14 เมษายน "วันแห่งครอบครัว"

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น
นายกรัฐมนตรีได้เสนอมติ โดยคุณหญิงบบสุพัตรา มาศดิตถ์]] รัฐมนตรีประจำสำนักนายก
รัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยและอนุมัติ ให้ วันที่ 14
เมษายน ของทุกปี เป็น “วันแห่งครอบครัว” ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทย เพราะโดย
ส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาศพบปะกันได้โดยสะดวก


1. ความหมายทั่วไป

บบพจนานุกรม]]ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า
"สถาบัน" และ "ครอบครัว" ไว้ดังนี้

สถาบัน หมายถึง สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคมจัดตั้งให้มีขึ้นเพราะเห็นประโยชน์
ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถี ชีวิตของตน เช่น สถาบันครอบครัว ฯลฯ

ครอบครัว หมายถึง ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร

2. ความหมายตามแนวบบพุทธศาสตร์

ครอบครัวตามแนวพุทธศาสตร์ ไม่มีการกำหนดตายตัว แต่กล่าวถึงลักษณะอันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น ในทางบบพุทธศาสนา]]จะกล่าวถึงครอบครัวในรูปของสามีภรรยา บิดา มารดา เท่านั้น ซึ่งถือว่า มารดา บิดาก็ดี สามี ภรรยาก็ดี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของครอบครัว

3. ความหมายในแง่สถาบัน

ครอบครัว หมายถึง การอยู่ร่วมกันของชายหญิง ในรูปของสามี ภรรยา มีหน้าที่ให้กำเนิดบุตรและเลี้ยงดูบุตร เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ สมาชิกในครอบครัวมีการแสดงออกทางพฤติกรรมต่อกันและกัน ในรูปของการปฏิบัติตามสถานภาพและบทบาทอันเป็นหน้าที่ของสมาชิก

ครอบครัว คือ สถาบันมูลฐานของมนุษยชาติ เป็นหน่วยงานขนาดเล็กที่สุดของสังคม เป็นผู้สร้างและกำหนดสถานภาพ สิทธิ หน้าที่ของบุคคลอันพึงปฏิบัติต่อกันในสังคม เป็น สถาบันแห่งแรกในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและพัฒนา ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัวให้มากขึ้น เพราะการที่วิถีชีวิตของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้ครอบครัวมีความขัดแย้ง และห่างเหินกันมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาทีหลังได้

ความเป็นมาของวันครอบครัว

สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปผลการศึกษาเรื่องปัญหาเด็กและเยาวชนว่า ปัญหาครอบครัวในปัจจุบันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้
เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ขึ้น จึงเห็นสมควรจัดให้มี “วันแห่งครอบครัว” ขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักในความสำคัญของครอบครัว และช่วยกันสร้างครอบครัวให้เกิดความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง

ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 อนุมัติในหลักการตามข้อเสนอของคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายสังคม ที่จะกำหนดให้ “วันแห่งครอบครัว” ขึ้น ส่วนการกำหนดให้วันใดเป็นวันแห่งครอบครัวและมีกิจกรรมใดบ้างนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์)

ในขณะนั้น ได้นำกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมรตรี ( พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ) เพื่อพิจารราอนุมัติและนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อรับทราบ พร้อมทั้งให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีโดยกำหนดให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว

เหตุที่รัฐบาลได้กำหนดให้ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันครอบครัว เนื่องจากวันที่ 13 เมษายน เป็นวันสงกรานต์ตามประเพณีไทย ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางกลับไปสู่ครอบครัว

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวที่พึงปฏิบัติต่อกัน

1. ให้ความรัก ความอบอุ่นและความเอื้ออาทรต่อกัน

2. หันหน้าเข้าหากันและยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

3. ช่วยเหลือ ดูแล เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน

4. ดูแลเอาใจใส่และให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น

5. รู้จักวางแผนการใช้จ่ายอย่างประหยัด/ไม่ฟุ่มเฟือย

6. รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน

7. ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวรวมกันเช่น การเข้าวัดอบรมปฏิบัติธรรมนำครอบครัวอบอุ่นครอบครัวสนุกกับห้องสมุด ศิลปะสุดสัปดาห์

หลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ง่าย ๆ สำหรับครอบครัวคือ ใช้หลัก 5 อ.

1. อ. อภัย เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำผิดพลาดไปบ้างให้นึกถึงคำว่าอภัยเสมอ และจะไม่นำเอาสิ่งที่ผิดพลาดนั้นมาพูดซ้ำเติมอีก

2. อ. เอื้อเฟื้อ สมาชิกทุกคนในครอบครัว ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่าคิดว่า
ไม่ใช่เรื่องของฉันไม่ใช่หน้าที่ของ ฉัน ฉันไม่เกี่ยวเช่น คุณพ่อซักผ้า แม่ถูบ้าน ลูกล้างจาน อย่าคิดว่าเป็นงานของใครคนใดคนหนึ่ง

3. อ. อารมณ์ขัน ฝึกให้มีอารมณ์ขันเสียบ้าง มีการกระเซ้าเย้าแหย่กันบ้างในบางโอกาสอาจเป็นทั้งพ่อทั้งแม่ เพื่อนและพี่สำหรับลูกก็ได้

4. อ. อดทน อดกลั้น อดออม ชีวิตครอบครัวที่จะต้องมี 3 อ นี้ด้วย อดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ในครอบครัวอดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือ
กิเลสที่มา กระตุ้นเราให้หลุ่มหลง และให้รู้จักอดออมเงินทองที่หามาได้แบ่งไว้ใช้เป็นสัด
ส่วน ส่วนที่หนึ่ง ใช้จ่ายในครอบครัวส่วนที่สองสำหรับการศึกษาของบุตร สวนที่สาม
สำหรับค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บไข้ ส่วนที่สี่บริจาคทานทำบุญสร้างกุศลไว้เป็นเสบียง เมื่อยามจะจากโลก นี้ไป แล้วอีกส่วนหนึ่ง เก็บออมไว้ใช้เมื่อยามแก่เฒ่า

5. อ. อบอุ่น เมื่อเราปฏิบัติได้ 4 อ. ข้างต้นแล้ว อ.ที่ 5 ก็จะตามมาอย่างแน่นอน คือ อบอุ่น เมื่อสมาชิก ทุกคนรู้หน้าที่และบทบาทของตัวเองแล้ว ชีวิตครอบครัวก็คงหนีไม่พ้นคำว่า “สุขภาพจิตเริ่มต้นที่บ้าน” ดังคำขวัญที่ว่าไว้อย่างแน่นอน

จากหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะเห็นได้ว่า สมาชิกทุกคนในครอบครัวต่าง
มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและความสำคัญไม่ยิ่ง หย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะการ
เสียสละเวลาแก่ครอบครัวเพื่อสร้างความสุขความสัมพันธ์ที่ดีของ สมาชิกในบ้าน เพราะ
การได้มีเวลาอยู่ด้วยกันมากเท่าใดทุกคนในครอบครัวจะมีโอกาสได้พูด คุยอบรมสั่งสอน
รับฟังความคิดเห็น ให้ความช่วยเหลือหรือมีคำแนะนำที่ดีให้แก่กัน สร้างความผูกพัน
ความรักใคร่สามัคคีและที่สำคัญคือเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน เมื่อเขาเจริญเติบโตขึ้น
ในอนาคต วันครอบครัว จึงถือเป็นวันที่มีความสำคัญวันหนึ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ
เพราะเป็นวัน ที่รวมความหมายของความอบอุ่นในครอบครัวเพื่อมอบแก่สมาชิกทุกคนใน
ครอบครัว ซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะในวันครอบครัวเท่านั้น แต่หมายถึงทุกวันที่มีโอกาสด้วย

กิจกรรมในวันครอบครัว

1. จัดนิทรรศการเพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ ของสมาชิก
ในครอบครัว

2. จัดมอบรางวัลให้สำหรับครอบครัวดีเด่น เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติครอบครัวที่ทำ
คุณประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติ

14 เมษายน "วันแห่งครอบครัว"

โค้ด PHP:
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/