พิธียกเสาเอก

พิธี ยกเสาเอก คือพิธียกเสาต้นใดต้นหนึ่งที่กำหนดให้เป็นเสาเอกลงหลุมตาม เวลาฤกษ์อันเป็นมงคลแห่งการสร้างอาคารบ้านพักอาศัย โดยส่วนมากใช้ประกอบพิธีในการ สร้างอาคารบ้านพักอาศัยของเอกชน ไม่ใช้ประกอบพิธีในการสร้างอาคารใหญ่ ๆ (จะใช้ประ กอบพิธีวางศิลาฤกษ์) ของทางศาสนาหรือทางราชการ เช่นศาลาการเปรียญ ศาลากลางจังหวัด เป็นต้น (บางแห่งนิยมประกอบพิธียกเสาเอกด้วยก็มี) จุดประสงค์ของการทำพิธีก็เพื่อให้อาคาร เหล่า นั้นเกิดความถาวรมั่นคงและผู้อยู่อาศัยอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป โดยมีการเตรียมการและ ปฏิบัติการ ดังนี้

ขั้นที่ ๑ เตรียมการ
๑. เครื่องสังเวยเทพยดา ๑ ชุด ประกอบด้วย
- หมูนอนตอง ๑ ชิ้น
- ไก่และเป็ดต้ม อย่างละ ๑ ตัว พร้อมน้ำจิ้ม
- ปลา กุ้ง ปู อย่างละ ๑ จาน
- ขนมหวาน (ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน ถ้วยฟู ฯลฯ)
- ฟักทองแกงบวด ๑ ถ้วย
- ผลไม้ตามฤดูกาล ๑ ถาด
- ถั่วเขียว งาดำ อย่างละ ๑ ถุง
- กล้วยน้ำว้า ๒ หวี มะพร้าวอ่อน ๒ ผล
- บายศรีปากชาม ๑ คู่
- สุรา ๑ ขวด น้ำเย็น ๑ แก้ว พวงมาลัย ๑ พวง
- กระถางธูป เชิงเทียน

๒. เครื่องบูชาเสาเอก
- พวงเงิน พวงทอง (ห่อเงิน – ทอง หรือพวงมาลัยแห้งสีเงิน – ทอง)
- ผ้าสามสี (สีประจำเดือน ๑๒ เดือน (ในเดือนประกอบพิธี) คือเดือน ๑ (อ้าย) เดือน ๒ (ยี่) เดือน ๓ ฯลฯ เดือนใดเดือนหนึ่ง สีประจำวัน ๗ วัน (ในวันประกอบพิธี) คือ วัน อาทิตย์ - วันเสาร์ วันใดวันหนึ่ง และสีประจำวันเกิดของผู้เป็นเจ้าของบ้าน รวมเป็น ๓ สี)
- ทองคำเปลว ๓ แผ่น
- หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ ๑ ต้น
- ผ้าขาวม้า ๑ ผืน
( บางรายนิยมยกเสาโทด้วย ให้จัดเครื่องบูชาเสาโทเหมือนเครื่องบูชา เสาเอก แต่ไม่ต้องจัด เครื่องมงคลใส่ก้นหลุม)

๓. ขุดหลุมลึกประมาณ ๑ เมตร กว้าง x ยาว ๑ เมตร

๔. เครื่องมงคลใส่ก้นหลุม
- ไม้มงคล ๙ ชนิด คือ ไม้ขนุน ไม้ชัยพฤกษ์ ไม้ราชพฤกษ์ ไม้สัก ไม้ไผ่สีสุก ไม้พะยูง ไม้ทองหลาง ไม้กันเกรา ไม้ทรงบาดาล
- ใบเงิน – ทอง – นาก อย่างละ ๙ ใบ
- เหรียญเงิน – ทอง อย่างละ ๙ เหรียญ
- ข้าวตอก ดอกไม้ ๑ พาน

ขั้นที่ ๒ พิธีกรปฏิบัติ
๑. จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ครูพักลักจำ เชิญมา บริหารพิธีการให้ประสบความสำเร็จ
๒. ทำน้ำมนต์ธรณีสาร (ตามบททำน้ำมนต์ในตอนท้าย)
๓. ประพรมผู้ทำน้ำมนต์เอง ๓ หยด และดื่มเล็กน้อย
๔. ประพรมเครื่องสังเวย เสาเอก และบริเวณสถานที่ทั้งหมด
ขั้นที่ ๓ เจ้าภาพ-พิธีกรปฏิบัติ
๑. เจ้าภาพจุดธูปเทียน (ธูป ๑๖ ดอก เทียน ๑ คู่) และธูปหางเท่าจำนวนเครื่อง สังเวย
๒. พิธีกรกล่าวโองการบวงสรวงเทพยดา จบแล้ว
๓. เจ้าภาพคล้องพวงเงิน – พวงทอง ปลายเสาเอก ปิดทอง ๓ แผ่น ผูกผ้าสามสี ผูกหน่อกล้วย อ้อย ผูกผ้าขาวม้า ตอกไม้มงคล ๙ ชนิด วางใบเงิน – ทอง – นาก และเหรียญ เงิน – ทอง ก้นหลุม เมื่อถึงกำหนดเวลาฤกษ์ ให้ยกเสาเอกลงหลุม พร้อมกับเปล่งเสียงโห่
๓ ครั้ง ต่อด้วยโปรยข้าวตอกดอกไม้ เป็นอันเสร็จพิธี ฯ

หมายเหตุ
๑. นำหน่อกล้วย อ้อย ไปปลูกในเวลาเย็น
๒. การ กำหนดจุดเสาเอก เสาเอกควรอยู่ด้านทิศตะวันออกหรือทิศตะวันออก เฉียงเหนือ ห้ามเป็นจุดที่ใกล้กับบันไดหรือใกล้ห้องน้ำ ถ้าอยู่บริเวณกับห้องนอนของเจ้าของ บ้านหรือห้องรับแขกเป็นดีที่สุด
๓. การประกอบพิธีผูกผ้าสามสี กำหนดให้ใช้
๓.๑ สีประจำวันของการประกอบพิธี
๓.๒ สีประจำเดือนของการประกอบพิธี
๓.๓ สีประจำวันเกิดของประธานในพิธี
หากสีประจำวันเกิดของประธานในพิธีตรงกับสีประจำวันและเดือนของการประ
กอบพิธีให้ใช้สีขาวหรือแดงแทน โดยที่สุดถ้ายังมีปัญหาตามมาอีก ก็ให้ใช้สีแดง ขาว และน้ำ เงินเป็นหลัก (ธงไตรรงค์)

น้ำมนต์ธรณีสารน้อย ( ให้กระทำก่อนประกอบพิธีการใด ๆ)
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ครูพักลักจำ ขอให้มา บริหารพิธีการในวันนี้จงสำเร็จทุกประการ
- ( สาธุ) สัคเค กาเม จะ รูเป ฯลฯ (อัญเชิญเทวดามา)
- นะโม ๓ จบ ไตรสรณคมน์ , พุทธคุณ , ธรรมคุณ , สังฆคุณ
เสร็จแล้วให้หยดเทียนน้ำมนต์ และบริกรรมคาถา ดังนี้
“ สิโร เม พุทธะเทวัญจะ , นะลาเฎ พรัหมะเทวะตา , หะทะยัง นารายะกัญเจวะ , ทะเว หัตเถ ปะระเม สุราปาเท , วิสสะนุกัญเจวะ , สัพพะกัมมา ปะสิทธิ เม , สิทธิกิจจัง , สิทธิกัมมัง , สิทธิการิยะตะถาคะโต , สิทธิเตโช , ชะโย นิจจัง , สัพพะสิทธี ภะวันตุ เม ”
- ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา , สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
- ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา , สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
- ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา , สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
- ใช้น้ำมนต์ประพรมศีรษะตัวเอง ๓ หยด แล้วดื่มนิดหน่อย ต่อจากนั้นประพรม เครื่องสังเวยทั้งหมด เสร็จแล้วอัญเชิญเทวดากลับ ด้วยบทว่า ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ฯลฯ



พิธีพุทธาภิเษก

พิธี พุทธาภิเษก คือพิธีการปลุกเสกประจุพุทธคุณลงในวัตถุมงคล (ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ หน้า ๗๙๕ และพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุด “ คำวัด ” โดยพระธรรมกิตติวงศ์ หน้า ๗๐๐) โดยใช้พุทธคุณซึ่งมีอยู่ในบทพุทธปริตร หรือ บทพุทธมนต์ หรือโดยใช้สมาธิจิตที่เกิดจากปฏิบัติกรรมฐาน ประจุลงในวัตถุมงคล ต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปจำลอง รูปจำลองพระเกจิอาจารย์ พระบรมรูปจำลองพระมหากษัตริย์-พระราชวงศ์ รูปเทพเจ้า รูปผู้ที่ควรสักการบูชา ปูชนียวัตถุต่าง ๆ ฯลฯ มิได้หมายถึงพิธีการปลุกเสกเฉพาะพระพุทธรูป จำลองอย่างเดียวดังนั้นไม่ว่าจะปลุกเสกวัตถุมงคลประเภทใดเรียก ว่าพิธีพุทธาภิเษก เหมือนกันหมด โดยเรียกชื่อพิธีตามวัตถุมงคลนั้น ๆ เช่น พิธีพุทธาภิเษก พระพุทธพรประทานราชนาวี พิธีพุทธาภิเษกพระบรมรูปจำลองสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช พิธีพุทธาภิเษกรูปจำลององค์จตุคามรามเทพฯลฯ และมีความเชื่อว่าวัตถุมงคลที่ผ่านพิธีพุทธา ภิเษกแล้วย่อมกลายเป็นวัตถุมงคลที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถป้องกันภัยอันตรายและ ให้เกิดความ สวัสดีมีชัยได้
ปัจจุบันมีศัพท์เรียกพิธีกรรมดังกล่าวงอกขึ้นใหม่และนำมาเรียก ใช้กันทั่วไป เช่น พิธีมังคลาภิเษก พิธีเทวาภิเษก เป็นต้น โดยอาจมีความประสงค์ให้เรียกชื่อพิธีตรงตามวัตถุ มงคลนั้น ๆ ดังนี้
- พิธีพุทธาภิเษก คือพิธีปลุกเสกพระพุทธรูปจำลอง และรูปจำลองพระเกจิ อาจารย์ทั้งหลาย
- พิธีมังคลาภิเษก คือพิธีปลุกเสกพระบรมรูปจำลองพระมหากษัตริย์
- พระราชวงศ์ เช่น สมเด็จพระปิยมหาราช พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นต้น
- พิธีเทวาภิเษก คือพิธีปลุกเสกรูปจำลองเทพเจ้าต่าง ๆ เช่น พระพรหม องค์ จตุคามรามเทพ พระพิฆเณศร์ เป็นต้น
บาง กรณีนำวัตถุมงคลต่าง ๆ มาปลุกเสกในคราวเดียวกันก็มักเรียกพิธีรวมกันก็มี เช่น พิธีพุทธมังคลาภิเษก พิธีพุทธเทวาภิเษก พิธีมังคลเทวาภิเษก เป็นต้น ศัพท์ที่ใช้เรียกพิธี ีตามวัตถุมงคลต่าง ๆ ดังกล่าวแม้จะไม่ตรงกับคำเดิมที่ให้ใช้คำว่า พิธีพุทธาภิเษก แต่พิธีการ ปฏิบัติเหมือนกันทุกพิธี

พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลทุกประเภท มีหลักการปฏิบัติดังนี้
๑. เครื่องใช้ในพิธี
๑.๑ โต๊ะหมู่บูชา พร้อมดอกไม้ธูปเทียน
๑.๒ เครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์
- เครื่องรับรองพระสงฆ์เช่นเดียวกับงานมงคลทั่วไป
- ตั่ง/ที่นั่งพระมหาเถระประธานฝ่ายสงฆ์
- อาสน์สงฆ์พระเจริญพระพุทธมนต์ ๙ รูป (พิธีหลวงหรือพิธีทาง ราชการ ๑๐ รูป)
- อาสน์สงฆ์พระสวดภาณวาร ๔ รูป
- ตั่ง / ที่นั่งพระเกจิอาจารย์ / พระเถระภาวนาจารย์ ๙ รูป (หรือตามความประสงค์) จัดให้นั่งรอบวัตถุมงคล
๑.๓ เครื่องประกอบพิธีพุทธาภิเษก
- เทียนวิปัสสี ไส้เกินอายุผู้จุด ๑ เล่ม
- เทียนมหามงคล หนัก ๘ บาท ๒ เล่ม
- เทียนนวหรคุณ หนัก ๑ บาท ๙ เล่ม

- เทียนเงินเทียนทอง ๒ เล่ม
- เทียนชัย ไส้ ๑๐๘ เส้น หนัก ๘๐ บาท สูงเท่ากับเจ้าของพิธี ๑ เล่ม (ปักในตู้เทียนชัย)
- เทียนพุทธาภิเษก หนัก ๓๒ บาท ๒ เล่ม
- เทียนที่เครื่องกระบะมุก ๑ ชุด
- ขันสาครใส่น้ำมนต์ ๒ ใบ (ปักเทียนพุทธาภิเษกไว้ตรงกลาง)
- สายสิญจน์รอบปริมณฑล ขึงเป็นตาข่ายห่างกัน ๑ ช่วงแขน
- ฉัตรขาว ๕ ชั้น ๖ ต้น ขนาดความสูงตามความเหมาะสม ปัก ๔ มุม และซุ้มประตูทางเข้า
- ราชวัติ ๔ มุม (๘ ข้าง ยาวข้างละ ๑ เมตร)
- โต๊ะวางวัตถุมงคลพร้อมปูผ้าขาว ขนาดโต๊ะสูงกว่าที่นั่งพระสงฆ์ตาม สมควร
- พลู ๗ ใบ ซ้อนกันสำหรับดับเทียนชัย
- บาตรใส่น้ำมนต์สำหรับพระเกจิอาจารย์/พระเถระภาวนาจารย์นั่งปรก ครบทุกรูป
๑.๔ เครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์ในพิธีทั้งหมด
๒. ลำดับพิธี
การ กำหนดลำดับพิธีแต่ละพิธีนั้นอาจจะแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับสถานที่และผู้ เป็นประธานในพิธี แต่ลำดับพิธีการปฏิบัติส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ในที่นี้ขอนำกำหนดการพิธีมังคลาภิเษกพระบรมรูปจำลองสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช(ขณะ นั้นเรียกพิธีมังคลาภิเษก) เมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๒ ณ ท้องพระโรง พระราชวังเดิมมาเป็นตัว อย่าง ดังนี้
กำหนดการ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีมังคลาภิเษกพระบรมรูปจำลองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ในวันเสาร์ที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.
ณ ท้องพระโรง พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร
..........................

เวลา ๑๔.๐๐ น. - ผู้ร่วมพิธีและผู้มีเกียรติพร้อมบริเวณท้องพระโรงชั้นนอก
- พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป ขึ้นสู่อาสน์สงฆ์

เวลา ๑๔.๐๕ น. - ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส ถึงบริเวณพิธี

เวลา ๑๔.๑๐ น. - ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานใน พระราชวังเดิม ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และผู้เกี่ยวข้องเฝ้ารับเสด็จฯ

เวลา ๑๔.๒๐ น. - สมเด็จพระสังฆราช เสด็จถึงบริเวณพิธี แล้วเสด็จไปประทับ ณ ที่รับ รองบริเวณท้องพระโรงชั้นนอก
- ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาสจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วเข้าเฝ้า ถวายเครื่องสักการะ แด่สมเด็จพระสังฆราช
- พระเถระประธานสงฆ์ให้ศีล จบ
- ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กล่าวถวายราย งานแล้วกราบทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราชทรงเจิมและทรงจุดเทียนชัย
- สมเด็จพระสังฆราช ทรงเจิมและทรงจุดเทียนชัย (ประธานมูลนิธิ อนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิมถวายกระปุกแป้งเจิมและเทียนชนวน ขณะทรงจุดเทียน ชัย พระสงฆ์เจริญคาถาจุดเทียนชัย พนักงานพราหมณ์ประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร ดุริยางค์)
- พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
- ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม จุดเทียนวิปัสสี เทียนมหามงคลและเทียนนวหรคุณ (ขณะพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ขึ้นบท พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฯลฯ)
- สมเด็จพระสังฆราช ทรงนั่งอธิษฐานจิต เจริญบริกรรมภาวนา
- พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบ
- ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส ถวายเครื่องไทยธรรมแด่สมเด็จพระ สังฆราช
- ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม ถวายเครื่อง ไทยธรรมแด่พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ทั้ง ๑๐ รูป
- พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส และประธานมูลนิธิ อนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กรวดน้ำ
- ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กราบทูลเชิญ เสด็จประพรมน้ำพระพุทธมนต์
- สมเด็จพระสังฆราช ทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้ และเสด็จกลับ (ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม และผู้เกี่ยวข้อง ส่งเสด็จ)
- พระสวดภาณวาร ๔ รูป และพระเถระภาวนาจารย์ ๙ รูป เข้านั่งประจำ ที่
- ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิมจุดเทียนที่เครื่อง กระบะมุก และเทียนพุทธาภิเษกที่ขันสาคร ข้างตู้เทียนชัย
- พระสวดภาณวาร สวดคาถาพุทธาภิเษก
- พระเถระภาวนาจารย์ นั่งปรก จบ
เวลา ๑๕.๒๙ น. - พระเถระภาวนาจารย์อาวุโส ประกอบพิธีดับเทียนชัย (พระสงฆ์เจริญ คาถาดับเทียนชัย)
- ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสวดภาณวารและพระเถระภาวนาจารย์
- พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ร่วมพิธีกรวดน้ำ
- เสร็จพิธี

ที่มา : นาวิกศาสตร์ ISSN 0125-4324 ปีที่ 91 ฉบับที่ 12