อุดร ทองน้อย : ตะวันแดงยังส่องทาง


เมืองกุดชุมถือได้ว่าเป็นดินแดนของนักสู้แห่งอุดมการณ์ที่หาญกล้าทั้งด้านเมืองและวรรณกรรม ไม่น้อยหน้ากว่าถิ่นใด ผมจะเริ่มต้นจากพี่ใหญ่ท่านอุดร ทองน้อย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร สังกัดพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย เลือดนักสู้ลูกชาวนาแท้จากเมืองกุดชุม

ท่านอุดร ทองน้อย เกิดที่บ้านโนนยาง ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เข้ามาเรียนต่อที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หนึ่งในกลุ่มผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญในยุคก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เคยใช้ชีวิตในเขตป่าหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ก่อนที่จะคืนสู่เมืองพร้อมกับสร้างงานวรรณกรรมในรูปแบบกาพย์กลอน เรื่องสั้น บทละคร ความเรียง อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเคยทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในยุคหนึ่ง

เยือน  ถิ่นอำเภอกุดชุม  คนดีที่โลกไม่ลืม ^^_^^

เยือน  ถิ่นอำเภอกุดชุม  คนดีที่โลกไม่ลืม ^^_^^


ขออนุญาตนำภาพอดีต ส.ส. อุดร ทองน้อย และงานเขียนชุด "ทุ่งนา ป่าดอน นครคน" ของท่านมาลงในที่นี้

งานเขียนของท่านอุดร ทองน้อย บ่งบอกถึงอุดมการณ์แห่งยุคสมัยผ่านวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย อาทิ เช่น หมาเน่า อีแร้ง และแมลงวัน, คืนก่อนวันเก่า, ตามรอยเรอแดว, ทุงนา ป่าดอน นครคน, ต้องมีสักวัน, แมลงเม่า, ถังเหว่ยเวียตนาม, ตะวันแดงส่องทาง, ดวงมณีคำล้ำค่า และถือได้ว่าเป็นผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมอันล้ำค่า มิแตกต่างจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อปวงชนผู้ยากไร้ ปัจจุบันท่านยังคงยึดอาชีพทนายความและสร้างสรรค์งานด้านวรรณกรรมตลอดมา

เสียงจากหุบเขาพญาฝ่อ : เยี่ยม ทองน้อย

ถัดจากท่านอุดร ทองน้อย มาถึงพี่ใหญ่อีกท่านนามว่าครูเยี่ยม ทองน้อย ท่านบอกกับเพื่อนพ้องน้องพี่ได้อย่างภาคภูมิใจว่าเป็นลูกชาวนาจากบ้านโสกขุมปูน แห่งเมืองกุดชุมอย่างแท้จริง แม้ชีวิตในวัยเด็กจะไม่เป็นที่ประทับใจมากนัก แต่ว่าในวิถีชีวิตของคนเราใช่ว่าจะไร้ค่าเสมอไป แม้ว่าในวันนี้จะอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนถึงอำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ ยามเมื่อได้ฟังเสียงลมโตนภูคราใด หัวใจฮ่ำฮอนถึงบ้านเกิดอยู่เสมอ
เพื่อเรียนต่อชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนบ้านโนนยาง ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม และที่โรงเรียนแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นการเปิดโลกแห่งการอ่านสำหรับเด็กบ้านนอกอย่างเขา เมื่อมีโอกาสอ่านบางกอก ทานตะวัน ขวัญเรือน ชัยพฤกษ์ สามก๊ก ขุนช้าง-ขุนแผน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเขียนในเวลาต่อมา

จากร้อยคำร้อยกวีแห่งโสกขุมปูน ถึงไร่พิราบอาบเดือนเมืองกุดชุม

ผ่านจากพี่ใหญ่แห่งโสกขุมปูนผมจะได้เขียนถึงคนรุ่นใหม่ผู้สานต่ออุดมการณ์ชาวกุดชุมอีกสองท่านคือท่านสมชัย คำเพราะ ส่วนอีกท่านหนึ่งที่บล็อกเกอร์ tatuk ได้แนะนำไว้คือท่านโกเมศ มาสขาว เจ้าของไร่พิราบอาบเดือนเมืองกุดชุม นักสู้เพื่อมวลชนแห่งลุ่มน้ำมูน

เริ่มจากท่านสมชัย คำเพราะ ลูกบ้านโสกขุมปูน ผู้สืบสานอุดมการณ์ต่อจากนักคิด นักเขียนรุ่นพี่ ด้วยเป็นลูกครูใหญ่ในหมู่บ้าน จึงมีโอกาสดีกว่าเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน หลังจบจากโรงเรียนยโสธรพิทยาคมจึงเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแห่งจนสำเร็จนิติศาสตร์บัณฑิตอย่างสมใจในปี 2535


ด้านงานวรรณกรรมเริ่มฉายแววมาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าร่วมกับกลุ่มวรรณกรรมลำน้ำมูลเมื่อเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการสนับสนุนของครูเยี่ยม ทองน้อย ครั้นเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ทำกิจกรรมอยู่ชมรมอาสาพัฒนา-รามอีสาน ทำกิจกรรมการเมืองภาคประชาชนจนถูกจับกุมในคดีก่อความวุ่นวายในเมือง (คดีสนามหลวง) และศาลได้พิพากษายกฟ้องคดีในเวลาต่อมา

หลังเรียนจบมีโอกาสเข้ามาทำงานข่าวทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคหลายแห่งก่อนที่จะสอบเข้าทำงานเป็นปลัด อบต. นาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น แล้วย้ายมาที่ อบต.บ้านแฮด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภายหลังลาออกจากราชการจนได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งประธานสโมสรนักเขียนภาคอีสานในปี 2547 – 2549 รวมทั้งทำงานกิจกรรมทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการเมืองภาคประชาชนตามแต่โอกาสจะเอื้ออำนวย พร้อม ๆ กับประกอบอาชีพทนายความตามสาขาที่ร่ำเรียนมา ล่าสุดจบศึกษาระดับปริญญาโทจากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาพัฒนาสังคม จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่ามกลางความภาคภูมิใจของญาติพี่น้องและครอบครัว

เยือน  ถิ่นอำเภอกุดชุม  คนดีที่โลกไม่ลืม ^^_^^


คำร้อย ระวี นักเขียนนักพัฒนาจากโสกขุมปูน กุดชุม ยโสธร



ประสบการณ์ด้านวรรณกรรม เริ่มต้นจากเขียนกลอนเปล่า “ความใฝ่ฝันในคนหนุ่มสาว” ในนิตยสารสู่ฝันเมื่อปี 2531 และเรื่องสั้นเรื่องแรก “ความตายของคนสามัญ” ในนิตยสารสู่อนาคตรายเดือนในปี 2535 เรื่องสั้น “เหยื่อ” ได้รับรางวัลชมเชยการประกวดเรื่องสั้นรางวัล อ. ไชยวรศิลป์ ของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย เรื่องสั้น “ผู้เห็นเหตุการณ์” ได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์ในรวมเรื่องสั้นรางวัลช่อปาริชาต ปี 20002 เมื่อปี 2547 และเรื่องสั้น “ป่าเห็ดของแม่” ได้รับรางวัลโลกลูกสีเขียวครั้งที่ 6 ได้รับการตีพิมพ์และแปลเป็นภาษาลาวจากรวมเรื่องสั้น “สองฟากฝั่งของแม่น้ำ” โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน ส่วนนามปากกาที่ใช้คือ คำร้อย ประกายเรือง, คำร้อย ระวี, และคำร้อย คำ

ประยงค์ มูลสาร : ตำนาน “คำอ้าย” แห่งบ้านวังเดือนห้า

รถขบวนขันหมากจากเมืองริมโขงของพวกเราทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์จากบ้านโสกขุมปูนถึงบ้านโสกน้ำขาวบนเส้นทางสายกุดชุม – ทรายมูล ผมมีข้อสังเกตว่าชื่อของหมู่บ้านในภาคอีสานมักจะมีคำว่า “โสก” “โคก” “โนน” “หนอง” “ห้วย” นำหน้าชื่อหมู่บ้านอยู่เสมอ

คำว่า “โสก” ในภาษาอีสานนั้นมีความลักษณะคล้าย ๆ กับลำห้วย แต่มีระยะทางไม่ยาวนักจึงเรียกกันว่า “โสก” โสกน้ำขาวในในอดีตน่าเป็นโสกที่มีน้ำสีขาวขุ่นอยู่เป็นแน่แท้จึงเรียกเป็นชื่อหมู่บ้านในเวลาต่อมา เช่นเดียวกันกับหมู่บ้าน “โสกขุมปูน” น่าจะเป็นโสกที่มีปูนขาวอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกชื่อหมู่บ้านตามลักษณะภูมิประเทศในอดีต

เยือน  ถิ่นอำเภอกุดชุม  คนดีที่โลกไม่ลืม ^^_^^


โรงนา ลอมฟาง ทางเปลี่ยว บนเส้นทางสายกุดชุม - ทรายมูล ฉากหนึ่งในนวนิยาย "คำอ้าย"

งานเขียนของยงค์ ยโสธรมีทั้งบทกวี เรื่องสั้น และนวนิยาย เช่น รอยเวลา, นิราศแม่, คำอ้าย, พืชพันธุ์แห่งการต่อสู้ (บทกวีประกอบภาพร่วมกับเพื่อนกวีแห่งยุคสมัย รวี โดมพระจันทร์, สถาพร ศรีสัจจัง, สุรชัย จันทิมาธร), พิชิตเถิด พิชิตข้า ชะตาเอ๋ย ไขแสง สุกใส (งานเขียนรวมกับเพื่อนนักเขียนเพื่อร่วมไว้อาลัยไขแสง สุกใส) โดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง “คำอ้าย” นั้นได้รับรางวัลวรรณกรรมบัวหลวง เมื่อปี 2532 นับเป็นเกียรติประวัติสำหรับนักเขียนจากบ้านโสกน้ำขาวนามว่า “ยงค์ ยโสธร”

“ไผ่ พงศธร” เป็นชาวบ้านสร้างแต้ ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร มีชีวิตเหมือนฝันจากลูกวงคณะหมอลำขอข้าว “ทรัพย์พิณทอง” ในสมัยเรียนหนังสือชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนโพนงามวิทยาที่บ้านเกิดตระเวณลำขอข้าวจากหมู่บ้านต่าง ๆ จนเรียนจบจึงเข้ามาเผชิญโชคที่กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร มาช่วยพี่สาวขายลาบอยู่แถวเขตราษฎร์บูรณะ พร้อมกับความหวังในการเป็นนักร้องตามที่หัวใจปราถนา

เยือน  ถิ่นอำเภอกุดชุม  คนดีที่โลกไม่ลืม ^^_^^

เหมือนชะตาฟ้าลิขิตเมื่อมีโอกาสรู้จักกับหยก ลูกหยี ได้สนับสนุนทำเดโมเพลงไปเสนอค่ายเพลงต่าง ๆ จนได้เป็นนักร้องในสังกัดแกรมมี่โกล์ด กับผลงานเพลงชุดแรก “ฝนรินในเมืองหลวง” จนประสบผลสำเร็จ ภายใต้การสร้างสรรค์งานของนักแต่งเพลงชื่อดัง ว่าจะเป็นครูสลา คุณวุฒิ, ครูวสุ ห้าวหาญ และครูสิงห์เฒ่า ทุ่งขี้เหล็ก โดยมีผลงานเพลงล่าสุด “อยากมีเธอเป็นแฟน” ที่กำลังโด่งดัง ปัจจุบันได้รับทุนสนับสนุนเข้าศึกษาต่อในโครงการช้างเผือกของมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจและการจัดการ เป็นความฝันสูงสุดสำหรับนักร้องหนุ่มจากแดนไกลแห่งบ้านสร้างแต้ อำเภอกุดชุมคนนี้




เล่าเรื่องโดยหลานสาว ประยงค์ มูลสาร
เยือน  ถิ่นอำเภอกุดชุม  คนดีที่โลกไม่ลืม ^^_^^