กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: ต้นตะโกนา

  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    ต้นตะโกนา

    ต้นตะโกนา

    ชื่อท้องถิ่น: ตะโกนา, โก

    ชื่อพฤกษศาสตร์: Diospyros rhodocalyx

    ตระกูล(วงศ์): KurzEBENACEAE

    พบในเขตที่: 4

    คำบรรยายลักษณะ :
    ลักษณะพืช ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร เปลือกลำต้นสีดำและแตกเป็นสะเก็ดหนาๆ ยอด อ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย
    ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวสลับ ก้านใบยาว 3-7 มม. ใบรูปไข่ รูปไข่กลับหรือรูปข้าวหลามตัด ฐานใบมน หรือสอบเป็นรูปลิ่ม ปลายใบมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบ ระยะใบอ่อนผิวท้องใบมีขนนุ่มปก คลุม ก้านใบและใบอ่อนมีขนปกคลุม
    ดอก เป็นพืชแยกเพศต่างต้น(dioecious) ต้นตัวผู้ ดอกตัวผู้ ดอกช่อ cymose เกิดที่ซอกใบ ช่อละ 2-3 ดอก ก้านช่อดอกยาว 1-2 มม. ก้านดอกย่อยยาว 0.5-1 มม. เส้นผ่าศูนย์กลางดอกบาน 2-4 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียว โคนกลีบติดกันปลายแยกเป็น 4 แฉก กลีบยาว 3-4 มม. ผิวกลีบด้านนอกมีขนนุ่ม ด้านในมีขนยาวกว่า กลีบดอก 4 กลีบ สีขาวแกมเหลือง กลีบติดกันเป็นรูปแจกัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มม. ยาว 8-12 มม. ตอนปลายกลีบแยกกัน ผิว กลีบเรียบ เกสรเพศผู้ จำนวนมากประมาณ 14-16 อัน ก้านชูอับเรณูมีขนแข็งๆ มีร่องรอยของรังไข่อยู่ตรงกลางดอก และมีขนเล็กๆคลุม ต้นเพศเมีย ดอกเพศเมีย เกิดเป็นดอกเดี่ยวที่ซอกใบ มีกลีบคล้ายกับดอกตัวผู้แต่มีกลีบเลี้ยง ขนาดใหญ่กว่าประมาณ 4 เท่า กลีบดอกขนาดใหญ่กว่าประมาณ 2 เท่า เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary สี เขียว 4 ห้องๆละ 1 ออวุล ก้านเกสร 1 อัน มีขนคลุม ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก มีร่องรอยของเกสรเพศผู้เป็น ก้านแข็งๆ 8-10 เส้น
    ผลและเมล็ด ผลสด แบบ berry รูปกลมหรือรูปไข่ เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-2.5 ซม. ผลอ่อนมีขนสีน้ำ ตาลแดงคลุมผิว ผลแก่ขนจะหายไปและมีสีผิวเหลืองแกมแดง เมล็ดรูปร่างยาวรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 มม. เมล็ดมี เนื้อเยื่อสด(pulb)สีขาวล้อมรอบ

    ต้นตะโกนา

    ตะโก เป็นต้นไม้ไทยแท้ ๆ เป็นพรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย ได้รับการตั้งชื่อโดย ศาสตราจารย์ Kurz มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Diospyros rhodocalyx Kurz. ขึ้นกระจายตามป่าเพญจพรรณหรือป่าเหล่า (ป่าเพิ่งฟื้นตัว) ทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 40-300 เมตร ผิวเปลือกของตะโกจะแตก ๆ มีสีดำ

    แต่ลูกตะโกมีประโยชน์มากกว่านั้นเพราะนอกจากตอนสุกจะกินได้แล้ว (ถึงไม่อร่อยก็เถอะ) ลูกอ่อนสามารถใช้เป็นสีย้อมผ้า เนื่องจากมีสารฝาดชื่อแทนนินอยู่สูง ช่วยทำให้สีติดเนื้อผ้าแน่น ทนทาน

    ตะโกยังเป็นไม้เนื้อเหนียวจึงนิยมใช้เป็นไม้ดัด ตะโกดัด เป็นไม้ที่ใช้ตกแต่งบ้านเรือนมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ ดังจะเห็นได้จากกวีที่บรรยายตอนนางวันทองสั่งเรือนว่า "ตะโกนาทิ้งกิ่งประกันยอด แทงทวยทอดอินพรมนมสวรรค์ บ้างผลิดอกออกช่อขึ้นชูชัน แสงพระจันทร์จับแจ่มกระจ่างตา"


    ในแง่ของคุณค่าของการเป็นยาสมุนไพร ตะโกเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้คนมีอายุยืนยาว ชาวบ้านทั่วไปจะใช้เปลือกต้นตะโก ผสมเปลือกต้นทิ้งถ่อน หัวแห้วหมู เมล็ดข่อย เม็ดพริกไทยแห้ง เถาบอระเพ็ดอย่างละเท่ากันดองเหล้ากิน หรือต้มกินก็ได้


    เปลือกต้น ตะโกยังใช้ต้มกับเกลืออมแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน ทำให้ฟันทนทาน
    เปลือกผล เผาเป็นถ่าน แช่น้ำกินขับระดูขาว ขับปัสสาวะ
    รากต้นตะโก ต้มน้ำกินแก้โรคเหน็บชา โรคกษัยไตพิการ น้ำเหลืองเสีย แก้ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนใน
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มเหงาคนไกลบ้าน
    วันที่สมัคร
    May 2008
    กระทู้
    2,307
    พี่ปุ้ยผมเคยเอามาตำยุครับแต่ต้องใส่บักส้มหลายๆๆย้อนมันฝาดใส่มดแดงกะใด่ใส่บักขาม้อยกะใด่ครับแซบคือกัน:g:g

  3. 30-08-2012, 21:08

  4. #3
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มลาวสาวขะแมร์
    วันที่สมัคร
    Aug 2012
    ที่อยู่
    รังสิต
    กระทู้
    558
    เพิ่มรูปต้นบักโกครับ









    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หนุ่มลาวสาวขะแมร์; 15-10-2012 at 16:12.

  5. 30-08-2012, 21:15

  6. #4
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าววิทย์
    วันที่สมัคร
    Jun 2006
    กระทู้
    754
    :*- แต่ก่อนอยู่นาบ่าววิทย์กะเคยมีอยู่.มักกินเวลาสุก.แต่ว่ามดแดงหลายคัก..
    [*] สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์
    [*] เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
    [*] ทำเนียบกองทุนเว็บไซต์ บ้านมหา

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •