การปฏิวัติในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์
ตอนที่ 2



ตอน บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้อง



1 สมเด็จพระนารายณ์


การปฏิวัติในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ตอนที่ 2


สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ในสายตาคนต่างชาติจะมีพระพักตร์
ออกแนวแขกเปอร์เซีย ทรงพระมาลาเป็นผ้าโพก



2 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14



การปฏิวัติในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ตอนที่ 2



พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ฉลองพระองค์เต็มยศแบบพระมหากษัตริย์ในแถบยุโรป
คือมีพระมหามงกุฎอยู่ข้างๆ และมีฉลองพระองค์คลุม




3 ออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน) หรือ โกษาปาน


การปฏิวัติในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ตอนที่ 2


ออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน) หรือ โกษาปาน
ในภาพใส่เสื้อสีแดงซึ่งเป็นภาพที่ชาวฝรั่งเศสเป็นคนวาด
ใส่ลอมพอก คือผ้าที่พันในกรวยขนาดใหญ่ประดับด้วยดอกไม้ไหว
และดอกไม้เพชร ใส่เสื้อครุย เหน็บกริช ซึ่งเป็นอาวุธที่ได้
รับอิทธิพลจากเปอร์เซีย




4 ฟอลคอน หรือ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์

การปฏิวัติในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ตอนที่ 2



การปฏิวัติในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ตอนที่ 2



ฟอลคอน หรือ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ซึ่งเป็นคนชาติกรีกโดยกำเนิด
เคยรับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ตำแหน่งสูงสุดคือ
สมุหนายก ตามประวัติ เมื่อตอนเด็กมีปัญหาทางครอบครัวจึงขอไปทำงาน
ที่อังกฤษด้านการค้าเนื่องจากอยากเดินทางรอบโลก จนเดินทางมาถึงมะริดซึ่ง
เป็นเมืองประเทศราชของไทยในสมัยนั้น จากนั้นจึงเข้ามาอยุธยาในปี
พศ. 2224 จากนั้นอีก 8 ปี ฟอลคอนจึงมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการงานมาก
ที่สุด โดยฟอลคอนสามารถใช้ลายเซ็นในการทำสนธิสัญญาลงนามต่างๆ
ทั้งสัญญาลับ และสัญญาไม่ลับ โดยสัญญาลับเป็นสัญญาที่แสดงให้เห็นถึงตัวตน
และความไม่ชอบมาพากลในตัวของฟอลคอนว่าตัวเขาต้องการอะไรกันแน่ในอยุธยา




5 สมเด็จพระเพทราชา


สมเด็จพระเพทราชา หรือพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม
ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา
เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ ๒๘ ของอาณาจักรอยุธยา พระเพทราชา
เดิมเป็นสามัญชนชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี
(ปัจจุบันคือ บ้านพลูหลวงตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี)
ต่อมาได้รับราชการในวังโดยรับตำแหน่งสูงเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัย
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษก
โดยหลวงสรศักดิ์ (สมเด็จพระเจ้าเสือ) ซึ่งเชื่อว่าเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์
ขุนนาง อำมาตย์พร้อมกันกราบทูลเชิญขึ้นครองราชย์ ในปี พ.ศ. ๒๒๓๑
ด้วยพระชนมพรรษา ๕๖ พรรษา เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๔๖
พระชนมพรรษา ๗๑ พรรษา