กำลังแสดงผล 1 ถึง 9 จากทั้งหมด 9

หัวข้อ: ช่วยอธิบายเรื่องสรรพนามของภาษาอีสานหน่อยครับ

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ kittipol
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    กระทู้
    19

    ช่วยอธิบายเรื่องสรรพนามของภาษาอีสานหน่อยครับ

    ขอทั้งบุรุษที่ 1 2 3 เลยนะครับ แบบง่ายๆครับ เพราะผมงงเหมือนกัน เช่นเฮากับข่อยนี่ ใช้ต่างกันอย่างไรครับ รวมเป็นกระทู้้นี้กระทู้เดียวก็ได้ครับ เฉพาะสรรพนาม

    ขอบคุณมากครับ

  2. #2
    ผู้ใด๋เก่งภาษาอีสานมาตอบให้เพิ่นแหน่เด้อหนี่...หนี่กะงูๆ ปลาๆนะจ้า ย่านผิดเนาะ
    ตามที่ติ๋มเข้าใจง่ายๆเนาะ
    ข่อย หมายถึง ข่อยคนเดียว(ฉัน)เป็นบุรุษที่1 (ถืกบ่บุ)อย่าเชื่อหลายเด้อ....
    เจ้า หมายถึง เจ้าหั่นละ(คุณ เธอ)เป็นบุรุษที่2
    เฮา หมายถึงข่อยกับเจ้า เฮา2คน หรือหลายกว่า2คนกะได้ แม่นบ่555++โอ้ยย...อ้ายทิดคำศรี อ้ายจายร์เปิ่ม...ซ่อยข่อยแหน่หนี่....::)
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

  3. #3
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    โอ๊ยย เนาะ ยากนำวัยรุ่นมาตอบให้อีกหล่ะ ข้อย /ข่อย หมายถึงข้า แสดงความเป็นผู้น้อยอาวุโสกว่าผู้ที่เฮาเว้านำ หรือเว้ากับผู้วัยเดียวกันและต่างวัยไว้เพื่อทรงไว้ถึงความสุภาพ เฮา หมายถึงเรา แสดงสรรพนามว่าผู้ที่เฮาเว้านำเป็นรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือ เว้ากับผู้อายุน้อยกว่าเฮากะได้ หรือ เป็นการแสดงสรรพนามว่าเว้ากันตั้งแต่สองคนขึ้นไปในกลุ่ม แม่นบ่ติ๋ม โตว่าคือเฮาบ่ อิ อิ
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  4. #4
    หนุ่มธรรมสิริ
    Guest
    ก่อนอื่นสิขออธิบาย (ตีความ) คำว่า "สรรพนาม" ก่อนเด้อครับ สัพพะ (แปลว่าศัพท์) นาม (แปลว่าซื่อ) รวมกันเป็น สรรพนาม แปลว่า ซื่อทั้งเหมิด
    แล้วสรรพนาม นี้กะใช้ เป็นซื่อใช้สำหรับ แทนนามนาม (งงบ่อล่ะครับพี่น้อง) นามนามกะมี (สมมุติ) นายกอ ถ้าสิเอิ้น นายกอดู่ ๆ กะสิบ่อม่วน กะเลยเอิ้น เจ้า , อ้าย , พ่อใหญ่. เป็นต้น แทน คำว่านายกอ เพื่อสิบ่อใช้ซ้ำ ๆ ชาก ๆ คำเก่าคือ นายกอ
    ภาษาอีสานสรุปตามบรุษจั่งสี้ครับผม
    บรุษที่ ๑ (โตคนเว้าใช้แทนพุเว้า) เช่น เฮา ข่อย ข้าน้อย ผม กระผม เป็นต้น
    บุรุษที่ ๒ (คนที่เว้านำ) เช่น เจ้า พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ เป็นต้น
    บุรุษที่ ๓ (คนอื่นที่บ่อได้เว้านำ) เพิ่นนั้น ซุมนี้
    คุณติ๋ม ตอบถืกแล้วครับผมส่วนคำว่า เฮา กับ ข่อย นี่ เป็นบุรุษที่ ๑ ครับผม เฮา ส่วนมากสิใช้กับหมู่เพื่อนฝูง เช่น เฮาสิไปหาเด้อ..เป็นต้น
    ส่วนคำว่า ข่อย กะเป็นบุรุษที ๑ คือกัน ข่อย ส่วนหลายสิใช้กับคนมีอายุกั่ว เช่น ข่อยสิไปเฮ็ดงานเมืองกรุงดอกเด้อแม่ เป็นต้น.. จั่งใด๋กะเซิน พุอื่นมาตอบต่อกะแล้วกันเด้อครับ..เด้อ..ซะละล่ะ...แป๋ว...

  5. #5
    หมายถึงเรา แสดงสรรพนามว่าผู้ที่เฮาเว้านำเป็นรุ่นราวคราวเดียวก ัน หรือ เว้ากับผู้อายุน้อยกว่าเฮากะได้ หรือ เป็นการแสดงสรรพนามว่าเว้ากันตั้งแต่สองคนขึ้นไปในกล ุ่ม แม่นบ่ติ๋ม โตว่าคือเฮาบ่ อิ อิ

    เซาๆแหน่อ้าย...อย่ามาล่อให้ขี่กรากกินคอกันน้า คร้านเกาเด๋::)
    ::) จากอีสาน20ปี ตอบถืกเฉย แสดงว่า เลือดคนฮักบ้านเกิดยังแฮงอยู่เนาะ อิอิ
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

  6. #6
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มเมืองกาญจน์
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    กระทู้
    565
    ช่วยเสริมกันเนาะครับ
    ภาคอีสานนั้น กว้างใหญ่ไพศาล ภาษาและวัฒธรรมก็ย่อมสิหลากหลาย การเอิ้นชื่อกะสิแตกต่างกันบ้าง แต่คนอิสานด้วยกันสิเข้าใจได้โดยเลือดของคนบ้านเดียวกันเนาะ
    สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้เรียกตัวเอง เช่น ข้อย , กู , ข้าน่อย , เฮา , เอง (โคราช)

    สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้เรียกคนที่คุยด้วย เช่น เจ้า , มึง , โต(สุรินทร์ อายุน้อยหรือมากเว่ากันนี่ สิเอิ้นคนที่เว่านำว่าโต) , แก (โคราช)
    หล่า , นาง , เอ่น , ซาย , หำ(ห้าคำนี่ใช้เรียกคนอายุต่ำกว่าด้วยความเอ็นดู) อ้าย เอื้อย ฯลฯ

    สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้เรียกคนที่ไม่ได้อยู่ในสนทนา เช่น เพิ่น , ซุม , ไท(บ้าน...) ,หมู่ ,เขา

    /
    /
    ผู้สันทัดกรณีมาเพิ่มเติมแหน่เด้อครับ

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ kittipol
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    กระทู้
    19
    เห็นในหนังสะบายดีหลวงพะบาง มีที่ใช้คำว่า เรา=เขา(ในภาษาไทยกลาง)ด้วย
    เช่น ในหนัง น้อย(นางเอก)พูดกับน้องนางเอกว่า "เราเฒ่าแล้ว" หมายถึง เขา(He)แก่แล้วน่ะครับ คือพูดถึงพระเอกว่าแก่แล้ว น้อยไม่ได้ชอบหรอก แบบนี้น่ะครับ

    ภาษาอีสานมีที่ใช้อย่างนั้นรึเปล่า

  8. #8
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กลางทุ่งสารคาม
    วันที่สมัคร
    May 2008
    กระทู้
    87
    เข้าใจว่า
    เฮา กับ ข่อย หมายถึง ตัวเราเอง
    เฮา ใช้กับเพื่อน
    ข่อย ใช้กับคนที่อายุหลายกว่า

  9. #9
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    กระทู้
    9

    สรรพนามอิสาน

    ในภาษาบ้านเฮา บ่มีสรรพนาม "เรา" เด้อสิบอกให้ คำว่า เรา หมายถึง ตัวเรา (ภาษากลาง) ก็คือ โตเฮา นั่นหละ

    ส่วน คำว่า "เลา" เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 (คนที่เรากำลังพูดถึง) หมายถึง ท่าน แก เขา (ในภาษากลาง) เช่น "อีหล่าแมใหย่กินข้าวรึยัง" ตอบว่า "ยังบ่กินตั้ว เลา บอกว่าบ่อยาก" หมายความว่า ท่าน แก เขา ยังไม่หิว นั่นเอง แต่คำว่า "เลา" ใช้กับคนที่มีอายุมากกว่าคนพูด

    Kirati

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •