หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 19

หัวข้อ: คำพูน บุญทวี : เลือดนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ อิ่มอัมพร
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ทุ่งครุ
    กระทู้
    255

    คำพูน บุญทวี : เลือดนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :

    ออกจาก อำเภอกุดชุมแล้ว มาต่อ ที่อำเภอ ทรายมูลกันนะคะ(ย่อส่วนหนึ่งจากบล็อค)
    จะขอเล่าความต่อ เรื่อง ลุงคำพูน บุญทวี ต่อจาก คุณ พงศ์น้อย ส กสิน นะคะ

    คำพูน บุญทวี : เลือดนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :

    นิยายเรื่อง “ลูกอีสาน” ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวจากประสบการณ์ในวัยเด็กของคุณลุงคำพูน บุญทวี ได้รับการตีพิมพ์ระหว่างปี 2517 – 2518 ในนิตยสาร “ฟ้าเมืองไทย” โดยมีอาจินต์ ปัญจพรรค์ เป็นบรรณาธิการ ภายหลังการตีพิมพ์นิยายเรื่องดังกล่าวทำให้ผู้อ่านทั่วประเทศได้รู้จักกับวิถีชีวิตการทำมาหากินของชาวอีสานในอดีตผ่านตัวละครตัวสำคัญคือ “บักคูน” ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะระบุสถานที่ในเนื้อเรื่องว่าเป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคอีสาน แต่โดยเจตนาของผู้เขียนแล้วจะเป็นแผ่นดินอื่นไปไม่ได้นอกจากบ้านทรายมูลแผ่นดินเกิดของผู้เขียนนิยายเรื่องนี้นั่นเอง


    จึงไม่เป็นการแปลกเลยเมื่อนิยายเรื่อง “ลูกอีสาน” จะได้รับรางวัลหนังสือ “ดีเด่น” ประจำปี 2519 โดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย และได้รับรางวัลวรรณกรรมแห่งอาเซี่ยนตะวันออกเฉียงใต้ หรือ รางวัลซีไรต์ ในปี 2521 และจากการสั่งสมประสมการณ์ด้านวรรณกรรมอันยาวนานและมีผลงานเป็นที่ปรากฎต่อสาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ ท่านจึงได้รับการตัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2544 นับเป็นเกียรติยศอันยิ่งใหญ่สำหรับนักเขียนลูกอีสานเมืองทรายมูลอย่างแท้จริง


    คำพูน บุญทวี : เลือดนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :

    นิยายเรื่อง "ลูกอีสาน" ของลุงคำพูน บุญทวี ฉบับพิมพ์ก่อนได้รับรางวัลซีไรต์
    วัยเยาว์ที่บ้านทรายมูล :

    คุณลุงคำพูน บุญทวี เป็นลูกบ้านทรายมูลอย่างแท้จริง ท่านเกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2471 ที่บ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันก็คืออำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เดิมท่านมีชื่อว่าคูน บุญทวี เป็นบุตรของนายสนิท บุญทวี อาชีพรับราชการครู และนางลุน บุญทวี อาชีพแม่บ้าน เป็นลูกคนโตในจำนวนพี่น้องทั้ง 8 คน


    ในวัยเด็กของท่านเนื่องจากพ่อของท่านมีอาชีพเป็นครูในหมู่บ้านจึงทำให้มีโอกาสดีกว่าเพื่อน ๆ ในเรื่องการเรียน ท่านเริ่มเรียนชั้น ป. 4 ที่โรงเรียนบ้านทรายมูล จากนั้นจึงเข้าเรียนต่อชั้น ม. 2 ที่โรงเรียนสุรเวชวิทยาลัย อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี แล้วจึงมาเรียนต่อชั้น ม. 4 จากโรงเรียนอรุณศึกษา อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี แล้วจึงมาเรียนต่อที่โรงเรียนสายปรีชาบัณฑิต อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้น ม. 6 ในปี 2488 ซึ่งในยุคนั้นถือได้ว่าเป็นการศึกษาระดับสูงสุดระดับอำเภอ


    คำพูน บุญทวี : เลือดนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :

    รอยยิ้มอันสดใสและเปิดเผยของลุงคำพูน บุญทวี
    : จากลุ่มน้ำชีเมืองยโสธรถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา :เมื่อจบการศึกษาชั้น ม. 6 จากโรงเรียนสายปรีชาบัณฑิต ที่อำเภอยโสธร คุณลุงคำพูน บุญทวีจึงกลับมาอยู่ที่บ้านทรายมูลพร้อมกับชักชวนเพื่อน ๆ ในหมู่บ้านตั้งคณะหมอลำและรำวง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จด้านรายได้ จึงเข้ามาหางานที่กรุงเทพฯ


    จากลุ่มน้ำชีเมืองยโสธรสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยากรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรที่หนุ่มสาวบ้านทุ่งหลายคนใฝ่หา คุณลุงคำพูน บุญทวีเริ่มต้นทำงานเป็นครูสอนอยู่ที่โรงเรียนสัตบุตรบำรุงอยู่หลายปีแต่ไม่ได้รับการบรรจุเป็นครูประจำจึงตัดสินใจลาออก แล้วจึงเข้าทำงานหลายแห่งหลายอาชีพเพื่อความอยู่รอดของชีวิต ทั้งกรรมกรขายแรงงาน ถีบสามล้อ ขายผลไม้ เลี้ยงม้าแข่ง และรีดนมวัว ผ่านประสบการณ์ชีวิตอย่างโชกโชนแต่ก็ไม่ย้อท้อสำหรับสายเลือดแห่งนักสู้จากบ้านทรายมูล เมืองยโสธร


    : ฝากหัวใจข้าไว้ที่ลุ่มน้ำตาปี :
    จากประสบการณ์ทำงานเป็นครูที่โรงเรียนสัตบุตรบำรุงมาหลายปี จึงทำให้คุณลุงคำพูน บุญทวีคิดว่าตนเองน่าจะเหมาะกับอาชีพครูมากว่าอาชีพอื่น ในปี 2490 จึงตัดสินใจสมัครสอบเป็นครูประชาบาลที่ภาคใต้ โดยได้รับการบรรจุครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านควันขัน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จากนั้นในปี 2492 จึงได้ย้ายมารับตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนสุไหงมูโซะ อำเภอระงู จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่บนเกาะ และในตอนนั้นได้แต่งงานกับนางประพิศ ณ พัทลุง ทำให้การเดินทางไปมาหาสู่ครอบครัวไม่สะดวก อีกทั้งทำเรื่องย้ายกลับภาคอีสานไม่ได้จึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นครูในปี 2497 กลับไปใช้ชีวิตอยู่กับภรรยาที่จังหวัดพัทลุง

    เมื่อมาอยู่กับภรรยาที่จังหวัดพัทลุงท่านจึงได้สมัครเป็นครูสอนภาษาจีนที่โรงเรียนเอกชนขื่อจุ่งฮั้ว ในตำแหน่งครูใหญ่ ภายหลังจึงลาออกจากการเป็นครูเพราะประสบปัญหาด้านการเงิน จึงเข้ามาทำงานที่กรุงเทพฯ อยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่เดินทางกลับจังหวัดพัทลุง


    กลับมาอยู่ที่จังหวัดพัทลุงได้สมัครเข้าทำงานเป็นผู้คุมที่เรือนจำจังหวัดพัทลุงและสอนหนังสือนักโทษเป็นเวลา 9 ปี ทำให้ชีวิตในครอบครัวเริ่มดีขึ้น และมีโอกาสสอบเข้าเรียนเป็นนักเรียนราชฑัณฑ์ที่เรือนจำบางขวาง กรุงเทพฯ ได้แต่ยังเรียนไม่จบหลักสูตรจึงขอย้ายกลับมาทำงานที่เรือนจำพัทลุงเหมือนเดิมเนื่องจากภรรยาป่วยหนัก


    คุณลุงคำพูน บุญทวี กลับมาทำงานที่เรือนจำพัทลุงอยู่ระยะหนึ่งจึงสอบบรรจุเป็นข้าราชการสามัญของกรมราชฑัณฑ์ได้แล้วย้ายไปประจำอยู่ที่เรือนจำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเวลา 4 ปี แล้วจึงย้ายไปประจำที่เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และย้ายไปประจำอยู่ที่เรือนจำจังหวัดระนองในเวลาต่อมา

    จากนิทานลูกทุ่งถึงลูกอีสาน : ตำนานนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :
    คุณลุงคำพูน บุญทวีเริ่มงานเขียนครั้งแรกในหนังสือพิมพ์เสียงตานี เป็นเรื่องตลกขบขัน เมื่อครั้งทำงานอยู่ที่เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้นเมื่อย้ายไปอยู่ที่จังหวัดระนองจึงมีแนวความคิดอยากจะเป็นนักเขียน โดยมีแรงบันดาลใจจากการเขียนงานเพราะภรรยาป่วยหนักไม่มีเงินรักษา เกิดความกลุ้มหนักต้องหันหน้าเข้าอบายมุข ติดเหล้า ติดการพนัน ยิ่งทำให้ครอบครัวย่ำแย่ลงไป


    ภายหลังจึงเลิกยุ่งอบายมุขทั้งปวง หันหน้าเข้าห้องสมุดมุ่งหน้าอ่านเรื่องสั้น นวนิยาย วรรณคดี เรื่องแปล เมื่ออ่านมาก ๆ จึงมีแนวความคิดอยากจะเป็นนักเขียน เริ่มต้นเขียนเรื่องสั้นเรื่องแรก "รักในเหวลึก" โดยให้นักโทษคัดตัวบรรจงพร้อมกับแนะนำตนเองส่งไปยังนิตยสาร "ฟ้าเมืองไทย" ภายหลัง “อาจินต์ ปัญจพรรค์” ผู้เป็นบรรณาธิการได้เปลี่ยนชื่อเป็น "นิทานลูกทุ่ง" พร้อมกับแนะนำให้เขียนส่งมาอีกตามลีลาและสำนวนเป็นของตัวเอง

    พอเขียนหนังสือได้สักระยะหนึ่งรู้สึกจะหมดเรื่องเขียน อาจินต์ ปัญจพรรค์ ได้แนะนำให้อ่าน "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ผลงานการแปลของ “สุคนธรส” มาอ่านเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนเรื่องราววิถีชีวิตของชาวอีสาน จนเป็นที่มาของเรื่องราวชีวิตชาวอีสานในอดีตชื่อ "ชีวิตของลูกผู้ชายชื่อคำพูน บุญทวี" แต่เมื่ออาจินต์ ปัญจพรรค์ ได้อ่านต้นฉบับเลยแนะนำว่าน่าจะใช้ชื่อว่า "ลูกอีสาน" เพราะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคนอีสาน และได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร “ฟ้าเมืองไทย” ระหว่างปี 2518 – 2519 หลังจากนั้นนิยายเรื่อง "นักเลงตราควาย" ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายวันในปีระหว่างปี 2522-2523 และถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในเวลาต่อมา นับแต่นั้นเป็นต้นมาคุณลุงคำพูน บุญทวี ได้สร้างสรรค์ผลงานเรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี หรือนิทานพื้นบ้าน ตลอดมาจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต



    งานเขียนบางส่วนของลุงคำพูน บุญทวี
    คำพูน บุญทวี : เลือดนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :

    ในช่วงบั้นปลายแห่งชีวิตหลังจากนางประพิศ ณ พัทลุง ภรรยาคนแรกได้เสียชีวิต คุณลุงคำพูน บุญทวีจึงได้ใช้ชีวิตคู่กับคุณลันนา เจริญสิทธิชัย หรือ “กิมหลั่น” เจ้าของสาระนิยาย “เจ๊กบ้านนอก” พร้อมกับก่อตั้งสำนักพิมพ์โป๊ยเซียนบ้านบางบัวทอง นนทบุรี จนถึงช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตคุณลุงคำพูน บุญทวีได้สิ้นลมหายใจลงอย่างสงบเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2546 รวมอายุได้ 74 ปี



    คุณลุงคำพูน บุญทวีกับคุณลันนา เจริญสิทธิชัย หรือ “กิมหลั่น” เจ้าของสาระนิยาย “เจ๊กบ้านนอก

    เกียรติยศแห่งชีวิตนักเขียนบ้านทรายมูล
    1. นิยาย “ลูกอีสาน” ได้รับรางวัลวรรณกรรมดีเด่นงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี 2519 ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซี่ยน (ซีไรต์) ปี 2522 คัดเลือกให้เป็นหนังสืออ่านประกอบการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ สร้างเป็นภาพยนตร์โดยครูวิจิตร คุณาวุฒิ

    2. นิยาย “นายฮ้อยทมิฬ” รางวัลชมเชย งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี 2520 ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์

    3. วรรณกรรมเยาวชน “สัตว์พูดได้” ได้รับเกียรติบัตรยกย่องจากชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม เมื่อ 5 มิถุนายน 2534 และกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาให้เป็นหนังสืออ่านประกอบการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

    4. ได้รับการยกย่องให้เป็นนักเขียนช่อการะเกดเกียรติยศ ในการจัดงานช่อการะเกด ครั้งที่ 7 ที่สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2542 และจัดทำ "มุมหนังสือคำพูน บุญทวี " ที่ห้องสมุดสถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อเป็นที่ศึกษาค้นคว้าสำหรับนักศึกษาและผู้ที่สนใจ

    5. วันที่ 7 ธันวาคม 2543 สภาวัฒนธรรมอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร จัดงานเชิดชูเกียรติ "72 ปี ซีไรต์ลูกอีสาน" จัดกิจกรรมเสวนาทางวรรณกรรม บริจาคหนังสือคำพูน บุญทวี ให้กับห้องสมุดโรงเรียนต่าง ๆ ในเขตพื้นที่อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร

    6. ปี 2544 สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้พิจารณาประกาศเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์


    ผลงานที่ตีพิมพ์รวมเล่ม :เรื่องสั้น นมอีเขียวขึ้นราคา, หมาหอนในหัวใจ, ลาครูไปขอเมีย, หอมกลิ่นบาทา, หอมกลิ่นปลาร้า, ลาบหัวเราะ, ลูกทุ่งเข้ากรุง, ใหญ่ก็ตายไม่ใหญ่ก็ตาย, เสือกเกิดมารวย, รวยต้องไหว้หมา, ไอ้โจร 499, ลาบกิ่งก่า พล่าปลาอีตู๋, แม่ม่ายที่รัก, พยาบาลที่รัก, นักเลงลูกทุ่ง, ผจญภัยทุ่งกุลาร้องไห้, ตารางบันเทิง, นักเลงลูกทุ่ง,


    ขอขอบคุณ เจนอักษราพิจารณ์ ที่ให้การสนับสนุนที่มาและเนื้อหา

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ หนอนชาเขียวโออิชิ
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์
    กระทู้
    423

    Re: คำพูน บุญทวี : เลือดนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :

    ชอบท่านมากเลยค่ะ
    เคยอ่านเรื่องลูกอีสาน
    แล้วก็ทำให้เรามีกำลังใจมากขึ้น
    แม้ว่าเราจะเป็นลูกคนจน แต่อย่างน้อยเราก็มีอยู่มีกินดีกว่าเค้า
    ชอบตอนที่ป่นจิ้งหรีด กะตอนที่ต้มไข่ในทราย
    ไม่รู้มันสุกได้ไง ภูมิปัญญาจริงๆ

  3. #3
    ฝ่ายเทคนิคและโปรแกรม สัญลักษณ์ของ บ่าวโจ่โล่
    วันที่สมัคร
    Dec 2006
    กระทู้
    1,433

    Re: คำพูน บุญทวี : เลือดนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :


    ยอมรับ นับถือ ด้วยหัวใจ ท่านคือ ศิลปินส์ นักเขียนในดวงใจ ของผม
    และคิดว่าของอีกหลาย ๆ ท่านที่เป็นคนอิสาน จากนั้นจะมี
    คำหมาน คนไค จากเรื่อง ครูบ้านนอกอี และ นิยายชีวิตครูประชาบาล
    อีกท่านครับ ส่วนที่ไม่ได้เอ่ยนาม อีกมากมาย ครับ

    ด้วยความขอบคุณ


    ::)

    อย่าคิดนะว่าเธออยู่ในโลกนี้คนเดียว หนทางไม่เปลี่ยวขนาดนั้น ยิ้ม ๆ ไว้ซิก็อุปสรรคต้องฝ่าฟัน ยังไงเธอก็จะมีฉันคอยห่วงใย

    สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์

  4. #4
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ MADELA
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    254

    Re: คำพูน บุญทวี : เลือดนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :

    ตอนเด็กเคยดูหนังเรื่องลูกอิสานประทับใจมาก หลังจากนั้นก๊จะติดตาอ่านผลงานของลุงคำพูน บุญททวี ตลอดมักงานเขียนเพิ่นคัก

  5. #5
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    Re: คำพูน บุญทวี : เลือดนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :

    ขอคารวะ อาจารย์คำพูน บุญทวี ด้วยจิตสำนึกที่ดีงามค่ะ

    อ่านผลงาน ลูกอีสาน ของท่านเป็น หลายสิบครั้ง ไม่เคยเบื่อ

    และก็คงไม่เบื่อตลอดไปค่ะ
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  6. #6
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    ที่อยู่
    สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, และ สปป.ลาว
    กระทู้
    829

    ดูวีดีโอ YouTube ออนไลน์ Re: คำพูน บุญทวี : เลือดนักสู้แห่งเมืองทรายมูล :

    ผลงานที่ประทับใจมาก ๆ กะคือลูกอีสานล่ะครับ....
    อ่านตอนได๋ กะประทับใจตอนนั้น.....
    แล้วกะเลือดอีสาน อีกสองเล่ม เป็นเรื่องราวที่ต่อจาก ลูกอีสาน....
    เป็นชีวิต ของ คูณ ที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ มาแสวงหา อยู่เมืองบางกอก.....
    ประทับใจมาก ๆ ครับ....:g:g

  7. #7
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นา ดอกจาน
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    FL,USA
    กระทู้
    229
    หลากหลายชีวิต บนผืนแผ่นดินอีสาน ที่ต้องต่อสู้ เพื่อการมีชีวิตอยู่รอด อ่านแล้วมีกำลังใจขึ้นมากๆค่ะ ขอบคุณค่ะ

  8. #8
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Feb 2009
    ที่อยู่
    สวิส....พะนะ
    กระทู้
    563
    ภูมิใจหลายเพิ่นเป็นคนอำเภอเดียวกันกับสาวเมืองยศ:1-

  9. #9
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ จ่าเพลิง
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    กระทู้
    88
    ลูกอีสานทำให้เราได้รู้จักอีสานสมัยลุงคำพูนเป็นอย่างดี
    คือสิเป็นตาอยู่น้อสมัยนั่น อยากให้น้องหนอนชาเขียวไปอยู่เด้

  10. #10
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บักอ้าย
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    74
    เป็น สุดยอด ตำนานนักสู้แห่งเมืองทรายมูล ที่แท้ จริง...คารวะด้วยศัรธา....

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •