คนอี่สานรู้จักแต่งผญามาตั้งแต่เมื่อไรไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดได้แต่คาดเดาเอาว่า
คงเกิดมีขึ้นพร้อมๆกับการรูจักคำความหมายของคำทั้งภาษาบาลีสันสกฤตที่แผ่ขยาย
มาพร้อมอิทธิพลของศาสนา และภาษาโบราณอี่สานเองที่มีเป็นเอกลักษณะอยู่ก่อนแล้ว
ความจริงแล้วภาษานั้นมีการพัฒนาคลี่คลายขยายตัวมาเป็นลำดับตามความเปลี่ยนแปลง
ทางการศึกษา เมื่อคำและความหมายของคำมากขึ้นคนมักจะพูดหรือนำคำมาเชื่อมติด
ต่อกันให้มีความสละสลวยไพรเราะมากขึ้นตามลักษณะของคนไทยที่เรียกว่า เป็นคน
เจ้าบทเจ้ากลอน ซึ่งคนอี่สานก็เป็นเช่นนั้น เพียงแต่คำคล้องจองของชาวอี่สานนั้นได้เรียกว่า
กาพย์ กลอน ฉันท์ แต่เรียกว่าผญา คำที่คนโบราณอี่สานนำมาเชื่อมต่อเป็นผญานั้นก็เช่น
เดียวกันกับที่นักฉันทลักษณ์ไทยนำคำมาแต่งเป็นคำประพันธ์ชนิดต่างๆนั้นเอง ซึ่งจะให้ทั้ง
ทั้งสาระและความไพรเราะ
คำภาษาอี่สานมีลักษณ์พิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ สามารถสื่อความและเปรียบเทียบได้ลึกซึ้ง
มองเห็นภาพพจน์ได้ชัดเจนกว่าภาษาไทยทั่วไปเช่นคำว่า มิดซีลี มืดตึ้ดตือ ดำขื่อหลื่อ
ดำปี้ปี้ แดงจ่ายวาย แดงจืงคืง แจ้งจ้างป้าง ฮูจิงปิง ยาวโคดโลด คำที่มีลักษณะเช่นนี้แหละ
ที่คนโบราณคิดขึ้น นำมาผูกพูดกันแล้วกลายเป็นผญาในที่สุด แรกๆนั้นอาจพูดกันชนิดปาก
ต่อปากสืบต่อกันไปเรื่อยๆต่อเมื่อมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นมาใช้คำผญาจึงถูกจารึกลงในใบลาน
ซึ่งคนอี่สานรู้ดีในนามหนังสือผูก หรือหนังสือก้อม หรือหนังสือข่อยตามแต่จะเรียกหนังสือ
ดังกล่าวบรรจุเรื่องราววรรณคดีคำสอน ภาษิต ผญา นิทาน ตลอดจนตำนานต่างๆไว้มากมาย
เป็นตำราคำภีร์แหล่งความรู้ของชาวอี่สานอย่างแท้จริง