เกาะตาชัย..กาลาปากอสแห่งประเทศไทย





เกาะตาชัย..กาลาปากอสแห่งประเทศไทย


เกาะตาชัย..กาลาปากอสแห่งประเทศไทย


เกาะตาชัย..กาลาปากอสแห่งประเทศไทย


เกาะตาชัย..กาลาปากอสแห่งประเทศไทย


เกาะตาชัย..กาลาปากอสแห่งประเทศไทย


เกาะตาชัย..กาลาปากอสแห่งประเทศไทย




เมื่อ 5,000 ปีก่อน เกาะตาชัย จังหวัดพังงา ถูกน้ำทะเลท่วมจนแยกจากแผ่นดินใหญ่ สิ่งมีชีวิตบนเกาะถูกตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่ เช่นเดียวกับกาลาปากอส

ร้อยกว่าปีก่อน ตอนที่ชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาออกเดินทางสำรวจโลกด้วยราชนาวีบีเกิล และแวะที่เกาะกาลาปากอสปี 2378 เขาสังเกตเห็นนกฟินซ์บนเกาะกาลาปากอส มีจะงอยปากแตกต่างจากนกฟินซ์ที่ชิลี ยืนยันทฤษฎีการคัดสรรตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ที่จำเป็นต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงอยู่

นอกจากนกฟินซ์บนเกาะกาลาปากอสแล้ว ยังมีอีกหลายชนิดที่มีวิวัฒนาการไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น พืชกินแมลง จุลินทรีย์ รวมถึงหอยบางชนิดที่ต่างปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอด

เช่นเดียวกับ หอยมรกต บนเกาะตาชัย จังหวัดพังงา ที่ ศ. ดร.สมศักดิ์ ปัญหา รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังเกตเห็นขนาดตัวหอยเล็กลงเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพอาหารที่ขาดแคลนบนเกาะห่างไกล

แม้แต่อวัยวะภายในก็เปลี่ยนแปลงไปจากสปีชีส์เดิม รวมถึงอวัยวะสืบพันธุ์เล็กลง จนไม่สามารถผสมพันธุ์กับหอยทากสปีชีส์ดั้งเดิมได้ การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทำให้หอยมรกตเริ่มแยกออกเป็นสปีชีส์ย่อย และกลายเป็นสปีชีส์ใหม่ที่สมบูรณ์ และผลงานค้นคว้าดังกล่าวได้รับยอมรับและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Evolutionary Biology และ Zoological Science ปี 2550

เมื่อหลายล้านปีก่อน เกาะตาชัยยังคงเป็นผืนดินที่เชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่ของประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อ 4,000-5,000 ปีที่ผ่านมา น้ำทะเลสูงขึ้นและได้ท่วมเข้ามาจนเกิดอ่าวไทย แผ่นดินและภูเขาสูง จนกลายเป็นเกาะแก่งจำนวนมาก เกาะตาชัยเป็นเกาะหนึ่งที่แยกจากแผ่นดินใหญ่ ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่แยกออกจากแผ่นดินใหญ่กลายเป็นเกาะ มีทะเลเป็นกำแพงธรรมชาติขวางกั้น ทำให้หอยทากบนเกาะตาชัยถูกตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่โดยสิ้นเชิง และน้ำทะเล หรือความเค็มคือปัจจัยสำคัญที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อหอยทาก

ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการจึงค่อย ๆ เริ่มขึ้น เกาะขนาดเล็ก อยู่ห่างฝั่ง ทรัพยากรอาหารมีน้อย ลักษณะสัณฐานของเปลือกหอยทากที่พบเริ่มเปลี่ยนจนมีขนาดเล็กกว่าเดิม ขณะเดียวกันอวัยวะภายในเริ่มเปลี่ยนไปจากสปีชีส์เดิม คือ มีขนาดที่เล็กลง สั้นลง และรายละเอียดบางอย่างของอวัยวะสืบพันธุ์ต่างออกไป

ทำให้หอยบนเกาะตาชัยไม่สามารถผสมพันธุ์กับหอยทากสปีชีส์เดิม คือ Amphidromus atricallosus atricallosus (Gould, 1843) ได้อีก หอยมรกตจึงเริ่มแยกออกเป็นสปีชีส์ย่อย ซึ่งกำลังจะกลายเป็นสปีชีส์ใหม่ที่สมบูรณ์ในอีกไม่กี่สิบปี หรือไม่กี่ร้อยปีข้างหน้านี้

"การค้นพบหอยหอยมรกต ที่มีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม เทียบได้กับการพบนกฟินซ์บนเกาะกาลาปากอสของชาร์ลส์ ดาร์วิน" ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (ไบโอเทค) สวทช. กล่าว

การค้นพบหอยมรกตในประเทศไทย เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ฉายภาพให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการอยู่เสมอ ตั้งแต่ความหลากหลายจนถึงการกระบวนการเกิดสปีชีส์ใหม่ได้อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับ ทฤษฎีวิวัฒนาการนกฟินซ์ ของชาร์ลส์ ดาร์วิน

หอยมรกตยังสะท้อนให้ถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี เพราะหอยทากเหล่านี้แม้จะเป็นสัตว์ในสปีชีส์เดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างอย่างชัดเจนทั้งในเรื่องของสี และการหมุนเวียนของเปลือกหอยที่มีทั้งเวียนซ้ายและเวียนขวา เป็นลักษณะจำเพาะที่ถูกควบคุมโดยโครงสร้างทางพันธุกรรมที่เรียกว่า ยีน และยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พวกมันผ่านกระบวนการคัดสรรโดยธรรมชาติและอยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้







เกาะตาชัย..กาลาปากอสแห่งประเทศไทย





[radio]http://www.freewebs.com/mummy001/SungKlamSongsarn%20Karakade[/radio]