กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    บ้านมหาโพสต์ วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    อนุสาวรย์พระเจ้าตากสินมหาราชที่วงเวียนใหญ่

    อันตัวพ่อชื่อว่าพระยาตาก ทนทุกข์ยากกู้ชาติพระศาสนา
    ถวายแผ่นดินเป็นพุทธบูชา แด่ศาสนาพระพุทธโคดม
    ให้ยืนยงคงถ้วนห้าพันปี สมณะพราหมณ์ชีปฏิบัติให้เหมาะสม
    เจริญสมถะวิปัสสนาพ่อชื่นชน ถวายบังคมรอยบาทพระศาสดา
    คิดถึงพ่อพ่ออยู่คู่กับเจ้า ชาติของเราคงอยู่คู่พระศาสนา
    พระพุทธศาสน์ยืนยงคู่องค์กษัตรา พระศาสดาฝากไว้ให้คู่กัน


    นี่คือพระราชปฏิธานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในการกู้ชาติไมยเมื่อครั้งเสียกรุงอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310


    วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    28 ธันวาคม พ.ศ. 2311 : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ณ กรุงธนบุรี

    28 ธันวาคม พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ณ กรุงธนบุรี พร้อมทั้งสถาปนากรุงธนบุรีให้เป็นราชธานี ขณะพระชนมายุได้ 34 พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือ พระบรมราชา ที่ 4 จากนั้นทรงยกทัพไปปราบก๊กต่าง ๆ และรวบรวมอาณาเขตอยู่ 3 ปี จึงสามารถรวบรวมให้เป็นพระราชอาณาจักรเดียวกันอีกครั้ง พระองค์ทรงครองราชย์ได้เพียง 15 ปีก็สวรรคตขณะพระชนมายุ 48 พรรษา ต่อมาทางราชการได้กำหนดให้ วันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปี เป็น วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทางราชการจึงจัดให้มีพิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ของพระองค์ท่าน ที่วงเวียนใหญ่ ธนบุรี
    -------------------------------------------------------------
    28 ธันวาคม วันพระเจ้าตากสินมหาราช ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแผ่นดินไทย

    พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2277 ตรงกับปีขาล ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 จุลศักราช 1096 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา

    การรับราชการ
    ตำแหน่งราชการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงไว้วางพระทัยโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติมีอยู่มากมาย อาทิ ตำแหน่งมหาดเล็กรายงาน ซึ่งเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปชำรุความตามหัวเมืองเหนือ เพราะทรงมีความรู้ด้านกฎหมายเป็นอย่างดี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งยกกระบัตรเมืองตาก ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตาก ตามลำดับ
    ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร อันเป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายพลเรือน แต่บ้านเมืองเกิดศึกสงครามเสียก่อนท่านจึงต้องอยู่ช่วยราชการไม่ทันได้เดินทางไปรับตำแหน่ง

    ฝ่าวงล้อมทหารพม่า
    ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2309 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ (ยศในขณะนั้น) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจรวบรวมทหารกล้าราว 500 คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า โดยตั้งใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว
    พระยาวชิรปราการ ต้องการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นที่มั่น เพื่อรวบรวมกำลังกลับมาตีพม่า จึงสั่งทหารทุกคนว่า
    “เมื่อกินข้าวปลาอาหารอิ่มแล้ว ให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงทิ้งเสีย คืนนี้เราจะดีเมืองจันทบุรีให้ได้ แล้วพรุ่งนี้เราจะกินข้าวเช้ากันในเมืองจันท์”
    กู้ชาติ
    กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับ พ.ศ.2310 และสมเด็จพระเจ้าตากสิน สามารถกู้กลับคืนมาได้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก ซึ่งตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2310 รวมใช้เวลารวบรวมผู้คนจนเป็นทัพใหญ่กลับมากู้ชาติด้วยระยะเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น

    ตั้งราชธานีใหม่
    พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเสียหายมากยากที่จะปฏิสังขรณ์ จึงให้ย้ายมาสร้างเมืองหลวงใหม่ที่กรุงธนบุรี เพราะเห็นว่าไม่ใหญ่โตเกินกำลังมีป้อมปราการที่แข็งแรงสามารุป้องกันศึกศัตรูได้ เนื่องจากมีป้อมกันข้าศึกถึง 3 ป้อม อีกทั้งมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพัชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นเมืองใกล้ทะเลสามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้สะดวก

    ปราบดาภิเษก
    หลังจากสร้างพระราชวังบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรก 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2311 ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

    พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ
    นอกจากพระราชกรณียกิจในด้านกู้ชาติแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ปราบอริราชศัตรูที่มักจะล่วงล้ำเขนแดนเข้ามาซ้ำเติมไทยยามศึกสงครามอยู่เสมอ จนในสมัยของพระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างไพศาล กล่าวคือ
    ทิศเหนือ ได้ดินแดนหลวงพระบาง และเวียงจันทน์
    ทิศใต้ ได้ดินแดนกะลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
    ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจดอาณาเขตญวน
    ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี
    พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการฟื้นฟูและสร้างวรรณกรรม นาฏศิลป์ และการละครขึ้นใหม่ แม้ว่าจะมีศึกสงครามตลอดรัชกาล กระนั้นก็ยังทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ถึง 4 เล่ม สมุดไทย ในปี พ.ศ.2312 นับว่าทรงมีอัจฉริยภาพสูงส่งเป็นอย่างมาก และในรัชสมัยของพระองค์มีกวีที่สมควรได้รับการยกย่อง 2 ท่าน คือ
    1. นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโคลงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยกพระเกียรติและสรรเสริญ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 85 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมาได้ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและความเป็นไปในยุคนั้น
    2. หลวงสรวิชติ (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น
    พระเจ้าตากสิน ยังโปรดให้มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ในด้านการปกครอง หลังจากสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ทรงจัดวางตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ทรงสอดส่องทุกข์สุขของราษฎร และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศมาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติและยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์ฟ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ ด้วยความกตัญญูกตเวที

    เหตุการณ์ช่วงปลายรัชกาล
    ในปี พ.ศ.2324 เกิดศึกทางกัมพูชา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ถืออาญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพไปปราบ พร้อมกันนั้นยังได้ทรงถอดฉลองพระองค์พระราชทานให้ด้วย เหมือนกับจะเป็นบุพนิมิตว่า สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินไปในภายหน้า
    และการก็เป็นจริงดังนั้น ด้วยเพราะเกิดการจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระสติฟั่นเฟือน เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกลับสู่พระนคร บรรดาเหล่าข้าราชการและราษฎรทั้งปวง จึงอัญเชิญให้ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 เพื่อปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎรสืบต่อไป

    ถวายพระนามมหาราช และการสร้างพระราชอนุสาวรีย์
    ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ตามที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนทุกหมู่เหล่าจึงพร้อมใจกันถวายพระนาม “มหาราช” แด่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” และรัฐบาลอันมี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้พร้อมใจกันสร้างพระราชอนุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบ
    ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิดและถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 และในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2497 จึงมีรัฐพิธีเปิดเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ ต่อมาทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสวยราชย์ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ
    2. จัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติและพระเกียรติคุณของพระเจ้าตากสินมหาราช อันมีต่อปวงชนชาวไทย
    3.ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การนำพวงมาลาไปถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อสังคม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล


    ข้อมูลจาก..http://www.bmaeducation.in.th/content_view.aspx?con=430
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 27-12-2009 at 13:12.

  2. #2
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    พระราชวังในสมัยธนบุรี โดย หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี
    พระราชวังของสมัยกรุงธนบุรีนี้เรียกกันในปัจจุบันว่า "พระราชวังเดิม" เป็นพระราชวังของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก่อสร้างขึ้นเมื่อครั้งกรุง ธนบุรีเป็นราชธานี
    พระราชวังเดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาปากคลองบางกอกใหญ่ ติดกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ป้อมวิชาเยนทร์ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระราชวังนี้ถูกขนาบด้วยวัด ๒ วัด คือ วัดโมฬีโลกยาราม และวัดอรุณราชวราราม
    พระราชวังเดิมนี้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เป็นที่ประทับของพระราชวงศ์ที่ สำคัญของพระบรมราชจักรีวงศ์หลายพระองค์ เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธิเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ ก่อนทรงผนวช และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นต้น


    ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    สิ่งก่อสร้างที่สำคัญในพระราชวัง
    ๑. ท้องพระโรง เป็นท้องพระโรงที่สร้างขึ้นเมื่อครั้งเป็นพระราชวังสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงใช้ท้องพระโรงนี้ ประกอบกิจการทั้งปวง ลักษณะของท้องพระโรง เป็นรูปแบบไทยประเพณี หลังคามุงกระเบื้อง
    ประดับด้วยช่อฟ้าและรวยระกา เป็นท้องพระโรง โถง ลักษณะเดียวกับท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน และพระที่นั่งไพศาลทักษิณต่อเนื่องกัน
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ในระยะที่สร้างพระบรมมหาราชวังยังไม่แล้วเสร็จพระองค์ได้ประทับที่พระราชวัง นี้เป็นเวลาประมาณ ๒ เดือนเศษ และเสด็จออกว่าราชการที่ท้องพระโรงหลังนี้ด้วย


    อาคารท้องพระโรง พระราชวังเดิม


    ๒. เก๋งคู่ริมประตู ลักษณะเป็นเก๋งจีน ๒ หลังตั้งคู่กัน เก๋งนี้สร้างตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี กล่าวกันว่าหลังในเป็นที่บรรทมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ส่วนหลังหน้าไม่ปรากฏประวัติการใช้สอย

    ๓. ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศาลที่เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ทรงสร้างขึ้นแทนศาลหลังเก่าที่พังทลายลงมา

    ๔. ตำหนักเก๋งของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตำหนักที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์

    พระราชวังเดิมได้เป็นที่ประทับของพระราชวงศ์ที่สำคัญมาตลอดจนถึงสมัยรัชกาล ที่ ๕ เมื่อพระองค์ทรงจัดตั้งโรงเรียนนายเรือขึ้น ได้ทรงเห็นว่า พระราชวังเดิมตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะจึงได้พระราชทานให้เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนนายเรือ ตราบจน
    พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงได้เปลี่ยนเป็นกองบังคับการกองทัพเรือและกรมการเงินทหารเรือ ปัจจุบันคือที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือ
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    พระบรมนามาภิไธย สิน
    พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี
    ครองราชย์ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕
    ระยะครองราชย์ ๑๕ ปี
    รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
    รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    วัดประจำรัชกาล วัดอินทารามวรวิหาร
    พระราชสมภพ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗
    (อ้างข้อมูลตามจดหมายเหตุโหร)
    สวรรคต ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕
    พระราชบิดา นายไหฮอง แซ่แต้ (鄭鏞)
    พระราชมารดา กรมสมเด็จพระเทพามาตย์ (พระนามเดิม นางนกเอี้ยง)
    พระมเหสี สมเด็จกรมหลวงบาทบริจา (สอน)
    พระราชโอรส/ธิดา ๓๐ พระองค์

    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๕ ปี (รวมกับระยะเวลาที่กอบกู้เอกราชอีก ๑ ปี) เสด็จสวรรคตในวันพุธ แรม ๑๓ ค่ำเดือน ๕ จ.ศ. ๑๑๔๔ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ รวมสิริพระชนมมายุ ๔๘ พรรษา

    พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่ การกอบกู้เอกราชจากพม่า และการทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น และขับไล่พม่าออกจากราชอาณาจักร นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูความเจริญประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม ได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆ เช่น จีน อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ โปรดฯ ให้มีการสร้างถนนและขุดคลอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม นอกจากนั้นยังทรงส่งเสริมทางด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรม

    เนื่องจากพระองค์ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทยเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันที่ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ให้เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรียังมีมติให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"

    ข้อมูลจาก: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...B8%B2%E0%B8%8A
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 27-12-2009 at 13:16.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  4. #4
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ไม่มีองค์ตากสิน..ก็สิ้นชาติ

    เจ้าพระยาไหลเรื่อยอย่างเฉื่อยช้า

    เก็บน้ำตาเคยนองเปี่ยมสองฝั่ง

    ไฟสงครามไม่ปรานี..คือจีรัง

    จนคนไทยแทบไร้หวัง..ทั้งแผ่นดิน



    เอกราช..ชาติสิ้น..แผ่นดินเดือด

    ยังคงแลกด้วยเลือดไม่เหือดสิ้น

    ไทยรอดพ้น..เสียดินแดนทั้งแผ่นดิน

    หลายศพดิ้น..นอนเคียงอยู่เรียงราย


    ไม่มีองค์ตากสิน..ก็สิ้นชาติ

    เอกราชจ่อมจมล่มสลาย

    หอบลูกหลานเซซัดกระจัดกระจาย

    ทั้งเวียงวัดวอดวายกลายเป็นจุณ



    แม้องค์พระยังวอดวาย..กลายเป็นเถ้า

    หลายคนเอาอกประทับรับกระสุน

    แต่อีกหลายยังเป็นผู้ไม่รู้คุณ

    ป่วนสายเลือดไทยกรุ่น ให้วุ่นวาย



    เพราะคนไทยไม่รักกันในวันก่อน

    แผ่นดินร้อนแดงเดือดไม่เหือดหาย

    ใช้มือไทย..ดาบไทย..ไว้ทำลาย

    แม้ไม่ตาย..เหมือนถูกฝัง..ตายทั้งเป็น



    และหากไม่รักกันในวันนี้

    อาจไม่มีชาติไทยเหลือให้เห็น

    จะเสียเลือดอีกกี่หยาดสาดกระเซ็น

    อีกกี่ความลำเค็ญ..จะเป็นไป



    แม้พระเจ้าตากสิน..มีวิญญาณ

    คงสะท้านทุกเหตุการณ์..ที่หวั่นไหว

    หากคนไทยไม่จดจำตำนานไว้

    จะไม่มีแผ่นดินไทยให้เหยียบยืน

    **************


    28 ธันวาคม ร่วมรำลึกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ anna
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    112
    ขอบคุณจ้ายาย สำหรับประวัตท่าน นาอ่านแล้วก็ปลื้ม ขอบคุณยายหลายเด้อจ้า

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •