กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: กฎหมายเเละการดำรงชีวิตในสวิตเซอร์แลนด์

  1. #1
    ศิลปิน นักร้อง นักแสดง สัญลักษณ์ของ หมอลำเอกชัยคนหล่อ
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    ที่อยู่
    วารินชำราบ
    กระทู้
    362

    สว่างใจ กฎหมายเเละการดำรงชีวิตในสวิตเซอร์แลนด์

    ** ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสมาพันธรัฐสวิส **
    ..ประวัติศาสตร์ ....
    ค.ศ. 1291 ผู้นำ 3 รัฐ เขตภาคกลางได้แก่ อูรี ชวิสทช์ และอนุเทอร์วัล
    เดน รวมพลังต้านการรุกรานของประเทศเพื่อนบ้านทำสัญญารวมกัน
    เป็นกลุ่ม ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งสมาพันธรัฐหลังจากนั้นได้มีรัฐ
    อื่นๆ มาเข้ารวมเป็นพันธมิตรด้วยถึง 13 รัฐในปี ค.ศ. 1789 ปีเดียวกัน
    นั้นกองทัพนโปเลียนเข้ามาครอบครองพื้นที่ และได้เปลี่ยนระบบการ
    เมืองกับเปลี่ยนชื่อเป็น เฮลเวเซีย ต่อมาเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐ
    จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง ปี ค.ศ. 1803 นโปเลียนเข้ามาครอง
    เมืองอีกครั้ง แล้วให้เปลี่ยนกฎหมายกลับมาใช้ระบบแยกอำนาจของ
    แต่ละรัฐ ขณะเดียวกันมีรัฐให่เพิ่มเป็น 19 รัฐ ตั้งชื่อประเทศมาพันธรัฐ
    สวิส หลังจากนโปเลียนสวรรคตในปี ค.ศ. 1814 สมาพันธรัฐสวิสจึง
    เป็นอิสระจากการปกครองของฝรั่งเศส ปีต่อมาสมาพันธรัฐสวิส
    ปฏิญาณรักษาความเป็นกลางตามสนธิสัญญาเวียนนา และได้ร่างรัฐ
    ธรรมนูญ เน้นการปกครองแบบแยกอำนาจ และมีรัฐเพิ่มเป็น 24 รัฐ
    สมาพันธรัฐสวิสลงมติร่างรัฐธรรมฯูญใหม่เมื่อ ปี ค.ศ. 1848 เป็นรัฐ
    ธรรมนูญที่ใช้จนถึงปัจจุบัน และตั้งกรุงเบิร์นเป็นเมืองหลวง

    ....การปกครอง....
    สมาพันธรัฐสวิสปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็น
    ประมุข ประกอบด้วย 26 รัฐ (โดยรวมกึ่งรัฐทั้งหกด้วย) แต่ละรัฐมี
    กฎหมายและระเบียบข้อบังคับของตนเองซึ่งแตกต่างกันบ้าง แต่ต้อง
    ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญของประเทศ

    สมาพันธรัฐประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฏร เลือกคณะ
    รัฐมนตรี 7 คน เพื่อนบริหารประเทศ รัฐมนตรี 7 คนนี้จะหมุนเวียน
    เปลี่ยนกันเป็นประธานาธิบดีวาระละ 1 ปี การเลือกตั้งสมาชิกสภาจะมี
    ทุก 4 ปี ประชากรทุกคนเมื่ออายุครบ 18 ปี มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง


    ...ภูมิอากาศและภูมิประเทศ...
    เมื่อเอ่ยถึงประเทศสวิตทุกคนจะนึกถึงความเลื่องลือของหิมะสีขาวบน
    ยอดเขาแอลป์และธารน้ำแข็ง อากาศจัดว่าหนาวเย็นเนืองจาก
    ภูมิประเทศปกคลุมด้วยเทือกเขาถึง 60% และไม่มีเขตแดนติดทะเล
    ฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนมากนัก แสงแดดจะแรงสดใส อุณหภูมิ
    ประมาณ 20-25 องศา ฤดูหนาวประมาณ 0-6 องศา ฤดูใบไม้ผลิและ
    ฤดูใบไม้ร่วงประมาณ 7-14 องศา ประเทศสวิตตั้งอยู่ใจกลางทวีป
    ยุโรป มีพื้นที่ 41,288 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับ
    ซ้อน เทือกเขาแอลป์ทอดยาวเป็นแนวจากภาคตะวันออกถึงตะวันตก
    ของประเทศ และเป็นสันแบ่งประเทศออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้ทำ
    ให้ทางภาคใต้มีอากาศอบอุ่นฟ้าใสเกือบตลอดปี แม่น้ำสำคัญหลาย
    สายเช่นแม่น้ำไรน์ แม่น้ำโรนเกิดจากการละลายของหิมะ นอกจากนี้
    ยังมีทะเลสาปสวยงามกระจายทั่วไป และมีอุทยานแห่งชาติพร้อมป่าที่
    ยังอุดมสมบูรณ์ ขอบเขตของประเทศทิศเหนือติดประเทศเยอรมัน ทิศ
    ใต้ประเทศอติาลี ทิศตะวันออกติดออสเตรีย ทิศตะวันตกประเทศ
    ฝรั่งเศส

    *** เศรษฐกิจ ***
    ...กสิกรรม...
    พลเมืองจำนวน 38% ประกบออาชีพเกษตรกร ที่สำคัญคือผลิตภัณฑ์
    นม เนยแข็ง น้ำตาล ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง แอปเปิ้ล องุ่นเพื่อผลิตไวน์ สัตว์
    เลี้ยงคือ วัว หมูและแกะ
    ...ป่าไม้และประมง...
    พื้นที่ประเทศ 35% เป็นป่าไม้ใช้ประโยชน์ในการผลิตกระดาษและ
    การก่อสร้าง การประมงมีจำกัดเฉพาะบางพื้นที่ ปลาที่เลี้ยงส่วนใหญ่
    ได้แก่ปลาเทร้าส์ ซึ่งจากทะเลสาบใหญ่ต่างๆ ของประเทศ พื้นที่การ
    ทำเหมืองแร่มีไม่มาก แร่ที่ผลิตได้คือเกลือและหินปูน
    ...อุตสาหกรรม...
    สินค้าออกสำคัญได้แก่เครื่องจักร ยา เครื่องมือที่มีความละเอียดสูง
    และเลนซื อุตส่าหกรรมหลักคือนาฬิกา ผลิตมากกว่า 28 ล้านเรือนต่อ
    ปี ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงคือเคมีภัณฑ์ เครื่องโลหะ อาหาร
    ช็อกโกแลต และยาสูบ ผลิตภัณฑ์ไม้และกระดาษ

    ...การเงิน...
    เงินตราของสมาพันธรัฐสวิตเรียกว่าฟรังก์สวิต 1 ฟรังสวิส ประมาณ
    30 บาท ธนาคารเป็นที่ยอมรับว่ามีความมั่นคงและรักษาความลับของ
    ลูกค้า เป็นแหล่งเงินรายได้ของประเทศ โดยเฉพาะ เมืองซูริค เจนีวา
    และบาเซิลเป็นศูนย์กลางของธนาคารสำคัญ ๆ

    ...การค้าระหว่างประเทศ ...
    สินค้าเข้าส่วนใหญ่ได้แก่เครื่องจักร รถยนต์ ส่วนผสมผลิตภัณฑ์เคมี
    เช่นเส้นใยสังคเราะห์ น้ำมัน โลหะมีค่า และอาหาร สินค้าออกส่วน
    ใหญ่ เช่นเครื่องจักร ยา ผลิตรภัณฑ์เคมีและนาฬิกา ประเทศคู่ค้า
    สำคัญ คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ อเมริกา และญี่ปุ่น

    ...พลังงาน...
    59% ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศมาจากพลังงานน้ำ อีก
    ประมาณ 35% มาจากพลังงานปรมาณู

    ...การคมนาคมและการท่องเที่ยว...
    การคมนาคมในประเทศมีประสิทธิภาพสูงทั้งทางรถไฟ รถยนต์ และ
    ทางเรือ การคมนาคม ทางอากาศ มีสายการบินสวิส สนามบินนานา
    ชาติอยู่ที่ซูริค เจนีวาและบาเซิล ประเทศวิตเป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง
    ธรรมชาติมีเมืองเก่าแก่ที่สวยงาม และพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆที่น่าสนใจมาก
    มาย
    *** ระบบการศึกษา ***
    แต่ละรัฐมีอำนาจและหน้าที่จัดระบบการศึกษาและหลักศูตรได้เอง
    ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละรัฐแต่หลักสำคัญของการศึกษานั้นจะ
    เหมือนกันทั่วประเทศ นอกจากสอนวิชาการแล้ว ยังมีหน้าที่อบรมและ
    พัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีด้วย

    ...การศึกษาภาคบังคับมีกำหนด 9 ปี ...
    * เด็กทุกคนต้องเข้าโรงเรียนเมื่ออาุยครบ 6 หรือ 7 ปี
    * เด็กจะไปโรงเรียนในเขตใกล้บ้าน
    * ระดับประถมศึกษา มีกำหนด 5 หรือ 6 ปี ขึ้นกับแต่ละรัฐ
    * ระดับมัธยมศึกษา มีกำหนด 3 หรือ 4 ปี ขึ้นกับแต่ละรัฐเช่นเดียวกัน
    * ระดับนี้จะมีการแยกสาขาวิชาตามความสนใจและความสามารถของเด็ก

    ....เตรียมอุดมศึกษา....
    ใช้เวลาเรียน 3 ปี การเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยไม่ต้องมีการสอบ
    คัดเลือก นอกจากคณะแพทยศาสตร์ นักศึกษามีสิทธิ์เลือกเรียนใน
    สาขาวิชาที่พนัดและชอบ นอกจากนั้นยังมีโรงเรียนสอนวิชาชีพต่างๆ
    อีกจำนวนมากเพื่อให้โอกาสทุกคนเรียนตามความสามารถและความ
    ต้องการของตัวเอง

    ....ขนบธรรมเนียมประเพณี....
    ประเทศสวิตเป็นประเทศเล็กมีประชากรประมาณ 7.3 ล้านคนแต่มีคน
    ต่างชาติ หลายชาติหลายภาษาอาศัยอยู่มาก เป็นที่ตั้งของ
    องค์กรนานาชาติหลายแห่ง

    ภาษาราชการมี 4 ภาษา คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาเลี่ยน และเรโธ
    โรมัน ประชากร 64% พูดภาษาท้องถิ่นเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส
    ประมาณ 19% ภาษาอิตาเลี่ยนประมาณ 6% ภาษาเรโธโรมัน
    ประมาณ 0.5% และอีก 9% พูดภาษาอื่น ๆประชากรส่วนใหญ่นับถือ
    ศาสนาคริสต์

    "ชาวสวิสมีชื่อเสียงเลื่องลือในด้่านซื่นสัตย์ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย
    สง ตรงต่อเวลา เหมือนนาฬิกาสวิส รักธรรมชาติรักความสงบ และรัก
    ความสะอาดเป็นเลิศ"

    ถึงแม้ว่าประชากรแต่ละถิ่นจะพูดภาษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นและ
    ประเถณีไม่เหมือนกันคนในประเทศนี้ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ อารยะ
    ธรรมและศิลปะวัฒนธรรมของประเทศมีรากเหง้ายาวนานจากยุค
    โรมัน มีการสร้างปราสาทและวิหารเป็ํนสัญญลักษณ์ประจำเมือง มี
    อาคารเก่าแก่ซึ่งได้รับการอนุรักา์เป็นอย่างดี


    *** กฏหมายการเข้าเมืองและสิทธิพำนัก ***
    ระเบียบการขอวีซ่าเข้าประเทศสวิตสำหรับบุคคลสัญชาติไทยต้องยื่น
    เอกสารและแสดงหลักฐานสำคัญ ดังต่อไปนี้
    1. แบบคำร้องที่กรอกโดยสมบูรณ์และลงลายมือชื่อของผู้เดินทางซึ่ง
    ต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง
    2. หนังสือเดินทาง ซึ่งหลังกจากการยื่นแล้ว ยังมีอายุใช้ได้ต่อไปไม่
    ต่ำกว่า 6 เดือน
    3. รูปถ่ายปัจจุบัน ขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
    4. ตั๋วเครื่องบินไป กลับ (ถ่ายเอกสารตั๋วเครื่องบินแนบไปด้วย)
    5. หลักฐานการเงิน (เอกสารรับรองฐานะทางการเงินจากธนาคาร หรือ
    บัตรเครดิต)
    6. กรณีจะเดินทางโดยมีผู้เชิญหรือผู้รับรองจากประเทศสวิต ต้องมี
    หลักฐานเพิ่มเติมคือนำจดหมายเชิญไปยื่นพ้อมกรอกแบบฟอร์มขอ
    วีซ่าที่สถานทูตสวิสในประเทศไทย และขอแบบฟอร์มรับประกันส่งให้
    ผู้รับรองในประเทศสวิต กรอกรายละเอียดแล้วผู้รับรองต้องนำเอกสาร
    นั้นไปยื่นที่อำเภอเพื่อดำเนินการต่อไป

    1. ประเภทของวีซ่า
    * ผู้เดินทางต้องดำเนินการขอวีซ่าจากสถานทูตสวิสในประเทศไทย
    ด้วยตนเอง ตามระเบียบการดังกล่างข้างต้น
    * ในกรณีมีผู้เชิญจากประเทศสวติ ผู้เดินทางต้องไปรายงานตนที่สำนัก
    งานทะเบียนราษฎร์ภายใน 14 วัน หลังจากเดินทางเข้าประเทศแล้ว
    * เมื่อครบกำหนดวีซ่า ต้องเดินทางออกจากประเทศสวิต
    * หากประสงค์จะอยู่ต่อ ต้องยื่นคำร้องต่อหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง
    โดยมีผู้ค้ำประกันในประเทศสวิตด้วย ในกรณีที่มีเหตุผลเพียงพอทาง
    การจะอนุมัติให้ต่อายุวีซ่า เมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่เกิน 6 เดือน
    * ผู้เดินทางไม่มีสิทธิ์รับจ้่างทำงานในประเทศสวิต หากพบว่ามีการ
    ลักลอบจะถูกจับดำเนินคดี หรือถูกส่งกลับประเทศไทยทันที
    * เมื่อวีซ่าหมดอายุแล้ว แต่ยังหลบซ่อนอยู่ในประเทศสวิต ถือว่าเป็น
    การกระทำผิดกฎหมายจะถูกปรับหรือจำคุก หรืออาจถูกห้ามเข้า
    ประเทศอีกในระยะเวลาที่ทางกาำรกำหนด
    1.2 วีซ่าสำหรับนักธุรกิจ อนุญาตให้อยู่ได้ 10-14 วันหรืออาจขอได้
    นานถึง 90 วัน โดยดำเนินการขอตามระเบียบการดังกล่าวข้างต้น

    1.3 วีซ่าสำหรับผู้เดินทางมาทำงาน อายุของวีซ่าทำงานนั้นขึ้นอยู่กับ
    เจ้าของกิจการบริษัทหรือห้างร้านว่าจะทำสัญญาจ้างนานเท่าใด ผู้ว่า
    จ้างของต่ออายุวีซ่าให้ได้ถ้าได้รับการอนุมัติจากรมแรงงาน

    1.4 วีซ่าสำหรับศิลปิน สิ่งสำคัญที่ศิลปินหรือนักเต้นคาบาเร่ต์ควร
    ทราบและเอกสารสำคัญสำหรับดำเนินการ มีดังนี้
    * สัญญาจ้างงาน
    * ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ดำเนินการขอวีซ่าให้
    * อายุของผู้รับจ้างคาบาเร่ต์ ต้องไม่ต่อกว่า 20 ปี

    " วีซ่าประเภทนี้มีกำหนด 8 เดือนเท่านั้น เมื่อครบกำหนดแล้วต้องออก
    นอนประเทศ หากมีผู้ต้องการว่าจ้างต่อต้องรออย่างน้อยสองเดือนจึง
    จะยื่นเรื่องขอวีซ่าเข้าทำงานในประเทศสวิตได้อีก ระหว่าง 8 เดือนนี้
    หากไม่มีสัญญาจ้าง หรือป่วย หรือหยุดงานเกิน 1 เดือนต้องเดิน
    ทางออกนอกประเทศ"

    1.5 วีซ่านักศึกษา ขั้นตอนสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาในประเทศสวิตมี
    ดังนี้
    * ติดต่อกับทางโรงเรียนขอเอกสารรับรองว่าเป็นผู้มีสิทธิ์เข้ารับการศึกษาจริง
    * นำหนังสือรับรองจากทางโรงเรียนไปยื่นคำร้องขอวีซ่าที่สถานทูตสวิสในประเทศไทย
    * อายุของวีซ่าขึ้นอยู่กับระยะเวลาการศึกษา
    * บางกรณีทางโรงเรียนหรือสถานบันการศึกษาจะดำเนินเรื่องขอวีซ่า
    ให้โดยตรงต่อหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศสวิส และหน่วย
    งานตรวจคนเข้าเมืองนั้นจะติดต่อกับสถานทูตสวิสในประเทศไทย นัก
    ศึกษาผู้นั้นต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าไว้แล้วที่สถานทูตสวิสในประเทศ
    ไทย
    * เมื่อจบหลักสูตรแล้วต้องกลับประเทศไทย
    * ระหว่างการศึกษาทำงานได้ตามที่ทางการของแต่ละรัฐกำหนด
    1.6 วีซ่าสำหรับพระ นักบวช หรือผู้เผยแพร่ศาสนา
    * ผู้ประสงค์จะเดินทางต้องดำเนินเรื่องขอวีซ่าที่สถานทูตสวิสใน
    ประเทศไทยด้วยตนเอง ตามระเบียบการขอวีซ่าทั่วไป
    * ทางวัดหรือสถานบันทางศาสนาอาจดำเนินเรื่องขอวีซ่าให้พระ นัก
    บวช หรือผู้เผยแพร่ศาสนา

    ***สิทธิในการพำนักในประเทศสวิต***
    นักท่องเที่ยว นักศึกษา นักบวช พ่อครัว แม่ครัว ศิลปินหรือผู้มีอาชีพ
    เต้นคาบาเร่ต์ จะได้รับสิทธิพำนักในประเทศสวิตในระยะเวลาที่จำกัด
    ตามกฎหมายเข้าเมือง เมื่อหมดกำหนดหรือก่อนวีซ่าหมดอายุ ต้อง
    เดินทางออกจากประเทศ การเดินเรื่องขออยู่ต่อเป็นเรื่องยากมาก
    เนื่องจากกฎหมายควบคุมชาวต่างชาติเข้มงวด โดยเฉพาะชาวต่างชาติ
    จากประเทศกำลังพัฒนาเช่น ประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา อเมริกา
    ใต้ ยุโรปตะวันออกและเอเซียใต้ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย

    *** ผู้ที่สมรสกับชาวสวิต ***
    ผู้ที่สมรสกับชาวสวิสมีสิทธิ์อยู่ในประเทศสวิตได้โดยจะได้ใบอนุญาต
    พำนักปีต่อปีที่เรียกว่าใบอนุญาตประเภทบี มีสิทธิในการทำงานตาม
    กฎหมายของรัฐที่อาศัยอยู่ และหลังจากที่ได้ใบอนุญาตพำนัก
    ประเภทบี 5 ปีเต็มแล้วมีสิทธิ์ขอใบอนุญาตพำนักถาวรประเภทซี คือ
    อยู่ในประเทศสวิตได้ตลอดไปแต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง เนื่อง
    จากยังถือสัญชาติไทยอยู่ ใบอนุญาตนี้มีกำหนดให้ต่ออายุทุก ๆ 3
    หรือ 5 ปี

    ***นอกจากนั้นยังขอใบอนุญาตพำนักประภทซีและขอถือสัญาชาติ
    สวิสได้ ทั้งนี้ควรติดต่อสอบถามที่อำเภอในเขตที่อาศัยอยู่

    ***การยื่นคำร้องขอต่ออายุใบอนุญาตพำนักทุกชนิดต้องยื่นขอจาก
    อำเภอในเขตที่พักอาศัยสำหรับการขอต่อายุใบอนุญาตประเภทบีนั้น
    หากผู้ยื่นคำร้องพูดภาษาท้องถิ่นได้ก็สามารถไปติดต่อกับอำเภอได้
    ด้วยตนเอง หรือให้เพื่อนหรือคนรู้จักที่พูดภาษาท้องถิ่นได้ดีไปเป็น
    เพื่อน โดยคู่สมรสอีกฝ่ายไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ขอให้ อย่าลืมว่าคู่สมรส ทั้งสองต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกัน

    ...ผู้ถือใบอนุญาตประเภทบีและซีที่ต้องการเดินทางออกนอกประเทศ...
    ควรติดต่อกับสถานทูตของประเทศนั้น ๆ ผู้ถือใบอนุญาตประเทภบี
    ออกนอกประเทศสวิตได้เป็นเวลาติดต่อกันไม่เกิน 2 เดือน ประเภทซี
    ไม่เกิน 6 เดือน หากทราบว่าจะออกนอกประเทศสวิตเกินกำหนดดัง
    กล่าว ควรไปติดต่อหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองในเขตที่อาศัยอยู่ เพื่อ
    ขอบันทึกลงตราในหนังสือเดินทางให้เดินทางกลับเข้าประเทศสวิตได้
    อีก

    ...ผู้ที่แต่งงานกับชาวสวิตและใช้ชีวิตคู่ 3 ปีขึ้นไป....
    และอยู่ในประเทศสวิตเป็นเวลาติดต่อกัน 5 ปี (เนื่องจากเคยทำงาน
    หรือมาศึกษาก่อนสมรส และมีหลักฐานแจ้งเข้าอยู่อาศัยครบ 5 ปี )
    ยื่นคำร้องขอถือสัญชาติสวิสได้ เมื่อได้รับสัญชาติสวิสแล้วยังมีสิทธิ์
    รักษาสัญชาติไทยไว้ได้ทั้งนี้ควรเก็บรักษาหนังสือเดินทางไทย และ
    เอกสารส่วนบุคคลต่างๆไว้และขอต่ออายุหนังสือเดินทางได้ที่สถาน
    เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบิร์น

    ...สิทธิอื่น ๆ ที่ได้รับหลังจากจดทะเบียนสมรสกับชาวสวิตแล้ว...
    หากมีความประสงค์จะนำบุตรของตนที่อายุไ่ม่เกิน 18 ปี ติดตามมาอยู่
    ด้วย สามารถยื่นคำร้องได้ บางรัฐยินยอมอนุมัติให้เพียงเยาวชนที่มี
    อายุไม่เกิน 16 ปี เท่านั้น

    ***กฎหมายครอบครัว***
    ...การสมรส...
    หญิงหรือชายต้องมีคุณสมบัติครบตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
    - ทั้งสองฝ่ายมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอายุไม่
    ครบ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองที่
    รัฐแต่งตั้ง
    - ไม่เป็นบุคคลที่ไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถตามคำสั่งของศาล
    - ไม่เป็นญาติพี่น้องสายตรง ทั้งนี้รวมบุตรบุญธรรมด้วย


    ***การดำเนินเรื่องขอจดทะเบียนสมรถทำได้โดยยื่นเรื่องพร้อม
    เอกสารของทั้งสองฝ่าย ต่อที่ว่าการอำเภอตามเขตที่อาศัยอยู่
    เอกสารที่ใช้ยื่นในการสมรสสำหรับผู้ถือสัญชาติไทยโดยทั่วไปมีดังนี้
    ***
    1. สูติบัตร (ใบเกิด) หรือคัดสำเนาโดยการถ่ายเอกสารและทางอำเภอ
    กำกับว่าสำเนาถูกต้อง พร้อมลงลายมือชื่อและลงตราประทับจาก
    อำเภอ ในกรณีที่ใบเกิดชำรุด หรือสูญหายขอให้ทางอำเภอออก
    หนังสือรับรองการเกิด โดยระบุชื่อตนเอง วัน เดือน ปี เกิด ชื่อบิดา
    มารดา และสถานที่เกิด

    2. เอกสารรับรองสถานภาพการสมรส ว่าปัจจุบันมิได้จดทะเบียน
    สมรสกับผู้ใดในกรณีหย่าร้างต้องนำทะเบียนและบันทึกการหย่าร้างมา
    แสดงด้วย

    3. แนบรับรองทะเบียนราษฎร์ หรือสำเนาทะเบียนบ้าน ทั้งนี้แบบ
    รับรองทะเบียนราษฎร์จะสะดวกกว่าการใช้ทะเบียนบ้าน เนื่องจากยังมี
    หลายอำเภอในประเทศสวิตต้องการเอกสารต้นฉบับและจะยึดเก็บไว้
    อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกในภายหลังได้ ดังนั้นการคัดสำเนาจึง
    เป็นทางออกที่ดี

    4. การเปลี่ยนชื่อ ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อต้องนำเอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว
    หรือชื่อสกุลมาแสดงด้วย

    5. หนังสือเดินทางไทย

    ***เอกสารดังกล่าวข้างต้นนี้ ยกเว้นหนังสือเดินทางต้องมีอายุไม่เกิน
    6 เดือนนับจากวันที่ออกเอกสารหลังการยื่นเอกสารต่อทางอำเภอแล้ว
    เจ้าหน้าที่จะนัดวัน เพื่อยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส เจ้าหน้าที่
    จะแจ้งให้ทราบถึงสิทธิในการเลือกใช้นามสกุล หลังจากนั้นจึงตกลง
    นัดวันจดทะเบียน


    ***สำหรับชาวไทยแล้วการจดทะเบียนสมรสในประเทศสวิตนี้ดูค่อน
    ข้างยุ่งยากและมีหลายขั้นตอนต่างจากการจดทะเบียนสมรสใน
    ประเทศไทยมาก แต่ขอให้เข้าใจว่าเป็นกฎระเบียบของประเทศนี้และ
    เหตุผลหนึ่งคือเป็นการป้องกันการจดทะเบียนสมรสซ้อนและรักษา
    สิทธิของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย

    ...การจดทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมาย ดังนี้...
    - เป็นครอบครัวหนึ่งเดียวกัน
    - สามีและภรรยามีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันตามกฎหมาย อาทิ การเลือกอาชีพ
    - ซื่อสัตย์ต่อกัน
    - อยู่กินฉันท์สามีภรรยา ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูครอบครัวและบุตร
    ร่วมกันตามฐานะและความสามารถ

    ...การจัดการทรัพย์สิน...
    แบ่งได้ 2 กรณี คือ
    1. การจัดทำสัญญาแบ่งแยกทรัพย์สิน หรือสัญญาสมรสทำได้ทั้งก่อน
    และหลังการสมรสสัญญาดังกล่าวต้องจัดทำที่สำนักงานกฎหมาย เมื่อ
    คู่สมรสได้ตกลงทำสัญยานี้แล้วหมายถึงสามีภรรยาใช้ชีวิตร่วมกันแต่
    ไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่ง

    ในกรณีที่ซื้อของมาระหว่างการสมรส ต้องเก็บหลักฐานไว้เช่นใบเสร็จ
    รับเงิน เพื่อนำมาแสดงเมื่อมีข้อขัดแย้งกัน ถ้าไม่มีหลักฐานมาแสดง
    มักถือว่าเป็นของทั้งสองฝ่าย

    แม้จะมีการทำสัญญาแบ่งแยกทรัพย์สินไว้ก็ตาม การดำเนินชีวิตใน
    ฐานะสามีภรรยาก็ยังคงไว้ซึ่งสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่กฎหมาย
    กำหนดไว้

    2. ในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญยาแบ่งแยกทรัพย์สินหรือสัญญาสมรส ตาม
    กฎหมายระบุให้ใช้หลักการจัดการทรัพย์สินทั่วไป คือแยกทรัพย์สิน
    ของทั้งสองฝ่ายเป็นสินส่วนตัว และสินสมรส

    ...สินส่วนตัว ได้แก่...
    - ทรัพย์สิน และข้าวของทุกอย่างที่มีอยู่ก่อนการสมรส
    - มรดกที่ได้รับทั้งก่อนและหลังการจดทะเบียนสมรสหรือได้รับมาโดยเสน่หา
    - เงินชดเชย หรือค่าทำขวัญ
    - ทรัพย์สินที่จัดหามาเพื่อทดแทนทรัพย์สินเดิม

    ...สินสมรส...
    หมายถึงทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายที่หามาได้ในระหว่างการสมรส ได้แก่
    - รายรับที่ได้มาจากการทำงานของทั้งสามีและภรรยา เช่นเงินเดือน ใบนัส
    - เงินรางวัลต่างๆ
    - รายรับ ดอกผล ที่ได้มาจากสินเดิม
    - สิ่งของต่าง ๆ ที่ซื้อมาด้วยเงินที่เป็นสินสมรส
    - เงินประกันว่างงาน เงินสะสม

    **** เมื่อหย่าร้างกัน ทั้งสองฝ่ายจะได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง ***


    ***การแยกอยู่อย่างเป็นทางการ***
    เมื่อคู่สมรสมีปัญหา ก่อนอื่นควรพยายามอย่างยิ่งที่จะพูดคุยแก้ปัญหา
    ชีวิตคู่เสียก่อน พูดแบบเปิดใจและต้องไม่ลืมที่จะรับฟังความคิดเห็น
    ความรู้สึกของตนเองและของอีกฝ่าย พยายามหาทางพบกันครึ่งทางดี
    กว่า แต่ถ้าหากยังไม่เกิดผลดีขึ้นก็ควรขอคำแนะนำจากศูนย์ที่ให้คำ
    แนะนำและรับปรึกษาปัญหาครอบครัว และถ้าหากยังไม่สามารถแก้
    ปัญหาที่มีอยู่ได้คู่สมรสก็ควรแยกกันอยู่ การแยกกันอยู่ถือว่ายังไม่
    ขาดจากการเป็นสามีภรรยา แต่เป็นการแยกกันอยู่เพื่อให้เวลากับทั้ง
    สองฝ่ายในการจัดการชีวิต ทบทวน ปรับปรุงข้อบกพร่องของตนเอง
    อย่าลืมว่าการแยกกันอยู่อาจเป็นการยุติปัญหาชีวิตคู่บางประการ แต่ก็
    จะมีสิ่งอื่นหลาย ๆ อย่างตามมาที่ทำให้เราต้องมีความรับผิดชอบเพิ่ม
    ขึ้น ซึ่งต้องจัดการด้วยตัวเอง เช่นการต้องอยู่คนเดียว การอยู่กับบุตร
    การดูแลบุตรตามลำพัง เรื่องที่อยู่อาศัย การเงิน ภาษี การประกัน
    สุขภาพ เบี้ยประกันต่าง ๆ สัญญาเงิน*้ เป็นต้น


    ...สิ่งที่สำคัญที่ต้องนึกถึงเมื่อแยกกันอยู่อย่างเป็นทางการคือ...
    สัญญาแยกอยู่เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมาภายหลังจากการแยกที่
    พักอาศัย ควรทำสัญญาแยกอยู่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยผ่านทนาย
    ความ หรือศูนย์บริการและรับปรึกษาปัญหาครอบครัวในสัญญานี้จะมี
    การระบุรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ เอาไว้ เช่นสิทธิปกครองบุตร ที่อยู่
    อาศัย ค่าเลี้ยงดู ทรัพย์สิน และหนี้สิน ดังนั้นถ้าเกรงว่าจะไม่เข้าใจ
    ภาษาก็ควรมีผู้แปลไปด้วย หากอีกฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการแยกกันอยู่
    หรือไม่เห็นด้วยกับสัญยาแยกอยู่ ก็อาจยื่นคำร้องต่อหน่วยงานคุ้ม
    ครองสถานบันครอบครัวได้ ซึ่งจะมีผู้พิพากษาพิจารณาคำร้องและ
    ตัดสินเพื่อให้คู่สมรสได้รับความยุติธรรม การยื่นคำร้องนี้อาจทำได้
    ด้วยตนเอง โดยติดต่อศาลในเขตที่อยู่หรือเขียนคำร้องเป็นจดหมาย
    ระบุถึงความต้องการแยกอยู่กับคู่สมรส

    ...ค่าใช้จ่ายศาล...
    โดยปกติแล้วผู้ยื่นคำร้องจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายล่วงหน้าแก่ศาล
    ส่วนใหญ่ศาลจะเรียกเก็บประมาณ 200-300 ฟรังก์สวิส เมื่อศาล
    ตัดสิน ศาลก็จะกำหนดว่าฝ่ายใดควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเท่าใด ค่าใช้
    จ่ายในศาลนี้ไม่รวมกับค่าทนายความ ในกรณีที่ผู้ร้องขัดสนด้านการ
    เงินควรติดต่อกับอำเภอที่อาศัยอยู่ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อความความช่วย
    เหลือเรื่องค่าใช้จ่าย

    ...ค่าครองชีพระหว่างแยกกันอยู่...
    ส่วนใหญ่ศาลจะพิจารณาจำนวนค่าครองชีพที่แต่ละฝ่ายสมควรจะได้
    รับตามมาตรฐานค่าครองชีพขั้นต่ำที่ทางรัฐกำหนดไว้ให้และตามความ
    ต้องการของแต่ละฝ่ายเป็นหลักเช่น ค่าเช่าบ้าน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

    ...สิทธิในการปกครองบุตร...
    อย่าลืมว่าขณะแยกกันอยู่นั้นกฎหมายถือว่า พ่อ แม่ ลูก พร้อมที่จะ กลับคืนมารวมเป็นครอบครัวได้อีกครั้ง ฉะนั้นถึงแม้ว่าตกลงได้แล้วว่า ลูกจะอยู่กับฝ่ายใดก็ตามทั้งพ่อและแม่ก็ยังมีสิทธิและหน้าที่ดูแลบุตร เท่า ๆ กัน เพียงแต่ฝ่ายที่ได้สิทธิดูแลลูกมีหน้าที่รับผิดชอบชีวิตความ เป็นอยู่ประจำวัน แต่ในกรณีเช่นลูกป่วยหนักหรือเลือกโรงเรียน ต้อง ปรึกษาปัญหาเหล่านี้ร่วมกัน ถ้าพ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แม่
    จะมีสิทธิ์ดูแลลูก ยกเว้นแม่จะยินยอมให้พ่อมีสิทธิปกครองบุตรร่วม
    กัน

    ...ปัจจุบันนี้เจ้าหน้าที่จะพิจารณาว่าใครจะดูแลลูกให้มีความสุข และมีประโยชน์กับการพัฒนาของเด็กมากกว่ากัน....
    ความผิดหรือสถานะภาพทางการเงินจะไม่มีผลต่อการตัดสินและถ้า
    หากทั้งพ่อและแม่ขาดสมรรถภาพไม่สามารถปกครองลูก ศาลจะให้
    เด็กอยู่ในความปกครองของผู้ปกครองซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐ พ่อ
    แม่สามารถร้องเรียนขอสิทธิ์คืนเมื่อเวลาผ่านไปแล้วหนึ่งปี ฝ่ายที่ได้
    สิทธิปกครองบุตรถือว่าเป็นตัวแทนของเด็กทุกด้านตัดสินปัญหาต่าง
    ๆ แทนเด็ก จัดการทรัพย์สินของเด็กได้ อีกฝ่ายออกความเห็นได้ แต่
    ตัดสินใจไม่ได้

    ...สิทธิการเยี่ยมบุตร...
    ขณะที่พ่อแม่แยกกันอยู่อย่างเป็นทางการ ฝ่ายใดที่ไม่ได้รับสิทธิ
    ปกครองบุตรก็มีสิทธิ์จะไปเยี่ยมได้ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ใน
    สัญญาแยกอยู่ และต้องพากลับตามเวลาที่กำหนดไว้เช่นกัน ในทาง
    ปฏิบัติผ่อนปรนกันได้ ระยะเวลาที่ได้เยี่ยมก็สามารถพาลูกออกไป
    เที่ยวพักผ่อนได้ โดยให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก มิฉะนั้นอาจถูกเพิก
    ถอนสิทธิ

    ...เงินเลี้ยงดูบุตร...
    ศาลจะเป็นผู้ตัดสินว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้จ่ายค่าเลี้ยงดู โดยยึกหลักตาม
    ความเหมาะสมของรายได้แม่และพ่อและประโยชน์ของเด็ก การจ่าย
    ค่าเลี้ยงดูนั้นต้องทำต่อเนื่องไม่มีการเว้นระหว่างปิดเทอมและเงิน
    สวัสดิการช่วยเหลือบุตรที่ได้รับจากนายจ้างนั้นก็ต้องนำไปจ่ายกับผู้
    มีิสทธิปกครอง เงินจำนวนนี้ไม่นับรวมกับเงินเลี้ยงดูบุตร

    ****หากมีการบิดพริ้วไม่ยอมจ่ายค่าเลี้ยงดู จ่ายไม่ครบ จ่ายล่าช้า อีกฝ่ายยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์และปกป้องสิทธิเด็กและ เยาวชนได้ศาลมีสิทธิ์ที่จะขอให้นายจ้างหักเงินเดือน และจ่ายให้ผู้รับ โดยตรง กรณีที่ไม่ได้รับเงินค่าเลี้ยงดูตามที่ตกลงกันไว้และมีปัญหา ด้านการเงินก็ติดต่อขอความช่วยเหลือได้จากเจ้าหน้าที่สังคม
    สงเคราะห์ในเขตที่อยู่ทางการจะจ่ายเงินสำรองให้ก่อน****

    หนังสือนี้จัดทำโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบิร์น ร่วมกับ กลุ่มหญิงไทยเพื่อหญิงไทย ในสวิตเซอร์แลนด์
    ** กลุ่มหญิงไทยเพื่อหญิงไทยThai Frau fuer Thai Frau ใครสนใ จสมัครเป็นสมาชิกได้ตามที่อยู่นี้
    Postfach 2233 8033 Zuerich Tel. 079 649 34 32

  2. #2
    ป้าดดดด....มาศึกษาละเอียดคักแท้หมอลำเอกชัย...สงสัยแล้วเด๋หนี่...555++
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

  3. #3
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ ไม่สวยแต่เร้าใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    ป่ากล้วย
    กระทู้
    833
    ละเอียดคักเนาะ ตะข้อมูลกฏหมายของฟินแลนด์ข้อยยังบ่ฮู้คักปานนี้

  4. #4
    ศิลปิน นักร้อง นักแสดง สัญลักษณ์ของ หมอลำเอกชัยคนหล่อ
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    ที่อยู่
    วารินชำราบ
    กระทู้
    362
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ ติ๋ม เปอร์โย
    ป้าดดดด....มาศึกษาละเอียดคักแท้หมอลำเอกชัย...สงสัยแล้วเด๋หนี่...555++
    ปลายปีนี้ ล่ะครับ พี่ติ๋ม คือสิมืคำตอบ

  5. #5
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ นิลมณีหยก
    วันที่สมัคร
    Aug 2007
    กระทู้
    496
    มะฮู้ละเอียดแทะอ้ายหมอลำเอกชัย ขนาดอยู่นี่แท้บ่ฮู้อีหยังเลย เป็นตาอายแท้::)

  6. #6
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ หนุ่มลำซี
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    ที่อยู่
    เมืองปลาเค็ม
    กระทู้
    585
    เอาแบบย่อบ่มีตี้ ท่านหมอลำ ข่อยละปวดตา ::)::)::)

  7. #7
    omi
    Guest
    สวัสดีค่ะ หมอลำเอกชัย และสมาชืกบ้านมหาทุกๆท่าน โอมี่ อยู่สวิสแท้ๆยังไม่รู้กฎหมายเท่าเลย ขอคาระวะ มีโอกาสคงจะได้เจอตัวเป็นๆแน่นอน ว่าแต่เจ้าอยู่หม่องได๋ล่ะ ข่อยสิขอเซิญมากินตำบักหุ่งนำ :g ดีใจหลายๆที่มีเว๊บท์ดีๆ และดีใจหลายๆ ที่บ้านมหามีบุคลากรเยี่ยม
    คงมีซักครั้งที่จะได้เจอกันเนาะ
    โอมี่ เบิร์น 8)(t

  8. #8
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มห้วยสีทน
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    242
    รู้คัก รู้จริง แต่ผมว่าประเทศสวิสบ่มีประธานาธิบดีดอกครับ มีแต่เปลี่ยนกันเป็นประธานที่ประชุม
    คนละปี คือแบบว่าต้องมีคนนั่งหัวโต๊ะนะครับ ผมว่าจังซังนา

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •