กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ประวัติของกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ประวัติของกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

    ประวัติของกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
    ฐานันดรศักดิ์ พระองค์เจ้า

    ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี

    ประสูติ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2400

    สวรรคต 3 เมษายน พ.ศ. 2465

    พระชนก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    พระชนนี เจ้าจอมมารดาพึ่ง

    ประวัติย่อ

    เป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งราชวงศ์จักรี กับเจ้าจอมมารดาพึ่ง ประสูติเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2400 พระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าชายชุมพลสมโภชได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ใน พ.ศ. 2428 และเป็นกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พ.ศ. 2455 สิ้นพระชนม์วันที่ 3 เมษายน 2465 ในรัชกาลที่ 6 พระชันษา 66 ปี เป็นต้นราชกุล "ชุมพล"

    ข้าหลวงต่างพระองค์
    ร.ศ. 112 โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลาวกาวประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี ต่อมามณฑลาวกาวนี้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2442 และเปลี่ยนเป็นมณฑลอีสาน ใน พ.ศ. 2443 พื้นที่ที่เรียกว่ามณฑลอีสานเดิมนั้นตรงกับพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคามซึ่งเป็นพื้นที่ที่เสด็จในกรมทรงปกครองเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ (มณฑลอีสานแยกเป็น 2 มณฑลคือ อุบลราชธานี กับร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ 2455)
    ข้าหลวงต่างพระองค์นั้นเป็นตำแหน่งสำคัญที่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าข้าหลวง ข้าหลวงพิเศษอุปราชหรือสมุหเทศาภิบาล เพราะคำว่า "ต่างพระองค์" มีความหมาย "ต่างพระเนตรพระกรรณ" และสำเร็จราชการ ก็มีความหมายถึง "ความสำเร็จเด็ดขาดที่ได้รับมอบจากองค์พระเจ้าแผ่นดิน" อันได้แก่ "การบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกร คือความสมบูรณ์พูนสุขอยู่ดีกินดี" ตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์นี้เท่าที่ปรากฎทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มี 3 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

    เมื่อประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี
    เมื่อประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี แล้วได้ชายาเป็นชาวเมืองอุบลราชธานี 4 คน คือ นางเจียงคำ บุตรีท้าวสุรินทร์ชมภู - นางดวงจันทร์ มีพระโอรส 2 พระองค์ มีพระนามว่า หม่อมเจ้าอุปลีสาน และหม่อมเจ้ากมลีสาน
    ได้นางบุญยืน บุตรท้าวบุดดี - นางคำพ่วย เป็นชายา มีพระโอรสธิดา 3 พระองค์ พระนามว่า หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร จุฑาธุช หม่อมเจ้าฐิติศักดิ์วิบูลย์ หม่อมเจ้าธานี เสิกสงัด
    ได้นางปุก บุตรีนายขำ มีโอรสพระนามว่า หม่อมเจ้าชุมปกบุตร และได้นางเมียง มีโอรสชื่อ หม่อมเจ้าชปิยบุตร
    การที่ได้ท่านทั้งสี่เป็นชายานั้น นับเป็นความเหมาะสม เพราะสมัยนั้น กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการเสียดินแดนฝั่งชายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส เสด็จในกรมคงจะต้องคำนึงถึงความไม่แตกแยกความเกาะกลุ่มกลมกลืนของชาติ การได้ชาวพื้นเมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบุตรหลานของผู้เคยปกครองนครมาเป็นชายา ย่อมจะสร้างความจงรักภักดีต่อแผ่นดินแน่นอน

    ทรงทำคุณประโยชน์ให้เมืองอุบลราชธานี
    เสด็จในกรมประทับที่เมืองอุบลราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 ถึง 2353 จึงเสด็จนิวัติกลับกรุงเทพมหานคร รวมเป็นเวลาประทับอยู่ 17 ปี พระกรณียกิจที่ควรยกขึ้นกล่าวคือ
    1. การบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน เป็นต้นว่าการปกครองให้ประชาชนทำมาหากินโดยปกติสุข
    2. ด้านการพระศาสนา โปรดให้ตั้งวัดบูรพา และวัดสารพัดนึก วัดสารพัดนึกนั้น ตั้งขึ้นตาม พระนามสรรพสิทธิของพระองค์ท่านนั้นเอง
    3. การแตะโป้ ในสมัยนั้นการทำหลักฐาน เอกสาร หนังสือสำคัญ คำร้อง คำให้การการไต่สวนสอบสวยอรรถคดี บัญชีควบคุมนักโทษ ผู้ต้องหา ผู้ถูกกล่าวหา ผู้เขียนหนังสือไทยไม่ได้ เจ้าพนักงานจะใช้วิธีจับมือลง "แกงได้" พระองค์ทรงเห็นความไม่เป็นธรรมอาจเกิดขึ้นได้จึงให้เปลี่ยนมาใช้วิธี "แตะโป้" แทน คือ ให้เอาชาดแดงผสมน้ำมันทาหัวแม่มือขวา แล้วกดทับชื่อของตนที่พนักงานเขียนลงกระดาษ
    4. การพบเขาพระวิหาร ซึ่งเป็นปราสาทหินตั้งอยู่เขาพนมดงรักตะวันตกช่องโพย ช่องทะลายในอำเภออุทุมพรพิสัย ปัจจุบันอำเภอดังกล่าวอยู่ในเขตอำเภอกันทราลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้พบในสมัยเสด็จในกรม เมื่อ พ.ศ. 2441 โดยเสด็จด้วยพระองค์เอง และได้ประทานนามว่า "เทพพระวิหาร"
    5. การปราบผีบาปผีบุญ ซึ่งเกิดขึ้นในที่หลายแห่งหลายเมือง เมื่อ พ.ศ. 2444 เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย
    6. การมอบที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์ ที่ดินซึ่งเป็นที่สร้างโรงพยาบาล จังหวัดสรรพสิทธิประสงค์ในปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อที่ 37 ไร่ ที่เรียกกันว่า สวนโนนดง ก็ได้รับจากทายาทของเสด็จในกรมประทานให้
    7. การหาที่ดินไว้เพื่อใช้ประโยชน์ของทางราชการ ได้ทรงขอซื้อที่ดินซึ่งเป็นตระกูลของหม่อมเจ้าคำชายา เพื่อไว้เป็นประโยชน์แก่ราชการ แต่ในที่สุดหม่อมเจ้าคำกับญาติผู้ใหญ่ได้ถวายที่ดินโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ คือ
    1) ที่ดินปัจจุบันอันเป็นบริเวณที่ตั้งหลักเมือง สำนักงาน รพช. ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า และที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลหลังเก่าที่รื้อไปแล้ว
    2) ที่ดินปัจจุบันอันเป็นบริเวณสโมสรข้าราชการ สำนักงานธนาคารออมสิน สาขาอุบลราชธานี
    3) ที่ดินปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี (โรงเรียนนารีนุกูลเดิม)
    4) ที่ดินปัจจุบันอันเป็นบริเวณที่ตั้งศาลจังหวัดอุบลราชธานี ตลอดทั้งบริเวณบ้านพักผู้พิพากษา
    5) ที่ดินปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเดิมเป็นกรมทหาร และต่อมาเป็นที่ตั้งโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ก่อนที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชจะย้ายไปสร้างในปัจจุบัน

    ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.sakulthai.com/webboard/Qu...v.asp?GID=2390
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  2. #2
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา
    Mr.Reception
    สัญลักษณ์ของ คนตระการ...
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    4,209

    Re: ประวัติของกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

    ขอบคุณครับยาย ..บ้านจะของแท้ๆผมกะยังบ่อเคยฮู้ ผู้เฒ่านี่ข้อมูลดีเนาะ 55555

  3. #3
    มิสบ้านมหา 2010
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ เขมราฐ
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    กลางท่งเมืองเขมฯ
    กระทู้
    1,946

    Re: ประวัติของกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

    ขอบคุณค่ะยายหนู สำหรับข้อมูลดี ๆ :g:g

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •