ใครมีสิทธิใช้บัตรทอง

ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 5 กำหนดให้ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ ซึ่งบุคคลในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทย

ดังนั้น ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้

ตัวอย่างบุคคลที่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ เช่น

1.ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดาที่ไม่มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย

2.ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว

3.ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ

ทำอย่างไรถึงได้บัตรทอง
ต่างจังหวัด ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
- สถานีอนามัย
- โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้านหรือ
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
กรุงเทพมหานครติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
- สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้านเปิดให้บริการในวันจันทร์- ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
- ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพชั้น M สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล 200 ม.4 ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี11120 เปิดให้บริการในวันจันทร์- ศุกร์ตั้งแต่ เวลา08.30 – 16.30 น รถประจำทางที่ผ่าน คือ
รถประจำทางสาย: 52 . 356 ,150 , 166
รถประจำทางปรับอากาศสาย : 356 , 166
รถตู้ประจำทางสาย : ปากเกร็ด-จตุจักร
ปากเกร็ด-อนุสาวรีย์ชัสมรภูมิ
ปากเกร็ด-ม.รามคำแหง
ปากเกร็ด-มีนบุรี
ปากเกร็ด-รังสิต

ใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้
หากเป็นเด็กต่ำอายุต่ำกว่า15ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่

กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน
ให้แสดงหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
2. หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
3. หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
4. เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำ ใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้าน ฯลฯ ที่แสดงว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ จริง

แจ้งย้ายบัตรทอง
ผู้ที่ถือบัตรทองสามารถขอย้ายสถานพยาบาลต้นสังกัด ได้ปีละ 2 ครั้งกรณีที่มีการย้ายที่อยู่อาศัย เช่น ไปทำงาน หรือไปเรียนต่อเป็นเวลานานๆ ถ้าคิดว่าเวลาเจ็บป่วยจะไม่สามารถกลับมาใช้สิทธิรักษาที่สถานพยาบาลต้นสังกัดได้ ควรแจ้งย้ายบัตรทองเพื่อความสะดวกในการรับเข้ารับการรักษาการแจ้งยายสามารถแจ้งที่ต้นสังกัด หรือแจ้งย้ายที่ปลายทางก็ได้
สิทธิที่ได้รับความคุ้มครอง
การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการควบคุมโรค
1. การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
2. การดูแลสุขภาพเด็กพัฒนาการและภาวะโภชนาการ รวมถึงการให้ภูมิคุ้มกันโรคตามแผนงานการให้ภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ
3. การตรวจสุขภาพประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง
4. การวางแผนครอบครัว (ยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ห่วงอนามัย ยาฝังคุมกำเนิด และการทำหมันถาวร)
5. ยาต้านไวรัสเอดส์กรณีป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่ตั้งครรภ์สู่ลูก
6. การเยี่ยมบ้านและการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
7. การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว
8. การให้คำปรึกษา(counseling) และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ
9. การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การแนะนำด้านทันตสุขภาพ การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ รวมทั้งการเคลือบหลุมร่องฟัน

บริการด้านการตรวจวินิจฉัย
1. การตรวจ การวินิจฉัยการรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษาทั้งนี้ รวมถึงการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2. การคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง (กรณีบุตรคลอดแล้วรอดออกมามีชีวิต)โดยนับตั้งแต่ใช้สิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
3. ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ
4. การถอนฟันการอุดฟัน การขูดหินปูน การทำฟันปลอมฐานพลาสติก การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนมและการใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
5. ยาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
6. การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ

บริการทางการแพทย์ที่ผู้มีสิทธิไม่ได้รับความคุ้มครอง
♦กลุ่มบริการที่เกินความจำเป็นพื้นฐาน
1.การรักษามีบุตรยาก
2. การผสมเทียม

3. การเปลี่ยนเพศ

4. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

5. การตรวจวินิจฉัย และรักษาใดๆที่เกินความจำเป็นและไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

6. การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง

♦กลุ่มบริการที่มีงบประมาณจัดสรรเป็นการเฉพาะ

7. โรคจิต กรณีที่ต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในเกินกว่า 15 วัน

8. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยาเสพติด

9. อุบัติเหตุการประสบภัยจากรถและผู้อยู่ในความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองประสบ
ภัยจากรถเฉพาะส่วนที่บริษัทหรือกองทุนตามกฎหมายนั้นต้องเป็นผู้จ่าย หลังจากใช้สิธิ พ.ร.บ.
ครบจึงจะสามารถใช้สิทธิ
♦ กลุ่มบริการอื่นๆ
10. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากการแทรกซ้อน หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
11. การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไต (Peritoneal Dialysis) และการฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
12. การเปลี่ยนอวัยวะ (Organ Transplant)

ตรวจสอบสิทธิบัตรทอง
ตรวจสอบสิทธิข้าราชการ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ สปสช.


หลังวันที่ 1 ตุลาคม 2548 สำนักงานหลักประกันสุขภาพประกาศว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีสิทธิที่จะได้รับยาต้านไวรัสในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ผู้มีบัตรทอง) ในความจริงเป็นอย่างไร ผู้ติดเชื้อทุกคน ใครก็ได้ เมื่อเดินไปที่โรงพยาบาล จะได้รับยาต้านไวรัสเลย อย่างนั้นหรือไม่ คนที่กินยาอยู่แล้ว จะมีสิทธิรับยาต่ออย่างไร คงเป็นคำถามในใจเพื่อนผู้ติดเชื้อหลายคน
ใครที่จำเป็นต้องกินยาต้านไวรัส....
การดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี เป็นแนวทางการรักษาที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีภูมิต้านทาน(ซีดี 4) ต่ำลง จะมีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆได้ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็อาจเสียชีวิตได้
ยาต้านไวรัส เป็นยาที่ใช้เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือด เมื่อจำนวนเชื้อไวรัสลดลงจะมีผลให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานมากขึ้นได้ ทำให้ลดการเจ็บป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสต่างๆ
ยาต้านไวรัส(สำหรับผู้ใหญ่) จะเป็นประโยชน์ในกรณี...
1) ผู้ติดเชื้อที่มีโรคฉวยโอกาส เช่น เชื้อราเยื่อหุ้มสมอง ,ฝีในสมอง ,ปอดอักเสบจากเชื้อพีซีพี ,วัณโรคนอกปอด,MAC ,CMV
2) ผู้ติดเชื้อที่มีอาการ หรือโรคฉวยโอกาส เช่น เชื้อราในปาก/หลอดอาหาร ,วัณโรคปอด ,พีพีอี ,ท้องเสียเรื้อรัง เป็นต้น และมี ซีดี 4 น้อยกว่า 250 ร่วมด้วย
3) ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือโรคฉวยโอกาส แต่ ซีดี 4 น้อยกว่า 200
ผู้ที่มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งข้างต้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ดังนั้นจึงไม่ใช่ผู้ติดเชื้อทุกคนที่จำเป็นต้องกินยาต้านไวรัส
อย่างไรก็ตาม การกินยาต้านไวรัสก็มีหลายอย่างที่ผู้ติดเชื้อต้องเผชิญ และต้องเป็นคนพิจารณาและตัดสินใจเองว่าพร้อมที่จะรับยาต้านหรือยัง เพราะการกินยาต้านต้องเคร่งครัดเรื่องการกินตรงเวลา กินต่อเนื่องตลอดชีวิต กินๆหยุดๆไม่ได้ เพราะจะเกิดการดื้อยา ผู้ติดเชื้อบางคน เมื่อกินยาต้าน อาจมีโอกาสเกิดการแพ้ยาหรืออาจมีอาการข้างเคียงได้ (การแพ้ยา และอาการข้างเคียง สามารถจัดการได้)
การกินยาที่ถูกต้อง ต่อเนื่อง และตรงเวลา เป็นหัวใจสำคัญของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสให้ได้ผล
สิทธิประโยชน์ ในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ ครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง
· สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อหรือไม่
ผู้ที่ไม่รู้ผลเลือดตัวเอง และมีความกังวลใจ สงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี สามารถขอรับบริการให้คำปรึกษาและ การตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ ถ้าไปตรวจเลือดและผลเป็นลบคือ ไม่ติดเชื้อ ควรได้รับบริการปรึกษาเพื่อส่งเสริมการป้องกันต่อไป เช่น สามารถขอรับถุงยางอนามัยได้ที่หน่วยบริการ
· สำหรับผู้ตรวจเลือดแล้วพบว่า ติดเชื้อเอชไอวี
1.1 สามารถรับการตรวจหาจำนวนภูมิต้านทาน (CD4) เพื่อประเมินภาวะสุขภาพและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม โดยจะได้รับการตรวจซีดี 4 ทุก 6 เดือน เมื่อมีโรคฉวยโอกาส หรือภูมิต้านทานเริ่มต่ำลง จะได้รับ การตรวจวินิจฉัย การป้องกัน/ดูแลรักษาโรคฉวยโอกาส และ ถ้าอยู่ในเกณฑ์ การรักษาด้วยยาต้านฯ มีสิทธิที่จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านฯ
สิทธิเกี่ยวกับยาต้านไวรัสเอชไอวีจะครอบคลุม
ทั้งสูตรพื้นฐานและสูตรสำรองกรณีดื้อยา
ทั้งเคยกินยาต้านมาก่อนและไม่เคย
ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ (กรณีเด็ก มีรายละเอียดเรื่องเกณฑ์การรับยาที่ต่างจากผู้ใหญ่)
“ดังนั้น คนที่กินยาอยู่แล้ว หรือเคยกินยามาก่อน ควรจะบอกข้อมูลกับแพทย์ทั้งหมด เพื่อจะได้หาสูตรยาที่เหมาะสมได้ (การปิดบังว่าเคยกินยามาก่อน อาจส่งผลให้ไม่ได้รับสูตรยาที่เหมาะสม ทำให้การรักษาไม่ได้ผล)”
· สูตรพื้นฐานประกอบด้วย (ข้างล่างเป็นชื่อยาต้านไวรัสเอชไอวี)
d4T + 3TC + NVP
AZT + 3TC + NVP
d4T + 3TC + EFV
AZT + 3TC + EFV
d4T + 3TC + IDV /r
AZT + 3TC + IDV/ r
กรณีที่มีอาการข้างเคียงหรือการแพ้ยา มีตัวเลือกให้เพิ่มจากโครงการนภา คือ ddI NFV
· ยาที่สามารถเลือกใช้ในสูตรสำรองกรณีดื้อยา ประกอบด้วย
NRTI : AZT 3TC d4T ddI
PI : IDV /r, SQV/r, LPV/r
ปรับสูตรตามผลการตรวจเชื้อดื้อยา โดยเริ่มพิจารณาใช้สูตรยาที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าก่อน และหากใช้ไม่ได้ ค่อยปรับเป็นสูตรที่มีความเหมาะสมต่อไป
1.2 ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านฯจะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้
- การตรวจซีดี 4 หรือภูมิคุ้มกัน เพื่อติดตามผลการรักษา ทุก 6 เดือน
- ตรวจหาจำนวนเชื้อไวรัส (ไวรัลโหลด) 6 เดือนหลังเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส(หรือเริ่มยาสูตรใหม่) จากนั้นปีละ 1 ครั้ง หรือ มีข้อบ่งชี้ว่าการรักษาด้วยยาต้านฯอาจไม่ได้ผล เช่น ซีดี 4 ลดลงมากกว่า 30% จากระดับที่เคยสูงสุดหลังเริ่มกินยาต้านไวรัส มีโรคฉวยโอกาสเกิดขึ้นหลังการรักษาด้วยยาต้านฯ
- ตรวจหาเชื้อดื้อยา ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีจำนวนเชื้อไวรัสสูงกว่า 1,000 และผู้ป่วยไม่มีปัญหาการกินยาอย่างต่อเนื่อง ถูกต้อง ตรงเวลา แต่ถ้ามีปัญหากินยาไม่ต่อเนื่อง ต้องแก้ปัญหาเรื่องการกินยาก่อน แล้วตรวจไวรัลโหลดซ้ำอีกครั้ง ถ้ายังคงสูงเกิน 1,000 จึงตรวจหาเชื้อดื้อยา และ ปรับสูตรยาต้านฯ
- การตรวจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ตรวจการทำงานของตับ,ตรวจความเข้มข้นของเลือด เป็นต้น
1.3 จัดให้มีบริการให้คำปรึกษาและแจกถุงยางอนามัยเพื่อการป้องกัน
ใช้สิทธิ รับบริการ ได้ที่ไหน..อย่างไร
1. คนที่กินยาต้านฯอยู่แล้วในโครงการนภาของกระทรวงสาธารณสุข
(โครงการการเข้าถึงบริการ ยาต้านไวรัสเอดส์ระดับชาติสำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์)
.....คนที่มีบัตรทอง แต่ปัจจุบันไม่ได้รับยาอยู่ในโรงพยาบาลที่ตนเองมีสิทธิ จะต้องเลือกดำเนินการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
· หากต้องการรับบริการต่อที่โรงพยาบาลที่รับยาอยู่ปัจจุบัน
- ให้ทำเรื่องขอย้ายสิทธิบัตรทอง มาที่โรงพยาบาลนั้น หรือ
- ติดต่อขอใบส่งตัวจากหน่วยบริการที่ระบุในบัตรทอง ให้ส่งตัวมารับบริการที่โรงพยาบาลที่รับยา

หากต้องการกลับไปรับบริการตามสิทธิบัตรทอง ให้ขอประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลที่รับยาปัจจุบัน ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลตามบัตร
.....คนที่มีสวัสดิการอื่น เช่น ประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการ ให้รีบดำเนินการติดต่อขอใช้สิทธิของตนเอง โดยในช่วงการประสานงาน จะยังได้ยาจากโครงการจนกว่าจะรับยาที่โรงพยาบาลตามสิทธิได้
.....คนที่ไม่มีบัตรทอง และไม่มีสวัสดิการอื่นๆ ให้รีบดำเนินการขึ้นทะเบียนทำบัตรทองโดยเร็ว เพื่อจะได้มีสิทธิรับบริการ
2. คนที่ยังไม่ได้รับบริการหรือไม่ได้รับยา ให้ไปเริ่มใช้บริการตามหน่วยบริการที่ระบุในบัตรตามสิทธิของตนเอง อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่มีสิทธิบัตรทอง ไม่สะดวกใจ หรือ ไม่พร้อมไปรับบริการที่โรงพยาบาลตามบัตร มีสิทธิย้ายหน่วยบริการได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ปกติของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ
การขึ้นทะเบียน
· ต่างจังหวัด แจ้งได้ที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลของรัฐ
· กรุงเทพฯ ขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตทุกเขต หรือโรงพยาบาลของรัฐ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่สายด่วน 1330
สนใจ...รับคำปรึกษาได้ที่ไหนบ้าง
ผู้ที่ทราบผลการติดเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าท่านจะทราบมานานแล้ว หรือเพิ่งทราบ ท่านสามารถติดต่อขอรับบริการปรึกษาที่หน่วยบริการที่ท่านมีสิทธิอยู่ในเรื่องต่างๆ เช่น การป้องกันดูแลโรคฉวยโอกาส การดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัส การปรึกษาด้านสังคม การปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
ในหน่วยบริการบางแห่ง (โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลจังหวัด) มีการทำงานร่วมกันระหว่างแกนนำ กลุ่มผู้ติดเชื้อที่พร้อมให้บริการปรึกษา ให้ข้อมูลการดูแลรักษาสุขภาพ และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกันกับครอบครัวและชุมชน หรือการติดตามเยี่ยมบ้าน ติดตามผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัส บริการนี้เรียกว่า “ศูนย์บริการแบบองค์รวม” ซึ่งขณะนี้มีศูนย์ทั้งสิ้น 170 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งอีกประมาณ 4-5 ปีข้างหน้า จะสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหน่วยบริการ
สอบถามขอข้อมูลกลุ่มผู้ติดเชื้อได้ที่
สำนักงานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย 02-377 5065
เครือข่ายผู้ติดเชื้อในระดับภาค
ภาคเหนือตอนบน 053-304-045 ภาคเหนือตอนล่าง 055-214-209
ภาคอีสาน 043-330-715
ภาคกลาง 02-377-5021
ภาคตะวันออก 038-608-094-6
ภาคใต้ 074-423-113-4
ภาคตะวันตก 034-612 972
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ 02-372-2222
ตั้งแต่บ่ายสามโมงถึงสองทุ่ม ทุกวัน

http://puiamata.igetweb.com/index.php?mo=3&art=118258