พระอาจาย์สมชาย ฐิตวิริโย
วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทรบุรี
พระมหาเถระ แห่งภาคตะวันออก
---------------------------------------------------

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปุจฉา กับ ท่านพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย


เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2520 เวลา 12.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวมหาราช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนินถึง วัดเขาสุกิม อำ เภอท่าใหม่ จังหวัด จันทบุรี ในการทรงประกอบ พิธีเททองหล่อ พระประธาน พระอัคร สาวกทั้งสอง และพระอานนท์ ภายหลังจากเสร็จ พระราชกรณียกิจแล้ว พระบาทสม เด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปุจฉา กับท่านพระอาจารย์ สมชาย ฐิตวิริโย ดังนี้
พระราชปุจฉา....
" ผู้คนเขามาวัดทำไมกัน"

พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ถวายพระพรว่า.... "
" ผู้มาวัดด้วยเหตุต่างๆ กันบางคนเป็นคนดีอยู่แล้ว มาวัดด้วยมุ่งทำ ความดีให้มาก ขึ้นด้วยการ ถือศีลภาวนา บ้างอยากรู้ทางวัด เขาทำอะไรกัน จะมาช่วย วัดด้วยความ ตั้งใจจริง เพราะเห็นว่า เมื่ออยู่บ้าน ก็ไม่มีอะไรที่จะ ต้องทำบางคน ก็มาด้วยเหตุที่ว่า อยู่บ้านมีแต่ปัฌหา ล้วนแล้วแต่น่าเบื่อ มาวัด หาความสงบดีกว่า มาวัดทำให้สบายใจ"

พระราชปุจฉา... "
ที่ว่าชาวบ้านเขาเบื่อหน่ายเขาเบื่ออะไรกัน "

พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ถวายพระพรว่า....
" การเบื่อหน่ายของชาวบ้านมีสองอย่าง บางคนเบื่อการงาน ที่จำเจก็หา เวลามาวัด เพื่อพักผ่อน บางคน เห็นว่าการเป็นอยู่ ทางโลกนั้น ถึงจะมั่งมีสามารถ หาความสุขได้ ทุกอย่างก็จริง ล้วนแต่เป็นความสุข ชั่วคราว ไม่ใช่ความสุขที่แท้ จริงเหมือนความสุขทางธรรม บ้างว่าเกิด มาแล้วก็หนีความตายไม่พ้น ก่อนจะตายก็ควรทำอะไรๆ อันเป็นเหตุให้ตายดี มีความสุขก็มี"

พระราชปุจฉา....
" การสอนให้คนนึกถึงความตายนั้น หากสอนไม่ดีแล้ว ก็เป็นเหตุให้เกิด ความเกียจ คร้านในการ หาเลี้ยงชีพ กลายเป็นคนจน เป็นภาระของสังคม ดังนั้นต้องระวัง ในเรื่องการสอน"

พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ถวายพระพรว่า....
" โดยปกติพระจะสอนให้เห็นโทษของความมัวเมา ก่อให้เกิดความ เห็นผิดเป็นชอบ จึงต้องสอนให้เห็น ในทางที่ถูกก่อน เช่น

ก. อย่ามัวเมาในวัยว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่
ข. อย่ามัวเมาในความไม่มีโรคมาเบียดเบียน
ค. อย่ามัวเมาในชีวิตว่าเวลาของเรายังมีอยู่

ด้วยเหตุนี้ดังถวายพระพรมาแล้ว ทางพระจึงสอนให้ทุกคน นึกถึงความตาย ถ้าไม่สอนให้เขา เข้าใจ ในทางถูกก่อนแล้ว กลับจะเป็นผลร้าย ดังพระราชปุจฉา โดยแท้
การเจริฌมรณัสสตินั้น ชั้นต้นเพื่อให้รู้ว่าทุกคน หนีความตายไม่พ้น ไม่ว่า จะเป็นคนมีคนจน มีความตายเหมือนกันทั้งนั้น
สำหรับผู้ทำการภาวนาเจริฌกรรมฐาน เพื่อให้นิวรณ์สงบ ก็จำเป็นต้อง พิจารณาเป็นอย่างๆไป ความตาย คือ นายเพชรฆาต, ความตาย คือต้องพลัด พรากจากสมบัติ ทุกอย่าง ชีวิตเป็นของที่กำหนดเอง เอาว่าอายุ เท่านั้นเท่านี้ จะตายก็กำหนดไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า ชีวิตเป็นของน้อยจะ ตายเมื่อไร ไม่มีใครรู้ได้ ขอถวายพระพร"

ที่มา: http://www.tteen.net/view.php?time=20040908122149