แซมมวล มอร์ส : Samuel Morse



แซมมวล มอร์ส : Samuel Morse




เกิด วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1791
ที่รัฐแมสซาชูเซส (Massachusette) ประเทศสหรัฐอเมริกา
(United State of America)

เสียชีวิต วันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1872
ที่กรุงนิวยอร์ค (New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา
(United State of America)

ผลงาน
- คิดค้นรหัสมอร์ส ซึ่งใช้แทนตัวหนังสือในการส่งโทรเลข
- คิดค้นประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลข

มอร์สนักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์เครื่องโทรเลข
ซึ่งมีคุณประโยชน์อย่างมหาศาลในการสื่อสาร
ที่รวดเร็ว ซึ่งต่อมาโทรเลขถือว่าเป็นส่วนสำคัญ
ในชีวิตของมนุษย์เลยทีเดียว

มอร์สมีชื่อเต็มว่า แซมมวล ฟินเลย์ บรีส มอร์ส
(Samuel Finley Breeze Morse)

เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1791
รัฐแมศซาชูเซส ประเทศสหรัฐอเมริกา
บิดาของเขาชื่อว่า เจดิเดียทมอร์ส มีอาชีพเป็นนักบวช
และนักเขียน มอร์สเข้ารับการศึกษา
ขั้นต้นที่โรงเรียนแห่งหนึ่งซึ่งมีเจ้าของเป็นหญิงชรา
นามว่า มาดามแรนท์ ซึ่งเป็นคนเจ้าระเบียบ
และชอบลงโทษเด็ก ๆ ด้วยการใช้ปิ่นปักผม
จิ้มตามตัว ซึ่งมอร์สก็เป็นผู้หนึ่งที่เคยถูกลงโทษ
หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้วมอร์สได้
เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเยล (Yale University)
ในวิชาศิลปะ ซึ่งเป็นวิชาที่เขาชอบมากอีกทั้งเขา
ยังมีพรสวรรค์ในเรื่องนี้มาตั้งแต่เด็ก นอกจาก
วิชาศิลปะแล้วมอร์สได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยาย
เกี่ยวกับวิชาไฟฟ้า เคมี และฟิสิกส์ อย่างสม่ำเสมอ
แต่ก็ไม่ทำให้มอร์สมีความชำนาญด้านนี้มากนัก

ด้วยมอร์สมีความสนใจด้านศิลปะมากกว่า
อีกทั้งทางครอบครัวก็ให้การสนับสนุนด้านนี้ด้วย
ดังนั้นเมื่อมอร์สจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล
ในปี ค.ศ. 1810 เขาได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ
เพื่อศึกษาต่อทางด้านศิลปะ ในระหว่างที่มอร์สได้ศึกษาอยู่ที่
ประเทศอังกฤษเขาได้รับอุปการะจากเบนจามิน เวสต์
จิตรกรชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ที่
ประเทศอังกฤษแต่ถึงอย่างนั้นมอร์ส
ก็ได้รับความลำบากเพราะค่าใช้จ่ายสูง
ดังนั้นมอร์สจึงต้องทำงานให้กับทางสถาบันราชศิลป์
อีกทางหนึ่ง เพื่อแลกกับค่าใช้จ่ายใน
สถาบัน งานที่มอร์สต้องทำก็คือการสเกตช์ภาพ
อนุสาวรีย์แห่งหนึ่งด้วยชอล์กขาวและดำ


นอกจากนี้แล้วเขายังได้วาดภาพเพื่อขายสำหรับ
เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ต่อมามอร์สได้ปั้นรูป
เฮอร์คิวลิสด้วยดินเหนียวส่งเข้าประกวด
ตามคำแนะนำของศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง
ในสถาบันราชศิลป์ ซึ่งมอร์สได้รับรางวัลชนะเลิศ
เหรียญทองของสมาคมศิลป์อเดลฟี

แซมมวล มอร์ส : Samuel Morse

มอร์สยังคมทำงานด้านศิลปะต่อไป ในปี ค.ศ. 1813
ภาพเขียนสีน้ำมันชื่อว่า การตายของเฮอร์คิวลิส
(The Dead of Hercules) ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 ภาพ
ของงานนิทรรศการแสดงภาพของสถาบันราชศิลป์
ปัจจุบันภาพนี้ได้แสดงอยู่ใน

พิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยเยล
และในปี ค.ศ. 1815 ภาพเขียนสีน้ำมันของเขา
ได้ร่วมในงานนี้อีกครั้งหนึ่ง ภาพนี้มีชื่อว่า
การตัดสินใจของจูปีเตอร์ (The Decide of Jupiter)
หลังจากประสบความสำเร็จทางด้านศิลปะใน
ประเทศอังกฤษ มอร์สจึงตัดสินใจเดินทางกลับ
ประเทศสหรัสอเมริกาในปี ค.ศ. 1815


เมื่อกลับมาถึงประเทศสหรัฐอเมริกาเขา
ได้เปิดร้านจำหน่ายภาพเขียน (Gallery) แต่
ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก
จากนั้นเขาจึงรับวาดภาพเหมือน ซึ่งทำให้
เขามีชื่อเสียงมากขึ้นเพราะเขาได้วาดภาพเหมือน
ของบุคคลสำคัญหลายคนแต่ก็ไม่ทำให้ชีวิต
ความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น


ต่อมาในปี ค.ศ. 1818 มอร์สแต่งงานกับ
ลูกเครียเทีย พิคเคอร์ริ่ง วอคเกอร์ หลังจากแต่งงาน
แล้วมอร์สจำเป็นต้องหารายได้ จากงานอื่น เพราะรายได้
จากงานวาดภาพเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ
ต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว และเพราะเหตุนี้เขาและภรรยา
ต้องแยกกันอยู่ชั่วคราว โดยมอร์สได้เดินทางไปทำงาน
ที่เมืองนิวยอร์ค และได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักเขียน
และผู้บรรยายวิชาศิลปะในเมืองนิวยอร์ค

ในระหว่างที่ทั้งสองต้องแยกกันอยู่นี้เอง ต่อมาในปี ค.ศ. 1825
ภรรยาของมอร์สเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย
แต่การโทรคมนาคมในสมัยนั้นยังล้าช้า
ทำให้กว่าจะทราบข่าวก็ล่วงเลยไปหลายวันแล้ว
มอร์สรู้สึกเสียใจมาก และตั้งใจว่า จะหาวิธีส่งข่าวสาร
ให้ได้รวดเร็วกว่านี้ให้ได้สักวันหนึ่ง


หลังจากที่ภรรยาของเขาเสียชีวิตก็ทำให้มอร์สเศร้าโศก
เป็นอย่างมาก ดังนั้นในปี ค.ศ. 1829 จึงตัดสินใจเดินทาง
ไปยังประเทศอิตาลี และเดินทางกลับประเทศ
สหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1832 ระหว่าง
เดินทางกลับจากทวีปยุโรป มอร์สได้มีโอกาสรู้จักกับ
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าหลายท่าน
โดยเฉพาะชาร์ล เอฟ. แจ็คสัน (Charles F. Jaxkson)
นักเคมีชาวอเมริกัน ได้เป็นผู้ที่คอยตอบปัญหาเกี่ยวกับ
ไฟฟ้าให้กับผู้สนใจเสมอ ซึ่งมอร์สก็เป็นผู้หนึ่งที่ใช้
ความสนใจเรื่องนี้เป็นอย่างมากและเป็นผู้หนึ่ง
ที่นั่งฟังคำบรรยายเกี่ยวกับไฟฟ้าเสมอ
นอกจากนี้แจ็คสันยังทำการทดลองอย่างง่าย
เกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับผู้โดยสารบนเรือได้ชม
โดยการใช้แท่งเหล็กพันด้วยลวดทองแดง
จากนั้นก็ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ลวดทองแดง
ปรากฏว่าแท่งเหล็กนั้นกลายเป็นแม่เหล็กชั่วคราว
โดยดูดตะปูเหล็กขึ้นมาได้ แต่เมื่อหยุดปล่อย
กระแสไฟฟ้าแท่งเหล็กก็จะกลายเป็นแท่งเหล็ก
ธรรมดา และตะปูก็หลุดร่วมลงบนพื้น

นอกจากนี้มอร์สได้เข้าร่วมฟังการสนทนาระหว่าง
นักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการนำกระแสไฟฟ้า
มาใช้ในการส่งข่าวสารในระยะไหล ดังนั้นมอร์ส
จึงใช้เวลาที่อยู่บนเรือร่างต้นแบบเครื่องส่งโทรเลขขึ้น

เมื่อมอร์สเดินทางมาถึงกรุงนิวยอร์คเขาเหลือเงินไม่มากนัก
จึงต้องรับจ้างเป็นครูสอนศิลปะตามบ้านและเวลาว่าง
ส่วนที่เหลือ เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ
เครื่องโทรเลข ต่อมาในปี ค.ศ. 1835 มอร์สได้เข้า
ทำงานมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค (New YorkUniversity)
ในตำแหน่งศาสตราจารย์ทางศิลปะ การทำงาน
ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้มอร์สไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน
แต่ได้รับสิทธิพิเศษในการเรียนวิชาใดก็ได้ใน
มหาวิทยาลัยแทน มอร์สเลือกเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
ซึ่งเข้ามีความรู้พื้นฐานมาบ้างแล้ว

แม้ว่ามอร์สจะมีเวลาน้อยลง แต่ะเขาก็คงพยายาม
ประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขต่อไปมอร์สต้องประสบปัญหา
หลายประการทั้งเงินทองและเวลา มอร์สใช้เวลาเฉพาะ
ช่วงกลางคืนเท่านั้นในการทำงาน เนื่องจากกลางวัน
เขาต้องทำงานในมหาวิทยาลัยอีกทั้งมอร์สไม่มีเงิน
เพียงพอที่จะใช้ซื้ออุปกรณ์ทีละมาก ๆ ทำให้ต้องซื้อ
ลวดทองแดงได้ทีละน้อย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ
ในการสร้างโทรเลข แต่ในที่สุดมาร์สก็สามารถ

แซมมวล มอร์ส : Samuel Morse

สร้างเครื่องส่งโทรเลขได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1837
ซึ่งเขาใช้ระยะเวลาถึง 5 ปี แต่การส่งโทรเลขนั้น
ไม่สามารถส่งเป็นตัวหนังสือได้ดังนั้นมอร์สจึงคิด
เป็นรหัสเพื่อให้แทนตัวหนังสือ โดยสร้างสวิตช์ไฟอย่างง่าย
ขึ้น ทำจากสปริงทองเหลือง ส่วนปลายมีปุ่มสำหรับ
กดซึ่งติดอยู่กับสปริงและแม่เหล็กไฟฟ้าอันเล็ก ๆ
เรียกว่า "อาร์เมเจอร์" และเมื่อกดปุ่มก็ทำให้กระแสไฟฟ้า
เดิน ถ้ายกมือออกจากปุ่มกระแสไฟฟ้าก็จะตัดสวิตช์ชนิด
นี้มีชื่อเรียกว่า "สะพานไฟของมอร์ส"

ซึ่งมีประโยชน์ในสำหรับส่งกระแสไฟฟ้าออกมาในช่วงสั้น
ช่วงยาว ซึ่งทำให้เกิดรหัสในการส่งสัญญาณโทรเลข เรียกว่า
"รหัสมอร์ส" คือ กดสั้น เป็นจุด ( . ) และ
กดยาวเป็นขีด ( _ ) ได้แก่


มอร์สได้แสดงการส่งโทรเลขครั้งแรกเมื่อ
วันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1873 ภายในห้องประชุมของทาง
มหาวิทยาลัยนิวยอร์คโดยมีระยะทางในการส่ง
ครั้งแรกเพียง 1,700 ฟุต แต่ถือว่าประสบความสำเร็จ
เพราะมีผู้คนเข้าชมอย่างมาก อีกทั้งการแสดงครั้งนี้
ทำให้มอร์สได้รับการสนุบสนุนเงินทุนในการพัฒนางาน
โทรเลขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากอัลเฟรด เวลล์
บุตรชายเจ้าของกิจการจำหน่ายเหล็กและทองเหลือง
ที่รัฐนิวเจอร์ซี มอร์สได้ปรับปรุงเครื่องโทรเลขให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น เขาได้นำผลงานชิ้นนี้เดินทางไปยัง
กรุงนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1838 เพื่อเสนอผลงานของเขาต่อ
สภาคองเกรส ซึ่งครั้งนี้มอร์สสามารถส่งโทรเลขได้
เป็นระยะทางถึง 10 ไมล์แต่ถึงอย่างนั้น สภาคองเกรสก็
ไม่ได้สนับสนุนเรื่องเงินทุนแก่เขา


มอร์สได้พยายามขออนุมัติเงินทุกจากสภาคองเกรสอีก
ครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1843 ซึ่งครั้งนี้ทางสภาคองเกรสได้
อนุมัติเงินให้เขาจำนวน 30,000 ดอลลาร์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
ในการวางสายโทรเลขจากกรุงวอชิงตันไปยังบัลติมอร์
รวมระยะทาง 38 ไมล์ ซึ่งการวางสายโทรเลขได้สำเร็จลง
ในปี ค.ศ. 1884 เมื่อวางสายโทรเลขเสร็จเรียบร้อย จึงมี
การทดลองส่งโทรเลขเป็นครั้งแรก
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 ใจความว่า
"พระเจ้าทำงานอะไร"
ส่วนปลายทางที่บัลติมอร์ตอบกลับ
มาว่า "เขียนที่สุดปลายทาง"

แซมมวล มอร์ส : Samuel Morse


ถือว่าการส่งโทรเลขครั้งแรกประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี
หลังจากนั้นกิจการโทรเลขก็ได้รับความนิยมอย่างมาก
ในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งต่อมาก็ได้เผยแพร่เข้ามาใน
ประเทศไทยด้วย จากผลงานประดิษฐ์เครื่องโทรเลขทำให้
มอร์สเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเขาได้เปิดบริษัทร่วมกับ
เวลล์ผู้ซึ่งเคยให้การสนับสนุนเขามาก่อน มอร์สยังได้
รับรางวัลจากกลุ่มประเทศยุโรปเป็นเงินถึง 40,000 ฟรังก์
นอกจากนี้เขายังได้รับเชิญจากสมาคมวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ
ใช้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอีกด้วย

มอร์สเสียชีวิตวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1872 ที่กรุงนิวยอร์ค
ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วย โรคปอดบวม ก่อนหน้าที่เ
ขาจะเสียชีวิต 1 ปี สมาคมโทรเลขแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
ได้สร้างอนุเสาวรีย์เป็นเกียรติแก่เขาที่สวนสาธารณะในเมืองนิวยอร์ค