รักษาใจด้วยคำว่า "พอดี"


รักษาใจด้วยคำว่า "พอดี"

โดย

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก


ปกติคนเราเมื่อกระทบอารมณ์แล้ว จิตก็ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ยินดี ยินร้ายเป็นสุขภาพใจที่ไม่ดี

เมื่อกระทบอารมณ์ที่ทำให้ไม่พอใจโกรธ เสียใจ ก็ให้นึกในใจว่าดี แล้วหายใจออก เอาดี ดี เช็ดความรู้สึกที่ไม่ดีออกไปเมื่อหายใจออก ให้ตั้งสติกดลมหายใจยาว ๆ เบา ๆ เช็ด ถู กวาดความรู้สึกที่ไม่ดีออกไปทำความเข้าว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปตามกฎแห่งกรรมเหตุการณ์ที่จะต้องเกิดมันก็เกิด


เมื่อกระทบอารมณ์ที่ทำให้พอใจ ดีใจก็ให้นึกในใจว่าพอ แล้วหายใจออกเอาพอ พอ เช็ดความรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่มากเกินออกไป เมื่อหายใจออก ให้ตั้งสติกดลมหายใจยาว ๆ เบา ๆ เพื่อระงับความตื่นเต้นและทำให้ใจสงบลง

เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ มีความรู้ตัวชัดเจนแล้ว เราจะมองเห็นชัดเจนว่า ความรู้สึกไม่ว่ายินดี ยินร้าย สุข ทุกข์ ก็ล้วนไม่แน่นอน เราไม่ไปหลงยุดไว้ เป็นทาสของความรู้สึกยินดี ยินร้าย ตั้งเจตนาที่จะสงบระงับความโลภ โกรธ หลง รักษาอารมณ์พอดี ๆ เป็นมัชฌมาปฏิปทา หรือเรียกว่าทางสายกลาง


ชีวิตเราย่อมต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนาสิ่งเหล่านี้เปรียบเหมือนดิน ฟ้า อากาศ อากาศร้อน อากาศหนาว พายุฝน แผ่นดินไหว เป็นเรื่องของธรรมชาติที่เราบังคับไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้า หน้าที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเรา คือ ระวังรักษาใจให้เป็นปกติ ใช้คาถาว่า "พอ" และ "ดี" เป็นอุบายปรับจิตใจให้เป็นกลางๆ รักษาอารมณ์พอดี ๆ ไม่ยินดี ยินร้าย รักษาใจเป็นปกติ สุขภาพใจดี สบายใจ ตั้งมั่นอยู่ในความดี ความถูกต้อง ทุกสถานการณ์