อย่างที่พวกเฮาฮู้กันว่าบ้านเฮาเองกะมีแท่นขุดเจาะเหมือนกันเนาะครับ กะเลยมาบอกกล่าวพอเป็นความฮู้ว่าในประเทศไทยบ้านเฮามีแท่นเจาะซื่ออีหยังแน แล้วกะทำการขุดเจาะอีหยังบ้าง...เชิญครับ

โครงการบงกช

ประเภทธุรกิจ...............การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
สัมปทาน/สัญญา...........บี 15, บี 16, บี 17, บี 13/38 และ จี 12/48
ขนาดพื้นที่..................3,986 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้ง..........................ในอ่าวไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 600 กม. และอยู่นอกชายฝั่งจังหวัดสงขลา ประมาณ 203 กม.
ผู้ร่วมทุน.....................บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) 44.4445%
บริษัท โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ 33.3333%
บริษัท บีจี เอเชีย แปซิฟิก พีทีอี จำกัด 22.2222%

ผู้ดำเนินการ..................บริษัท ปตท.สผ. (ประเทศไทย) จำกัด
ระยะการดำเนินงาน.........ระยะผลิต
ประเภทการลงทุน...........โครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ
แหล่งปิโตรเลียม.............บงกช ต้นสัก ต้นรัง ต้นนกยูง ต้นคูณ และพิกุล
ชนิดของปิโตรเลียม.........น้ำมันดิบ, ก๊าซธรรมชาติ และ คอนเดนเสท
วันที่เริ่มการผลิต.............15 กรกฎาคม 2536
เว็บไซต์....................... -


แหล่งบงกช

ประกอบด้วยชั้นหินกักเก็บก๊าซธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ และมีชั้นหินกักเก็บน้ำมันดิบอยู่บ้าง ชั้นหินกักเก็บเหล่านี้มีจำนวนมากและถูกแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆทางธรณีวิทยาโดยรอยเลื่อนของชั้นหินมากมาย ทำให้การพัฒนาและการผลิตมีความยุ่งยากซับซ้อน ผลผลิตของแหล่งบงกชเป็นก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่ก็มีการผลิตคอนเดนเสท และน้ำมันดิบในปริมาณมากเช่นกัน

การพัฒนาโครงการบงกช

ระยะที่ 1
เริ่มการผลิตก๊าซธรรมชาติครั้งแรกในอัตรา 150 ล้านลูกบาศก์ฟุตในเดือนกรกฎาคม 2536 และต่อมาเพิ่มการผลิตเป็น 250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน อุปกรณ์การผลิต ในระยะที่ 1 นี้ มีกำลังผลิตได้ถึง 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และมีหลุมผลิตจำนวน 29 หลุม ซึ่งเจาะในกลางปี 2535 และตอนต้นปี 2537

อุปกรณ์การผลิต ในระยะที่ 1 มีดังนี้
- แท่นหลุมผลิต (Wellhead Platform - WP) จำนวน 3 แท่น ได้แก่ WP1, 2 และ 3
- แท่นผลิต (Production Platform - PP) จำนวน 1 แท่น
- แท่นที่พักอาศัย (Living Quarter Platform - QP) จำนวน 1 แท่น
- เรือกักเก็บคอนเดนเสท (Floating Storage and Offloading Unit - FSO) ความจุ 200,000 บาร์เรล จำนวน 1 ลำ
- ท่อใต้ทะเลสำหรับส่งก๊าซธรรมชาติจากแท่นหลุมผลิตต่างๆ มาที่แท่นผลิต


ระยะที่ 2
ได้เพิ่มอัตราการผลิตก๊าซฯ เป็น 350 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน และได้มีการติดตั้งแท่นผลิต รวมทั้งอุปกรณ์การผลิตเพิ่มเติม ดังนี้
- แท่นหลุมผลิต จำนวน 5 แท่น ได้แก่ WP4, 5, 6, 7 และ 8
- แท่น Riser Platform (RP) จำนวน 1 แท่น
- แท่นเผาก๊าซ Flare Platform (FP) จำนวน 1 แท่น
- และได้เจาะหลุมผลิตเพิ่มอีกจำนวน 48 หลุมจากแท่นหลุมผลิต WP2, 4, 5, 6, 7 และ 8


ระยะที่ 3
เพิ่มอัตราการผลิตก๊าซฯ เป็น 550 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนดอนเสทในอัตรา 15,000 บาร์เรลต่อวัน โดยมีการติดตั้งแท่นผลิต และพัฒนาอุปกรณ์การผลิตเพิ่มเติม ดังนี้
- แท่นหลุมผลิต จำนวน 6 แท่น ได้แก่ WP9, 10, 11, 12, 13 และ 14
- แท่นผลิต SPP (Sour Process Platform)
- ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติมบนแท่น PP, RP, QP และ WP1
- เรือกักเก็บคอนดอนเสท Floating Storage and Offloading Unit (FSO2) ลำใหม่ เพื่อทดแทนลำเก่า ด้วยความจุ 400,000 บาร์เรล และได้รับพระราชทานชื่อจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า "ปทุมพาหะ" (Pathumabaha)


ระยะที่ 4
เป็นแผนงานในอนาคตเพื่อพัฒนาโครงสร้างก๊าซธรรมชาติทางตอนใต้ของแหล่งบงกช ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างบงกชใต้, โครงสร้างต้นคูณและโครงสร้างต้นนกยูง

การผลิตของแหล่งบงกช

การผลิตของแหล่งบงกชเริ่มต้น ด้วยอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติครั้งแรกในอัตรา 150 ล้านลูกบาศก์ฟุตในเดือนกรกฎาคม 2536 และเพิ่มการผลิตเป็น 250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ระยะที่ 2 ได้เพิ่มอัตราการผลิตก๊าซฯ เป็น 350 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันและต่อมาได้เพิ่มอัตราการผลิตก๊าซฯ เป็น 550 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในระยะที่ 3 ในบางโอกาสในระยะที่ 3 นี้ มีการผลิตเกินระดับ 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันด้วยส่วนอัตราการผลิตคอนดอนเสทและน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้นจากอัตรา 3,000-4,000 บาร์เรลต่อวันในระยะที่ 1 เป็น 9,000-10,000 บาร์เรลต่อวันในระยะที่ 2 และเป็น 13,000-17,000 บาร์เรลต่อวันในระยะที่ 3

ความสำเร็จ

แหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งแรกที่ดำเนินการโดยคนไทย
ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ปตท.สผ. ในฐานะบริษัทของคนไทย ได้เข้าเป็นผู้ดำเนินการโครงการบงกช ซึ่งนับเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นแหล่งแรกที่ดำเนินการโดยคนไทย อีกทั้งยังเป็นการพิสูจน์ถึงความสามารถของคนไทยในการดำเนินงานสำรวจและผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพทัดเทียมกับบริษัทน้ำมันนานาชาติ

รางวัลดีเด่นด้านการบริหารความปลอดภัย
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2541 ปตท.สผ. โดยโครงการบงกช ได้รับรางวัลดีเด่น ด้านการบริหารความปลอดภัย จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (1998 Prime Minister's Award in Safety Management) โดยการคัดเลือกของกระทรวงอุตสาหกรรม

หลุมก๊าซฯ ยาวที่สุดในประเทศไทย
ในเดือนกรกฎาคม 2548 โครงการบงกช ประสบความสำเร็จในในการเจาะหลุม BK-7-GR ความยาวประมาณ 5.2 กิโลเมตร เจาะเอียงทำมุม 90 องศา นับเป็นหลุมผลิตก๊าซธรรมชาติและคอนดอนเสทที่ยาวที่สุดในประเทศไทย หลุม BK-7-GR มีเป้าหมายเพื่อผลิตปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติจำนวน 3 หมื่นล้านลูกบาศก์ฟุต ที่อยู่ในตำแหน่งห่างจากแท่นหลุมผลิตเป็นระยะทางเกือบ 4.5 กิโลเมตร

จุดเด่นเพิ่มเติม:

2550
- พื้นที่ปิโตรเลียมนวมินทร์ มีอัตราการผลิตสูงกว่าแผนงานที่วางไว้ สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติ 629 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 17,870 บาร์เรลต่อวัน
- เจาะหลุมพัฒนาเพิ่มเติมในแหล่งบงกชเหนือเพื่อรักษากำลังการผลิต
- ดำเนินการพัฒนาแหล่งบงกชใต้เพื่อเพิ่มกำลังและปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติเป็น 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2554
- ได้รับอนุมัติการต่อระยะเวลาการผลิตปิโตรเลียมของแปลงสำรวจหมายเลข 15, 16 และ 17 อีก 10 ปี


2549
- มีปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยประมาณ 621 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 17,780 บาร์เรลต่อวัน
- ดำเนินการติดตั้งหลุมผลิตเฟส 3E แล้วเสร็จ
- เจาะหลุมสำรวจเป็นครั้งแรกของโครงการในรอบ 8 ปี จำนวน 3 หลุม และพบก๊าซทุกหลุม โดยเฉพาะหลุมต้นจัน-1X ที่ระดับความลึกสุดท้าย 3,442 เมตร พบโครงสร้างใหม่ในพื้นที่ผลิตตอนเหนือ


2548
- มีปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยประมาณ 605 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 18,000 บาร์เรลต่อวัน
- การก่อสร้างแท่นผลิต Sour Processing Platform (SPP) ได้แล้วเสร็จและเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548
- ได้ดำเนินการโครงการพัฒนา Greater Bongkot South (GBS) และ Greater Bongkot North (GBN) ซึ่งจะช่วยให้รักษาระดับการผลิตในระยะยาว

*******************************************

โครงการ S1

ประเภทธุรกิจ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
สัมปทาน/สัญญา.............แปลงสำรวจเอส 1 สัมปทานเลขที่ 1/2522/16 ได้รับวันที่ 15 มีนาคม 2522 เงื่อนไข Thailand I
ขนาดพื้นที่....................1,328 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้ง............................จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และกำแพงเพชร
ผู้ร่วมทุน.......................บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) 100%
ผู้ดำเนินการ...................บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
ระยะการดำเนินงาน ระยะผลิต
ประเภทการลงทุน............โครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ
แหล่งปิโตรเลียม..............สิริกิติ์ (3 พื้นที่ติดต่อกัน) สิริกิติ์ตะวันตก ปรือกระเทียม วัดแตน ทับแรต ประดู่เฒ่า หนองตูม สิริกิติ์ตะวันออก หนองมะขามตะวันออก สิริกิติ์-ที หนองมะขาม ประดู่เฒ่าใต้ และ สิริกิติ์ตะวันตก (ส่วนขยาย)
ชนิดของปิโตรเลียม...........น้ำมันดิบ, ก๊าซธรรมชาติ และ ก๊าซแอลพีจี
วันที่เริ่มการผลิต ธันวาคม 2525
เว็บไซต์ ........................-


ข้อมูลเพิ่มเติม

ในเดือนธันวาคม 2524 ได้มีการสำรวจพบน้ำมันปริมาณมากพอในเชิงพาณิชย์ที่หลุมสำรวจ “ลานกระบือ เอ 01” ในอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร จึงได้เริ่มทำการผลิตน้ำมันดิบในครั้งแรกเดือนธันวาคม 2525
ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า “แหล่งน้ำมันสิริกิติ์” และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2526 นับได้ว่าแหล่งน้ำมันสิริกิติ์
เข้าร่วมทุนครั้งแรกในวันที่ 21 ตุลาคม 2528
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2547 ปตท.สผ.ได้เข้าเป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้ถือสิทธิทั้งหมดในแปลงเอส 1 หรือ แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันดิบบนบกแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย


2550
- ผลิตน้ำมันดิบ 20,501 บาร์เรลต่อวัน ก๊าซธรรมชาติ 50 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซแอลพีจี 265 ตันต่อวัน
- เจาะหลุมผลิต 37 หลุม หลุมสำรวจ 2 หลุม หลุมประเมิน 5 หลุม
- โครงการเอส 1 ได้รับการอนุมัติพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติมในแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ตะวันออกประมาณ 1.982 ตารางกิโลเมตร ทำให้พื้นที่ผลิตรวมเพิ่มขึ้นเป็น 309 ตารางกิโลเมตร
- ติดตั้งเครื่องอัดก๊าซเพื่อช่วยเพิ่มการผลิต (K-3850) ที่ สถานีการผลิต ทำให้เพิ่มความสามารถในการอัดก๊าซช่วยการผลิตจาก 27 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็น 40 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน


2549
- มีอัตรการผลิตน้ำมันดิบ 18,800 บาร์เรลต่อวัน ก๊าซธรรมชาติ 58 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซแอลพีจี 264 ตันต่อวันโดยเฉลี่ย
- เจาะหลุมผลิต 36 หลุม หลุมประเมิน 8 หลุม หลุมผลิตน้ำและหลุมอัดน้ำอย่างละ 1 หลุม
- ได้รับอนุมัติพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติมในแหล่งสิริกิติ์ตะวันตกประมาณ 99 ตารางกิโลเมตร และแหล่งหนองตูมตอนใต้ประมาณ 19 ตารางกิโลเมตร ทำให้มีพื้นที่ผลิตเพิ่มขึ้นรวมเป็น 308 ตารางกิโลเมตร
- ได้ทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากฐานผลิตประดู่เฒ่า-เอ กับบริษัท ราชบุรีพลังงาน จำกัด เพื่อนำก๊าซซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบไปผลิตกระแสไฟฟ้า.


2548
- โครงการ S1 ที่จังหวัดกำแพงเพชร มีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 59 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน น้ำมันดิบ 18,000 บาร์เรลต่อวัน และแอลพีจี 275 ตันต่อวันโดยเฉลี่ย
- ปตท.สผ. ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมศึกษากับบริษัท ราชบุรี พลังงาน จำกัด เพื่อนำก๊าซธรรมชาติที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบจากประดู่เฒ่าเอมาผลิตไฟฟ้า

******************************************

โครงการนางนวล

ประเภทธุรกิจ...............การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
สัมปทาน/สัญญา..........แปลง B6/27
ขนาดพื้นที่.................1,307 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้ง.........................ในอ่าวไทย นอกชายฝั่งจังหวัดชุมพร ประมาณ 25 กิโลเมตร
ผู้ร่วมทุน....................บริษัท ปตท.สผ. สยาม จำกัด (ปตท.สผ.ส.) 60%
Nippon Oil Exploration Limited (NOEX) 40%
ผู้ดำเนินการ.................บริษัท บริษัท ปตท.สผ. สยาม จำกัด
ระยะการดำเนินงาน........ระยะผลิต
ประเภทการลงทุน..........โครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ
แหล่งปิโตรเลียม...........นางนวล
ชนิดของปิโตรเลียม........น้ำมันดิบ
วันที่เริ่มการผลิต............22 พฤษภาคม 2548
เว็บไซต์ ..................... -


ข้อมูลเพิ่มเติม

โครงการนางนวลได้เริ่มการผลิตครั้งแรกในแหล่งนางนวล-เอ และนางนวล-บี ตั้งแต่ปี 2530 และ 2536 ตามลำดับ โดย บริษัท ไทยเชลล์ เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ โปรดักชั่น จำกัด

2550
- ผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยที่ 761 บาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม
- ยกเลิกสัญญาการผลิตกับผู้รับเหมาเมื่อเดือนกันยายน ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการอนุมัติการเปลี่ยนแปลงการถือสัดส่วนร่วมทุนเป็น ปตท.สผ. ร้อยละ 60 และ Nippon Oil Exploration Company ร้อยละ 40 จากกระทรวงพลังงาน


2549
- เจาะหลุมสำรวจนางนวล A-04 และเตรียมรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
- ตั้งแต่เริ่มโครงการในเดือนพฤษภาคม 2548 จนถึงปลายปี 2549 ได้ผลิตน้ำมันดิบไปแล้วประมาณ 975,000 บาร์เรล


2548
- ปตท.สผ. แจ้งว่า ประสบความสำเร็จในการทดสอบการผลิตของโครงการนางนวล และเริ่มการผลิตน้ำมันดิบครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม โดยมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 3,160 บาร์เรลต่อวัน

2547
- ปตท.สผ. เข้าเป็นผู้ดำเนินการและถือสัดส่วน 100% ตั้งแต่ต้นปี 2547
******************************************

โครงการอาทิตย์

ประเภทธุรกิจ.................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
สัมปทาน/สัญญา............แปลง B14A, B15A, B16A, G8/50 และ G9/48
ขนาดพื้นที่...................4,185 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้ง...........................ในอ่าวไทย ห่างจากฝั่งจังหวัดสงขลาประมาณ 230 กิโลเมตร และทางด้านทิศตะวันตกติดกับแปลงสัมปทานบงกช
ผู้ร่วมทุน......................บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) 80%
บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด (CTEP) 16%
บริษัท โมเอโกะ ไทยแลนด์ จำกัด 4%
ผู้ดำเนินการ..................บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
ระยะการดำเนินงาน..........ระยะสำรวจ
ประเภทการลงทุน...........โครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ
แหล่งปิโตรเลียม.............อาทิตย์
ชนิดของปิโตรเลียม.........น้ำมันดิบ, ก๊าซธรรมชาติ และ คอนเดนเสท
วันที่เริ่มการผลิต.............1 กรกฎาคม 2540
เว็บไซต์ ...................... -


ระยะการดำเนินงาน
แปลง B14A, B15A, and B16A : ระยะพัฒนา
แปลง G9/48 : ระยะสำรวจ


วันที่ร่วมลงทุน
แปลง B14A, B15A, and B16A : 1 กรกฎาคม 2542
แปลง G4/48 : 15 มีนาคม 2549


การสำรวจ
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ปตท.สผ. ได้ทำการสำรวจวัดคลื่นสั่นสะเทือนของชั้นหินชนิด 3 มิติคลุมพื้นที่ทั้งสามแปลงสัมปทาน 4,000 ตารางกิโลเมตร

จากข้อมูลธรณีวิทยา และธรณีฟิสิกส์พบว่า มีแหล่งที่น่าจะสามารถกักเก็บปิโตรเลียมไว้ (Prospect) อยู่ประมาณ 170 โครงสร้าง โดยที่พื้นที่ที่มีศักยภาพสูงอยู่ในแปลงสำรวจ 15A และ 16A เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นนี้ได้มีการวางแผนเจาะหลุมสำรวจโปรแกรมแรก ในปลายปี 2542

หลุมสำรวจที่เจาะเป็นครั้งแรกนี้มีด้วยกัน 7 หลุม เริ่มเจาะในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 ผลการเจาะทั้ง 7 หลุมนั้นเป็นหลุมที่ประสบความสำเร็จพบก๊าซธรรมชาติทุกหลุม พิสูจน์ยืนยันได้ว่าแปลงสัมปทานของโครงการอาทิตย์ที่มีศักยภาพทางปิโตรเลียมที่ดี

โครงการได้ทำการเจาะหลุมเพิ่มเติมอีก 14 หลุม ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 - มกราคม พ.ศ. 2545 พบปิโตรเลียมเพิ่มเติมในปริมาณที่สามารถพัฒนาได้ในเชิงพาณิชย์


แผนการพัฒนา
เจาะหลุมประเมินผลและสำรวจเพิ่มเติม จำนวน 7 หลุม ในปีพ.ศ. 2547
แผนพัฒนาขั้นต้นในช่วงพ.ศ. 2547 – 2549 จะก่อสร้างแท่นอุปกรณ์การผลิต 1 แท่น แท่นที่อยู่อาศัย 1 แท่น และแท่นหลุมผลิต 5 แท่น รวมทั้งเจาะหลุมประเมินผลและหลุมผลิตจำนวน 56 หลุม เพื่อที่จะผลิตก๊าซธรรมชาติที่อัตรา 330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ภายในปี พ.ศ. 2550 เมื่อท่อส่งก๊าซฯ เส้นที่ 3 ของปตท.แล้วเสร็จ

ในช่วงปีพ.ศ. 2547 – 2550 คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนเพื่อการพัฒนาปิโตรเลียมระยะแรกอีก 26,000 ล้านบาท
มีปริมาณทรัพยากรปิโตรเลียมที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาอยู่ที่ 1.9 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต


ผลงาน

“พื้นที่ปิโตรเลียมนวมินทร์”
ในปี 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานชื่อพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมของโครงการบงกชและโครงการอาทิตย์ว่า “พื้นที่ปิโตรเลียมนวมินทร์” (Navamindra Petroluem Area)

การสำรวจคลื่นความไหวสะเทือน ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
การสำรวจคลื่นความไหวสะเทือนของชั้นหิน (3D Seismic) ครอบคลุมพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์คือ 4,000 ตารางกิโลเมตร
เป็นโครงการแรกที่ ปตท.สผ.เป็นผู้ดำเนินการเองตั้งแต่เริ่มการสำรวจจนถึงขั้นตอนการพัฒนาแหล่งก๊าซฯ


ข้อมูลเพิ่มเติม

2550
- ได้รับสัมปทานแปลงจี 8/50 เพื่อให้เกิดการประสานประโยชน์กับโครงการที่มีอยู่เดิมจึงดำเนินงานร่วมกับโครงการอาทิตย์
- อยู่ในช่วงพัฒนาระยะที่ 1 บริษัทได้ติดตั้งแท่นพักอาศัย และแท่นผลิตกลางแล้วเสร็จตามแผน และกำลังดำเนินการดัดแปลงและเชื่อมต่อท่อคอนเดนเสทจากแหล่งอาทิตย์เข้ากับ FSO2 ของโครงการบงกช คาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมเริ่มการผลิตได้ในไตรมาส 1 ปี


2551
- โครงการอาทิตย์ได้เริ่มการพัฒนาระยะ 1B รวมถึงเจาะหลุมสำรวจและประเมินผลเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาระยะ 1C และโครงการอาทิตย์เหนือต่อไป
- ได้รับการอนุมัติพื้นที่ผลิตเพิ่มเติมจำนวน 108 ตารางกิโลเมตร ในสัมปทานแปลง 14 เอ โดยมีระยะเวลาผลิต 30 ปีอีกด้วย


2549
- ติดตั้งขาแท่นผลิตกลาง ขาตั้งแท่นที่พักอาศัย และ flare tripod อีกทั้งได้ติดตั้งแท่นหลุมผลิต 6 แท่น เชื่อมต่อท่อก๊าซ 5 เส้นและท่อคอนเดนเสท 1 เส้น
- การก่อสร้างแท่นผลิตกลางโดยบริษัท McDermott ที่เมือง Batam ประเทศอินโดนีเซียก้าวหน้าไปตามแผนและเสร็จไปแล้วร้อยละ 66 คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมติดตั้งได้ในปี 2550
- เจาะหลุมผลิตรวมแล้วเสร็จรวมทั้งสิ้น 53 หลุม
- การสรรหาบุคลากรแล้วเสร็จไปมากกว่าร้อยละ 6


2548
- การติดตั้งแท่นผลิต 2 แท่นแรก (AWP1 และ AWP2) แล้วเสร็จตามแผนในเดือนกันยายน และ พฤศจิกายน 2548 เพื่อรองรับการขุดเจาะหลุมผลิต ส่วนที่เหลืออีก 4 แท่น อยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยบริษัท Thai Nippon Steel (TNS)
- การเจาะหลุมผลิตหลุมแรกเริ่มในเดือนตุลาคม 2548 โดย Smedvig Rig T-3 และจะเจาะต่อเนื่องไปจนถึงปี 2550 รวมทั้งสิ้น 80 หลุมใน 6 แท่นผลิต

****************************************