รถเมล์พลังน้ำ..ฝันที่ต้องฝ่าฟัน





รถเมล์พลังน้ำ..ฝันที่ต้องฝ่าฟัน
นายประสิทธิ์ โพธสุธน
ทดลองสมรรถนะรถต้นแบบพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง
ผลงานของนักวิทยาศาสตร์ไทย รับทุนจากสภาวิจัยแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551



รถเมล์พลังน้ำ..ฝันที่ต้องฝ่าฟัน
รถต้นแบบเซลล์เชื้อเพลิง จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่






รถเมล์พลังน้ำ..ฝันที่ต้องฝ่าฟัน




กมธ.วิทยาศาสตร์ ผลักดันรถพลังน้ำ (เซลล์เชื้อเพลิง) ผลงานคนไทย ทั่วโลกใช้งานเป็นรถโดยสารแล้ว 4 ประเทศ ลุ้นไทยจ่อคิวลำดับ 5 แซงจีน-ญี่ปุ่น
นางนิลวรรณ เพชระบูรณิน โฆษกคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือ ร่วม 4 คณะกรรมาธิการวุฒิสภาว่า ที่ประชุมได้หยิบยกถึงความเป็นไปได้ที่จะผลักดันให้ผลิตและใช้รถโดยสารสาธารณะเชื้อเพลิงไฮโดรเจน หรือเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของคนไทย
"การนำรถพลังงานไฮโดรเจน ซึ่งคนไทยมีความสามารถผลิตได้เองมาใช้งานจริง ทำให้เกิดนวัตกรรมที่ช่วยต่อยอดงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง" โฆษกกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการประชุมในครั้งต่อไป เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนจากที่ประชุม โดยการพัฒนาเทคโนโลยีรถพลังงานเชื้อเพลิงขึ้นเองในประเทศ ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง แต่ขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้บริโภคมากกว่า
สำหรับประสิทธิภาพของรถเซลล์เชื้อเพลิง ทีมวิจัยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อผลิตเซลล์เชื้อเพลิง และทดสอบใช้งานจริง พบว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรถโดยสาร 1 คัน จะใช้แบตเตอรี่เซลล์เชื้อเพลิง 2 ลูก ลูกละ 10 กิโลวัตต์ ราคาต้นทุนที่ผลิตได้ในประเทศประมาณ 10 ล้านบาท ยังคงต่ำกว่านำเข้า ซึ่งราคา 20 ล้านบาทต่อคัน








อ้างอิง : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552