กระผมเองเป็นลูกครึ่ง (คุณพ่อ เป็นส่วยหรือกูย อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ คุณแม่ เป็นเขมร บุรีรัมย์ ) บรรพบุรุษทางคุณพ่อเป็นควาญช้าง เคยออกคล้องช้างป่า ปัจจุบันคงเหลือแต่ศาลปะกำให้ลูกหลานได้เคารพ กราบไหว้ ซึ่งผู้ที่จะขึ้นศาลปะกำนี้ได้ จะต้องเป็นลูกหลานผู้ชายโดยสายเลือดเท่านั้น หากลูกหลานในตระกูลจะทะอะไร เช่น แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ จะต้องเซ่นไหว้บอกกล่าวทุกครั้ง หรือลูกหลานจะไป หรือจะมา จากต่างถิ่น ก็จะต้องบอกกล่าว เพื่อเป็นศิริมงคล ปกปักรักษา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

ช่วงกลับบ้านสงกรานต์ ก็ได้ไปไหว้ศาลปะกำประจำตระกูล เลยเอารูปมาให้ดูครับ (รูปน้อยไปหน่อย ตอนขึ้นศาล ไม่มีใครถ่ายให้...)


ศาลปะกำ จะสร้างนอกตัวบ้าน เพื่อเป็นที่เก็บเชือกปะกำ
ศาลปะกำประจำตระกูล



ศาลปะกำประจำตระกูล


เชือกปะกำเป็นของสำคัญที่สุดในการโพนช้างหรือจับช้าง ปะกำแปลว่า บ่วงบาศ เชือกปะกำทำด้วยหนังควายทั้งตัว มาตัดเป็นริ้วๆตากแห้งเก็บเป็นปีแล้วเอามาฟั่นทำเชือก บางเส้นมีความยาวเท่าหนังควาย10ตัวเชือกปะกำนี้ถือว่าแรงหรือศักดิ์สิทธิ์มาก เพราะได้อัญเชิญวิญญาณปู่ย่าตายายครูบาอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสิงสถิตอยู่
ศาลปะกำประจำตระกูล