กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: บรรพบุรุษของชาวอุบล

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    บรรพบุรุษของชาวอุบล

    บรรพบุรุษของ"ชาวอุบล"

    การตั้งบ้านแปงเมืองของชาวอุบล คือส่วนหนึ่งแห่งการเดินทางอันยาวนานของพวกไต-ลาว เข้าสู่ลุ่มน้ำโขงและอีสาน มีการตั้งเมืองเป็นศูนย์กลางของชุมชน การเดินทางอันยาวนานของบรรพบุรุษของชาวอุบลนี้กินอาณาบริเวณกว้างขวาง จากหนองบัวลุ่มภู หรือ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (เขตจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน) จนถึงดอนมดแดง ห้วยแจระแม เมืองอู่ผึ้ง ที่สุดคืออุบลราชธานี
    บรรพบุรุษของชาวอุบล
    การสร้างบ้านแปงเมืองของบรรพบุรุษชาวอุบลแบ่งตามพื้นที่ เป็น 2 เขตคือ
    ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง … ประเทศลาวในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตจัมปาศักดิ์
    ฝั่งขวาแม่น้ำโขง … ในภาคอีสาน ตั้งแต่จังหวัดอุดรธานี ถึงอุบลราชธานีในปัจจุบัน
    กระบวนการสร้างบ้านแปงเมืองของลาวเวียงจันทน์และจำปาศักดิ์ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ผู้คนอพยพมาฝั่งขวาแม่น้ำโขงมากขึ้น มีทั้งพวกที่ตั้งบ้านเมืองขึ้นใหม่ หรือสมทบกับชุมชนที่ก่อตั้งอยู่แล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าวประชากรของหนองบัวลุ่มภูคงเพิ่มมากขึ้น ดังปรากฏว่า เจ้าพระวอ-พระตา ส่งคนไปสร้างบ้านแปงเมืองในบริเวณใกล้เคียง เช่น ที่เมืองสิงห์โคกและสิงห์ท่า แถบลุ่มน้ำชี-มูล (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) จนเกิดเมืองบริวารขึ้น 4 ทิศคือ เมืองภูเขียว เมืองภูเวียง เมืองผ้าขาว เมืองพันนา กำลังคนที่เพิ่มมากขึ้นนี้เองทำให้เจ้าพระวอ-พระตาสามารถสร้างเมืองหนองบัวลุ่มภูได้ ตำนานบันทึกไว้ว่า “สร้างบ้านแปงเมืองด้วยเวียงไม้แก่น ยกขึ้นเป็นเมืองเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน”
    บรรพบุรุษของชาวอุบล
    บรรพบุรุษของชาวอุบลแรกเริ่มคือ เจ้าปางคำ แห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู .. ซึ่งเชื่อกันว่า เจ้าปางคำ ดองเครือญาติกับพวกลาวหลวงพระบาง กล่าวคือ เจ้าอินทกุมาร ได้ธิดาของพระเจ้าสุริยวงศาเป็นชายา นางจันทกุมารีเป็นเป็นชายาของพระยุวราช ส่วนเจ้าปางคำได้พระนัดดาของพระเจ้าสุริยวงศาเป็นชายา เจ้าพระตา พระวอ เป็นโอรสของเจ้าปางคำ เชื่อกันว่าท่านทั้ง 2 ได้เป็นเสนาบดีสมัยพระไชยเชษฐาธิราช พระอัยกาของพระเจ้าสิริบุญสาร เสนาบดีทั้ง 2 ท่านมีบทบาทมากในการชิงราชสมบัติคืนให้กับพระเจ้าสิริบุญสารจากพวกที่ก่อการจราจลวุ่นวาย เข้าใจว่าท่านคงมีบุญบารมีมากขึ้นถึงขั้นที่ทำให้พระเจ้าสิริบุญสารหวาดระแวง จนท่านต้องหนีกลับมาตั้งมั่นที่หนองบัวลุ่มภูดังเดิม
    เจ้าพระวอ-พระตามีกำลังกล้าแข็งเป็นลำดับ จนราว พ.ศ.2310 ทำให้พระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ส่งกำลังมาปราบปรามด้วยความหวาดระแวงว่าทั้งสองท่านจะคิดการใหญ่ แต่ก็ถูกไพร่พลของเจ้าพระวอและเจ้าพระตาตีแตกกลับไปทุกครั้ง และทำการสู้รบกันอยู่ถึง 3 ปี ฝ่ายเจ้าพระวอกับเจ้าพระตาเห็นว่ากำลังของตนมีน้อย จึงได้ไปขอกำลังของกองทัพพม่าให้มาช่วย แต่พม่ากลับส่งกำลังไปช่วยพระเจ้าศิริบุญสารตีเมืองหนองบัวลำภู หรือนครเขื่อนขันฑ์กาบแก้วบัวบานแตก ทำให้เจ้าพระตาเสียชีวิตในที่รบ ส่วนเจ้าพระวอกับไพร่พลที่เหลือก็แตกหนีลงไปของพึ่งเจ้านครจำปาศักดิ์
    บรรพบุรุษของชาวอุบล บรรพบุรุษของชาวอุบล
    เจ้าพระวอเกิดหมางใจกับพระเจ้าองค์หลวงเจ้านครจำปาศักดิ์ จึงได้อพยพย้ายหนีกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่ดอนมดแดง ริมฝั่งแม่น้ำมูล และได้แต่งเครื่องราชบรรณาการไปเมืองนครราชสีมา ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2319 เมื่อพระเจ้าสิริบุญสารทราบเรื่อง จึงแต่งให้พระยาสุโพรีบคุมกองทัพมาตีเจ้าพระวอที่ดอนมดแดง แล้วล้อมจับเจ้าพระวอได้จึงให้ประหารชีวิต
    บรรพบุรุษของชาวอุบล
    ท้าวก่ำ บุตรเจ้าพระวอ ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหม บุตรเจ้าพระตาหลบหนีไปได้ และแจ้งเรื่องมายังเมืองนครราชสีมาให้นำความกราบบังคมทูลพระเจ้ากรุงธนบุรีเพื่อขอกำลังไปช่วย ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปตีเมืองจำปาศักดิ์และเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ.2321 แล้วยึดเมืองทั้งสองไว้และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมายังกรุงธนบุรี พร้อมกับคุมตัวเจ้านครจำปาศักดิ์ลงมาด้วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดฯ ให้เจ้านครจำปาศักดิ์กลับไปครองจำปาศักดิ์ดังเดิม โดยเป็นเมืองประเทศราชขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรีนับแต่นั้นมา … ในพงศาวดารไทยจึงบันทึกไว้ว่า ครั้งนั้นกองทัพธนบุรีตีได้นครพนม หนองคาย เวียงจันทน์ ซึ่งอยู่ตรงเขตอีสานเหนือ ส่วนทางอีสานใต้ได้ให้จัดกองกำลังของเจ้าคำผงคอยกวาดต้อนผู้คนให้เข้าสังกัด เห็นไดขัดถึงการที่เมืองอุบลเป็นศูนย์กลางสำคัญและเป็นแหล่งสะสมประชากร
    บรรพบุรุษของชาวอุบล
    ส่วนท้าวคำผง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯ ให้ตั้งเป็น พระประทุมสุรราชภักดี ขึ้นกับเมืองจำปาศักดิ์ ในปี พ.ศ.2323 เมืองเขมรเกิดจลาจล พระประทุมฯ ท้าวทิดพรหม และท้าวคำสิงห์ ได้ร่วมยกทัพไปปราบพร้อมกับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แต่ก็เกิดเหตุการณ์ทางกรุงธนบุรีเสียก่อน พระประทุมฯจึงได้ติดตามกองทัพไปยังกรุงธนบุรีด้วย
    บรรพบุรุษของชาวอุบล
    ครั้นเมื่อสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระประทุมฯจึงขอพระราชทานย้ายครอบครัวไปตั้งภูมิลำเนาที่บ้านห้วยแจระแม (ใกล้กับเมืองอุบลฯในปัจจุบัน) และท้าวคำสิงห์ย้ายไปอยู่บ้านสิงห์โคก สิงห์ท่า
    บรรพบุรุษของชาวอุบล
    บรรพบุรุษของชาวอุบล
    ต่อมาได้เกิดกบฏอ้ายเชียงแก้วชาวเมืองโขง ซึ่งแสดงตนเป็นผู้วิเศษ ยกกำลังไปล้อมเมืองจำปาศักดิ์ ขณะที่เจ้านครจำปาศักดิ์กำลังประชวรหนัก พระประทุมสุรราชภักดีและท้าวฝ่ายหน้าพากันยกกำลังไปปราบปะทะกับอ้ายเชียงแก้วที่แก่งตะนะ จับอ้ายเชียงแก้วได้จึงให้ประหารชีวิต เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบในการทำประโยชน์ต่อบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ท้าวฝ่ายหน้าบุตรเจ้าพระตาเป็นเจ้าพระวิไชยราชขัตติวงศา ครองนครจำปาศักดิ์สืบแทนพระเจ้าองค์หลวง และให้พระประทุมราชภักดีเป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ยกฐานะบ้านแจระแมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี ศรีวนาลัย เมื่อวันจันทร์เดือน 8 แรม 13 ค่ำ ปีชวด พ.ศ.2335
    บรรพบุรุษของชาวอุบล บรรพบุรุษของชาวอุบล
    ต่อมาพระประทุมฯเห็นว่าบ้านห้วยแจระแมไม่เหมาะที่จะตั้งเป็นเมืองใหญ่ จึงได้ย้ายมาตั้งบ้านเมืองที่ตำบลบ้านร้าง เรียกว่า ดงอู่ผึ้ง ริมฝั่งแม่น้ำมูลอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน พร้อมกับได้สร้างพระอารามหลวงขึ้นเป็นวัดแรก
    บรรพบุรุษของชาวอุบล
    ภายหลังการก่อตั้งเมืองอุบลฯ แล้ว ก็ได้มีการตั้งเมืองสำคัญในเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นอีกหลายเมือง เช่น ใน พ.ศ.2357 โปรดฯให้ตั้งบ้านโคกพเนียง เป็นเมืองเขมราฐธานี
    ปี พ.ศ.2366 ยกบ้านนาก่อขึ้นเป็นเมืองโขงเจียง (โขงเจียม) โดยขึ้นกับนครจำปาศักดิ์
    ปี พ.ศ. 2388 ในรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านช่องนางให้เป็นเมืองเสนางคนิคม
    ยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ให้หลวงอภัยเป็นหลวงยกบัตรหลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด ตั้งหลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ เป็นเจ้าเมือง รักษาราชการแขวงเมืองเดชอุดม
    ปี พ.ศ. 2390 ตั้งบ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็นเมืองบัวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองบัวบุณฑริก หรืออำเภอบุณฑริกในปัจจุบัน
    ปี พ.ศ. 2401 ตั้งบ้านค้อใหญ่ ให้เป็นเมือง ขอตั้งท้าวจันทบรม เป็นพระอมรอำนาจ เป็นเจ้าเมือง ตั้งท้าวบุตตะเป็นอุปฮาด ให้ท้าวสิงหราชเป็นราชวงศ์ ท้าวสุริโยเป็นราชบุตร รักษาราชการเมืองอำนาจเจริญขึ้นกับเมืองเขมราฐ
    ปี พ.ศ. 2406 ในรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านกว้างลำชะโด ตำบลปากมูล เป็นเมืองพิบูลมังสาหาร และให้ตั้งบ้านสะพือ เป็นเมืองตระการพืชผล ตั้งท้าวสุริยวงษ์ เป็นพระอมรดลใจ เป็นเจ้าเมือง
    ปี พ.ศ. 2422 ในรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านท่ายักขุเป็นเมืองชานุมานมณฑล และให้ตั้งบ้านเผลา (บ้านพระเหลา) เป็นเมืองพนานิคม
    ปี พ.ศ.2423 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนากอนจอ เป็นเมืองวารินชำราบ
    ปี พ.ศ. 2424 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านจันลานาโดม เป็นเมืองโดมประดิษฐ์ (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่อำเภอน้ำยืน)
    ปี พ.ศ.2425 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทีเป็นเมืองเกษมสีมา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอม่วงสามสิบนั่นเอง
    บรรพบุรุษของชาวอุบล บรรพบุรุษของชาวอุบล
    อุบลราชธานี จึงเป็นเมืองที่มีเขตการปกครองอย่างกว้างขวางที่สุด ทางด้านตะวันออกของภาคอีสานตอนล่างครอบคลุมที่ราบและแม่น้ำสายสำคัญของภาคอีสานถึง 3 สายด้วยกัน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง อีกทั้งยังมีแม่น้ำสายเล็กๆที่มีกำเนิดจากเทือกเขาในพื้นที่ เช่น ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น
    บรรพบุรุษของชาวอุบล
    บรรพบุรุษของชาวอุบล
    แม่น้ำทั้งหลายเหล่านี้ไหลผ่านที่ราบทางด้านเหนือและทางด้านใต้ทอดเป็นแนวยาวสู่ปากแม่น่ำมูลและแม่น้ำโขง ยังความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในบริเวณแถบนี้ทั้งหมด ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์มาแต่โบราณกาล
    บรรพบุรุษของชาวอุบล บรรพบุรุษของชาวอุบล
    ขอบคุณ … เนื้อความบางส่วนจากหนังสือ เมืองอุบล ธานีแห่งราชะ ศรีสง่าแห่งไพรพฤกษ์ โดย ดร. ธิดา สาระยา และ http://www.lib.ubu.ac.th/html/ub_inf...n/history.html

    (((ถ่าซ้ำผู่ข่ากะขออภัยเด้อจ้า)))
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    กระทู้
    641

    Re: บรรพบุรุษของชาวอุบล

    คนอุบลสมัยก่อนนิท่อนบนสิบ่ใส่อิหยังเลยบอครับ เป็นประโยชน์ต่อผุ้พบเห็นและนักท่องเที่ยวมากเลยครับ

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ เซียงโต่ย
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    ที่อยู่
    บุรีรัมย์ เขาพนมรุ้ง
    กระทู้
    12
    ผมเป็นหนุ่มลำมูล พายเรือจากแม่น้ำสองสี ผ่านประเทศลาวและกัมพูชา ออกอ่าวไทยแล้วไปโผล่ขึ้นที่แม่น้ำปัตตานี...ใครก็ได้ช่วยผมที...ผมติดแหงกอยู่ที่ปัตตานีนานแล้วจ้า...กลับอุบลไปศึกษาประวัติศาสตร์เมืองอุบลไม่ถูกแล้วครับผม

  4. #4
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    ที่อยู่
    สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, และ สปป.ลาว
    กระทู้
    829
    ประวัติศาสตร์ น่าสนใจเนาะครับ เมือง อุบลฯ ...
    เซียงเหมี่ยงฯ ฮู้จัก หอไตร หนองขุหลุ จาก หนูหิ่น อินเตอร์ อ้ายเอ๊าะ ซั่นดอก...
    นอกจากประวัติน่าสนใจ เมืองอุบลฯ ยังขึ้นซื่อเรื่องสาวงามเนาะครับ...
    แม่นบ่ครับ พี่น้องบ้านมหาทางอุบลฯ อิ อิ ...

  5. #5
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ ชายหล่ามาดามศรี
    วันที่สมัคร
    Feb 2007
    กระทู้
    762
    ปี พ.ศ. 2390 ตั้งบ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็นเมืองบัวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองบัวบุณฑริก หรืออำเภอบุณฑริกในปัจจุบัน
    ขอบคุณคุณยายเด้อคราฟที่เอาประวัติเมี่ยงอุบลมาเล่าขานสู่ลูกหลานตาดำๆๆ อีกอย่างได้รุ้พร้อมว่าอำเภอที่เดฟอยุ่สุ่มื้อนี้มาจากใส่แล้วกะได้รุ้นำว่าประวัติเป้นมาจั่งได่ กลับบ้านสิไปสืบมาอีกเด้อคราฟ

  6. #6
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ประภาส
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    กระทู้
    123
    ขอบคุณครับที่หาเรื่องดีๆมาแบ่งปันความรู้ ยายเยี่ยมจริงๆ ขนาดผมเกิดอยู่ในเขตบ้านโดมใหญ่ผมยังไม่รู้เรื่องประวัติ นี้เลยมาก่อน ขอบคุณหลาย ยาย

  7. #7
    มิสบ้านมหา 2010
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ เขมราฐ
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    กลางท่งเมืองเขมฯ
    กระทู้
    1,946
    ภายหลังการก่อตั้งเมืองอุบลฯ แล้ว ก็ได้มีการตั้งเมืองสำคัญในเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นอีกหลายเมือง เช่น ใน พ.ศ.2357 โปรดฯให้ตั้งบ้านโคกพเนียง เป็นเมืองเขมราฐธานี


    นับไปนับมา เขมราฐธานีกะอายุครบ 195 ปี ล่ะตั่วนี่ ขอบคุณค่ะคุณยายสำหรับบทความดี ๆ

  8. #8
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หล่อร้อยเมตร
    วันที่สมัคร
    Feb 2007
    กระทู้
    1,808
    ขอบคุณข้อมูลครับคุณยาย ประดับควมรู้เอาไว้สอนลูกหลานครับผม
    คาดสิได้ลอยมาคือปลาเน่า ... สั่นแล๊ววว

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •