กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: วันพืชมงคล-จรดพระนั่งคลังแรกนาขวัญ

  1. #1
    มิสบ้านมหา 2008 - 2009 สัญลักษณ์ของ หมูหวาน
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,353
    บล็อก
    5

    วันพืชมงคล-จรดพระนั่งคลังแรกนาขวัญ

    วันพืชมงคล-จรดพระนั่งคลังแรกนาขวัญ

    ประวัติ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

    พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธี ๒ พิธี รวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์อย่างหนึ่ง กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์อย่างหนึ่ง พระราชพิธีพืชมงคลนั้นจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำหรับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจะประกอบพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลท้องสนามหลวง

    พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้นๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณ ตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเองเป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธานเหมือนสมัยกรุงสุโขทัย แต่จะมอบอาญาสิทธิให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์และจะทรงจำศีลเงียบ ๓ วัน ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

    สมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๑ ได้โปรดให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญแทนพระองค์คู่กันกับการยืนชิงช้าและมิได้ถือว่าเป็นพิธีหน้าพระที่นั่ง เว้นแต่เมื่อมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร สถานที่ประกอบพิธีในตอนแรกๆ จึงไม่ตายตัว แล้วแต่จะทรงกำหนดให้ เช่นในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กำลังทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ อยู่ แต่ใคร่จะได้ทอดพระเนตรพิธีแรกนาขวัญ จึงต้องย้ายไปทำกันที่ในทุ่งหลังวัดอรุณฯ นั่นเอง พอถึงรัชกาลที่ ๓ ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย ในรัชกาลที่ ๔ เคยย้ายไปทำกันที่กรุงเก่าและที่เพชรบุรี เป็นเพราะในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่นั่น และทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี ดังนั้นพระราชพิธีพืชมงคลจึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ต่อมาในคราวหลังๆ นี้ ได้ย้ายไปทำกันที่ "ทุ่งส้มป่อย"เกือบเป็นประจำ ( ทุ่งส้มป่อย : บริเวณทุ่งกว้างริมถนนซังฮี้ หรือถนนราชวิถีในปัจจุบัน ตั้งอยู่ระหว่างพระราชวังดุสิตและวังพญาไท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้ใช้เงินพระคลังข้างที่ซื้อไว้เป็นเนื้อที่ ๓๙๕ ไร่ แล้วโปรดให้จัดสร้างพระตำหนักขึ้นหลังหนึ่งโดยใช้เงินพระคลังข้างที่ พร้อมทั้งนำชื่อพระตำหนักเดิมจากวังปารุสกวันมาพระราชทานเป็นชื่อพระตำหนักใหม่พร้อมเติมสร้อย รโหฐาน ลงไป รวมเป็น "พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน" ) ในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ตอนหนึ่ง ว่า " การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นธรรมเนียมมีมาแต่โบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงลงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอเป็นนิจไม่มีเวลาว่างเว้น ด้วยการซึ่งผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจมั่นในการที่จะทำนาเพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่น และความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่างเหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตนตามปกติ ก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตรายคือ น้ำฝน น้ำท่ามากไปน้อยไป ด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆจะบังเกิดเป็นอันตรายไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิและมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกำลัง จึงต้องหาทางที่จะแก้ไขและทางที่จะอุดหนุนและที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้าจะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจ โดยอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นสวัสดิมงคลซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นทรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรง และเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สิ้นสุด"

    .......... ดังนั้นจึงพอจะสรุปความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุให้เกิดพระราชพิธีพืชมงคลฯ นี้ได้ว่าพิธีแรกนามุ่งหมายที่จะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร เพื่อชักนำให้มีความมั่นใจในการทำนา อันเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของคนไทยที่มีมาแต่ช้านานสืบมาจนปัจจุบันยังคงเป็นอยู่อย่างนั้น เพราะการเกษตรซึ่งมีการทำนาเป็นหลักนั้น เป็นสิ่งสำคัญแก่ชีวิตความเป็นอยู่และการเศรษฐกิจของประเทศทุกสมัย ส่วนพิธีกรรมนอกเหนือจากการทำให้เป็นตัวอย่างตามที่ทรงจำแนกไว้ ๓ อย่าง ๒ อย่างแรกที่ว่า "อาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง" นั้น ทรงหมายถึง พิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ที่กระทำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนอีกอย่างหนึ่งที่ว่า"บูชาเซ่นทรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง" นั้น ทรงหมายถึงพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์
    .......... พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกรกำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่นๆ ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามเหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น
    .......... การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระทำเต็มรูปบูรพประเพณีครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ แล้วก็ว่างเว้นไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๐๓ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่และได้กระทำติดต่อกันมาทุกปีจนปัจจุบัน ด้วยเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระประมุขปัจจุบันทรงมีพระราชกระแสให้มีการปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย และเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีนี้ทุกปีสืบมามิได้ขาด
    .......... เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาในระยะแรกนั้น พระยาแรกนาได้แก่อธิบดีกรมการข้าวโดยตำแหน่ง สำหรับเทพีทั้งสี่พิจารณาคัดเลือกจากภริยาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายหลังพระยาแรกนา ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยตำแหน่ง ส่วนเทพีทั้งสี่พิจารณาคัดเลือกจากข้าราชการพลเรือนหญิงโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระดับชั้นโทขึ้นไป
    พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีทำขวัญพืชพรรณธัญญาหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ข้าวนั้นถือว่าเป็นอาหารหลักของประชาชน ในภาษาบาลีเรียกว่า ปุพพัณณะ หรือบุพพัณณะ หรือบุพพัณณชาติ ส่วนพืชอื่นๆ ที่เป็นอาหารเรียกว่า อปรัณณ หรืออปรัณชาติ หมายถึงพืชที่เป็นอาหารทุกชนิด บุพพัณณชาติ ที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้นเป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่างๆรวม ๔๐ อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว กับเผือกมันต่างๆ พันธุ์พืชเหล่านี้เป็นของปลูกงอกได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีข้าวเปลือกที่หว่านในพิธีแรกนาบรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินคู่หนี่งเป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดฯให้ปลูกในสวนจิตรลดา และพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล พันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้หว่านในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งที่เหลือทางการจะบรรจุซองแล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่างๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้

    ........... อนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัยนี้เป็นวันเกษตรกร ประจำปีอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ จึงได้มีการจัดงานวันเกษตรควบคู่ไปกับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตลอดมา
    ............... ในสังคมกสิกรรมทุกสังคมมีพิธีกรรมต่างๆ เพื่อบวงสรวง บูชา อ้อนวอนเทพเจ้าเกี่ยวกับพืชพรรณธัญญาหารและเทพเจ้าเกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ ตลอดจนธรรมชาติอื่นๆ อันเป็นหลักปฏิบัติที่เชื่อว่าจะก่อให้เกิดอาหารอุดมสมบูรณ์ เกิดสวัสดิมงคลและความปลอดภัยมั่นคงแก่ชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งที่เกี่ยวข้องเช่นพิธีบูชาเทพธิดาโพสวเทวีอีดีมีสเตอร์ของชาวกรีกโบราณ พิธีไหว้ฟ้าดินของชาวจีน พิธีสู่ขวัญแม่โพสพของชาวอินโดนีเซีย พิธีเชิญขวัญข้าวโพดของชาวอินเดียนแดง เป็นต้น สำหรับคนไทยที่มีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับข้าวมาแต่โบราณ ข้าวเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเลือดเนื้อของคนไทยมาแต่โบราณ การทำนาเพื่อผลิตข้าวนั้นมีขั้นตอนงานหลายขั้นตอน ตั้งแต่ก่อนการปลูกข้าว จะต้องมีการเตรียมปรับดินในนา ถ้าเป็นการปลูกข้าวนาดำต้องมีแปลงตกกล้า ก่อนเริ่มทำแปลงตกกล้าหรือหว่าน ต้องมีการไถดะ ไถแปรหรือมีไถคราดด้วย เมื่อเริ่มหว่านหรือถอนกล้าปักดำไปแล้ว ต้องรอจนข้าวเติบโตจนเก็บเกี่ยวได้จึงเริ่มเกี่ยวข้าว เมื่อได้ข้าวแล้ว ต้องขนไปลานนวดข้าว มีการนวดข้าว ซึ่งปัจจุบันส่วนมากใช้เครื่องจักร จากนั้นขนข้าวขึ้นยุ้ง หรือมีพ่อค้ามาซื้อถึงที่ จากกระบวนการผลิตข้าวดังกล่าวก่อให้เกิดความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม และคติชาวบ้านที่เกี่ยวกับข้าวหลายอย่างในวัฒนธรรมของไทย

    วันพืชมงคล-จรดพระนั่งคลังแรกนาขวัญ

    กําหนดวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญปี 2551

    ปฏิทินหลวงได้กําหนดวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจําปี 2551 ดังนี้
    • วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2551 เป็นวันสวดมนต์เริ่มการพระราชพิธีพืชมงคล ประกอบพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และถือเป็นวันเกษตรกรด้วย
    • วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2551 เป็นวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) ประกอบพระราชพิธีบริเวณมณฑลพิธีสนามหลวงด้านทิศเหนือ

    กําหนดการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญปี 2551

    • วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2551 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดําเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีพืช มงคลฯ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    • วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2551 เวลา 07.30 น. พระยาแรกนาขึ้นรถยนต์หลวงออกจากพระบรมมหาราชวัง ไปยังมณฑลพิธีสนามหลวง แล้วเดินนํากระบวนแห่อิสริยยศ ไปที่โรงพิธีพราหมณ์ พระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐาน หยิบผ่านุ่งแต่งกายไว้พร้อม เวลา 08.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดําเนินจากพระตําหนัก จิตรลดารโหฐาน ไปยังพลับพลาที่ประทับบริเวณมณฑลพิธี สนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธานในงานพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
    ฤกษ์พิธีไถหว่าน
    • ระหว่างเวลา 08.19 – 08.59 น.


    การแต่งกาย
    • วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2551 แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ
    • วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2551 แต่งกายเครื่องแบบปกติขาว

    พระยาแรกนา
    • นายจรัลธาดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    เทพีคู่หาบทอง (เลื่อนจากเทพีหาบเงิน ปี 2550)
    1. นางสาวพันธ์ทิพย์ จารุเสน นักวิชาการตรวจสอบบัญชี 6ว สํานักงานตรวจบัญชีสหกรณ์กรุงเทพมหานคร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
    2. นางสาวนุชจรี วัชรวงษ์ไพบูลย์ นักวิชาการเกษตร 5 สํานักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

    เทพีคู่หาบเงิน
    1. นางสาวสุภกัญญา กาญจนะคูหะ เศรษฐกร 6 ศูนย์ประเมินผล สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร
    2. นางสาวรําพึง ปราบหงส์ เจ้าพนักงานพัสดุ 5 กองพัสดุ กรมชลประทาน

    คู่เคียง
    1. นายประวิทย์ ตุลาพันธุ์ กรมชลประทาน
    2. นายภูวเนตร ทองรุ่งโรจน์ กรมชลประทาน
    3. นายเกรียงศักดิ์ บุณยะสุต กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
    4. นายประสพสิน แม้นทิม กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
    5. นายวิชัย ก้องรัตนโกศล กรมประมง
    6. นายสุรจิตต์ อินทรชิต กรมประมง
    7. นายอยุทธ์ หรินทรานนทฺ กรมปศุสัตวฺ
    8. นายสินชัย เรืองไพบูลย์ กรมปศุสัตวฺ
    9. นายชุมพล คงอินทร์ กรมพัฒนาที่ดิน
    10. นายจรูญ ยกถาวร กรมพัฒนาที่ดิน
    11. นายวัฒนะ วัฒนานนท์ กรมวิชาการเกษตร
    12. นายกิตติศักดิ์ กีรติยะอังกูร กรมวิชาการเกษตร
    13. นายปรีชา สมบูรณ์ ประเสริฐ กรมส่งเสริมการเกษตร
    14. นายโอฬาร พิทักษ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
    15. นายปราโมช ถาวร กรมส่งเสริมสหกรณ์
    16. นายเลอพงษ์ มุสิกะมาน กรมส่งเสริมสหกรณ์

    ผู้เชิญเครื่องราชอิสริยยศ
    1. นายอภิชัย จึงประภา กรมส่งเสริมการเกษตร
    2. นายบุญโชว์ สมทรง กรมส่งเสริมสหกรณ์
    3. นายนพพล ศรีสุข สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
    4. นายมณฑล เจียมเจริญ สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร

    พระโคแรกนา
    • เทิด และ ทูน
    พระโคสํารอง
    • ฟ้า และ ใส

    รายชื่อพันธุ์ข้าวโครงการนาทดลอง สวนจิตรลดา สําหรับใช้เป็นพันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจําปี 2551

    1. ผลผลิตข้าวพันธุ์หลัก (นาสวน) ปี 2550
    • สุพรรณบุรี 1 460
    • ปทุมธานี 80 (กข 31) 388
    • ขาวดอกมะลิ 105 362
    • พัทลุง 78
    • ชัยนาท 80 (กข 29) 135
    • กข 6 269 รวม 1,692
    2. ผลผลิต (ข้าวไร่) ปี 2550
    • ซิวแม่จัน 152
    • ดอกพะยอม 49 รวม 201
ขำบางโอกาส ฉลาดเป็นบางเวลา บ้าเป็นพักๆ แต่น่ารักตลอดกาล (^_^)
อ้างข้อความนี้ อ้างข้อความนี้

  • #2
    เอื้อยกะเพิ่งรู้รายละเอียดมื้อนี่ล่ะหมู
    ขอบใจหล่าที่เอามาลงให้อ่าน เพิ่มความรู้ ไปอีกเรื่อง อิอิ
    :g:g:g:g:g:g:g:g

  • #3
    มิสบ้านมหา 2008 - 2009 สัญลักษณ์ของ หมูหวาน
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,353
    บล็อก
    5

    ผลเสี่ยงทายของพระยาแรกนา

    ผลเสี่ยงทายของพระยาแรกนา เนื่องในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2551
    โหรหลวงได้ให้คำพยากรณ์ว่า พระยาแรกนาได้เสี่ยงทายผ้าสำหรับนุ่งไปประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ดังนี้ เสี่ยงผ้านุ่งปีนี้พยากรณ์ว่า น้ำสำหรับปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี


    การเสี่ยงทายพระโคกินเลี้ยงปีนี้
    พระโคกินข้าว พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหารจะบริบูรณ์ดี กินหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอควร พร้อมด้วยธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร อุดมสมบูรณ์ดี
    ขำบางโอกาส ฉลาดเป็นบางเวลา บ้าเป็นพักๆ แต่น่ารักตลอดกาล (^_^)

  • #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    Re: วันพืชมงคล-จรดพระนั่งคลังแรกนาขวัญ

    ขอบคุณมากนะคะ สำหรับสาระความรู้ที่ได้รับ
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  • กฎการส่งข้อความ

    • You may not post new threads
    • You may not post replies
    • You may not post attachments
    • You may not edit your posts
    •