กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: โลหะหนัก ภัยใกล้ตัว

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    โลหะหนัก ภัยใกล้ตัว

    โลหะหนัก ภัยใกล้ตัว


    โลหะหนัก ภัยใกล้ตัว


    โลหะหนัก ภัยใกล้ตัว


    หลายคนคิดว่า สารโลหะหนักจำพวก สารปรอท และสารตะกั่ว เป็นเรื่องไกลตัว จึงมองข้ามพิษภัยที่อาจจะเกิดขึ้น สารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยที่เราไม่รู้ตัว จากสิ่งแวดล้อม เครื่องสำอาง หรือจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน เราจึงควรเรียนรู้ และป้องกันตัวให้รอดพ้นจากอันตรายเหล่านี้ เช่น



    สารปรอท
    สารปรอทมักพบปนเปื้อนอยู่ในอากาศ น้ำและดินเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาขยะ ขยะผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตามบ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สารปรอทเป็นวัตถุดิบ เช่น โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือโรงงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน


    นอกจากนี้ พบสารปรอทในเครื่องสำอางและอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล พบมากในสัตว์ทะเลตัวใหญ่ เช่น ฉลาม ทูน่า โลมา วาฬ เนื่องจากมีช่วงชีวิตที่ยืนยาวและกินปลาเล็กเป็นอาหาร จึงมีโอกาสที่สารปรอทสะสมอยู่ในตัวค่อนข้างมาก ความเชื่อที่ว่าหูฉลามเป็นอาหารมีคุณค่าก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป ซึ่งการปนเปื้อนของสารปรอทจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีสาเหตุมากจากโรงงานอุตสาหกรรมมักปล่อยสารปรอทออกมากับน้ำทิ้งของโรงงานนั่นเอง

    สารปรอทเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรงจากการหายใจ การสัมผัสทางผิวหนัง การกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนสารปรอท สารปรอทที่อยู่ในรูปของเหลวสามารถระเหยเป็นไอได้ในภาวะปกติ ส่วนใหญ่พบในเทอร์โมมิเตอร์ ถ้าเทอร์โมมิเตอร์แตก สารปรอทจะกลายเป็นไอ ทำให้เกิดอันตรายกับทางเดินหายใจ


    ข้อควรปฏิบัติเมื่อเทอร์โมมิเตอร์แตก ดังนี้

    - ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด
    - ห้ามใช้ไม้กวาด กวาดสารปรอทที่ไหลออกมาเป็นเม็ดเล้ก กระจายไปทั่วปริเวณ
    - ห้ามใช้เครื่องดูดฝุ่น ดูดสารปรอท เพราะทำให้สารปรอทตกค้างในเครื่องดูดฝุ่น ทำให้สารปรอทระเหยเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
    - ควรสวมเครื่องป้องกัน (เช่น ผ้าปิดปากปิดจมูก) แล้วใช้กระดาษแข็งกวาดสารปรอทมารวมกัน หรือใช้ผงกำมะถันโรยทับสารปรอทและตักใส่ภาชนะที่มีฝามิดชิด แล้วนำไปทิ้งในถังขยะ (ถังขยะอันตราย)
    - หากเทอร์โมมิเตอร์แตกขณะวัดไข้ในปาก ให้รีบบ้านปากออก แล้วไปพบแพทย์ทันที



    ไอปรอทเป็นพิษต่อร่างกายมกา ถ้าหายใจเข้าไปจะดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดทันที กระจายไปยังสมอง และส่วนอื่นของร่างกายได้รวดเร็วมาก แต่ขับออกมาในรูปของเสียได้น้อยมาก ปรอทจะจับยึดกับเม็ดเลือดแดงและกระจายไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย แล้วสามารถทำลายเนื้อเยื่อสมองส่วนที่ควบคุมการมองเห็นและความรู้สึกนึกคิด สารปรอทสามารถผ่านทางรกไปยังทารกในครรภ์ได้



    สารตะกั่ว
    แต่ละวันคนเรามีโอกาสได้รับสารตะกั่ว โดยตรงจากการกินอาหาร น้ำดื่ม หรือหายใจเอาสารตะกั่วเจือปนเข้าไป

    กลุ่มผู้เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่ว ได้แก่ คนงานที่ทำเหมืองตะกั่ว โรงงานผลิตแบตเตอรี่ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตสี โรงงานผลิตสารพิษกำจัดศัตรูพืช และคนที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณโรงงานหลอมตะกั่วหรือใกล้โรงงานที่มีการใช้สารตะกั่วเป็นวัตถุดิบ ตำรวจจราจร และคนที่อยู่ในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นเป็นเวลานาน

    เด็กอาจได้รับสารตะกั่วจากการหยิบสิ่งที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนเข้าปาก หรือรับจากน้ำนมแม่ที่มีสารตะกั่ว แม้แต่ทารกในครรภ์ ก็สามารถรับสารตะกั่วได้ทางสายสะดือ

    สารตะกั่วมีพิษมากโดยเฉพาะเด็ก ซึ่งอาจมีผลทำให้สมองพิการ ส่วนผู้ใหญ่อาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท สำหรับอันตรายโดยทั่วไปนั้นทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้น ทำให้เป็นโรคเลือดจาง และเป็นอันตรายต่อระบบประสาท ไต ทางเดินอาหาร ตับ และหัวใจ

    อาการโรคพิษตะกั่วเกิดได้กับหลายระบบของร่างกาย คือ

    ๑. ระบบประสาทส่วนกลางและสมอง อาการสำคัญที่พบ คือ สมองเสื่อมจากพิษตะกั่ว พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ มีอาการหงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย ซึม เวียนศีรษะ รายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการสั่นเวลาเคลื่อนไหว ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้

    ๒. ระบบประสาทส่วนปลายและกล้ามเนื้อ พบมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ กล้ามเนื้อที่ใช้บ่อยมีอาการอ่อนแรง หรืออัมพาต

    ๓. ระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน โดยเริ่มแรกมักมีอาการท้องผูก แต่บางรายอาจมีอาการท้องเดิน น้ำหนักลด กล้ามเนื้อหน้าท้องบีบเกร็งและกดเจ็บ ทำให้มีอาการปวดท้องมาก

    ๔. ระบบเลือด มักพบมีอาการซีด ทำให้เป็นโรคเลือดจาง

    ๕. ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่ได้รับตะกั่วเป็นเวลานาน ๆ อาจเกิดภาวะไตวาย เรื้อรัง

    ๖. ระบบโครงสร้าง ตะกั่วจะไปสะสมที่กระดูกโดยเฉพาะส่วนปลายกระดูกยาว

    ๗. ระบบสืบพันธ์ ผู้ที่ได้รับตะกั่วติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเป็นหมันได้ทั้งชายท้องหญิง

    ๘. ระบบอื่น ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของต่อมไทรอยด์ และการผิดปกติของดีเอ็น




    [fm]http://www.hotlinkfiles.com/files/1968893_je58p/unvunmaimeetherMaiPhisitpong.swf[/fm]
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    กระทู้
    641

    Re: โลหะหนัก ภัยใกล้ตัว

    Re: โลหะหนัก ภัยใกล้ตัวRe: โลหะหนัก ภัยใกล้ตัวRe: โลหะหนัก ภัยใกล้ตัวกันไว้ดีกว่าแก้ครับ ขั่นฮู้สิได้ป้องกันทัน ขอบคุณครับ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •