องค์การ อนามัยโลก จัดอันดับไทยติดโผอยู่อันดับที่ 18 จาก 22 ประเทศ มีผู้ป่วยวัณโรคสูงสุด อินเดีย ครองอันดับ 1 รองลงมา จีน และ อินโดนีเชีย สำหรับ เชียงใหม่ แชมป์ภาคเหนือ เร่งล้อมคอก ป้องกัน และควบคุมวัณโรคอย่างจริงจัง โดยลงนามร่วมมือกับ 6 หน่วยงานหลักในเชียงใหม่เป็นแห่งแรก เพื่อร่วมกันดำเนินโครงการรณรงค์ป้องกันควบคุมวัณโรคอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม ชี้ นักโทษในเรือนจำ-แรงงานต่างด้าว มีความเสี่ยงสูงที่จะแพร่เชื้อวัณโรคสู่คน


วันที่ 22 ธันวาคม 2551 ที่ โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน จ.เชียงใหม่ นายแพทย์หม่อมหลวง สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควมคุมโรค กล่าวภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการการเร่งรัดการป้องกัน และควบคุมวัณโรคในพื้นที่ภาคเหนือว่า จากทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดดับดับประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคสูงสุด 22 ประเทศ โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศอินเดีย จีน และอินโนโดนีเชีย โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ ปีละ 90,000 ราย เป็นวัณโรคปอดเสมหะบวก (ระยะแพร่เชื้อ) จำนวน 40,000 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 13,000 ราย ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอสีร่วมด้วย 11% มีเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) 16% นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยเอดส์ที่มีโรคติดต่อเชื้อฉวยโอกาศเป็นวัณโรค จำนวน 30% สำหรับประเทศไทยนั้น จัดอยู่อันดับที่ 18 ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงมาก

อย่าง ไรก็ตาม จากรายงานที่รวบรวมได้ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า มีประมาณ 50,000 กว่าราย หรือครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ) และมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยผู้ป่วยใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในปี พ.ศ.2550 รักษาสำเร็จเพียง 79% ซึ่งค้นพบว่าปัญหาสำคัญมาจากอัตราการตาย 8% โดย 23% อยู่ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี และอัตราการขาดยา 6% ฉะนั้น การการควบคุมที่ดีที่สุด คือ การรักษาผู้ป่วยให้หายขาด เพราะวัณโรคเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน โดยเฉพาะคนในเรือนจำ และแรงงานต่างด้างที่ไม่ได้รับการรักษา สามารถแพร่กระจายเชื้อได้สูงมาก ประมาณ 10-15 คนต่อปี

“จากข้อมูลสถิติของผู้ป่วย วัณโรคที่สูงขึ้นในแต่ละปี เราจึงต้องจับมือผ่าทางตัน เร่งรัดแก้ปัญหาวัณโรคอย่างเร่งด่วน ที่สำคัญ ต้องค้นหาผู้ป่วยให้พบ และนำเข้าสู่ระบบการศึกษาให้หายขาดทุกราย โดยเฉพาะแรงงาน หรือคนต่างด้าว ที่มีปัญหาในเรื่องของข้อกฎหมาย ทำให้เกิดการหลบหลีก และแสดงตัวในการรักษา ทำให้การแพร่เชื้อไปสู่คนรอบข้างได้” อธิบดีกรมควมคุมโรค กล่าว

สำหรับ นโยบายการเร่งรัดป้องกันและควบคุมวัณโรคของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีเป้าหมายสำคัญคือ การรักษาผู้ป่วยให้กินยาครบกำหนด และหายมากกว่า 90% โดย 1.กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบวานวัณโรค Mr.TB ในทุกระดับ ทั้งระดับกระทรวง และกรมควบคุมโรค ระดับเขต จังหวัด อำเภอ และศูนย์ประจำโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินงานในโรงพยาบาลเพื่อการประสานงาน ร่วมมือกันโดยเฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีผู้ป่วยวัณโรคเข้ารักษาจำนวนมาก

นอก จากนี้ ยังกล่าวต่อว่า ผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อให้พิจารณาการรับเข้ารักษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหนัก มีโรคอื่นร่วมด้วย หรือผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะขาดยา เช่น ผู้ป่วยในเรือนจำ รวมทั้งสนับสนุนให้คนในชุมชน และอาสาสมัครช่างต่างด้าว เป็นผู้ค้นหา และเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชน ต้องเพิ่มอัตราการให้ยาต้านไวรัสเร็วขึ้น ภายใน 2 เดือนแรกของการรักษาวัณโรคแก่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี และเร่งรัดการค้นหาเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ต้องขังในเรือนจำ เด็กสัมผัส ผู้สูงอายุ และแรงงานต่างด้าว/ย้ายถิ่น

“ใน ปีงบประมาณ 2552 จะเพิ่มวัคซีนเป็น 2 ล้านโด๊ส เป็นปริมาณยาที่จัดสรร และฉีดให้กับคนในพื้นที่ทั่วภูมิภาค โดยจะแบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงโดยตรง เช่น แรงงานต่างด้าว และกลุ่มเสี่ยงทางอ้อม เช่น คนใกล้ชิดกับผู้ป่วย ซึ่งผมอยากเพิ่มเป็น 10 ล้านโด๊ส ด้วยซ้ำ แต่ติดที่ปัจจัยหลายอย่าง จึงดำเนินการแค่นี้ไปก่อน เนื่องจากวัณโรค เป็นภัยเงียบที่ร้ายแรง และส่งผลต่อคุณภาพประชาชนในประเทศ และเป็นสิ่งที่ผมตั้งเป้าว่าจะต้องทำให้ได้ก่อนเกณียนอายุราชการ” อธิบดีกรมควมคุมโรค กล่าว

อย่าง ไรก็ตาม ในวันเดียวกัน นายแพทย์หม่อมหลวง สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควมคุมโรค ได้เป็นประธานเปิดงาน และร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง 6 หน่วยงานหลักของเชียงใหม่ได้แก่ สมาคมปราบวัณโรค ในพระอุปถัมภ์ฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลตำบลแม่เหียะ และสำนักงานป้องกันควบคุมป้องกันโรคที่ 10 เพื่อร่วมกันดำเนินโครงการรณรงค์ป้องกันควบคุมวัณโรค ซึ่งเปิดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรกของประเทศ

ด้าน นายแพทย์ วัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า วัณโรคเป็นปัญหาเรื้อรังมานานเกือบ 80 ปี และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นผู้ป่วยที่มีเสมหะพบเชื้อ 42 ต่อแสนของประชากร ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่สังคม และผู้ที่อยู่ใก้ลชิดผู้ป่วยได้ ดังนั้นจึงต้องมีการลงนามความร่วมมือขึ้น เพื่อร่วมมือกันสนับสนุนให้มีการจัดการดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้มีประสิทธิภาพ และถูกหลักวิชาการตามบทบาทภารกิจของแต่ละองค์กร โดยต้องรักษาให้หายขาด แต่ทั้งนี้ต้องกินยาต่อหน้าหมออย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 14 วัน และต้องพักฟื้นอีกประมาณ 6 เดือน

“สถานการณ์วัณโรคใน พื้นที่รับผิดชอบ มีเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา น่าน แพร่ และแม่ฮ่องสอน เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม-30 พฤศจิกายน 2551 พบผู้ป่วยตรวจเสมหะมีเชื้อจำนวน 5,618 ราย และผู้ป่วยใหม่ที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ จำนวน 2,684 ราย คิดเป็นร้อยละ 48 โดยเชียงรายจัดเป็นพื้นที่ที่มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่มากที่สุด ส่วนเชียงใหม่มีผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุด พบมากในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ต้องขังในเรือนจำ และแรงงานต่างด้าว” นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยข้อมูล

จาก ปัญหาดังกล่าว แผนพัฒนาด้านสังคมของจังหวัดเชียงใหม่จึงกำหนดเป้าหมายให้ลดอัตราป่วยวัณโรค ลงไม่เกิน 100 คนต่อแสนของประชากร ซึ่งองค์การอนามัยโลกถือว่าเป็นพื้นที่ไม่มีการแพร่ระบาดของวัณโรค อย่างไรก็ดี การควบคุมวัณโรคให้สำเร็จได้นั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งการดำเนิน งานตามมาตรฐานการควบคุมวัณโรคแห่งชาติ

นายแพทย์สาธารณ สุขจังหวัดเชียงใหม่ ยังกล่าวด้วยว่า จะดำเนินการแก้ปัญหาบุคคลที่มีกลุ่มเสียงต่อการป่วยเป็นวัณโรค 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ต้องขังในเรือนจำ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีความเสียงสูงมาก เนื่องจากภาวะภูมิกันของร่างกาย อ่อนแอ ง่ายต่อการติดเชื้อวัณโรคสูงถึง 30% โดยเฉพาะบริเวณปอด และกลุ่มแรงงานต่างด้าว หรือผู้อบยพย้านถิ่นฐาน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่น่าเป็นห่วง เพราะมีตัวกฎหมาย เป็นตัวควบคุม ทำให้ไม่สามารถค้นหาเชื้อวัณโรค และตรวจทำการรักษาได้อย่างสะดวกเท่าที่ควร เพราะต้องคอยหลบซ่อนอยู่ตลอดเวลา ทำให้แรงงานต่างด้าว มีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนทั่วไปเกือบ 10 เท่า

อย่างไร ก็ตาม ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการเร่งรัดการการป้องกัน และควบคุมวัณโรคในจังหวัดเชียงใหม่ 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรคในชุมชน โดยอาสาสมัครชาวต่างด้าว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.พัฒนาศักยภาพในการวินิจฉัยโรค 3.กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น กินยาต่อหน้าแพทย์เป็นเวลา 14 วัน และพักรักษาตัวอีก 6-7 เดือน และ 4.สร้างความร่วมมือกันในชุมชน เปิดเป็นชุมชนสุขภาพ และปลอดภัยจากโรค


ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์