการตรวจเสร็จประมาณ 4-24 ชั่วโมง



ในระยะหลายปีที่ผ่านมาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 16 สไลซ์ (ตัดภาพ 16 ภาพต่อ 1 วินาที) ขึ้นไป มีรายงานทางการแพทย์มากมายว่า สามารถนำมาตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ด้วยระดับความแม่นยำโดยรวม (accuracy) สูงกว่าร้อยละ 90 โดยมีความถูกต้องสูงถึงร้อยละ 97 ถ้าผลการตรวจปกติ (negative predictive value) ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอีกด้วยนวัตกรรมใหม่เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 64 สไลซ์ (ตัดภาพ 64 ภาพต่อ 1 วินาที) ที่สามารถตรวจโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ดีกว่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 16 สไลซ์ จากจำนวนการตัดภาพต่อหน่วยเวลาที่มากขึ้น ทำให้สามารถตรวจได้เร็วกว่าเดิมถึง 3 เท่า ครอบคลุมบริเวณตรวจ (coverage) ได้มากขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลง รวมทั้งให้รายละเอียดของภาพชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วเมื่อตรวจเสร็จ ผู้ป่วยก็สามารถกลับบ้านได้เลย จึงส่งผลให้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 64 สไลซ์ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และมีบทบาทนำในการตรวจหาและวินิจฉัยหลอดเลือดตีบที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน



โครงการตรวจหลอดเลือดหัวใจ





ผู้ที่ควรตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์



ผู้ป่วยที่ควรรับการตรวจหลอดเลือดด้วยเทคโนโลยีชนิดนี้ ได้แก่



1. ผู้ป่วยที่มี ปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ


- ระดับไขมันในเลือดสูง


- เป็นเบาหวาน



- ความดันโลหิตสูง



- ผู้ที่สูบบุหรี่



- ผู้ที่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในครอบครัวเป็นต้น




2. ผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบได้แก่


- มีอาการเจ็บหน้าอก


- มีความผิดปกติของการตรวจหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน

3. ผู้ป่วยหลังการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยการทำบอลลูนหรือใส่ขดลวด เพื่อติดตามผลการรักษาและการเปลี่ยนแปลงของโรค

ประโยชน์อื่นๆ



1. เพื่อช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เช่น มะเร็งปอด มีน้ำในช่องปอดจากโรคใดๆก็ตาม และทำให้สามารถที่จะให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป



2. เพื่อเฝ้าหามะเร็งปอดในผู้ป่วยที่ยังไม่แสดงอาการ



3. ช่วยหาความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่ เช่น หลอดเลือดโป่งพองผิดปกติ



4. วัดปริมาณไขมันในช่องท้อง ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ (coronary calcification) และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอื่นๆที่ผู้ป่วยมี



โครงการตรวจหลอดเลือดหัวใจ




ผู้ที่ไม่ควรตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์


เนื่องจากการตรวจนี้ ผู้ป่วยต้องรับสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยดังต่อไปนี้ไม่ควรเข้ารับการตรวจเนื่องจากมีโอกาสแพ้สารอย่างรุนแรงและไตวายอย่างเฉียบพลันได้


1. เป็นโรคหอบหืดอย่างรุนแรง


2. เป็นโรคไตที่มีระดับสารครีเอตินีนสูง


3. มีประวัติแพ้อาหารทะเลอย่างรุนแรง หรือเคยแพ้สารทึบรังสีจากการตรวจเอกซเรย์มาก่อน




4. มีภาวะหัวใจล้มเหลว


5. มีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติแบบรุนแรง



อัตราค่าบริการ ราคา 10,000 บาท (ลดราคาจาก 30,000 บาท)



การตรวจนี้รวมถึงการตรวจต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วย
- Ankle Brachial Index(ABI)
- น้ำตาล, ไขมันในเลือด
- Coronary calcium score
- CT lung scan
- CT Visceral adipose tissue scan
- Thoracic and abdominal aorta CT scan




โครงการตรวจหลอดเลือดหัวใจ




หากท่านมีความประสงค์ที่จะให้ผู้ป่วยในความดูแลของท่านที่อยู่ในข่ายจะได้รับการตรวจหลอดเลือดโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 64 สไลซ์ ท่านสามารถขอแบบฟอร์มและนัดหมายการตรวจได้ที่



1. โครงการ AIMC มูลนิธิรามาธิบดี



270 ถ.พระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม3 10400



โทรศัพท์ (02) 872-3249 กด 9, (02) 894-4289 กด 7



โทรสาร (02) 201-1176















:)






</TD></TR></TBODY></TABLE>