กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: *+*...แหล่งขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในประเทศไทย(ต่อ)... *+*

  1. #1
    Super Moderator
    Guide & Photographer
    สัญลักษณ์ของ เจ้าซายน้อย
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    อยู่ในใจเสมอ
    กระทู้
    1,412

    เกาทัณฑ์ *+*...แหล่งขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในประเทศไทย(ต่อ)... *+*

    โครงการ พีทีทีอีพี 1

    ประเภทธุรกิจ..............การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา.........แปลงPTTEP1
    ขนาดพื้นที่................10 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง........................จังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดนครปฐม
    ผู้ร่วมทุน...................บริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ปตท.สผ.อ.) 100%
    ผู้ดำเนินการ...............ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำกัด (ปตท.สผ.อ.)
    ระยะการดำเนินงาน.......ระยะผลิต
    ประเภทการลงทุน.........โครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ
    แหล่งปิโตรเลียม..........แหล่งอู่ทอง แหล่งกำแพงแสน และแหล่งสังฆจาย
    ชนิดของปิโตรเลียม.......น้ำมันดิบ
    วันที่เริ่มการผลิต...........1 กรกฎาคม 2536
    เว็บไซต์.................... -


    การพัฒนาแหล่งน้ำมัน
    โครงการ PTTEP 1 มีหน้าที่รับผิดชอบการผลิตน้ำมันจาก 3 แหล่งคือ แหล่งน้ำมันกำแพงแสน แหล่งน้ำมันอู่ทองและแหล่งน้ำมันสังฆจาย แหล่งกำแพงแสนอยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 70 กม. อยู่ในเขตจังหวัดนครปฐม แหล่งอู่ทองอยู่ห่างจากรุงเทพ ฯ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 80 กม. อยู่ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี แหล่งกำแพงแสนเป็นแหล่งน้ำมันขนาดเล็กที่มีหลุมผลิตเพียง 1 หลุม แหล่งนี้ได้ทำการผลิตน้ำมันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 โดยมีอัตราการผลิตเริ่มต้นที่ 250 บาเรลต่อวัน ปัจจุบันแหล่งกำแพงแสนยังคงผลิตน้ำมันแม้ว่าจะมีอัตราการผลิตที่ต่ำมากก็ตาม

    แหล่งน้ำมันอู่ทองมีขนาดใหญ่กว่าแหล่งกำแพงแสน แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงถูกจัดว่าเป็นแหล่งน้ำมันขนาดเล็ก แหล่งนี้เริ่มต้นการผลิตด้วยหลุมผลิต 2 หลุมที่มีอัตราการผลิตเริ่มต้นรวมกันได้ 900 บาเรลต่อวัน ต่อมาได้มีการเจาะหลุมผลิตเพิ่มเติม ทำให้มีหลุมผลิตเพิ่มเติม ทำให้มีหลุมผลิตรวมกันเป็น 7 หลุม ปัจจุบันอัตราการผลิตทั้งหมดของแหล่งนี้เข้าสู่ช่วงที่กำลังลดลง

    ในปี พ.ศ. 2543 มีการเจาะหลุมผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอีก 3 หลุมในแหล่งอู่ทอง อัตราการผลิตของหลุมทั้งหมด 10 หลุมจากทั้งสองแหล่งคือ อู่ทองและกำแพงแสน สามารถเพิ่มอัตราการผลิตน้ำมันจากเดิม 450 บาเรลต่อวันเป็น 850 บาเรลต่อวันทันที

    ในปีพ.ศ. 2545 พบแหล่งน้ำมันดิบแหล่งใหม่ คือแหล่งสังฆจาย เนื่องจากน้ำมันดิบจากแหล่งกำแพงแสนและอู่ทองมีปริมาณก๊าซที่ละลายอยู่ในน้ำมันดิบน้อย ขบวนการผลิตจึงใช้ Sucker Rod Pump ตั้งแต่เริ่มการผลิต นอกจากนี้องค์ประกอบของขบวนการผลิตเป็นแบบเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยถังแยกน้ำ ถังเก็บน้ำมันดิบและแทงค์เก็บน้ำ เนื่องจากน้ำมันดิบมีความหนืดสูงจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องทำความร้อนเข้าช่วย บนผิวดินมีปั๊มเพื่อช่วยส่งน้ำมันดิบเข้ารถขนส่งน้ำมันดิบ น้ำมันจากถังเก็บน้ำมันดิบจะถูกขนส่งโดยรถบรรทุกไปยังโรงกลั่นบางจากในขณะที่น้ำจากถังเก็บถูกส่งไปยังแหล่งกำแพงแสนเพื่อทำการบำบัดก่อนที่จะถูกอัดกลับสู่ชั้นหินโดยหลุมกำจัดน้ำทิ้ง


    ความสำเร็จ

    โครงการพีทีทีอีพี1 เป็นโครงการแรกที่ ปตท.สผ.เป็นเข้าผู้ดำเนินการ รวมทั้งเป็นโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมโครงการแรกที่ดำเนินการโดยบริษัทคนไทย

    แหล่งผลิตน้ำมันดิบแห่งแรกในเอเซียอาคเนย์ที่ได้รับ ISO14001 เดือนเมษายน พ.ศ. 2540 ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแห่งแรกในเอเชียอาคเนย์ที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรอง ISO14001 ปตท.สผ. เริ่มนำมาตรฐาน ISO 14001 มาใช้ในอาคารสำนักงานปตท.สผ. และในโครงการพีทีทีอีพี1 ตั้งแต่ต้นปี 2539 หลังจากที่ได้ผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดในเรื่องระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมจากผู้เชี่ยวชาญ AJA EQS (Thailand) Ltd. โดยมี UKAS เป็นผู้รับรองพยาน ผู้ตรวจสอบได้ลงความเห็นว่าพนักงานและผู้บริหารของอาคารสำนักงานปตท.สผ. และการปฏิบัติงานภาคสนามของโครงการพีทีทีอีพี1ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในเรื่องระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับมาตรฐานที่สูง

    น้ำที่มาจากกระบวนการผลิตถูกอัดกลับลงในหลุมผลิต ซึ่งกล่าวได้ว่าตั้งแต่เริ่มผลิตน้ำมันดิบของโครงการพีทีทีอีพี 1 น้ำที่มาจากกระบวนการผลิตน้ำมันดิบถูกอัดกลับไปในชั้นหินที่ลึกทั้งหมด


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    2550
    - มีอัตราการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 510 บาร์เรลต่อวัน

    2549
    - มีอัตราการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 586 บาร์เรลต่อวัน
    - ดำเนินเจาะหลุมผลิตเพิ่มเติมที่แหล่งผลิตอู่ทอง 2 หลุม คือ UT1-7/D9 และ UT1-7/D8 และที่แหล่งผลิตสังฆจาย 1 หลุม คือ SKJ1-2 ทำให้สามารถผลิตน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวหรือ 870 บาร์เรลต่อวันในเดือนกรกฎาคม


    2548
    - มีอัตราการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 480 บาร์เรลต่อวัน
    - ดำเนินการทำ Perforation และ Re-Perforation เพื่อเพิ่มอัตราการผลิตของน้ำมันใน 7 หลุมผลิตเดิม
    - เสร็จสิ้นการศึกษาโครงการ waterflood ที่แหล่งอู่ทอง และจะเริ่มดำเนินการในปี2549
    - โครงการได้เสร็จสิ้นการศึกษาทางด้าน Sub-Surface เพื่อเจาะหลุมพัฒนา 3 หลุมในปี 2549
    - ได้ร่วมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินการโครงการทดลองการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซที่เผาไหม้ทิ้งของแหล่งผลิตสังฆจาย

    ******************************************

    โครงการแปลง L22/43

    ประเภทธุรกิจ.................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา.............แปลง L22/43 เงื่อนไข Thailand III
    ขนาดพื้นที่....................3,632 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง............................จังหวัดพิษณุโลก และพิจิตร
    ผู้ร่วมทุน....................... -
    ผู้ดำเนินการ...................บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
    ระยะการดำเนินงาน...........ระยะสำรวจ
    ประเภทการลงทุน............โครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ
    แหล่งปิโตรเลียม.............. -
    ชนิดของปิโตรเลียม...........น้ำมันดิบ
    วันที่เริ่มการผลิต............... -
    เว็บไซต์........................ -


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    2550
    - ปตท.สผ. ได้คืนพื้นที่ร้อยละ 50 ของแปลงสัมปทาน ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
    - เตรียมการสำรวจด้วยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ


    2549
    - เจาะหลุมสำรวจบางแก้ว-เอ 01 (BKO-A01) แต่ไม่พบน้ำมัน

    2548
    - ได้ดำเนินการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ด้วยการวัดคลื่นไหวสะเทือนในชั้นหิน 3 มิติ (3D seismic acquisition) ในพื้นที่ประมาณ 36 ตารางกิโลเมตร
    - ได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์หาน้ำมันบนผิวดิน เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ (Hydrocarbon Seepage Survey) พื้นที่ประมาณ 476 ตารางกิโลเมตร


    2547
    - เตรียมการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน 3 มิติ (3D seismic acquisition) เพื่อดำเนินการสำรวจในไตรมาสที่ 1 ปี่ 2548 ในแปลงสัมปทาน L22/43
    - จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนขยายของการสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งน้ำมันดิบ S1 ซึ่งได้ทำการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน 3 มิติ เมื่อปี 2543
    - ขออนุมัติแผนการดำเนินงานปี 2548 เพื่อ ทำการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน 3 มิติบนพื้นที่ 30 ตารางกิโลเมตรบริเวณแหล่งปรือกระเทียมใต้ รวมทั้งการการสำรวจธรณีวิทยาเคมีบนพื้นที่ 200 ตารางกิโลเมตร


    2546
    - วันที่ 17 กรกฎาคม 2546 ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมแปลง L22/43 ร่วมกับบริษัท ไทยเชลล์ จำกัด
    - คณะรัฐมนตรีอนุมัติการร่วมทุนเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546
    - วันที่ 30 ธันวาคม 2546 ปตท.สผ. ลงนามในสัญญาการโอนสิทธิ (Agreement for Transfer of Interest) ในแปลงสัมปทาน L22/43 ซึ่งการโอนนี้จะมีผลให้ ปตท.สผ. และบริษัทในเครือเป็นผู้ดำเนินการและถือสิทธิทั้งหมดในแปลงสัมปทาน L22/43 เมื่อรัฐบาลให้การอนุมัติ

    *****************************************

    โครงการL53/43 และ L54/43

    ประเภทธุรกิจ................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา...........แปลง L53/43 และแปลง L54/43
    ขนาดพื้นที่..................7,955 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง..........................จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี อยุธยา และอ่างทอง ติดกับโครงการพีทีทีอีพี 1
    ผู้ร่วมทุน..................... -
    ผู้ดำเนินการ.................บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
    ระยะการดำเนินงาน.........ระยะสำรวจ
    ประเภทการลงทุน..........โครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ
    แหล่งปิโตรเลียม............ -
    ชนิดของปิโตรเลียม........น้ำมันดิบ
    วันที่เริ่มการผลิต............. -
    เว็บไซต์...................... -


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    2550
    - ประมวลผลข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนแบบ 2 มิติ และศึกษาข้อมูลทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์เพื่อเตรียมเจาะหลุมสำรวจในปี 2551

    2549
    - ศึกษาข้อมูลทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์เพื่อเตรียมเจาะหลุมสำรวจในปี 2550
    - ศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนเพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนการเจาะสำรวจ


    2548
    - ดำเนินการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ด้วยการวัดคลื่นไหวสะเทือนในชั้นหิน 3 มิติ (3D seismic acquisition) พื้นที่ประมาณ 65 ตารางกิโลเมตร

    2547
    - เตรียมการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน 3 มิติ (3D seismic acquisition) เพื่อดำเนินการสำรวจในไตรมาสที่ 2 ปี่ 2548 ในแปลงสัมปทาน L53/43 และ L54/43
    - จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อเตรียมยื่นขออนุมัติ
    - ขออนุมัติแผนการดำเนินงานปี 2548 เพื่อ ทำการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน 3 มิติบนพื้นที่ 30 ตารางกิโลเมตรบริเวณแหล่งสังฆจายเหนือและแหล่งไผ่ขวาง

    ******************************************

    โครงการ L21/48 L28/48 และ L29/48

    ประเภทธุรกิจ................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา...........แปลง L21/48 แปลง L28/48 และแปลง L29/48
    ขนาดพื้นที่..................11,803 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง..........................จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดชัยภูมิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
    ผู้ร่วมทุน.....................Resourceful Petroleum (Thailand) Limited (RPL) 30%
    ผู้ดำเนินการ.................บริษัท ปตท.สผ. สยาม จำกัด (ปตท.สผ.ส.)
    ระยะการดำเนินงาน.........ระยะสำรวจ
    ประเภทการลงทุน..........โครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ
    แหล่งปิโตรเลียม............โครงสร้างชนบทและโครงสร้างจตุรัส
    ชนิดของปิโตรเลียม........ก๊าซธรรมชาติ
    วันที่เริ่มการผลิต............ -
    เว็บไซต์...................... -


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    2550
    - อยู่ระหว่างเตรียมการสำรวจด้วยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 2 มิติ ซึ่งจะดำเนินการในปี 2551
    -เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2550 บริษัทฯ ได้ลงนามสัญญาซื้อขายสิทธิกับ RPL ทำให้สัดส่วนการร่วมทุนของ ปตท.สผ.ส. เปลี่ยนเป็น ร้อยละ 70 และ RPL ร่วมทุนร้อยละ 30 ทั้งนี้การเข้าร่วมทุนจะมีผลบังคับเมื่อรัฐบาลอนุมัติ Supplementary Concession แล้ว


    2549
    - คณะรัฐมนตรีอนุมัติสัมปทานทั้ง 3 แปลงนี้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน
    *******************************************

    โครงการ A4/48 A5/48 และ A6/48

    ประเภทธุรกิจ...............การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา..........แปลงสัมปทาน A4/48, A5/48 and A6/48
    ขนาดพื้นที่..................68,820 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง.........................อยู่ในทะเลอันดามัน ทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทย
    ผู้ร่วมทุน.................... -
    ผู้ดำเนินการ.................บริษัท ปตท.สผ. สยาม หรือ PTTEPS
    ระยะการดำเนินงาน........ระยะสำรวจ
    ประเภทการลงทุน..........โครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ
    แหล่งปิโตรเลียม............แหล่ง North Sumatra และแหล่ง Mergui
    ชนิดของปิโตรเลียม........ก๊าซธรรมชาติ
    วันที่เริ่มการผลิต............ -
    เว็บไซต์...................... -


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    2550
    - เริ่มศึกษาข้อมูลทางธรณีวิทยาเพิ่มเติมเพื่อกำหนดพื้นที่การสำรวจด้วยวิธีวัดความไหวสะเทือนแบบ 2 มิติ
    - คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ ปตท.สผ. เป็นผู้ได้รับสัมปทานเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550

    *******************************************

    โครงการ E5

    ประเภทธุรกิจ.................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา............แปลงสำรวจอี 5 สัมปทานหมายเลข 2/2522/17 ได้รับวันที่ 16 มีนาคม 2522 เงื่อนไข Thailand I
    ขนาดพื้นที่...................69 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง...........................ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
    ผู้ร่วมทุน......................บริษัท เอสโซ่ เอ็กซพลอเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น โคราชอิงค์ 80%
    ผู้ดำเนินการ..................บริษัท เอสโซ่ เอ็กซพลอเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น โคราชอิงค์
    ระยะการดำเนินงาน..........ระยะผลิต
    ประเภทการลงทุน...........โครงการร่วมทุนอื่นๆ
    แหล่งปิโตรเลียม.............น้ำพอง
    ชนิดของปิโตรเลียม..........ก๊าซธรรมชาติ
    วันที่เริ่มการผลิต..............15 สิงหาคม 2533
    เว็บไซต์........................ -


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    2550
    - มีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 26 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

    2549
    - ประสบความสำเร็จจากการปฏิบัติงานครบ 2 ล้านชั่วโมงการทำงาน โดยปราศจากอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บจนต้องสูญเสียเวลาทำงาน
    - มีอัตราการผลิตก๊าซเฉลี่ย 30 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน


    2548
    - โครงการ E5 ประสบความสำเร็จจากการปฏิบัติงานครบ 1.9 ล้านชั่วโมงการทำงาน โดยปราศจากอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บจนต้องสูญเสียเวลาทำงาน
    - โครงการE5 มีอัตราการผลิตก๊าซเฉลี่ย 34 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน


    2547
    - ยอดขายก๊าซฯ เฉลี่ย 35 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
    - ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2547


    2546
    - แหล่งน้ำพองดำเนินการมาแล้วเป็นปีที่ 13
    -สำหรับแปลงอี 5 นอร์ท ได้ทำการเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุม ในโครงสร้าง ภูฮ่อมด้านใต้ และดำเนินการขอพื้นที่ผลิตจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

    *******************************************

    โครงการ Unocal III

    ประเภทธุรกิจ................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา............แปลงสำรวจบี 10 และ 11 สัมปทานเลขที่ 1/2515/5 ได้รับวันที่ 6 มีนาคม 2515 เงื่อนไข Thailand I แปลงสำรวจบี 12 และ 13 สัมปทานเลขที่ 2/2515/6 ได้รับวันที่ 6 มีนาคม 2515 เงื่อนไข Thailand Iและแปลงสัมปทาน G6/50
    ขนาดพื้นที่...................2,738 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง...........................ครอบคลุมพื้นที่นอกชายฝั่งอ่าวไทย จ. สุราษฎร์ธานี
    ผู้ร่วมทุน......................บริษัท เชพรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 71.25%
    บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซพลอเรชั่น จำกัด 23.75%
    ผู้ดำเนินการ..................บริษัท เชพรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
    ระยะการดำเนินงาน..........ระยะผลิต
    ประเภทการลงทุน...........โครงการร่วมทุนอื่นๆ
    แหล่งปิโตรเลียม.............ฟูนาน สุราษฏร์ จักรวาล โกมินทร์ ยะลา ปลาหมึก ตราด ปะการัง โกมินทร์ใต้
    ชนิดของปิโตรเลียม..........น้ำมันดิบ, ก๊าซธรรมชาติ และ คอนเดนเสท
    วันที่เริ่มการผลิต..............20 กุมภาพันธ์ 2535
    เว็บไซต์........................ -


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    2550
    - ได้รับสัมปทานแปลงจี 6/50 เพื่อให้เกิดการประสานประโยชน์กับโครงการที่มีอยู่เดิมจึงดำเนินงานร่วมกับโครงการยูโนแคล 3
    - ผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 32,900 บาร์เรลต่อวัน คอนเดนเสทเฉลี่ย 11,100 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 522 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
    - ดำเนินการติดตั้งแท่นหลุมผลิต 3 แท่น เจาะหลุมผลิต 48 หลุม และหลุมประเมิน 2 หลุม
    - ได้รับการต่อระยะเวลาการผลิตปิโตรเลียมของสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 1/2515/5 และ 1/2515/6 ออกไปอีก 10 ปี นอกจากนี้เมื่อเดือนตุลาคมยังได้ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับใหม่กับ ปตท. เพื่อเพิ่มปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติซึ่งจะเริ่มในปี 2554


    2549
    - อัตราการผลิตก๊าซฯ เฉลี่ย 468 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และอัตราการผลิตปิโตรเลียมเหลว (น้ำมันดิบและคอนเดนเสท) เฉลี่ย 42,162 บาร์เรลต่อวัน
    - เจาะหลุมประเมินผล 6 หลุม และหลุมพัฒนา 109 หลุม
    - ติดตั้งแท่นผลเจาะหลุมประเมินผล 6 หลุม และหลุมพัฒนา 109 หลุม
    - เริ่มงานออกแบบทางวิศวกรรมเบื้องต้นของโครงการอัดน้ำจากกระบวนการผลิตสำหรับแท่นผลิตกลางฟูนานและจักรวาล


    2548
    - อัตราการผลิตก๊าซฯ เฉลี่ย 421 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และอัตราการผลิตปิโตรเลียมเหลว (น้ำมันดิบและคอนเดนเสท) เฉลี่ย 33,300 บาร์เรลต่อวัน
    - เจาะหลุมประเมินผล 3 หลุม และหลุมพัฒนา 124 หลุม
    - ติดตั้งแท่นผลิต 1 แท่น และติดตั้งพร้อมทดสอบการผลิตแท่นผลิตกลาง Platong Oil CPP 2


    2547
    - ปริมาณขายก๊าซฯ เฉลี่ย 380 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และอัตราการผลิตปิโตรเลียมเหลว (น้ำมันดิบและคอนเดนเสท) เฉลี่ย 27,845 บาร์เรลต่อวัน
    - เจาะหลุมประเมินผล 5 หลุม และหลุมพัฒนา 77 หลุม
    - ติดตั้งแท่นผลิตเพิ่ม 6 แท่น พร้อมเชื่อมต่อท่อก๊าซฯ ไปยังแท่นผลิตกลาง


    2546
    - ปริมาณขายก๊าซฯ เฉลี่ย 368 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และอัตราการผลิตปิโตรเลียมเหลว (น้ำมันดิบและคอนเดนเสท) เฉลี่ย 27,200 บาร์เรลต่อวัน
    - เจาะหลุมสำรวจ 2 หลุม หลุมประเมินผล 3 หลุม และหลุมพัฒนา 60 หลุม
    - ติดตั้งแท่นผลิตเพิ่ม 2 แท่น

    ********************************************

  2. #2
    น้ำตาล
    Guest
    555+..เฮ็ดแนวได๋อ้ายบอกน้ำแน่...คือเฮ็ดเป็น..:g:g

  3. #3
    Super Moderator
    Guide & Photographer
    สัญลักษณ์ของ เจ้าซายน้อย
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    อยู่ในใจเสมอ
    กระทู้
    1,412

    เกาทัณฑ์

    โครงการไพลิน

    ประเภทธุรกิจ....................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา...............แปลงสำรวจบี 12/27 สัมปทานเลขที่ 1/2529/33 ได้รับวันที่ 15 มกราคม 2529 เงื่อนไข Thailand I; แปลงสัมปทาน G7/50
    ขนาดพื้นที่......................3,118 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง..............................ในอ่าวไทย นอกชายฝั่งจังหวัดสงขลา
    ผู้ร่วมทุน.........................บริษัท เชพรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 35%
    บริษัท อเมราดา เฮสส์ 15%
    บริษัท โมเอโกะ ไทยแลนด์ จำกัด 5%
    ผู้ดำเนินการ......................บริษัท เชพรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
    ระยะการดำเนินงาน.............ระยะผลิต
    ประเภทการลงทุน...............โครงการร่วมทุนอื่นๆ
    แหล่งปิโตรเลียม................ไพลิน นิล มรกต เพทาย อุบล และทับทิม
    ชนิดของปิโตรเลียม.............ก๊าซธรรมชาติ และ คอนเดนเสท
    วันที่เริ่มการผลิต.................19 สิงหาคม 2542
    เว็บไซต์........................... -


    ข้อมูลเพิ่มเติม
    2550
    - ได้รับสัมปทานแปลงจี 7/50 เพื่อให้เกิดการประสานประโยชน์กับโครงการที่มีอยู่เดิมจึงดำเนินงานร่วมกับ โครงการไพลิน
    - อัตราการผลิตก๊าซฯ เฉลี่ย 458 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสทเฉลี่ย 18,600 บาร์เรลต่อวัน
    - ติดตั้งแท่นหลุมผลิต 4 แท่น เจาะหลุมผลิต 49 หลุม และหลุมสำรวจ 5 หลุม


    2549
    - อัตราการผลิตก๊าซฯ เฉลี่ย 444 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน อัตราการผลิตคอนเดนเสทเฉลี่ย 19,405 บาร์เรลต่อวัน
    - เจาะหลุมผลิต 59 หลุม และดำเนินการติดตั้งแท่นผลิต 1 แท่น
    - ดำเนินการแก้ไขสภาวะคอขวดในระบบการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่แท่นผลิตกลางไพลินและไพลินเหนือ รวมทั้งเริ่มกระบวนการอัดน้ำจากกระบวนการผลิตกลับลงสู่ชั้นหินใต้ดินในแหล่งไพลินเหนือด้วย


    2548
    - อัตราการผลิตก๊าซฯ เฉลี่ย 376 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน อัตราการผลิตคอนเดนเสทเฉลี่ย 15,300 บาร์เรลต่อวัน
    - เจาะหลุมสำรวจ 32 หลุม
    - ติดตั้งแท่นผลิต 4 แท่น


    2547
    - ยอดขายก๊าซฯ เฉลี่ย 353 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และอัตราการผลิตคอนเดนเสทเฉลี่ย 13,711 บาร์เรลต่อวัน
    - เจาะหลุมสำรวจ 46 หลุม
    - ติดตั้งแท่นผลิตเพิ่ม 2 แท่น พร้อมเชื่อมต่อท่อก๊าซฯ


    2546
    - ยอดขายก๊าซฯ เฉลี่ย 346 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และอัตราการผลิตคอนเดนเสทเฉลี่ย 13, 700 บาร์เรลต่อวัน
    - เจาะหลุมสำรวจ 25 หลุม
    - ติดตั้งแท่นผลิตเพิ่ม 1 แท่น

    **********************************************

    โครงการ G4/43

    ประเภทธุรกิจ..................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา.............แปลง G4/43 เงื่อนไข Thailand III
    ขนาดพื้นที่....................9,686 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง............................ในอ่าวไทย
    ผู้ร่วมทุน.......................บริษัท เชพรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 51%
    บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซพลอเรชั่น จำกัด 21.25%
    บริษัท พลังโสภณสอง จำกัด 6.375%
    ผู้ดำเนินการ....................บริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
    ระยะการดำเนินงาน............ระยะผลิต
    ประเภทการลงทุน..............โครงการร่วมทุนอื่นๆ
    แหล่งปิโตรเลียม...............แหล่งลันตา แหล่งสิมิลัน และแหล่งสุรินทร์
    ชนิดของปิโตรเลียม............น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ
    วันที่เริ่มการผลิต................มกราคม 2551
    เว็บไซต์.......................... -


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    • 2551
    - เริ่มผลิตน้ำมันดิบเมื่อเดือนมกราคม 2551 ที่อัตรา 5,500 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

    • 2550
    - จะเริ่มผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งลันตา ผ่านกระบวนการผลิตที่แท่นผลิตกลางเบญจมาศของโครงการ บี 8/32

    • 2549
    - การสำรวจปิโตรเลียมเสร็จสิ้นตามข้อผูกพันการสำรวจปิโตรเลียมช่วงที่ 1 คือ 17 กรกฎาคม 2546 ถึง 16 กรกฎาคม 2549 และเข้าสู่การสำรวจปิโตรเลียมช่วงที่ 2 คือ 17 กรกฎาคม 2549 ถึง 16 กรกฎาคม 2552
    - โครงการได้เจาะหลุมสำรวจ 2 หลุม คือ หลุมสำรวจสิมิลัน-2 และหลุมสุรินทร์-1
    - ได้รับการอนุมัติพื้นที่ผลิตลันตา รวม 295.77 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน
    - ดำเนินการติดตั้งแท่นหลุมผลิตลันตา-เอ 1 แท่นแล้วเสร็จตามแผนงาน


    • 2548
    - โครงการG4/43 ได้สำรวจทางธรณีฟิสิกส์ด้วยการวัดคลื่นไหวสะเทือนในชั้นหิน 3 มิติ ในพื้นที่ 2,489 ตารางกิโลเมตร เสร็จสิ้นแล้ว อยู่ในระหว่างการแปลข้อมูลเพื่อกำหนดแผนพัฒนาต่อไป
    - โครงการG4/43 ได้เจาะหลุมสำรวจ 2 หลุม คือ หลุมสำรวจลันตา 3 และ สิมิลัน 1


    • 2547
    - เจาะหลุมสำรวจลันตา 1 และ 2 โดยได้สำรวจพบชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมหนาประมาณ 280 และ 194 ฟุตในการเจาะหลุมสำรวจลันตา 1 และ 2
    - เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2547 กระทรวงพลังงานได้อนุมัติให้บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็อซ์พลอเรชั่น จำกัด หรือ MOECO เข้าร่วมสัมปทานแปลง จี 4/43 MOECO จะถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 25


    • 2546
    - ปตท.สผ. ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมแปลง G4/43 ร่วมกับ บริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ ( ประเทศไทย ) จำกัด เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 โดย ปตท.สผ. มีสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 15
    ********************************************

    โครงการสินภูฮ่อม

    ประเภทธุรกิจ................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา...........แปลงสำรวจอี 5 นอร์ท สัมปทานเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ของสัมปทานหมายเลข 1/2522/17 ได้รับวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 แปลงสำรวจอียู 1 สัมปทานหมายเลข 1/2524/19 ได้รับวันที่ 3 มิถุนายน 2524
    ขนาดพื้นที่ รวม 231.6 ตารางกิโลเมตร (E5 North 39 ตร.กม. และ EU1 192.6 ตร.กม.)
    ที่ตั้ง..........................จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดขอนแก่น
    ผู้ร่วมทุน.....................บริษัท เฮสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด 35%
    บริษัท อพิโก แอลแอลซี 35%
    บริษัท เอ็กซอนโมบิล เอ็กซ์โพลเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น โคราช อิงค์ 10%
    ผู้ดำเนินการ.................บริษัท เฮสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด
    ระยะการดำเนินงาน.........ระยะพัฒนา
    ประเภทการลงทุน..........โครงการร่วมทุนอื่นๆ
    แหล่งปิโตรเลียม............ภูฮ่อม
    ชนิดของปิโตรเลียม........ก๊าซธรรมชาติ
    วันที่เริ่มการผลิต............พฤศจิกายน 2549
    เว็บไซต์...................... -


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    2550
    - มีปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติ 85 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 466 บาร์เรลต่อวัน
    - เจาะหลุมผลิต 3 หลุม


    2549
    - การก่อสร้างโรงแยกก๊าซภูฮ่อมและท่อส่งก๊าซแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ตามแผนงาน
    - เริ่มส่งก๊าซให้กับ ปตท. ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2549
    - ในปีนี้ ผู้ร่วมทุนโครงการภูฮ่อมได้ลงนามในสัญญาซื้อขายคอนเดนเสทกับ ปตท.


    2548
    - ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 โครงการภูฮ่อม (EU-1) ได้รับอนุมัติรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแล้ว
    - ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2548 กลุ่มผู้ร่วมทุน ในฐานะผู้ขาย จะลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ (Gas Sales Agreement) ของโครงการภูฮ่อมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ซื้อ
    - คาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติได้ที่อัตรา 79 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน(Daily Contract Quantity) ในไตรมาส 4 ปี 2549

    ********************************************

    โครงการ B8/32 & 9A

    ประเภทธุรกิจ..................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา.............แปลง บี 8/32 และแปลง 9 เอ
    ขนาดพื้นที่.....................2,541 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง............................ในอ่าวไทย นอกชายฝั่งจังหวัดชุมพร
    ผู้ร่วมทุน........................บริษัท เชพรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 51.66%
    บริษัท โมเอโกะ ไทยแลนด์ จำกัด 16.71%
    บริษัท พลังโสภณสอง จำกัด 6.63%
    ผู้ดำเนินการ....................บริษัท เชพรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
    ระยะการดำเนินงาน............ระยะสำรวจ
    ประเภทการลงทุน.............โครงการร่วมทุนอื่นๆ
    แหล่งปิโตรเลียม...............แหล่งทานตะวัน แหล่งเบญจมาศ แหล่งมะลิวัลย์ แหล่งจามจุรี และแหล่งชบา
    ชนิดของปิโตรเลียม...........น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ
    วันที่เริ่มการผลิต............... -
    เว็บไซต์......................... -


    ความเป็นมา

    เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 บริษัท ปตท.สผ.ออฟชอร์ อินเวสเมนท์ จำกัด หรือ พีทีทีอีพีโอ ร่วมกับ บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซพลอเรชั่น จำกัด หรือ บริษัท โมเอโก ได้ลงนามในสัญญาซื้อหุ้น (Stock Purchase Agreement) กับกลุ่มบริษัท โปโก เพื่อเข้าซื้อหุ้นที่ถือโดยกลุ่มบริษัท โปโก ในบริษัท ไทยโป จำกัด และบริษัท B8/32 Partners จำกัด

    เมื่อ 20 มิถุนายน 2548 ผู้ถือหุ้นเดิมในโครงการ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัท เชฟรอน) และ บริษัท พลังโสภณสอง จำกัด (บริษัท พลังโสภณสอง) ได้สละสิทธิที่จะเข้าซื้อหุ้นก่อนบุคคลภายนอกแล้ว (First Right of Refusal) ตามสัญญาร่วมทุน (Joint Operating Agreement) อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ซื้อได้ตกลงที่จะขายหุ้นร้อยละ 10 ของสินทรัพย์ของกลุ่มโปโกที่ได้มาให้แก่ บริษัท พลังโสภณสอง ในราคาประมาณ 82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่บริษัท พลังโสภณสอง ได้สละสิทธิที่จะเข้าซื้อหุ้นก่อนบุคคลภายนอก


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    2550
    - มีอัตราการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 49,500 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 210 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
    - ติดตั้งแท่นหลุมผลิต 7 แท่น เจาะหลุมผลิต 63 หลุม และหลุมประเมินผล 1 หลุม


    2549
    - อัตราการผลิตก๊าซฯ เฉลี่ย 215 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน อัตราการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 60,000 บาร์เรลต่อวัน
    - เจาะหลุมผลิต 106 หลุม หลุมสำรวจ 2 หลุม และได้ดำเนินการติดตั้งแท่นหลุมผลิต 3 แท่น


    2548
    - อัตราการผลิตก๊าซฯ เฉลี่ย 233 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน อัตราการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 53,850 บาร์เรลต่อวัน
    - เจาะหลุมพัฒนา 100 หลุม และหลุมสำรวจ 5 หลุม

    ********************************************

    โครงการ G9/43

    ประเภทธุรกิจ..................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา.............แปลง G9/43 เงื่อนไข Thailand III
    ขนาดพื้นที่.....................2,619 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง............................ในอ่าวไทย
    ผู้ร่วมทุน........................ -
    ผู้ดำเนินการ....................บริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
    ระยะการดำเนินงาน...........ระยะสำรวจ
    ประเภทการลงทุน.............โครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ
    แหล่งปิโตรเลียม............... -
    ชนิดของปิโตรเลียม...........ก๊าซธรรมชาติ และ คอนเดนเสท
    วันที่เริ่มการผลิต............... -
    เว็บไซต์......................... -


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    2548-2550
    - อยู่ในระหว่างการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างประเทศและเส้นแบ่งเขตทางทะเล
    **********************************************

    โครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-B17

    ประเภทธุรกิจ...................การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    สัมปทาน/สัญญา..............แปลง B-17, B-17-01, C-19
    ขนาดพื้นที่.....................4,700 ตารางกิโลเมตร
    ที่ตั้ง.............................พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
    ผู้ร่วมทุน........................บริษัท Petronas Carigali (JDA) Sdn.Bhd. 50%
    ผู้ดำเนินการ....................CARIGALI-PTTEPI Operating Company Sdn. Bhd. (CPOC)
    ระยะการดำเนินงาน............ระยะพัฒนา
    ประเภทการลงทุน..............โครงการร่วมทุนอื่นๆ
    แหล่งปิโตรเลียม................Muda, Muda South, Tapi, Jengka, Amarit, Mali, Jengka West, Jengka East, and Jengka South
    ชนิดของปิโตรเลียม............น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ
    วันที่เริ่มการผลิต................กลางปี 2551
    เว็บไซต์.......................... -


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    2550
    - เจาะหลุมประเมิน 4 หลุม และทำการประเมินปริมาณปิโตรเลียมสำรองเพิ่มเติม
    - ในด้านการประมูลสัญญาหลัก การออกแบบ จัดซื้อ ก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบการผลิต (EPCIC) ในแปลงบี 17 และซี 19 แล้วเสร็จตามแผน คาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในปี 2552


    2549
    - เสร็จสิ้นการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ด้วยการวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3 มิติครอบคลุมพื้นที่ 715 ตารางกิโลเมตรในแปลง บี 17-01 และกำลังแปลข้อมูล
    - เริ่มงานด้านวิศวกรรม ออกแบบ ประมูลสัญญาจัดหาและจัดจ้างเพื่อติดตั้งอุปกรณ์แท่นผลิตกลางและแท่นหลุมผลิตในแปลง บี 17 และ ซี 19


    2548
    - เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia-Thailand Joint Authority) ปตท.สผ.อ. และบริษัท PC JDA Limited ในฐานะกลุ่มผู้ขาย ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ (Gas Sales Agreement) ของโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-B17 กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
    - จะเริ่มอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติ (Daily Contract Quantity) ที่ 270 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในกลางปี 2551


    **********************************************

    ปล. ในบ้านเฮาเทิ่งเหมิดกะมีอยู่ซ่ำนี่หล่ะครับ รวมแล้วกะ 17 แห่ง ส่วนที่เหลือนั่นเป็นโครงการที่อยู่ต่างประเทศครับ ส่วนอยู่ประเทศได๋แนคราวหน่าจะมาอัพไว้ครับ...(เผื่อไผอยากฮู้)....

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •