กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ว่าด้วยเรื่องคุณภาพของข้าวไทยที่ด้อยคุณภาพลง

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บักหล่าลูกกก
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    158

    ว่าด้วยเรื่องคุณภาพของข้าวไทยที่ด้อยคุณภาพลง

    ว่าด้วยเรื่องคุณภาพของข้าวไทยที่ด้อยคุณภาพลง
    ผมเคยเขียนไว้เนาะครับ ดนแล้วฝากไว้ในเว็บ วิชาการดอทคอม

    http://www.vcharkarn.com/vblog/18639/1

    เว่าไว้หลายเรื่องอยู่ ไปเบิ่งแหน่กะได้ครับ

    กลับมาเรื่อง ข้าวไทย ด้อยลงเนาะ ครับ จั่งได๋กะไปอ่านกันเลยครับ หลายแหน่กะค่อยอ่านเอาเด้อครับ

    ข้าว จัดเป็นอาหารหลักของคนไทย หลายคนคงยังไม่เคยทราบว่าขั้นการผลิดหรือที่เราเรียกว่าทำนานั้นมีขั้นตอนรายละเอียดอย่างไร และทั้งนี้ขั้นตอนการทำนาของเกษตรกรในแต่ละภาคของประเทศไทยนั้นแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดแต่โดยรวมแล้วนั้นเหมือนกัน เนื่องจากผู้เขียนเองเป็นลูกชาวนาได้เคยใช้ชีวิตเป็นชาวนาเต็มขั้นในช่วงเรียนมัธยม จึงได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินชีวิตของเกษตรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสานซึ่งเป็นบ้านเกิดของผู้เขียนเองและเป็นสาเหตุหลักของการด้อยคุณภาพของข้าวไทยซึ่งผู้เขียนได้ตั้งไว้เป็นหัวข้อดังจะกล่าวต่อไป


    ข้าวไทยด้อยคุณภาพลงหรือ? บางท่านคงยังสงสัย ซึ่งผู้เขียนเองยังไม่มีข้อมูลอ้างอิงอย่างเป็นทางการหรอกนะครับ แต่จากการสังเกตและติดตามสถานะการราคาข้าวนั้นพอสรุปได้ว่า ข้าวไทยอาจผลิตได้มากขึ้นก็จริงแต่คุณภาพที่ได้ด้อยลงอย่างมาก ท่านที่ทำงานด้านนี้อยู่คงทราบกันดีนะครับ ซึ่งสิ่งที่ด้อยลงนั้นก็คือความชื้นของข้าวเปลือกนั่นเองครับ เจ้าความชื้นนี้สำคัญอย่างมากกับข้าวเปลือกนะครับคือหากเรานำข้าวเปลือกที่มีความชื้นมากเข้าไปเก็บในโกดังหรือฉางข้าวจะทำให้เกิดเชื้อราครับทำให้ข้าวเปลือกเน่าเสียได้ หรือหากความชื้นนั้นมีมากก็จะทำให้เมล็ดข้าวงอกออกรากครับ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของแป้งที่เหลืออยู่ในเมล็ดข้าวครับ


    สาเหตุหลักที่ทำให้คุณภาพข้าวไทยนั้นด้อยลงไปคงหนีไม่พ้นวิทยาการสมัยใหม่โดยเฉพาะเครื่องมือและเครื่องทุ่นแรงในการทำนานั่นเองและเหตุผลอีกประการคงหนีไม่พ้นเรื่องฮ็อตฮิตนะครับ เรื่องของโลกร้อนไง บางท่านอาจคิดว่ามันไม่น่าจะเกี่ยวแต่อย่าลืมว่าโลกร้อนนี้เป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงแปลผันของฤดูกาลครับคือ จากช่วงที่ฝนเคยตก ก็กลับกลายเป็นแล้งก็ส่งผลให้เมล็ดข้าวที่ได้ไม่เต็มเมล็ด ลีบหรือไม่ออกรวงไปเลยก็ได้หรือจากช่วงที่ฝนทิ้งช่วงก็กลับมีฝนตกก็ส่งผลต่อความชื้นของเมล็ดข้าวโดยตรงหากเกิดฝนตกในช่วงใกล้ฤดูเกี่ยวข้าวอย่างนี้เป็นต้นนะครับ


    ย้อนกลับมาเรื่องหลักที่เกริ่นไว้ เรื่องวิทยาการสมัยใหม่ที่ส่งผลให้ขั้นตอนการทำนาเปลี่ยนไปนั้น ผู้เขียนจะเปรียบเทียบให้ทราบในรายละเอียดในการทำนาที่เปลี่ยนไปดังนี้


    ขั้นตอนการทำนาในสมัยก่อน การทำนาจะเริ่มจากการเกี่ยวข้าวเพื่อมาทำพันธุ์นะครับ ก่อนการเกี่ยวข้าวนั้นในสมัยโบราณในภาคอีสานจะทำลานข้าวครับ ขั้นตอนการทำก็คือ นำขี้ควาย (ที่เปียก ๆ) จากคอก มาผสมกับดินจอมปลวกผสมกับน้ำนิดหน่อย มาทาฉาบบนลานดินที่ถากหญ้าออกและถากให้เลียบ เป็นพื้นที่ประมาณ 1-2 งาน (ขึ้นกับขนาดพื้นที่ปลูกทั้งหมดครับ) แล้วทิ้งให้แห้ง 1-2 วัน ก็เป็นอันเสร็จพิธีครับ ลานข้าวคือที่พักรวมมัดรวงข้าวหรือ"ฟ่อนข้าว"เพื่อรอ"ตีข้าว"ครับ (คำศัพท์บางคำเป็นศัพท์ที่ใช้จริงในภาคอีสาน ผู้เขียนจะใช้ทับสับแล้ววงเล็บอธิบายเพิ่มเติม) เมื่อเริ่มเกี่ยวข้าวชาวนาก็จะเลือกพื้นที่ส่วนที่คิดว่าข้าวสมบูรณ์ที่สุดเพื่อใช้ทำพันธุ์ในปีถัดไป ข้าวส่วนนี้จะถูกเกี่ยวก่อน และมัดข้าวเป็นฟ่อนตากแดดทิ้งไว้เป็นเวลานานเพื่อให้เหลือความชื้นน้อยที่สุดเพื่อรอนำไปหว่านเป็นต้นกล้าในปีต่อไป


    และเมื่อเริ่มเข้าสู่หน้าฝนในปีถัดมา ชาวนาก็จะเตรียมหว่านเมล็ดกล้าเพื่อที่จะใช้ดำนา โดยพื้นที่ที่ใช้เป็นตากล้า(พื้นนาที่เลือกหว่านเพาะต้นกล้า) นั้นเขาจะเลือกเอาพื้นที่ในส่วนที่เคยเป็นลานข้าวในปีที่แล้ว เหตุผลคือดินในพื้นที่ส่วนนี้จะแข็งในส่วนลึกแต่ร่วนซุยในบริเวณหน้าดินไม่ลึกนักจะส่งผลดีในการถอนต้นกล้าทำให้ถอนได้ง่ายเนื่องจากรากต้นกล้าไม่ลึกลดการขาดและความบอบช้ำของต้นกล้าได้เป็นอย่างมาก และอย่าลืมว่าผลพลอยได้จากการที่เรานำขี้ควายมาทาเป็นลานในปีที่แล้วนั้นก็คือปุ๋ยคอกของเราดีๆ นี่เองครับ เมื่อฝนตกหน้าดินที่เต็มไปด้วยขี้ควายก็จะเปลื่อยยุ่ยบำรุงต้นกล้าเราได้เป็นอย่างดีครับ เห็นไหมครับว่าภูมิปัญญาชาวบ้านสุดยอดแค่ไหน

    แล้วมาต่อกันในขั้นตอนถัดไปก็คือการดำนาครับ หลังจากที่หว่านกล้าและต้นกล้าโตได้ขนาดแล้วชาวนาก็จะไถนาเตรียมปลูกข้าวครับ โดยใช้ควายไถครับ ซึ่งแรงควาย 1 ตัวก็จะไถได้ 1 ไร่ ควายก็เหนื่อยแล้วครับ จากแรงงานในครอบครัวประมาณไม่เกิน 4 คน จะดำนาได้ประมาณ 1 ไร่ต่อวันครับ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาผู้ที่มีหน้าที่ไถนาต้องตื่นเช้าตรุ่เพื่อไถนารอ เนื่องจากควายตัวดำจะสู้แดดไม่ได้หากมาไถนาสาย ควายจะร้อนและจะไถนาไม่ได้ครับ สมาชิกในครอบครัวจะออกตามมาถอนต้นกล้ารอนำไปดำต่อ สรุป 1 วันจะดำนาได้ประมาณ 1 ไร่ครับ ที่นา 10 ไร่จะใช้เวลาดำนาประมาณ 10-12 วัน ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาห่างพอที่จะเกิดความแตกต่างของการเจริญเติบโตของต้นข้าวครับ จะส่งผลต่อวันและเวลาในการเกี่ยวข้าวซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อสภาพความชื้นของเมล็ดข้าวเปลือก กล่าวคือ


    เนื่องจากต้องใช้ช่วงเวลาในการดำนาน ต้นกล้าที่ดำไปก่อนจะแก่และครบกำหนดเกี่ยวก่อน ชาวนาก็จะเริ่มเกี่ยวเริ่มจากแปลงที่ดำเสร็จก่อนตั้งแต่คราวแรกเรียงไปตามรอบของการดำ ในขั้นตอนเกี่ยวชาวนาจะเกี่ยวกำรวงข้าว เรียง 5-6 กำ วางเรียงทิ้งไว้บนตอซังข้าว(แล้วจะเกี่ยวต้นข้าวทั้งต้นทั้งกอ มาวางพาดขวางไว้เพื่อใช้มัดกำข้าวทั้ง 5-6 กำนั้นให้เป็นฟ่อน) ทิ้งไว้ 4-5 วันเพื่อรอกู้เก็บ ในช่วงนี้แหละครับเป็นช่วงที่มีความสำคัญมากต่อคุณภาพของข้าวในสมัยเก่าก่อนกับสมัยนี้เนื่องจาก รวงข้าวถูกทิ้งตากแดดไว้เป็นเวลานานความชื้นหายไปแล้วประมาณ 60-70%


    การกู้ข้าว ในช่วงการเกี่ยวข้าวชาวนาจะตื่นเช้ามืดเพื่อมากู้ข้าว เนื่องจากต้องอาศัยความชื้นจากน้ำค้างเพิ่มความเหนียวของกอข้าวยาวที่ตัดขวางทิ้งไว้กับกองข้าวกำเพื่อใช้มัด และจะกู้ข้าวไปจนถึงแดดออก กำกอข้าวที่ใช้มัดจะใช้ฟั่นมัดไม่ได้เพราะแห้งและขาดความเหนียวแล้วเนื่องจากความร้อนจากแสงแดด ชาวนาก็จะทิ้งการกู้ข้าว มากินข้าวงาย (ข้าวเช้า) แล้วค่อยจะลงเกี่ยวข้าวและในช่วง 3-4 วันหลังจากเริ่มเกี่ยวชาวนาจะทำลานข้าว(โดยการทาลานขี้ควายตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) เพื่อเป็นที่พักตากฟ่อนข้าวอีกระยะเพื่อรอฟาดหรือตีข้าว และระหว่างช่วงเกี่ยวข้าว ในเวลาช่วงเย็นชาวนาจะมาขนฟ่อนข้าวที่ทำการกู้ในตอนเช้านั้นขั้นเรียงบนลานข้าวตากแดดทิ้งไว้ทั้งวัน และในช่วงนี้เองความชื้นในเมล็ดข้าวเปลือกจะลดไปอีก 10-20 %


    การนอนนาในหน้าหนาวฤดูเกี่ยวข้าวชาวนาที่เป็นผู้ชายจะมานอนเฝ้าข้าวที่นาโดยแต่ครอบครัวจะสร้างเถียงนา (กระต๊อบเล็กๆ เป็นที่สำหรับพักทานข้าว พักเหนื่อยระหว่างทำนา) ประจำที่นาไว้ทุกๆ ท่ง(ผืน)
    และช่วงนี้เอง จะเป็นช่วงที่ชาวนาจะเลือกพื้นที่ส่วนที่คิดว่าข้าวสมบูรณ์ที่สุดเพื่อใช้ทำพันธุ์ในปีถัดไป ข้าวส่วนนี้จะถูกเกี่ยวก่อน และตีเพื่อจะเก็บข้าวเปลือกไปตากแห้ง ส่วนฟางข้าวที่ได้ในส่วนนี้จะใช้ไปทำซุ้ม (เป็นกระท่อมที่ทำด้วยโครงไม้ไผ่แล้วนำฟางกองใหญ่วางคุมโดยเหลือช่องไว้เป็นประตูทางเข้า) เพื่อเป็นที่นอนเฝ้าข้าวบนลานครับ และผู้เขียนขอบอกว่า อุณภูมิภายในซุ้มและข้างนอกนี้ต่างกันลิบครับ ในซุ้มจะอุ่นมาก ๆ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะทำว่าวตัวใหญ่ ๆ ติด ธนู (ธนูเสียง ใช้ถ่วงหัวว่าวและให้เสียงเหมือนดนตรีเมื่อลมพัด) บรรยากาศแบบนี้คนที่เคยสัมผัสคงจะพอระลึกได้ว่าเป็นความสุขและสงบอย่างแท้จริง ผู้ใหญ่จะชวนเด็ก ๆ ไปด้วย และเล่านิทานให้ฟังในตอนกลางคืน สร้างความผูกพันและปลูกฝังความคิดดีตั้งแต่เด็ก เป็นวิถีพอเพียงอย่างแท้จริง

    สรุป ข้อแตกต่างระหว่างการทำนาสมัยใหม่โดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ ๆ กับวิธีชีวิตแบบพอเพียงในสมัยเก่าจะได้คุณภาพของข้าวที่ต่างกันในเรื่องความชื้นเป็นหลัก เนื่องจากการทำนาในสมัยนี้ขั้นตอนการเกี่ยวข้าวจะเสร็จสิ้นในวันเดียว ไม่มีการตากข้าวไว้ข้ามเดือนเหมือนสมัยก่อน คุณภาพข้าวจึงจะขึ้นอยู่ที่ฉางข้าวที่รับซื้อต้องตากข้าวนานขึ้นจึงจะได้ข้าวที่มีความชื้นน้อยและแห้งสนิทจริง ๆ เทคโนโลยีต่อเนื่องจำเป็นก็คือเทคนิคไซโลข้าวที่ใช้จำต้องพัฒนาตามมาอีกทางซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อให้ความร้อนและอบแห้งข้าวสิ่งที่เสียไปเพื่อแลกกับความร้อนในการอบข้าวคือไฟฟ้าที่ใช้ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้พลังงานของชาติและเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องส่งผลกระทบวนกลับมาถึงเรื่องสภาวะโลกร้อนเนื่องจากสิ่งที่ใช้ผลิตไฟฟ้าคือน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ .....

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ แหลวแดง
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    1,912
    แล้วสิมีวิธีแก้ไขจั่งได๋คับ

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บักหล่าลูกกก
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    158
    แนวทางการแก้ปัญหาเนาะครับ ตามความคิดผมเองเด้อนิ แบ่งได้ 2 แนวทางเนาะครับ

    1. หันกลับมาแก้โดยเฮ็ดนาแบบดั้งเดิมครับ คือ อาจสิบ่ต้องถึงขนาดใช้ควายไถนากะได้ แต่ใช้การดำเอา บ่แม่นหว่านหรือว่าผายคือตอนนี้ แล้วกะทะยอยเกี่ยว ตากแดด เฮ็ดลาน กู้เก็บ ตากแดดกะตากไว้เทิงลานนั่นล่ะครับ แล้วกะบ่ถึงต้องดีหรือฟาดเอากะได้ เอารถสีกะได้แต่วาให้ตากไว้โดน ๆ ครับ แล้วอีกอย่างนึงที่อยากเตือนกะคือ ยามเกี่ยวแล้วนั่น อย่าฟ่าวไปขายเลย ให้รอไว้จักสามเดือนซะก่อนเพราะราคามันต่ำคัก ยามฤดูเก็บเกี่ยวนั่น ฟ่าวไปขายกันคักโพด
    2. ถ้าได้ใช้เทคโนโลยีแล้วกะใช้มันครบ นี่กะคือการ สร้าง "ไซโล" ไซโลกะคือ ถังอบข้าวให้มันแห้งขนาดใหญ่เนาะครับ แต่ว่าเฮากะอย่าใช้ไฟอย่างเดียว ออกแบบให้มันใช้พลังงานทดแทน เช่นแสงแดด แกลบ (แกลบนิกะสิให้ควันคือเก่ากะต้องสร้างให้มันปลอดมลพิษนำ) เป็นต้น เพื่อให้ข้าวมันแห้งสนิทอิหลี ฉะนั้นต้องมีการรวมตัวกัน เป็นกลุ่มสหกรณ์ เพราะว่าต้นทุนในการสร้างนิกะหลายเติบเฮ็ดพุเดียวบ่ได้ดอกเนาะครับ แล้วกะมีการรวมกลุ่มเฮ็ดธนาคารข้าวเปลือกเพื่อเป็นพลังต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง ได้อีก


    ปัญหาอย่างนึงที่ผมคิดว่าเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลง กะคือ ความสามัคคี เช่น การลงแขกนิกะหายไปหมดแล้ว ครับ สมัยนี่

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •