กำลังแสดงผล 1 ถึง 9 จากทั้งหมด 9

หัวข้อ: ความรู้ทั่วไปเรื่อง"โรคเบาหวาน"

  1. #1
    คนคำเขื่อนแก้ว
    Guest

    เรื่องฮิตน่าอ่าน ความรู้ทั่วไปเรื่อง"โรคเบาหวาน"

    ความรู้ทั่วไปเรื่องโรคเบาหวาน

    โรคเบาหวานคืออะไร

    โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ
    ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท

    โรคเบาหวานเกิดได้อย่างไร

    คนปกติเมื่อรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทแป้งจะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระเพาะอาหารและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
    เพื่อใช้เป็นพลังงานของร่างกาย โดยต้องอาศัยฮอร์โมนจากตับอ่อน คืออินสุลินเป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
    ดังนั้นถ้าตับอ่อนสร้างฮอร์โมนดินสุลินไม่ได้ หรือสร้างได้ไม่พอ เนื่องจากความต้องการอินสุลินเพิ่มขึ้นจากอินสุลินออกฤทธิ์ไม่ได้ดี
    ทำให้มีน้ำตาลในเลือดเหลือค้างมาก และมีระดับสูงกว่าปกติ จึงเกิดอาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน

    อาการของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง

    คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับพลาสม่ากลูโคส 70-100 มก./ดล.
    หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม. ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก./ดล.
    ในผู้ป่วยเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลสูงมากจนเกินความสามารถของไตในการกั้นมิให้น้ำตาลออกมาในปัสสาวะ
    (พลาสม่ากลูโคสในเลือดมากกว่า 180 มก./ดล.) จะมีน้ำตาลออกมากับปัสสาวะ ซึ่งจะดึงน้ำตามมา ทำให้สูญเสียน้ำไปด้วย
    ผู้ป่วยจึงมีอาการ ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก มีอาการหิวบ่อนรับประทานจุแต่น้ำหนักลด
    เนื่องจากร่างกายเอาน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ มีการสลายพลังงานออกมาจากไขมันและกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย
    ถ้าเป็นแผลจะหายยาก มีการคันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อราโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้ป่วยเพศหญิง
    ชาปลายมือปลายเท้า ตามัว

    ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจไม่มีอาการชัดเจน แต่ระดับน้ำตาลที่สูงกว่าปกติเป็นระยะเวลานานๆ ก็สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้

    วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานได้อย่างไร

    จากการตรวจระดับพลาสม่ากลูโคสตามเกณฑ์ ดังนี้

    ก. กรณีมีอาการโรคเบาหวานชัดเจนดังกล่าวแล้วข้างต้น วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับพลาสม่ากลูโคส (อดอาหารหรือไม่ก็ได้)
    เกิด 200 มก./ดล. เพียงครั้งเดียว

    ข. ไม่มีอาการ ต้องการตรวจเช็คร่างกาย วินิจฉัยเบาหวานเมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารเช้ามากกว่า 126 มก./ดล. 2 ครั้ง

    ค. กรณีสงสัยว่าเป็นเบาหวานแต่ระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารเช้าไม่ถึง 126 มก./ดล.
    ให้ตรวจโดยดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เจาะเลือดก่อนดื่มและ 2 ชั่วโมงหลังดื่ม วินิจฉัยว่า

    - เป็นเบาหวาน เมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสที่ 2 ชม. มากกว่า 200 มก./ดล.
    - ปกติ เมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสที่ 2 ชม. น้อยกว่า 140 มก./ดล.
    - บกพร่องต่อการคุมระดับน้ำตาล เมื่อระดับพลาสท่ากลูโคสที่ 2 ชม. อยู่ระหว่าง 140-199 มก./ดล.
    ง. ระดับน้ำตาล 10-125 มก./ดล. ถือว่าอาจมีความผิดปกติ ให้ติดตามต่อไป
    กรณีที่ปัจจัยเสี่ยงสูง สงสัยเบาหวานให้ตรวจดู ตามข้อ ค.

    หมายเหตุ ในการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลพลาสม่ากลูโคสให้งดอาหารอย่างน้อย 8-10 ชม.
    ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือลูกอม แต่รับประทานน้ำเปล่าได้

    ผู้ใดควรได้รับการตรวจเช็คเบาหวาน

    - ผู้มีอาการดังกล่าวข้างต้น
    - ผู้ไม่มีอาการแต่อายุเกิน 40 ปี ถ้าตรวจแล้วปกติให้ตรวจทุก 3 ปี
    - ผู้ไม่มีอาการแต่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
    - ญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
    - น้ำหนักจัดอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน (นน.(กก)/ส่วนสูง (เมตร)2 > 25)
    - เคยแท้งหรือบุตรตายตอนคลอด
    - คลอดบุตรน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 มก.
    - เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    - หญิงตั้งครรภ์ทุกราย (อายุครรภ์อยู่ระหว่าง 24-28 สัปดาห์)
    - ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดในสมองตีบ

    แม้ว่าบุคคลเหล่านี้ไม่มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ก็ควรหมั่นตรวจสอบ ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ในข่ายสงสัย
    ก็ควรตรวจระดับพลาสม่ากลูโครเป็นระยะทุก 1 ปี การวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
    และให้การรักษาควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้
    ในทางตรงกันข้ามผู้ป่วยที่วินิจฉัยได้เมื่อมีอาการชัดเจน สามารถพบโรคแทรกซ้อนได้ตั้งแต่แรก
    เนื่องจากอาจเป็นโรคเบาหวานมานานแล้ว

    สาเหตุและโอกาสที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน

    เบาหวานสืบทอดทางกรรมพันธุ์ได้ก็จริง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวาน)
    ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเบาหวานทุกคน มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่
    1. โรคอ้วน ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินสุลินไม่ดี
    2. ผู้สูงอายุ การสังเคราะห์และการหลังฮอร์โมนอินสุลินลดลง
    3. ตับอ่อนได้รับความกระทบกระเทือน
    - ตับอ่อนอักเสบ
    - อุบัติเหตุ
    4. การติดเชื้อไวรัสบางชนิด หัด หัดเยอรมัน คางทูม มีผลต่อตับอ่อน
    5. การได้รับยาบางชนิด สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิดทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น
    หรือการตอบสนองของอินสุลินไม่ดี
    6. การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีผลยับยั้งการทำงานของอินสุลิน

    เบาหวานมีกี่ประเภท สามารถแบ่งได้เป็น

    1. เบาหวานประเภทที่ 1 (เบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน)
    2. เบาหวานประเภทที่ 2 (เบาหงานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน)
    3. เบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางพันธุกรรม โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตที่สร้างฮอร์โมน
    4. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
    ในประเทศไทยพบ เบาหวานชนิดที่ 2 มากสุดประมาณร้อยละ 95

    ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของ เบาหวานประเภทที่ 1 และ ประเภทที่ 2

    เบาหวานประเภทที่ 1 เบาหวานประเภทที่ 2

    มักเกิดในคนอายุน้อย (น้อยกว่า 40 ปี) มักเกิดในคนอายุมากกว่า 40 ปี

    ผอม อ้วน
    ไม่สามารถผลิตอินสุลินได้ หรือผลิตได้เพียงเล็กน้อย ยังสามารถผลิตอินสุลินได้บ้าง หรือผลิตเป็นปกติแต่

    การตอบสนองต่ออินสุลินลดลง


    มักเกิดอาการรุนแรง อาจมีอาการเล็กน้อย รุนแรง หรือไม่มีอาการเลยก็ได้

    การรักษาจำเป็นต้องใช้อินสุลิน อาจรักษาโดยการควบคุมอาหารอย่างเดียว หรือรับประทานยา

    หรือบางรายอาจต้องฉีดอินสุลิน





    โรคเบาหวานรักษาไม่หายขาด แต่ถ้าปฏิบัติตัวดี สามารถควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
    จะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนได้
    .............................................................................................................................................

    ขอขอบคุณที่มา : แผ่นพับ บริษัท แล็บบอราทอรี่ส์ โฟนิเย่ (ประเทศไทย) จำกัด พ.ญ.ยุพิน เบ็ญจสุรัตน์วงศ์


    12 กันยายน 2550
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ติ๋ม เปอร์โย; 29-03-2010 at 14:56.

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ แหลวแดง
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    1,912
    เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์หลายคับ ตอนนี้คนเป็นหลายเด้โรคเบาหวาน อี่แม่ผมกะเป็นคือกัน หมู่บ้านนั้นผู้หญิงเป็นเกือบเบิดบ้าน เทียวไปหาแต่หมอ ไปตรวจระดับน้ำตาล และกะเอายามมากิน สังเกตุเบิ่งคนเป็นสิจ่อยเนาะ บ่ค่อยมีแฮง เป็นท่าทางเมื่อยๆ รักษาสุขภาพเด้อผู้ได๋กะดาย

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ หลานพระรถ
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    ที่อยู่
    เมืองพระรถธานี, ชลบุรี
    กระทู้
    343
    ขอบคุณคะสำหรับข้อมูลที่ดี คงลดอาหารประเภทแป้งมื้อเย็นแล้วกระมัง
    มื้อเย็นกินแล้วก็นอน ไม่ได้ใช้พลังงาน ไม่อยากจะสะสม "ห่วง" อ่ะ
    เกิน 3 ชั้นจะเสี่ยงภาวะโรคแทรกซ้อนเยอะ...
    ทุกวันนี้ พี่ๆ ที่ทำงานเขาเรียกว่า "น้อยจ่อยวีโก้" กันหมดแล้วค๊า ::)

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    โรคเบาหวาน

    โรคเบาหวาน




    หมายถึง


    ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย โดยปกติอินซูลิน มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานของร่างกาย สาเหตุที่แท้จริงของโรคเบาหวานยังไม่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคนี้คือ พันธุกรรม และแบบแผนการดำเนินชีวิต ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจเสี่ยงต่อการเกิด โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ตาบอด หรือมีการทำลายของเส้นประสาท


    อาการ


    ปัสสาวะจะบ่อยมากขึ้นถ้าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่งแต่น้ำหนักจะลดลง อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน เห็นภาพไม่ชัด ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขา อาเจียน


    สาเหตุ


    ยังไม่ทราบแน่นอนแต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใด มีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น


    คำแนะนำ


    1. รับประทานอาหารให้ถูกต้องตามที่กำหนดให้ และรู้จักวิธีใช้อาหารที่สามารถทดแทนกันได้
    2. ใช้อินซูลิน หรือยาเม็ดให้ถูกต้องตามเวลา
    3. ระวังรักษาสุขภาพอย่าตรากตรำเกินไป
    4. รักษาร่างกายให้สะอาด และระวังอย่าให้เกิดบาดแผล
    5. หมั่นตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ
    6. ออกกำลังกายแต่พอควรสม่ำเสมอ
    7. ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย ตกใจ หวิวใจสั่น เหงื่อออก หรือมีอาการปวดศรีษะตามัว ให้รับประทานน้ำหวาน หรือน้ำตาลเข้าทันที

    ทั้งนี้เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เพียงพอกับยา แต่ถ้าได้รับประทานอาหารที่น้ำตาล มากเกินไปและได้อินซูลินหรือยาน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการง่วงผิวหนังร้อนผ่าว คลื่นไส้ อาเจียน หายใจมี กลิ่นคล้ายผลไม้ ถ้าทิ้วไว้อาจทำให้ไม่รู้สึกตัว ต้องรีบตามแพทย์ทันที
    8. ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีบัตรบ่งชี้ว่าเป็นเบาหวาน และกำลังรักษาด้วยยาชนิดใดอยู่เสมอ และควรมีขนมติดตัวไว้ด้วย
    9. อย่าปล่วยตัวให้อ้วนเพราะ 80% ของผู้ป่วยโรคนี้เกิดจากการอ้วนมาก่อน
    10. อย่าวิตกกังวลหรือเครียดมากเกินไป
    11. เบาหวานเป็นกรรมพันธุ์ได้ หากสงสัยว่าเป็นเบาหวานควรได้รับการตรวจเลือดจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
    12. ต้องระมัดระวัง เมื่ออายุเกิน 40 ปี ควรตรวจเลือดดูเบาหวานทุกปีเพราะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย
    ________________________________________


    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ติ๋ม เปอร์โย; 29-03-2010 at 14:49.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #5
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1
    ขอบคุณแทนท่านชายและท่านหญิงหมายเลข4ทุกท่านนะครับคุณครูเล็ก
    สาระที่นำเสนอด้วยความเป็นห่วงเป็นใยกันเสมอมา

  6. #6
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ กำลังใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,529
    บล็อก
    1
    ขอบคูณหลายนะคะ ที่นำสิ่งดีมีประโยชน์มาให้ทราบกันจ้า

  7. #7
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หล่อร้อยเมตร
    วันที่สมัคร
    Feb 2007
    กระทู้
    1,808
    ตอนนี้บ่ทันเป็นเบาหวานกะหมั่นดูแลรักษาสุขภาพไว้เด้อครับ เช่นออกกำลังกาย ควบคุมอาหารประเภท แป้ง น้ำตาล และมันจากเนื้อสัตว์ เพราะถ้าเป็นเบาหวานแล้วร่างกายเฮากะจะกลายเป็นศูนย์รวมโรคเลยหละครับ จะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมาเยอะแยะ เช่น ความดันโลหิตสูง
    คาดสิได้ลอยมาคือปลาเน่า ... สั่นแล๊ววว

  8. #8
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กะแยงนา
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    กระทู้
    211
    บล็อก
    2
    ขอบคุณข้อมูลดีๆที่มีสาระจ้า คนรอบข้างเป็นเบาหวานกันหลายคนเลยจ้า เป็นโรคที่เป็นบ่อเกิดของโรคอื่นเยอะมากๆ ละกะเป็นโรคที่เข้าใจมันยากแท้ๆ ควบคุมการกินหลายกะวูบ ตามใจปากหลายกะยาก ทางที่ดีเบิ่งแงงเจ้าของบอให้เป็นกลุ่มเสี่ยงดีที่สุดเนาะจ้า

  9. #9
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ กำลังใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,529
    บล็อก
    1
    ขอบคุณหลายเด้อ ที่นำสิ่งดีดีมาให้ทราบกัน

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •