มะเขือบ้า
มะเขือบ้า
มะเขือบ้า มะเขือบ้า
มะเขือบ้า
มะเขือบ้า
มะเขือบ้า

มะเขือบ้า

[img]up-img/users/public/o36695datura04[1]t131.jpg[/img
มะเขือบ้า

มะเขือบ้า





มะเขือบ้าหรือ ลำโพง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Thorn apple เป็นพืชล้มลุกมีพิษชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Solanaceae ลำต้นเมื่อโตเต็มที่มีขนาดความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลักษณะ ลำต้น ใบ คล้ายต้นมะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้น ได้ทั่วไปทั้งในพื้นที่แถบ ที่มีอากาศร้อน ร้อนชื้น เช่น ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ ประเทศที่มีอากาศหนาว เช่น ในยุโรป สหรัฐอเมริกา แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเซีย และในทวีปออสเตรเลีย เป็นต้น ยกเว้นในแถบ พื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำมากหรือทางแถบขั้วโลก ปัจจุบันพบว่าลำโพง ในโลกมีทั้งหมดมากกว่า 20 ชนิด ใน 2 สายพันธุ์ คือ Datura spp. กับ Brugmansia spp. และมีพันธุ์ผสมอีกมากมาย โดย เฉพาะสายพันธุ์ Brugmansia spp. ซึ่งนิยมปลูกเป็น ไม้ประดับ กันมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ และทางยุโรป ส่วนชนิด ที่พบบ่อย ในประเทศไทยได้แก่ ลำโพงขาว ซึ่งเป็นสายพันธุ์ Datura spp. มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Datura alba Nees คนทางภาคเหนือ เรียก มะเขือบ้า ลำโพงเริ่มออกดอกและ ให้ผลได้ เมื่อลำต้นสูงเพียง 1 ฟุตเท่านั้น ลำต้น กิ่ง ก้าน ก้านใบมีสีเขียว ใบสีเขียวอมเหลืองอ่อน เป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ดอกเป็นชนิด ดอก เดี่ยว ดอกจะออกตรง บริเวณโคนก้านใบกับแขนงของกิ่ง เมื่อดอกโต เต็มที่จะบานออกมีรูป ร่างคล้ายแตร หรือเครื่องลำโพงขยายเสียง ดอกมีขนาดยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร สีนวลชั้นเดียว ลำโพง อีกชนิดหนึ่งเรียก ลำโพง กาสลัก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Datura fastuosa Linn คนทาง ภาคเหนือเรียกมะเขือบ้าดอกดำ ซึ่งลำต้น กิ่ง ก้าน ก้านใบมีส ีม่วง เข้ม ดำมัน ส่วนใบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบหยัก โคนใบไม่เท่ากัน ดอกมี รูปร่างเหมือนลำโพงตามชื่อ มีสีม่วง ขนาด ของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น ดอกเมื่อโต เต็มที่จะบานออกมองเห็น คล้ายเป็นรูปแตร ชาวสวนจะ เรียก ชื่อว่า แตรนางฟ้า (angel's trumpet) ดอกมักจะซ้อนกัน 3 ชั้น เป็นส่วน ใหญ่ ถ้าเป็นพันธุ์ผสม ดอกจะซ้อนกัน 2 และ 4 ชั้น ลำโพงบางชนิดมีดอกสีขาวนวล ดอกซ้อนกัน 2-3 ชั้น ดอกลำโพง จะบานช่วงหัวค่ำ และจะหุบช่วง บ่ายของวันรุ่งขึ้นหรือวันถัดไป ลำโพงบางชนิดดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ แต่ถ้าดมใกล้ ๆ จะมีกลิ่นฉุนแรงมาก ลำโพงที่กล่าวมานี้มีผลคล้าย ผลมะเขือเปาะ บางชนิดมีลักษณะคล้ายหนามรอบผล บางชนิดเห็น เป็นปุ่ม ๆ รอบผล เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในหลายจังหวัด ทางภาค เหนือ เช่น ตาก นครสวรรค์ และภาคกลาง เช่น ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และกาญจนบุรี เป็นต้น ผลลำโพงเมื่อแก่เต็มที่ จะแตกออก ภายในมีเมล็ด สีน้ำตาลอมส้ม หรือสีเทาดำจำนวนมากมีผู้เคยพบเห็นลำโพง อีกชนิดหนึ่ง ขึ้นที่บริเวณดอยอ่างข่าง จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อ Datura stramonium ลำโพงชนิดนี้พบได้ทั่วไปในโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็นต้น และมักเรียกชื่อนี้ว่า Jimson weed, angel 's trumpet หรือ Jamestown weed เนื่องจากมีการ บันทึกทาง การแพทย์เป็นครั้งแรก ที่เมือง Jamestown รัฐ Verginia ในปี ค.ศ.1676 หรือ พ.ศ. 2219

แต่เดิมคนสมัยก่อนใช้ลำโพงเป็นยาสมุนไพร ช่วยระงับความเจ็บปวด (anodyne) และแก้อาการเกร็ง (antispamodic) หรือมวนเป็นบุหรี่ใช้สูบรักษาโรคหืด หรืออาจนำเมล็ดมาตำให้ละเอียด และแช่ในน้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา เมื่อครบ 7 วันนำมากรอง น้ำมันที่ได้นำมา ใช้ทาแก้ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอกได้ดี ในประเทศ สหรัฐอเมริกามีรายงานเกี่ยวกับการได้รับพิษจากกินลำโพงค่อนข้าง บ่อย เนื่องจากพืชชนิดนี้มีแพร่กระจายอยู่ในหลาย ๆ พื้นที่ของประเทศ เช่น บริเวณไร่นา เขตใกล้ภูเขา พื้นที่ลุ่มทั่วไป บริเวณที่รกร้าง ข้างกองขยะที่ทับถมด้วยสิ่งปฏิกูล ริมถนนหนทาง เด็ก ๆ มักได้รับพิษโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่นนำดอกลำโพงหยิบ ใส่ปากและเคี้ยวเล่น หรือดูดเล่นตรงบริเวณเกสร ของดอกลำโพง เข้าปาก ส่วนวัยรุ่นมักได้รับพิษจากการกินเมล็ดลำโพง ที่ผสมกับน้ำ หรือเครื่องดื่ม หรือได้รับคำแนะนำจากเพื่อนให้ทดลองกิน หรือผสม สารเสพติดชนิดอื่น ๆ เช่นกัญชา (marijuana) และ โคเคน (cocaine) เป็นต้น


ปริมาณสารพิษในลำโพง :
ทุกส่วนของลำต้น ใบ ดอก ผลของลำโพง มีคุณสมบัติ เป็นพิษทั้งสิ้น เช่น ลำโพงที่มีชื่อว่า Datura stramonium มีอัลคาลอยด์ (alkaloid) หลายชนิดรวมกันประมาณ 0.7 % ได้แก่ hyoscyamine, atropine, belladonine และ scopolamine สารพิษในต้นลำโพงไม่สามารถทำลาย ด้วยความ ร้อน ผลลำโพงเมื่อแก่เต็มที่จะแตกออก จะมองเห็น เป็นกระเปาะราว 4 กระเปาะ ภายในจะมีเมล็ดสีน้ำตาลอมส้มหรือ สีเทาดำ ประมาณ 50-100 เมล็ด เมล็ดลำโพงมีพิษสูงมาก เมล็ดลำโพง 10 เมล็ดจะมีปริมาณของ atropine 1 มิลลิกรัม


อาการทางพิษวิทยา:
อาการแสดงที่เกิดจากพิษลำโพงปรกติจะมีอาการ ภายในเวลา 30 นาที ถึง 60 นาที หลังจากกินเมล็ดลำโพง หรือส่วนต่าง ๆ ของลำโพง และอาการจะดำเนินต่อไปอีก 2-3 วันเนื่องจากสารอัลคาลอยด์ (alkaloid) ในลำโพงจะออกฤทธิ์อย่าง ช้า ๆในระบบทางเดินอาหาร อาการเบื้องต้นที่พบบ่อยคือปากคอแห้ง กระหายน้ำ กลืนอาหาร และน้ำด้วยความยากลำบาก ต่อมา สายตาพร่ามัว ระบบประสาทกลางถูกกระตุ้น มีอาการเคลิบเคลิ้ม เป็นสุข ต่อมาเกิดอาการเพ้อคลั่ง มีอาการประสาทหลอน เพ้อ เห็นสิ่งประหลาดต่าง ๆ นานาอย่างน่าสะพรึงกลัว เช่น เห็นแมลง จำนวนมากมายอยู่บนผนัง หรือเห็นปลาฉลามกำลังไล่ล่ามนุษย์ อย่างน่ากลัว หัวใจเต้นเร็ว อุณหภูมิในร่างกายสูงผิดปรกติ ไม่ สามารถจดจำเหตุการณ์ผิดปรกติในระหว่างเกิดอาการ และ อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้


รายงานอาหารเป็นพิษ:
สำหรับในประเทศไทย เคยมีรายงานทางการ แพทย์ เมื่อปี พ.ศ. 2522 ระบุว่ามีคนงาน ชาย หญิงจำนวน 6 คน กินขนมจีนน้ำยาเจือปนด้วยส่วนประกอบของลำโพง คนงานทั้งหมด ถูกส่งโรงพยาบาลและผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการ มึนศีรษะ ตาพร่า ใจสั่น ปากคอแห้ง กระหายน้ำ ปวดปัสสาวะแต่ถ่ายไม่ออก หลังจากนำ น้ำล้างกระเพาะไปตรวจทางห้องปฏิบัติการพบสารคล้ายอะโทรปีน จากน้ำแกง (น้ำยา) เป็นชนิดเดียวกับสารที่พบในลำโพง อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยทั้งหมดก็มีลักษณะเช่นเดียว กับพิษที่เกิด จากสารเบลลาดอนนา (belladonna) จากการศึกษาพบว่า ส่วนสกัดจากต้นใบ ดอก และผลของลำโพง ซึ่งเก็บรวบรวม มาจาก บริเวณใกล้แหล่งเกิดเหตุ พบว่ามีอัลคาลอยด์ (alkaloid) พวก เบลลาดอนนา อยู่ในปริมาณมาก


และเมื่อไม่นานมานี้ นายแพทย์ จตุรงค์ ธีระกนก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่าศูนย์ปฏิบัติการ ป้องกันควบคุมโรคจังหวัดร้อยเอ็ดรับแจ้งจากโรงพยาบาล กรุงเทพ จุรีเวช ว่า มีสามเณร 8 รูป จากวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด เข้ารับการรักษาด้วยอาการถูกพิษเพราะนำผลแห้งของมะเขือบ้า 5 ผลมาต้มแล้วใส่น้ำตาล และน้ำหวานเฮลซ์บลูบอยดื่ม เพราะเชื่อว่า จะทำให้สมองดี จากนั้นก็มีอาการมึนงง วิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัว ประสาทหลอนพูดคุยไม่รู้เรื่อง บางรายพูดคนเดียว ผุดลุกผุดนั่ง ไม่เป็นสุข และวิ่งไป วิ่งมา บางรายคลื่นไส้อาเจียน อย่างไรก็ตาม วันรุ่งขึ้น มีอาการดีขึ้นและแพทย์อนุญาตให้กลับวัดได้