คำว่า "กาย"

เป็นสภาพธรรม ที่เคยยึดถือ ว่า เป็น "ร่างกาย"


.


คำว่า "เวทนา"

เป็น "ความรู้สึกต่าง ๆ" ซึ่งกำลังมีอยู่ ในขณะนี้

ข้อสำคัญ คือ ความรู้สึก ที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้.


.


คำว่า "จิต"

เป็น "สภาพรู้" ที่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้.


.


คำว่า "ธรรม"

เป็น "สิ่งที่มีจริงอื่นๆ" ที่ไม่ใช่กาย เวทนา จิต


.


ถ้าจะตอบโดยย่อ ๆ และ โดยนัยของการปฏิบัติ

คือ สภาพธรรมที่มีจริง ในขณะนี้ ที่จะรู้ได้...ก็ต้องเนื่องกับกาย.


.


ถ้าไม่มีกาย...........

จะรู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ได้ไหมคะ.?

..............ก็ไม่ได้.!


.


เพราะฉะนั้น

ที่มีการกล่าวถึง กาย เวทนา จิต ธรรม

ที่มีการแยกประเภทออกไป ต่าง ๆ กันนั้น

มาจากการที่ "สติ" เกิดขึ้น

ระลึกรู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่ปรากฏนั้นเอง.


.


สภาพธรรม ที่มีจริง ประเภทต่าง ๆ

ซึ่ง "สติ" ระลึกรู้ได้ และ เกิดที่ "กาย"

หมายความว่า...............................

"กาย" เป็นแหล่งที่รวม ที่เกิด ที่ปรากฏ ของสภาพธรรมทั้งหลาย.

เช่น ในขณะนี้ สภาพธรรม ที่มีจริง ปรากฏอยู่...........

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ.


.



ทางกาย....ก็คือ สภาพธรรมปรากฏ "ที่กาย" นั่นเอง

หมายความว่า

สติ สามารถระลึกรู้ลักษณะ ของสภาพธรรม

ที่ปรากฏ "ที่กาย"...ขณะใด

ขณะนั้น...ก็เป็น "กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน"


.


ทางตา..."ตา" อยู่ที่กาย แต่ว่า สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา

ไม่ใช่ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่ปรากฏที่กาย หรือ ทางกาย.


.


"ตา" อยู่ที่กาย...แต่สภาพธรรม ที่ปรากฏทางตา

คือ สีสัน วัณณะ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง

และมีอยู่ที่ "มหาภูตรูป"

แต่เวลาที่ปรากฏนั้น ต้องปรากฏ ทางตา

หมายความว่า

ถึงแม้ว่า "ตา" จะอยู่ที่กาย

แต่ว่า สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา เป็น สีสัน วัณณะ ต่าง ๆ

ไม่ใช่ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง และ ตึง-ไหว.


.


เพราะฉะนั้น

ลักษณะ ของสภาพธรรมที่ปรากฏ คือ

เป็น สี..................ที่ปรากฏ ทางตา

เป็น เสียง...............ที่ปรากฏ ทางหู

เป็น กลิ่น............ที่ปรากฏ ทางจมูก

เป็น รส.................ที่ปรากฏ ทางลิ้น

และเป็น เย็น ร้อน,อ่อน แข็ง, ตึง ไหว

ที่ปรากฏ ทางกาย.


.


ถ้า "สติ" ไม่เกิดขึ้น

ไม่มีการระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมใด สภาพธรรมหนึ่ง

ก็จะไม่รู้เลย ว่า เป็นเพียง สภาพธรรม แต่ละชนิด ๆ เท่านั้น

ซึ่งปรากฏ เฉพาะ แต่ละทาง ๆ ......โดยการแยกขาดจากกัน

จากการเกิดขึ้น และ ดับไป.


.


อย่างเช่น ทางตา...กำลังเห็น

เป็น "สภาพธรรมที่รู้"

คือ รู้ "สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา"

ไม่ใช่การ "ได้ยิน" หรือ "สภาพธรรมที่รู้เสียง"

ลักษณะของ "สภาพที่รู้สิ่งที่ปรากฏ" เป็นคนละอย่าง

"การเห็น".............เป็นอย่างหนึ่ง

"การได้ยิน".....เป็นอีกอย่างหนึ่ง

ฯลฯ


.


"ตา" อยู่ที่กาย และ "หู" ก็อยู่ที่กาย

แต่ "สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา" ไม่ใช่ "สภาพธรรมที่ปรากฏทางหู"

เป็น "ลักษณะ" แต่ละอย่าง ๆ ซึ่ง เกิดดับ...สืบต่อกัน.


.


เพราะฉะนั้น

เวลาที่สติเกิด ระลึกรู้ ลักษณะ ของสภาพธรรมที่เรียกว่า "กาย"

หมายถึง สติ ระลึกรู้ ลักษณะของ "ธาตุ" ได้แก่......................


เย็น หรือ ร้อน (ธาตุไฟ)

อ่อน หรือ แข็ง (ธาตุดิน)

ตึง หรือ ไหว (ธาตุลม)


"ธาตุ" เหล่านี้ สามารถรู้ได้ทางกาย หรือ ที่กาย

ที่ ๆ เคยยึดถือ ว่า........เป็นตัวตน สัตว์ บุคคล

หรือ "กาย" ที่เคยยึดถือ ว่า เป็น "กายของเรา"