กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้ชีวิตคู่...ความนำ

  1. #1

    ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้ชีวิตคู่...ความนำ

    ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้ชีวิตคู่...ความนำ

    ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้ชีวิตคู่...ความนำ


    ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้ชีวิตคู่...คำนำ


    ชีวิตคู่ คือชีวิตที่ชายหญิงผู้มีใจรักกัน ตัดสินใจมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน และเมื่อทั้งสองฝ่ายมาใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกัน ต่างก็ปรารถนาที่จะมีชีวิตคู่ที่เป็นสุข มีความรักที่มั่นคง เข้าใจกัน ช่วยเหลือกัน เอื้ออาทรห่วงใจกัน มีครอบครัวที่สมบูรณ์เพียบพร้อมด้วยพ่อแม่ลูกดำรงชีวิตอยู่สุขสบาย ไม่มีความทุกข์เดือดร้อนใจในการใช้ชีวิตคู่ แต่ความปรารถนาเช่นนี้จะสำเร็จผลตามที่ปรารถนาของคู่รักทุกคู่ย่อมเป็นไปไม่ได้ ย่อมสมความปรารถนาบ้าง ไม่สมความปรารถนาบ้าง แล้วแต่หลักในการใช้ชีวิตคู่ของแต่ละคนเป็นสำคัญ สำหรับหลักในการใช้ชีวิตคู่นั้นแต่ละคู่ก็ใช้ปฏิบัติกันในรูปแบบที่หลากหลาย จากคำบอกเล่าของญาติผู้ใหญ่ จากเพื่อน ๆ บ้างข่าวสารต่าง ๆ บ้าง จากแนวคิดของตนเองบ้าง หลักการใช้ชีวิตคู่ที่ปฏิบัติกันอย่างเช่นนี้ ทุกคู่ต่างมุ่งหวังเพื่อใช้ชีวิตคู่อยู่เป็นสุข แต่จะอยู่เป็นสุขได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลักที่กำลังใช้ปฏิบัติอยู่ว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมขั้นมาตามหลักที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ เพื่อวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้ชีวิตคู่อยู่เป็นสุข ส่วนจะอยู่เป็นสุขได้หรือไม่ อยู่ที่การประพฤติปฏิบัติว่าจะทำได้มากน้อยเพียงไร ผู้เรียบเรียงเป็นเพียงผู้บอก เปรียบเสมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ ประดุจจุดแสงประทีปในที่มืดให้สว่างฉะนั้น ในการนำเสนอนั้น จะกล่าวถึงความรักเกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นลำดับแรก ดังนี้:-

    ความรักเกิดขึ้นได้อย่างไร

    สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนมีจุดเริ่มต้น แม้การแต่งงานก็ต้องมีจุดเริ่มต้นเช่นกัน จุดเริ่มต้นที่ทำให้ได้แต่งงานกัน นั่นคือความรัก และคำว่าความรักนี้ เป็นคำที่มีความหมายในเชิงบาก เป็นความดีในตัวเอง เป็นความรู้สึกที่คนได้แสดงออกมาทางอารมณ์ และความรักจะเกิดขึ้นได้ ก็มาจากความเกี่ยวข้อติดต่อกัน 2 กรณ์ คือ (1) การเห็นกัน (2) การได้ยิน ขออธิบายในกรณีทั้ง 2 นี้ก่อน

    1.การเห็นกัน คือ ทั้งฝ่ายชายและฝายหญิงจะรักกันได้ ต้องได้เห็นกันเมื่อเห็นกันแล้ว ได้พิจารณาดูว่าแต่ละฝ่ายมีรูปร่างหรือผิวพรรณงดงามน่าดูชมหรือไม่ พิจารณาส่วนต่าง ๆ ว่า ผม ใบหน้า นัยน์ตา มือเท้า เป็นต้น ว่ามีลักษณะงามน่าดูน่าชมหรือไม่ เมื่อเห็นกันแล้ว พอใจ ชอบใจ คิดผูกพัน นี้คือสาเหตุที่ทำให้เกิดความรัก
    2.การยิน คือทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะรักกันได้ ต้องได้ยินชื่อเสียง มีคนมาบอกให้ฟัง หรือมีผู้บอกให้รู้ว่า ในหมู่บ้านโน้น มีชายหรือหญิงที่มีรูปร่างหรือผิวพรรณน่าดูน่าชม ไม่ว่าจะเป็นผมก็งาม ใบหน้าก็สวย นัยน์ตาก็หวาน ตา หู จมูก ริมฝีปาก ก็มีลักษณะดีมาก ฟันเรียบ ปากสวย มือ เท้า นิ้ว และเล็บ ดูสะอาดเรียวงดงาม น่าดูน่าชมเมื่อมี ผู้มาแนะนำเช่นนี้บ่อย ๆ ก็จะซาบซึ้งพอใจชอบใจ คิดผูกพัน ในการณ์ที 2 ในบัจจุบันเรียกว่าพ่อสื่อแม่ชัก แต่เมื่อไม่มี 2 กรณีนี้ จุดเริ่มต้นของความรักย่อมเกิดขึ้นแล้วดำเนินไปตามลำดับ


    ความรักคืออะไร

    ก่อนที่ชายหญิงจะมาเป็นคู่แต่งงาน หรือคู่มงคลสมรส ทั้งสองคนจะต้องมีความเข้าใจกัน มีอุปนิสัยใจคอพอเข้ากันได้ เห็นอกเห็นใจกันแล้วพัฒนาเป็นความรัก เมื่อพูดถึงความรัก มีนิยามความรักไว้ว่าอย่างไร พระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์สรุปความรักไว้ว่า

    ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
    ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
    ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิว์ขังไว้
    ย่อมโลดจากดอกไป บ่ยอมอยู่ ณ ที่ขัง
    ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง
    ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ่หวนคิดถึงเจ็บตาย

    นักปราชญ์บางท่านให้นิยามความรักไว้ด้วยบทกลอนว่า

    คือน้ำผึ้ง คือน้ำตา คือยาพิษ
    คือหยาดน้ำ อมฤต อันชื่นชุ่ม
    คือเกสร ดอกไม้ คือไฟรุม
    คือความกลุ้ม คือความฝัน นั่นแหละรัก

    บางท่านให้ยามความรักไว้ด้วยบทกลอนในหมู่เพื่อน ๆ ว่า

    อุปไมย อุปมา หลังคาบ้าน
    เพียงได้ผ่าน ก็จะเปรม เกษมสันต์
    ไม่เห็นหน้านาง เห็นหลังคาบ้าน ก็เหมือนกัน
    ความรักเป็น เช่นนั้น ฉะนี้แล

    ความหมายแห่งความรัก

    ความหมายแห่งความรักนี้ มีปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาได้ให้คำนิยามไว้แตกต่างกันดังนี้

    พุทธทาสภิกขุ กล่าวถึงความรักว่า หมายถึง ความใจกว้าง เห็นแก่ผู้อื่น จนไม่มีตัวตนเหลืออยู่ ไม่มีเรา ไม่เขา ไม่เห็นแก่ตัว จึงเห็นแก่มนุษย์ทั้งหลาย เห็นแก่ความถูกต้อง และรักผู้อื่นได้โดยธรรมชาติเกิดป็นสุญญตา ว่างจากตัวตน และเป็นอันเดียวกันหมด


    พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺ) กล่าวถึงความหมายแห่งความรักไว้ 2 ประการด้วยกัน คือ ประการแรกความรักที่เป็นเมตตา หมายถึงความปรารถนาดีอยากให้ผู้อื่นมีความสุข ประการที่สองความรักที่เป็นสิเหนะหมายถึงความรักที่เกิดจากตัณหาหรือราคะซึ่งถือว่าเป็นความรักฝ่ายอกุศล

    พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กล่าวถึงความหมายแห่งความรักว่าหมายถึงศิลปะแห่งการให้และการรับ ซึ่งหมายถึงการให้และการรับสิ่งเพลิดเพลินใจ และความปรารถนาดี

    พันเอกปิ่น มุทุกันต์ กล่าวถึงความหมายแห่งความรักว่าหมายถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหึ่งของร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์

    วศิน อินทสระ กล่าวถึงความหมายแห่งความรักว่าหมายถึงอารมณ์สุขที่เจือด้วยใคร่ในกามคุณ 5 และหมายถึงความงามความอ่อนโยนทางจิตใจ ซึงถือว่าเป็นความรักที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง

    จากคำนิยามดังกล่าวมานี้ สรุปได้ว่า ความรัก หมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของมนุษย์ที่แสดงออกทั้งทางร่างกายและอารมณ์ที่เจอปนด้วยกิเลสอย่างหนึ่ง และที่มีปรารถนาดีซึ่งมีความอ่อนโยนทางจิตใจอย่างหนึ่ง เมื่อทราบถึงความหมายแห่งความรักแล้ว ควรทราบถึงประเภทแห่งความรักสักเล็กน้อย

    ประเภทแห่งความรัก

    ประเภทแห่งความรักนั้น ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่มีกล่าวไว้ชัดเจนนัก แต่เมื่อสรุปก็มีอยู่ 2 ประเภท คือ (1) ความรักที่ประกอบด้วยตัณหาราคะ (2) ความรักที่ประกอบด้วยเมตตา

    ความรักอย่างที่หนึ่ง เป็นความรักที่อยากได้ ใจหวังครอบครองสิ่งที่รักว่าเป็นของตน ยึดมั่นถือมั่นด้วยความกำหนัดยินดี มีความใคร่ใจกระสันพะวงหา เช่น ความรักของหนุ่มสาวผู้ขาดความหยั่งคิด ขาดเหตุผล เป็นต้นว่า ผมรักคนนี้เพราะเธอสวย มีเสน่ห์และเธอรวย หรือฉันรักคนนี้เพราะเขาหล่อ พูดไพเราะอ่อนหวาน เอาใจเก่ง แต่งตัวดี มีรสนิยมเมื่อพอใจรักกันแล้ว และได้เสียกันก่อนวัยอันควร ผลสุดท้ายจบลงด้วยความเศร้าปนความผิดหวัง เป็นความคิดแค้นชิงชังเป็นที่สุด

    ความรักอย่างที่สอง เป็นความรักที่ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขมีจิตอันแผ่ไมตรี และคิดทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ทั้งประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อผู้อื่นอยู่เป็นนิตย์ เช่นความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกปรารถนาให้ลูกมีความสุข หรือความรักของครูอาจอาจารย์ที่มีต่อศิษย์ หวังให้ศิษย์มีความสุข ประสบความสำเร็จในชีวิต หรือความรักของพระพุทธองค์ทีมีต่อสัตว์โลก ปรารถนาให้สัตว์โลกมีความสุข ความรักเช่นนี้ถือว่าเป็นความรักแท้

    จากเรื่องนี้ ทำให้ทราบว่า ความรักประกอบด้วยตัณหาราคะจะทำให้เศร้าหมองใจ มีความมัวเมา ลุ่มหลง ขาดเหตุผล ขาดสติ จัดเป็นความที่ทำให้ชิวิตพร่อง ดังนั้น เมื่อริอ่านจะมีความรัก ก็จงเลือกทีจะมีความรักให้เป็น มีความรักอย่างไรที่จะมิให้มีความทุกข์ ส่วนความรักที่ประกอบด้วยเมตตา ที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดี มีเหตุผล มีสติ ไม่มีความลุ่มหลง จัดเป้นความรักที่ทำให้ชิวิตสมบูรณ์ เป็นความรักในอุดมคติตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา

    ในเรื่องประเภทแห่งความรักนี้ มีบางท่าน ได้สรุปความรักในพระพุทธศาสนา โดยแบ่งเป็นความรักฝ่ายดีที่เรียกว่ากุศล ก็คือเมตตา หมายถึงความรักปรารถนาจะให้เป็นสุข กับความรักฝ่ายชั่วที่เรียกว่าอกุศล เช่น ราคะ ความกำหนัดยินดี ตัณหา ความทะยานอยาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบางท่าน ได้กล่าวถึงปรัชญาแห่งความรักไว้ว่า หลักการในการดำเนินชีวิตบางอย่างที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของร่างกายและจิตใจ ที่เกิดมีขึ้นเพื่อสนองความต้องการ ความปรารถนาอารมณ์ หรือความรู้สึกตามธรรมชาติของมนุษย์

    ในบางครั้ง บางกรณี ความรักมิใช่จะเกิดขั้นได้ง่าย ๆ บางคนเกิดมาทั้งชาติ หาคู่รัก หรือคนที่จะมาเป็นครองมิได้เลย บางคนเกิดมามีอายุเลยเบญจเพสแล้ว จึงได้พบกับคู่รัก บางคนเกิดมาใช้ชีวิตมาครึ่งชีวิตแล้วจึงได้พบคู่รัก บางคนเกือบจะเป็นไม่ใกล้ฝั่งแล้ว จึงได้พบกับคนที่เป็นคู่รัก และได้แต่งงานกัน

    คำว่า คู่รัก หมายถึง คู่ชาย-หญิงที่รักกัน คือหญิงเป็นที่รักของชายและชายเป็นที่รักของหญิง ชายจึงเรียกหญิงที่ตนรักว่า คู่รัก และหญิงก็เรียกชายที่ตนรักว่า คู่รัก เกี่ยวกับเรื่องนี้ ราชบันฑิตท่านหนึ่ง เคยเขียนจดหมายบอกลูกไว้ว่า ลูกเอ๋ย อันคนที่รักกันก็ย่อมหวังจะอยู่ร่วมเรียงเคียงหมอนเป็นคู่ครองชิวิตของกันและกันให้ยืนยาวตราบจนสิ้นชีวิตนี้เป็นความหวังของคู่รักทั่ว ๆ ไป แต่จะสมหวังทุกคู่ไปก็หาไม่ เพราะอะไรเพราะรู้เรื่องความรักไม่เหมือนกัน คนที่รู้เรื่องความรักดี เขาจะสามารถถนอมความรักไว้ได้นานแสนนาน ส่วนผู้ที่ไม่รู้เรื่องความรักก็อาจมีคู่รักพร้อมกับมีคู่ร้างแล้วก็กลายเป็นคู่ชัง และอาจเป็นคู่พยาบาลต่อไปด้วยเหตุนี้ ท่านสุนทรภู่จึงกล่าวไว้ว่า “จะหาคู่สู่สมนิยมหวัง จงระวังชั่วช้าอัชฌาลัย”


    จากหนังสือ ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้ชีวิตคู่ ของ สุชญา ศิริธัญภร

    เด็กน้อยได้หนังสือ ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้ชีวิตคู่ ของ สุชญา ศิริธัญภร... เป็นของขวัญวันเกิดเมื่อปีที่แล้วจ้า...หนังสือเล่มใหญ่เน๊าะ...เด็กน้อยเป็นคนคร้านอ่านหนังสือจ้า...อิอิอิ...ตอนได้รับกะนึกในใจว่าเอ! สิอ่านจบบ่น้อแต่ปรากฏว่าเด็กน้อยอ่านจบจ้า...เพราะเป็นเรื่องที่น่าติดตามจ้า....กะเลยอยากนำมาฝากพี่น้องให้ได้อ่านนำกันจ้า....

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ฝนหลวง
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    1,235
    ผมมีความฮักทั้งสองแบบอีหลีอ้ายเด็กน้อย
    ความรักแบบที่1 ผมมี่ไห่กับสาวๆทังหลายสมัยที่เรียนอยู่ซึ่งตอนนี่กะยังคิดฮอดเขาอยู่
    ความรักแบบที่2 ผมมีไห่กับพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลูก หลาน และญาตๆของผมเอง

    ขอบคุณอ้ายเด็กน้อยหลากับรูปแบบของความรักทั้งสองแบบ
    แล่วกะขอบคุณบ้านมหานำที่มีพื้นที่ไห่กับเรื่องดีไตรงนี่ ถ้าข้อความนี่อยู่ที่อื่นผมคือสิบออ่านดอก

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •