กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

    วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

    วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถปรับปรุงสยามประเทศให้เจริญทัดเทียมนานา อารยประเทศ ทรงรับเอาศิลปวิทยาการและความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วย เหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้วย พระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์

    เนื่องด้วยพระองค์ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำรา โหราศาสตร์ของไทย ในที่สุดพระองค์ทรงค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) โดยอาศัยหลักตำราสารัมภ์ของมอญ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า ปฏิทินปักขคณนา ยิ่งกว่านั้น พระองค์ได้ทรงคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดานไม้สี่เหลี่ยม ผืนผ้า มีเครื่องหมายเรียงเป็นแถว ๑๐ แถว แต่ละแถวมีจำนวนต่างกัน และมีเครื่องหมายแทนดวงดาว ๕ ดวง เดินเคลื่อนไหวเหนือแถวเหล่านั้นคล้ายกับเดินตัวหมากรุก ก็จะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ เรียกว่า กระดานปักขคณนา ปัจจุบันนี้คณะธรรมยุตยังคงใช้กันอยู่ สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในวิชา ดาราศาสตร์อย่างจริงจัง

    ใน พระราชฐานของพระองค์ทั้งที่กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดจะมีหอดูดาว โดยเฉพาะหอชัชวาลเวียงไชยนี้มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ ของไทย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในการรักษา เวลามาตรฐานของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นหอนี้จึงเป็นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผลในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลา พระองค์ทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ โดยสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมราชวัง ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทยสมัยนั้น โดยมีพนักงานตำแหน่งพันทิวาทิตย์ เทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์

    นอกจากนี้พระองค์ยังได้ ทรงคำนวณเหตุการณ์ล่วงหน้าถึง ๒ ปีว่า วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ จะเกิดเหตุการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทย ที่ที่จะเห็นเหตุการณ์สุริยุปราคาชัดเจนที่สุดก็คือ หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรเหตุการณ์สุริยุปราคาที่นั่น และเหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่พระองค์ทรงพยากรณ์ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว ทางสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์จึงคิดกันว่า น่าจะถือว่าวันนี้เป็นวันวิทยาศาสตร์ของไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุม เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ"

    ดัง นั้นในวันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปี ได้มีการจัดงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นทั่วประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นต้นมา โดยมีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานเป็นหน่วยงานหลักในการจัดร่วมกับหน่วยงานอื่นที่ เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งภาครัฐ และเอกชน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ งานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้รับการขยายให้เป็นงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" ในงานนี้มีการจัดกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมาย เช่น นิทรรศการ ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ รวมทั้งการแข่งขันโครงการทางวิทยาศาสตร์ และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักวิทยา ศาสตร์ดีเด่นในสาขาวิชาต่างๆ อีกด้วย

    วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

    ๑. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
    ๒. เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
    ๓. เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน
    ๔. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชนในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
    ๕. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.lib.ru.ac.th/journal/aug/aug18-ScienceDay.html
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 15-08-2010 at 17:28.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  2. #2
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    ขอขอบคุณสำหรับเนื้อหาสาระดีๆ จากผู้เถ่าเด้อคะรับผม
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติปี 2551

    คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2551 :
    "วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต"
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  4. #4
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5


    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพร่วมกับเจ้าเมืองสิงคโปร์และแขกต่างประเทศ ณ ค่ายหว้ากอ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 17-08-2010 at 18:28.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  5. #5
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    พระราชประวัติรัชกาลที่ 4

    พระราชประวัติรัชกาลที่ 4

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระราชประวัติ
    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น รัชกาลที่ 4 แห่งราชจักรีวงศ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติในวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน ยังเป็นโทศก พ.ศ. 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน และทรงมีพระราชโอรส - พระราชธิดารวมทั้งสิ้น 82 พระองค์ พระองค์ท่านเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 รวมพระชนมพรรษา 65 พรรษา วัดประจำรัชกาลของพระองค์คือ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
    ขณะทรงพระเยาว์
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ซึ่งตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร โดยพระนามก่อนการมีพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่"

    พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฏ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มีพระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

    เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จขึ้นครองสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว พระองค์ได้เสด็จเข้ามาอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่ง พ.ศ. 2355 พระองค์มีพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงได้จัดการพระราชพิธีลงสรงเพื่อเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ พระราชพิธีในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริว่า พระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าได้ทำเป็นอย่างมีแบบแผนอยู่แล้ว แต่การพระราชพิธีลงสรงตั้งพระนามเจ้าฟ้าครั้งกรุงศรีอยุธยายังหาได้ทำเป็นแบบอย่างลงไม่รวมทั้ง ผู้ใหญ่ที่เคยเห็นพระราชพิธีดังกล่าวก็แก่ชราเกือบจะหมดตัวแล้ว เกรงว่าแบบแผนพระราชพิธีจะสูญไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีและ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด) เป็นผู้บัญชาการพระราชพิธีลงสรงในครั้งนี้เพื่อเป็นแบบแผนของพระราชพิธีลง สรงสำหรับครั้งต่อไป พระราชพิธีในครั้งนี้จึงนับเป็นพระราชพิธีลงสรงครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ได้รับการเฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์ พงอิศวรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร" ในปี พ.ศ. 2359 พระองค์มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถมีพระราชดำรัสจัดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ตามแบบอย่างพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าที่มีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยได้สร้างเขาไกรลาสจำลองไว้บริเวณหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

    พระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม ตั้งแต่เมื่อครั้งยังประทับ ณ พระราชวังเดิม นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช รวมทั้ง ทรงฝึกการใช้อาวุธต่าง ๆ ด้วย

    เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 14 พรรษา จึงทรงออกผนวชเป็นสามเณร โดยมีการสมโภชที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แล้วแห่ไปผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์และสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ทรงผนวชจนออกพรรษาแล้วจึงทรงลาผนวช รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 7 เดือน เมื่อพระองค์ทรงพระเจริญวัยขึ้นแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรด ให้พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม

    เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษา จึงจะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ แต่ในระหว่างนั้นช้างสำคัญของบ้านเมือง ได้แก่ พระยาเศวตไอยราและพระยาเศวตคชลักษณ์เกิดล้มลง รวมทั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี พระขนิษฐาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเพียงพระองค์เดียวที่ยังมีพระ ชนม์เกิดสิ้นพระชนม์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่สำราญพระราชหฤทัย จึงไม่ได้จัดพิธีทรงผนวชอย่างใหญ่โต โปรดให้มีเพียงพิธีอย่างย่อเท่านั้น โดยให้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระองค์ได้รับพระนามฉายาว่า "วชิรญาโณ"หรือ "วชิรญาณภิกขุ" แล้วเสด็จไปประทับแรมที่วัดมหาธาตุ 3 วัน หลังจากนั้น จึงเสด็จไปจำพรรษาที่วัดราชาธิวาส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเคยประทับอยู่เมื่อทรงผนวช

    ในขณะที่ทรงผนวชอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้น ครองราชย์สมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะดำรงสมณเพศต่อไป ในระหว่างที่ทรงผนวชอยู่นั้นได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้ทรงคุ้นเคยกับสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะวิริยะเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทรงเป็นนักปราชญ์รอบรู้ ทำให้พระองค์ทรงมีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี ทรงผนวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 จนถึงลาผนวช เป็นเวลารวมที่บวชเป็นภิกษุทั้งสิ้น 27 พรรษา (ขณะนั้นพระชนมายุ 48 พรรษา) หมายเหตุ; เวลาที่ผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน

    คณะธรรมยุติกนิกาย หลังจากการลาผนวชของพระวชิรญาณเถระยังคงเจริญรุ่งเรืองต่อไป เพราะได้พระมหากษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ และมีผู้นำที่เข้มแข็งคือ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นผู้ครองบังคับบัญชาคณะธรรมยุติกนิกาย

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้าจะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์

    ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า

    "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "

    พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมี พระราชพิธีบวรราชาภิเษกและทรงรับพระบวรราชโองการ ให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในฝ่ายสมณศักดิ์นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยมหาสมณุตมาภิเษกขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น

    เมื่อ พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงคำนวณว่าจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ในประเทศสยาม ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระองค์จึงโปรดให้ตั้งพลับพลาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่พระองค์ทรงคำนวณก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงดังที่ทรงได้ คำนวณไว้ พระองค์เสด็จประทับอยู่ที่หว้ากอเป็นระยะเวลาประมาณ 9 วัน จึงเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร ภายหลังการเสด็จกลับมายังพระนคร พระองค์เริ่มมีพระอาการประชวรจับไข้และทรงทราบว่าพระอาการประชวรของพระองค์ ในครั้งนี้คงจะไม่หาย วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2411 พระองค์มีพระบรมราชโองการให้หา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่มีพระชนมายุมากกว่าพระองค์อื่น ๆ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ในราชการ และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อัครเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม หัวหน้าข้าราชการทั้งปวง เข้าเฝ้าพร้อมกันที่พระแท่นบรรทม โดยพระองค์มีพระบรมราชโองการมอบพระราชกิจในการดูแลพระนครแก่ทั้ง 3 ท่าน

    หลังจากนั้น ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และเจ้าพระยาภูธราภัยที่สมุหนายก เข้าเฝ้าและมีพระราชดำรัสว่า

    "ท่านทั้ง 3 กับพระองค์ได้ทำนุบำรุงประคับประคองกันมา บัดนี้กาละจะถึงพระองค์แล้ว ขอลาท่านทั้งหลายในวันนี้ ขอฝากพระราชโอรสธิดาอย่าให้มีภัยอันตราย หรือเป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน ถ้ามีผิดสิ่งไรเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ ขอให้ท่านทั้ง 3 จงเป็นที่พึ่งแก่พระราชโอรสธิดาต่อไปด้วยเถิด"

    พระองค์ตรัสขอให้ผู้ใหญ่ทั้ง 3 ท่านได้ช่วยกันดูแลบ้านเมืองต่อไป ให้ทูลพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่เอาธุระรับฎีกาของราษฎรผู้มีทุกข์ร้อนดังที่ พระองค์เคยปฏิบัติมา โดยไม่ทรงเอ่ยว่าจะให้ผู้ใดขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์รับสั่งว่าเมื่อพระองค์ทรงผนวชอยู่นั้น ทรงออกอุทานวาจาว่าวันใดเป็นวันพระราชสมภพก็อยากสวรรคตในวันนั้น โดยพระองค์พระราชสมภพในวันเพ็ญเดือน 11 ซึ่งเป็นวันมหาปวารณา เมื่อพระองค์จะสวรรคตก็ขอให้สวรรคตท่ามกลางสงฆ์ขณะที่พระสงฆ์กระทำวินัยกรรมมหาปวารณา ในเวลา 20.06 นาฬิกา พระองค์ทรงภาวนาอรหังสัมมาสัมพุทโธแล้วผ่อนอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า-ออก) เป็นครั้งคราว จนกระทั่ง เวลา 21.05 นาฬิกา เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ ภายในพระบรมมหาราชวัง สิริพระชนมพรรษา 65 พรรษา

    พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4

    พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว ได้แก่ "พระมหาพิชัยมงกุฎ" หนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งการสร้างพระลัญจกรประจำพระองค์นั้น จะใช้แนวคิดมาจากพระบรมนามาภิไธยก่อน ทรงราชย์ นั่นคือ "มงกุฏ" นั่นเอง โดยพระราชลัญจกรจะเป็นตรางา ลักษณะกลมรี ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา ซึ่งแสดงถึงทรงมีความเชี่ยวชาญทางด้านอักษรศาสตร์และดาราศาสตร์ ส่วนทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์ เพชร ซึ่งมาจากพระฉายาเมื่อพระองค์ทรงผนวชว่า "วชิรญาณ"

    พระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ยังได้ใช้เป็นแม่แบบของพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

    ข้อมูลจาก: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 17-08-2010 at 18:31.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  6. #6
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5
    คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

    2532 พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2533 เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2534 ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย

    2535 เปลี่ยนขาดทุนให้เป็นกำไร โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2536 วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

    2537 ขจัดปัญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2538 เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง

    2539 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า

    2540 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2541 พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย

    2542 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น

    2543 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2544 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

    2545 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

    2546 เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

    2547 เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

    2548 วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ

    2549 เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2550 วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม

    2551 วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต

    2552 วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า

    2553 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 15-08-2010 at 10:35.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  7. #7
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5
    คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ปีนี้ได้แก่..
    2553 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

    ***************

    Bump: นักวิทยาศาสตร์เอกของ โลก
    จัดแสดงผลงานของนักวิทยาศาสตร์เอกของ โลก ซึ่งทางนิทรรศการมีการจัดการทดลองต่าง ๆ ตามผลงานของ
    นักวิทยาศาสตร์ และจัดเสนอข้อมูลประวัติของนักวิทยาศาสตร์ ทั้งหมด 6 ท่าน คือ

    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (ค.ศ.1879-1955)


    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ “บิดาแห่งวิชาวิทยาศาสตร์” เชื้อสายเยอรมัน เกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศเยอรมัน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.1879 ผู้ให้กำเนิดระเบิดปรมาณู เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และเป็นผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
    ขนาดใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ ในศตวรรษที่ 20 ไอน์สไตน์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1955
    ผลงานสร้างชื่อเสียง
    - ผู้ก่อตั้งทฤษฎีแห่งสัมพันธภาพ
    - ผู้คิดค้นสมการเกี่ยวกับพลังงานปรมาณู E = mc
    - รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1921
    เกร็ดน่ารู้
    ทฤษฎีแห่งสัมพันธภาพ คือ ทฤษฎีที่บอกความสัมพันธ์ระหว่าง สสาร อวกาศ และเวลา มี 2 ทฤษฎี คือ
    ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ อธิบายว่า เราจะพบการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับวัตถุซึ่งเคลื่อนที่เร็วมาก เช่น อนุภาคเล็ก ๆ ที่พุ่งลงสู่พื้นโลก มวลของมันจะเพิ่มขึ้น ความยาวลดลง และเวลาช้าลง ทฤษฎีอีกบทหนึ่งคือ ทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป
    อธิบายว่า สสารทำให้อวกาศโค้ง และทำให้ความยาวคลื่นของแสงเปลี่ยน การทดลองหลายการทดลองพิสูจน์ให้เห็นว่าทฤษฎีสัมพันธภาพทั้งสองเป็นจริง

    กาลิเลโอ กาลิเลอิ (ค.ศ.1564-1642)

    นักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์และนาฬิกาลูกตุ้มเป็นคนแรก เขาเป็นผู้คัดค้านทฤษฎีของอริสโตเติล
    และหักล้างทฤษฎีของอริสโตเติลที่กล่าวว่า ดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก ความเชื่อของกาลิเลโอจนทำให้ถูกจับไปทรมาน
    และถูกบังคับทำให้ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นความคิดที่ขัดต่อศาสนา สาธารณชนเห็นว่าคำกล่าวของเขานั้นผิด เขาโชคร้ายที่มีชีวิตอยู่ในช่วงที่ประชาชนมีความหวาดกลัวต่อความคิดใหม่ ๆ แต่สำหรับในปัจจุบันเขาได้รับการยกย่องว่าเป็น
    นักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก
    เกร็ดน่ารู้
    แพนดูลัมทราย ลูกตุ้มน้ำหนักที่แกว่งกลับไปกลับมา อยู่ที่ปลายเชือกลวด หรือแท่งไม้ ซึ่งปลายอีกข้างถูกตรึง เราสามารถใช้ลูกตุ้มเป็นตัวเทียบเวลา เนื่องจากลูกตุ้มจะแกว่งกลับไปกลับมาในระยะเวลาที่สม่ำเสมอ เมื่อเราจับให้ลูกตุ้มแกว่ง แรงโน้มถ่วงจะพามันเคลื่อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งตลอดเวลา ความโน้มถ่วงถึงลูกตุ้มขณะอยู่ที่ตำแหน่งสูงสุดของการแกว่งลงมา และเหนี่ยวรั้งมันให้เคลื่อนช้าลงขณะแกว่งขึ้นทางอีกด้านหนึ่ง ลูกตุ้มจะแกว่งไปมาเรื่อย ๆ จนความเสียดทานจากอวกาศทำให้มันแกว่งช้าลง
    ********
    ไมเคิล ฟาราเดย์ (ค.ศ.1791-1867)
    ไมเคิล ฟาราเดย์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ.1791 เป็นบุตรของช่างเหล็กชาวอังกฤษ เขาทำการทดลองเรื่อง
    แม่เหล็กไฟฟ้า เขาก็พบปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่กระแสไฟฟ้าไหลตามเส้นลวดแล้วทำให้เกิดเส้น แรงแม่เหล็กรอบ ๆ เส้นลวดกระแสนี้เมื่อนำเอาเข็มแม่เหล็กไปวางไว้ใกล้กระแสนี้ก็จะหมุนไป เรื่อย ๆ
    ไมเคิล ฟาราเดย์ ล้มป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมในปั้นปลายของชีวิต และถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ.1867 ที่แฮมป์ตันคอร์ท
    เมื่ออายุได้ 76 ปี
    เกร็ดน่ารู้
    เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (ไดนาโม) ทำได้จากมอเตอร์ซึ่งมีขดลวดหมุนและแม่เหล็กที่ยึดติด เมื่อขดลวดหมุนมันจะตัดเส้นแรง
    แม่เหล็ก และมีกระแสเหนี่ยวนำขึ้น ขณะที่ขดลวดหมุน กระแสจะไหลเข้าและออกทางวงแหวนที่แยกจากกัน เครื่องจักร
    ซึ่งเปลี่ยนการเคลื่อนไหวไปเป็นไฟฟ้า ภายในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีขดลวดหมุนอยู่ในสนามแม่เหล็กซึ่งอยู่ระหว่างขั้ว ทั้งสอง
    ของแม่เหล็กหรือแม่เหล็กไฟฟ้า หรืออีกวิธีหนึ่งคือ แม่เหล็กอาจหมุนในขณะที่ขดลวดอยู่นิ่งในทั้งสองกรณี จะได้กระแสไฟฟ้าไหลในขดลวด เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งผลิตกระแสสลับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า อาจเรียก
    อีกอย่างหนึ่งว่า ไดนาโม

    อาร์คิมิดีส (298 – 212 ปี ก่อนคริสตศักราช)
    อาร์คิมิดีส เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยกรีกโบราณ เขาประดิษฐ์สกรูอาร์คิมิดีส ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้สูบน้ำออกจากเรือ นอกจากเป็นนักคิดและนักค้นคว้าแล้ว อาร์คิมิดีสยังเป็นนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่
    โดยการสร้างเครื่องผ่อนแรงในการส่งหลายอย่าง จนได้ชื่อว่า “บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ปฏิบัติ” อาร์คิมิดีส เกิดที่ซีราคิวในเกาะซิซิลี 298 ปีก่อนคริสตศักราช เสียชีวิตจากการถูกสังหาร เมื่อ 212 ปี ก่อนคริสตศักราช
    เกร็ดน่ารู้
    รอก เป็นเครื่องมือผ่อนแรงชนิดหนึ่งที่มีการใช้งาน มานานแล้ว นอกจากรอกจะเป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มความสะดวกสบายในการยกน้ำหนักแล้ว ยังผ่อนแรงลงด้วย เนื่องจากระยะการเคลื่อนที่ของความพยายามกับน้ำหนัก เป็นอัตราส่วนกันที่มีลักษณะ
    เป็นวงล้อหรือชุดวงล้อที่มีร่องสำหรับคล้องเชือกใช้ในการเคลื่อนย้ายสิ่ง ของ ในระบบรอกปลายเชือกข้างหนึ่งผูกติดกับสิ่งของและปลายอีกข้างที่อิสระจะถูก ดึง เมื่อต้องการยกสิ่งของ ระบบรอกช่วยลดแรงพยายามที่จำเป็นต้องใช้ในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ โดยปริมาณแรงที่ลดจะขึ้นอยู่กับจำนวนลูก

    ***********
    โยฮันน์ เกรเกอร์เมนเดล (ค.ศ.1822-1884)
    โยฮันน์ เกรเกอร์เมนเดล เกิดในปี ค.ศ.1822 เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย เมนเดลมีความสนใจศึกษาด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านพันธุศาสตร์ เรื่องที่เขาทำการทดลองคือ การรวบรวมต้นถั่วหลาย ๆ พันธุ์ นำมาผสมกันหลาย ๆ วิธี ผลงาน
    ของเขาได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปทั่วทวีปยุโรปและอเมริกา ในปีต่อมา คือ ปี ค.ศ.1866 ทำให้เมนเดลเป็นที่รู้จักในวงการพันธุศาสตร์นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเมนเดลยังได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ เมนเดลเสียชีวิตในปี
    ค.ศ.1884
    เกร็ดน่ารู้
    อะไรทำให้คนเรามีผมสีแดง ตาสีฟ้าหรือจมูกสีขาว บัดนี้เรารู้แล้วว่าหน่วยถ่ายพันธุ์ของเราทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ในทุก ๆ เซลล์ของร่างกายของเราถ้ามีหน่วยถ่ายพันธุ์ซึ่งทำให้เราเป็นดังที่เป็นอยู่ การศึกษาเรื่องหน่วยถ่ายพันธุ์เหล่านี้ และอิทธิพลที่มีต่อบุคลิกลักษณะของเราเรียกว่า วิชาว่าด้วย “การถ่ายพันธุ์” และบิดาแห่งวิชานี้ คือ โยฮันน์ เกรเกอร์เมนเดล

    เซอร์ไอแซค นิวตัน (ค.ศ.1642-1726)

    เซอร์ไอแซค นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1642 ที่ลินคอล์นเซียร์ ประเทศอังกฤษ นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อ
    ในเรื่องโหราศาสตร์ ละเชื่อในเรื่องทฤษฎีที่ว่า ดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อดวงชะตาของคน และชอบศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่
    แปรธาตุที่เราทราบกันว่าเป็นเรื่องไร้สาระ นักวิทยาศาสตร์คนเดียวกันนี้เองที่ค้นพบกฎของแรงโน้มถ่วง และพัฒนาคณิตศาสตร์แขนงใหม่คือ “แคลคูลัส” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อวิทยาศาสตร์แขนงใหม่ทุกแขนง เซอร์ไอแซค นิวตัน เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 84 ปี
    ผลงานสร้างชื่อเสียง
    - ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วง
    - สร้างกล้องโทรทัศน์ชนิดสะท้อนแสงเป็นคนแรก
    - พิสูจน์ว่าแสงของดวงอาทิตย์มี 7 สี ที่เราเรียกว่า “สีสเปคตรัม” ได้แก่ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง
    - พัฒนาวิชาคณิตศาสตร์แขนงใหม่ คือ แคลคูลัส
    เกร็ดน่ารู้
    แถบสีที่ปรากฏเมื่อแสงขาวผ่านปริซึมแล้วกระจายออก เราสร้างสเปคตรัมได้โดยให้ลำแสงขาวผ่านปริซึม
    หรือเกรติงเลี้ยวเบน อุปกรณ์ดังกล่าวจะแยกความยาวคลื่นต่าง ๆ ในแสงขาวออกเป็นสเปคตรัม ซึ่งมีจากสี แดง ส้ม เขียว และน้ำเงินไปจนถึงม่วงสุด สีแดงมีความยาวคลื่อนยาวที่สุด และสีม่วงสั้นที่สุด ปริซึมสร้างสเปคตรัมโดยการเบนความยาวคลื่น
    ต่าง ๆ ออกเป็นมุมที่ต่างกัน การแยกแสงออกเป็นองค์ประกอบสีต่าง ๆ เราเรียกว่า การกระจายแสง (dispersion)

    ข้อมูลจาก : http://www.waghor.go.th/v1/elearning...lofframe_2.php
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 18-08-2010 at 10:16.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  8. #8
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    บันทึกพิเศษ..หว้ากอ

    บันทึกพิเศษ การเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ
    ในทัศนะของชาวต่างประเทศต่างก็มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป ทั้งๆที่ยอมรับโดยสนิทใจว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและ ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง เพราะพระองค์ทรงสามารถคำนวณและประกาศอย่างเป็นทางการไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี ว่าจะมีสุริยุปราคาหมดดวงเห็นได้ในประเทศไทยและกำหนดสถานที่ ณ ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ริมฝั่งทะเลตรงข้ามเกาะจานไว้อย่างชัดเจนล่วงหน้าด้วย สำหรับฝรั่งเศส-เดิมเลือกที่ช่องแคบมะละกา ต่อมาให้เปลี่ยนอีกตามคำแนะนำของกงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทยว่า ควรเป็นชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งทางฝรั่งเศสเองก็พยายามเที่ยวค้นหาที่จะดูหลายตำบล ตั้งแต่เมืองชุมพรขึ้นมาจนถึงเมืองปราณบุรีก็หาไม่ได้ ในที่สุดคณะวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสก็ขอพระบรมราชานุญาตมาตั้งโรงที่จะดู สุริยุปราคาในบริเวณค่ายหลวงตำบลหว้ากอ ต่ำลงไปทางใต้พลับพลาค่ายหลวงประมาณ 18 เส้น จึงประสบความสำเร็จด้วยพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดย แท้
    การเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในเดือนสิงหาคม 2411 นั้น มีสิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือ 1.ในห้วงเวลานั้นเป็นฤดูฝน พื้นภูมิประเทศเป็นป่าเขามีไข้ป่าชุกชุม การเดินทางก็ลำบากและต้องฟันฝ่าอันตรายมากเหตุใดจึงทรงมีพระราชอุตสาหะ แรงกล้าถึงเพียงนั้น ก็เป็นเพราะว่าสุริยุปราคาที่จะเห็นได้หมดวงในประเทศไทยนี้ยังไม่เคยมีมาแต่ ก่อน จนถึงในตำราโหรของไทยว่า สุริยุปราคาไม่มีที่จะหมดดวงได้ ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณทราบเป็นพระองค์แรกใน ประเทศหรือในโลกก็ได้ว่า จะเห็นสุริยุปราคาหมดดวงในประเทศไทย ณ ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในวันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม 2411 โดยได้ทรงคำนวณสอบสวนกับตำราสารัมภ์ ไทย มอญ และของอังกฤษอเมริกันแล้วเป็นที่แน่ชัดจึงได้ทรงประกาศเป็นทางการล่วงหน้า ก่อนถึง 2 ปี ด้วยเหตุนี้พระองค์มิได้ทรงเกรงความยากลำบากและอันตรายใดๆที่จะเสด็จไปทอด พระเนตรสุริยุปราคาเพื่อทรงพิสูจน์ด้วยพระองค์เอง 2. การเตรียมสถานที่และเตรียมการด้านต่างๆนับเป็นเรื่องสำคัญมาก แสดงถึงความละเอียดรอบครอบและการที่ทรงมีวิจารณญาณ เห็นการณ์ไกลเกี่ยวกับเกียรติภูมิและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจ เพื่อความมั่นคงและอนาคตของประเทศ ตามพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าที่สมุหพระกลาโหม ให้เป็นแม่กองไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับแรม ณ ตำบลหว้ากอ ตรงหน้าเกาะจานเข้าไปห่างจากคลองวาฬลงไปทางใต้ประมาณ 24 เส้น โดยให้จัดการจ้างคนในหัวเมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองกำเนิดนพคุณ เมืองประทิว และนายงานหลายนายทำการก่อสร้างค่ายหลวงพลับพลาที่ประทับและทำเนียบรับรองแขก เมือง สถานที่บริเวณก่อสร้างอยู่ริมหาด ซึ่งเป็นป่าไม้อยู่ก่อนแล้วมาแผ้วโก่นโค่นสร้างในคราวนี้ แล้วปลูกพลับพลาและทำเนียบเป็นอันมากสำหรับข้าราชการต่างๆในราชสำนักและแขก เมืองชาวยุโรปพักอาศัย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินประทับในค่ายหลวงตำหนักที่ประทับทำด้วยไม้ชั่วคราว เป็นตำหนัก 3 ชั้นทำเนียบแห่งอื่นปลูกเป็นเรือนชั้นเดียวแต่ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 3 ฟุตทุกหลังทำเนียบเหล่านี้สร้างด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกแทบทั้งหมด มุงด้วยจากบ้างใบตาลแห้งบ้าง ทำเนียบหมู่หนึ่งก็มีรั้วทำด้วยกิ่งไม้อย่างเรียบร้อย ล้อมรอบมิดชิดมองไม่เห็น และในบริเวณหรือลานทำเนียบมีโรงที่อยู่สำหรับคนใช้ และบริวารเป็นอันมาก ท้องพระโรงยาวประมาณ 80 ฟุต กว้าง 80 ฟุต อยู่ด้านตะวันออกของพลับพลาที่ประทับแรม มีพระทวารสองข้าง กับทั้งมีพระทวารที่ตรงกลางทางด้านยาว ซึ่งเป็นทางที่เข้าไปได้อีกช่วงหนึ่ง ที่ประทับยกพื้นสูงราว 3 ฟุต อยู่ใกล้ชิดกับพระทวารทางที่จะเข้าไปข้างในพลับพลาที่ยกพื้นกับรั้วลูกกรง ทั้งเสาและผนังห้องท้องพระโรงดาดด้วยผ้าสีแดง มีพระเก้าอี้ตั้งอยู่บนราชบัลลังก์มีโต๊ะเล็กอยู่ทางขวา เต็มไปด้วยหีบทองและภาชนะบรรจุพระศรีพระโอสถ พระสุธารสและสิ่งของเครื่องราชูปโภคต่างๆ ทางในระหว่างพระทวาร และที่ประทับกันไว้เป็นช่องระหว่างสำหรับแขกเมืองเฝ้า และลองข้างช่วงนี้ในระยะประมาณครึ่งทาง เป็นที่ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่เข้าเฝ้า ทำเนียบของแขกฝรั่งยาวประมาณ 140 ฟุต กว้าง 50 ฟุต เป็น 2 หลังโดด หลังใหญ่มีห้องโถงอยู่กับพื้น สามารถจุคนในเวลาเลี้ยงได้ 40-50 คน และสองข้างยกพื้นสูงประมาณ 3 ฟุต ทำเป็นห้องเล็กๆเป็นแถวรวม 12 ห้อง สำหรับเป็นที่พักอาศัยของพวกผู้ว่าราชการ มุมสุดเป็นสถานที่เล็กๆหลังหนึ่ง มีห้องนอน 2 ห้อง ห้องแต่งตัว 2 ห้อง มีระเบียงเป็นห้องนั่งเล่น สำหรับ แขกได้สบาย เรือนตอนนี้ตีฝาและยกพื้นด้วยไม้จริง นอกนั้นทำด้วยไม้ไผ่ซีกทั้งสิ้น ด้านอาหาร มีผู้ว่าราชการ พระฤาษีสมบัติบริบูรณ์กับพ่อครัวจีน และข้าราชการรับหน้าที่จัดดูแลเรื่องอาหารเลี้ยงแขกเมืองและแขกฝรั่งทั้งหมด ที่อยู่ในกรุงเทพ และที่รับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับเชิญไปดู สุริยุปราคา และโปรพระราชทานเลี้ยงอาหารฝรั่งตลอด โดยพ่อครัวฝรั่งเศสพร้อมด้วยชาวอิตาลี 1 คน และลูกมือชาวเมืองอีกหลายคน การเลี้ยงดู ก็จัดอย่างบริบูรณ์และประณีต บรรดาของอร่อยที่จะสามารถหามาได้จากประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ กรุงเทพรวมทั้งเหล้า และเหล้าองุ่นต่างๆ น้ำแข็งก็มีบริบูรณ์ แขกฝรั่งพากันกล่าวว่า นับเป็นที่พักอาศัยอันอุดมที่สุดในป่าแห่งประเทศสยามทีเดียว 3. เครื่องมือและกล้องส่องดูดาว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเมอร์ซิเออร์ สเตฟาน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสที่เข้ามาตั้งเครื่องดูสุริยุปราคาที่หว้า กอ มีความเห็นว่า กล้องของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีคุณภาพดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับว่าวิเศษสำหรับประเทศสยาม พระองค์ทรงสนพระทัยยิ่งในวิชาดาราศาสตร์ และพระองค์ได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า พระองค์ทรงรอบรู้วิชาวิทยาศาสตร์ลึกซึ้งเพียงใด แต่ พระองค์ ทรงถ่อมพระองค์มาก การเสด็จมาหว้ากอครั้งนี้ก็เพราะแรงผลักดันที่จะได้ทรงพิสูจน์การศึกษาแนว ทางวิทยาศาสตร์ของพระองค์เป็นประการหนึ่ง 4. การที่ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เชิญ เซอร์ แฮรี่ ออด ผู้สำเร็จราชการมลายูของอังกฤษซึ่งประจำอยู่ ณ เมืองสิงคโปร์ และภริยามาเป็นอาคันตุกะส่วนพระองค์ และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส เข้ามาตั้งกล้องส่องดูดาวร่วมด้วยได้ที่ตำบลหว้ากอ โดยมีเครื่องกล้องใหญ่น้อยหลายอย่างที่ทันสมัย ประมาณ 50 อันเศษ นับเป็นวิเทโศบายอันชาญฉลาดที่ได้ทรงสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับอังกฤษและ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในยุโรป อย่างมีเกียรติและสมศักดิ์ศรียิ่งโดยเฉพาะได้ทรงเปลี่ยนแปลงปรับปรุงขนบ ธรรมเนียมเก่าที่ฝรั่งเห็นว่าเป็นเครื่องถ่วงความเจริญ ซึ่ง เซอร์ แฮรี่ ออด มีข้อสังเกตว่าในพระราชสำนักได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก มิเคยปรากฏมาแต่ก่อนเช่น การเปิดพระราชมนเทียรพระราชทานให้แขกเมืองเข้าไปได้ไม่หวงห้าม โปรดให้พบปะกับฝ่ายในให้ออกมารับแขกเมืองโดยเปิดเผย ส่วนเจ้านายในราชสกุลที่ทรงพระเยาว์ก็ทรงยอมให้สมาคมกับแขกเมืองได้อย่างฉัน มิตรสนิทสนม พระเจ้าแผ่นดินและขุนนางของพระองค์ สมาคมกับแขกเมืองอย่าง ยอมให้อิสระเท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นับเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งฝรั่งเห็นว่าเป็นประเทศหนึ่ง ในชนชาติที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก เหตุการณ์ที่ฝรั่งได้มาประสบพบเห็นด้วยตนเองนี้ ทำให้ชาวฝรั่งเกิดความประทับใจ และมั่นใจว่าประเทศไทยมีทางจะก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีนโยบายปิดประตู และมีการสมาคมกับชาวฝรั่งอย่างมีเกียรติ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรและทรงศึกษาเครื่องมือและกล้องส่องดูดาว ตลอดจนเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยของอังกฤษ และฝรั่งเศสพร้อมกันไป นับว่าเป็นประโยชน์ในการที่จะพัฒนาวิชาวิทยาศาสตร์ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป


    นักวิทยาศาสตร์ไทย

    จัดนำเสนอประวัติ พร้อมทั้งผลงานการทดลองนักวิทยาศาสตร์ไทย และจัดเสนอข้อมูลประวัติของนักวิทยาศาสตร์
    ทั้งหมด 4 ท่าน คือ

    ศจ.ดร.ระวี ภาวิไล

    ศจ.ดร.ระวี ภาวิไล (นักดาราศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องทั่วโลก) ศจ.ดร.ระวี ภาวิไล เกิดวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2468 จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนหุตะวณิช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเตรียมอุดมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้ไป
    ศึกษาต่อปริญญาโท สาขาฟิสิกส์ จาก University of Adelaide ประเทศออสเตรเลีย และได้รับปริญญาเอกทางฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย
    เกร็ดน่ารู้
    ผลงานเด่น ๆ ของ ศจ.ดร.ระวี ภาวิไล วิจัยเรื่องโครงสร้างอาณาจักรบริเวณกัมมันต์บนดวงอาทิตย์ วิจัยเรื่อง
    โครงสร้างและการเคลื่อนไหวของบรรยากาศระดับโครโมสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ จึงอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์
    ที่ได้รับการยกย่องไปทั่วโลกเป็นนักคิด นักปรัชญา ที่มีผลงานค้นคว้าที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติคนหนึ่ง

    ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
    หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นโอรสของกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย และหม่อมเพี้ยน เทวกุล เกิดที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2457
    ผลงานด้านประดิษฐ์วิจัย แบ่งออกคร่าว ๆ ได้ 3 ส่วน ส่วนเกษตรวิศวกรรม ส่วนการวิจัยพิเศษและงานวิจัยปัจจุบัน
    ด้านเกษตรวิศวกรรมมีมากมาย แบ่งออกเป็น 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ ด้านกรมการข้าว ด้านกสิกรรม และด้านโรงงานอุตสาหกรรม

    ดร.บุญส่ง เลขกุล
    เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2450 ที่สงขลา ในตระกูลพ่อค้า ต้องโยกย้ายตามผู้ปกครองไปตามที่ต่าง ๆ ตลอดเวลา เช่น ปัตตานี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ฯลฯ จึงมีโอกาสท่องเที่ยวเดินทางมาแต่เด็ก ๆ ในเวลานั้นป่าเขาตามหัวเมืองมีมาก เมื่อเที่ยวบ่อย ๆ
    ทำให้รู้สึกชอบธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นก สัตว์ ภูเขา ลำเนาไม้ที่งดงาม วันเสาร์ – อาทิตย์ จะชวนเพื่อน ๆ ออกไปเล่นซ้อมรบในป่า เล่นโปลิศจับขโมย เริ่มเป็นหนุ่มก็เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนมัธยมต่อที่วัดเบญจมพิตร จนจบบริบูรณ์ (ม.8)
    แล้วจึงเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศิริราชจนจบปริญญา ออกดำเนินอาชีพเป็นแพทย์
    และเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง


    รศ.ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์

    เกิดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2486 ศึกษาชั้นประถมและมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
    สาขาอินทรีย์เคมี มหาวิทยาลัยเซฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ
    ผลงาน ค้นพบสารใหม่ในกลุ่ม Cyclohexene Epoxides ซึ่งสกัดได้จากต้นไม้ในสกุลยูวาเรีย ทำให้เข้าใจในกลไก ชีวสังเคราะห์ของสารกลุ่มดังกล่าวในต้นไม้อย่างแน่นอน จากหลายกลไกที่มีผู้เสนอขึ้นมา ค้นพบปฏิกิริยาอันนำไปสู่การสังเคราะห์สารหลายชนิดในตระกูล Cyclopentenoid antibiotecs เช่น ซาร์โคมัยซิน เมทธิลิโนมัยซิน เอ และ บี ตลอดจนถึงการสังเคราะห์ไดออสไพรอลอันเป็นสารออกฤทธิ์ถ่ายพยาธิในลูกมะเกลือ
    เกร็ดน่ารู้
    ต้นมะเกลือ Ebony Tree ให้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ผลสดใช้ถ่ายพยาธิ เมื่อทิ้งไว้ผลสดจะเปลี่ยนเป็นสีดำเพราะเกิดปฏิกิริยาเคมี นำมาย้อมผ้า ส่วนแก่นไม้ สีดำสนิทคงทนแข็งแรง แมลงไม่รบกวน และมีน้ำหนักมาก ก็นำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ชั้นดี เหตุนี้ต้นมะเกลือจึงแทบจะไม่หลงเหลืออยู่ในป่าเมืองไทย


    ข้อมูลจาก : http://www.waghor.go.th/v1/elearning...lofframe_2.php[/COLOR]
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 18-08-2010 at 10:17.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •