ธาตุเจ้าเรือน


ธาตุเจ้าเรือน



ธาตุเจ้าเรือนคืออะไร

ตามทฤษฎีการแพทย์ไทย กล่าวว่า คนเราเกิดมาในร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งในแต่ละคนจะมีธาตุหลักเป็นธาตุประจำตัว เรียกว่า“ธาตุเจ้าเรือน ” ซึ่งธาตุเจ้าเรือนนี้มี ๒ ลักษณะ คือ ธาตุเจ้าเรือนเกิด ซึ่งจะเป็นไปตาม วันเดือนปีเกิด และธาตุเจ้าเรือนปัจจุบัน ที่พิจารณาจาก บุคลิก ลักษณะ อุปนิสัยและภาวะด้านสุขภาพ กายและใจ ว่าสอดคล้องกับลักษณะของบุคคลธาตุเจ้าเรือนอะไร



ตามทฤษฎีโบราณจะใช้รสชาติของอาหารเป็นยารักษาโรคโดยรสชาติต่าง ๆ จะมีผลต่อร่างกาย จำเป็นกลอนง่าย ๆ ให้ขึ้นใจจากรสยา ๙ รส ต่าง ๆ ตามนี้

ฝาดชอบทางสมาน......... หวานซึบซาบไปตามเนื้อ
เมาเบื่อแก้พิษต่าง ๆ....... ขมแก้ทางโลหิตและดี
รสมันบำรุงหัวใจ........... เค็มซึมซาบตามผิวหนัง
เปรี้ยวแก้ทางเสมหะ...... เผ็ดร้อนแก้ทางลม



เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุลย์ บุคคลจะไม่ค่อยเจ็บป่วย หากขาดความสมดุลมักจะเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจาก จุดอ่อนด้านสุขภาพของแต่ละคนตามเรือนธาตุที่ขาดความสมดุลย์

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นสิ่งที่สามารถช่วยได้ระดับหนึ่งในเบื้องต้นคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารของแต่ละคนในชีวิตประจำวัน โดยใช้รสของอาหารคุณลักษณะที่เป็นยามาปรับ สมดุลของร่างกายเพื่อป้องกันความเจ็บป่วย

จะรู้อย่างไรว่าเป็นคนธาตุอะไร มีจุดอ่อนด้านสุขภาพด้วยโรคอะไร และควรจะรับประทานอาหารอย่างไร ให้ตรงกับธาตุเจ้าเรือนของตนสามารถอ่านได้จากอาหาร สมุนไพรประจำธาตุดังต่อไปนี้




อาหารสมุนไพรประจำ ธาตุดิน



ธาตุดิน คือ คนที่เกิดเดือน ๑๑, ๑๒, ๑ หรือ ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม

ลักษณะรูปร่าง: รูปร่างสูงใหญ่ ผิวค่อนข้างคล้ำผมดกดำ กระดูกใหญ่ ข้อกระดูกแข็งแรง น้ำหนักตัวมาก ล่ำสัน เสียงดังหนักแน่น

ควรรับประทานอาหารรส: ฝาด หวาน มัน และเค็ม

ตัวอย่างผลไม้: มังคุด ฝรั่งฟักทอง เผือก ถั่วต่าง ๆ เงาะ หัวมันเทศ

ตัวอย่างผักพื้นบ้าน: ผักกระโดน กล้วยดิบ ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะยม สมอไทย กระถินไทย กระโดนบก กระโดนน้ำ ผักหวาน ขุ่นอ่อน สะตอ ผักโขม โสน ขจร ยอดฟักทอง ผักเซียงดา ลูกเหนียงนก บวบเหลี่ยม บวบงู บวบหอม

ตัวอย่างเมนูอาหาร: ผักกูดผัดน้ำมันงา ดอกงิ้วทอดไข่ แกงป่า กล้วยดิบ คั่วขนุน สะตอผัดกุ้ง สมอไทย ผัดน้ำมันหอย

ตัวอย่างอาหารว่าง: เต้าส่วน วุ้นกะทิ กล้วยบวชชี แกงบวดฟักทอง ตะโก้เผือก

ตัวอย่างเครื่องดื่ม: น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด น้ำมะตูม นมถั่วเหลือง น้ำแคนตาลูป น้ำส้ม น้ำฝรั่ง น้ำลูกเดือย น้ำข้าวโพด น้ำแห้ว น้ำฟักทอง

เกร็ดความรู้: ผู้มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุดิน มักจะไม่ค่อยเจ็บป่วยเพราะธาตุดินเป็นที่ตั้งของกองธาตุ



อาหารสมุนไพรประจำ ธาตุน้ำ


ธาตุน้ำ คือ คนที่เกิดเดือน ๘, ๙, ๑๐ หรือ กรกาคม สิงหาคม กันยายน

ลักษณะรูปร่าง: รูปร่างสมบรูณ์ สมส่วน ผิวพรรณสดใส เต่งตึง ตาหวาน น้ำในตามาก ท่าทางเดินมั่นคง ผมดกดำงาม ทนหิว ทนร้อน ทนเย็นได้ดี เสียงโปร่ง ความรู้สึกทางเพศดี อากัปกิริยามักเฉื่อย และค่อนข้างเกียจคร้าน

ควรรับประทานอาหารรส: เปรี้ยว และขม

ตัวอย่างผลไม้: มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขื่อเทศ มะยม มะกอก มะดัน กระท้อน

ตัวอย่างผักพื้นบ้าน: ขี้เหล็ก แคบ้าน ชะมวง ผักติ้ว ยอดมะกอก ยอดมะขาม มะอึก มะเขือเครือ สะเดาบ้าน มะระขี้นก มะระจีน มะแว้ง ใบยอ

ตัวอย่างเมนู: แกงขี้เหล็กปลาย่าง แกงส้มดอกแค แกงอ่อม มะระขี้นก ผัดมะระใส่ไข่ ห่อหมกใบยอ แกงป่าสะเดาใส่ปลาหมอ แกงป่า สะเดาปิ้ง ต้มโคล้งยอดมะขาม ใบยอผัดน้ำมันหอยใส่หมูบด

ตัวอย่างอาหารว่าง: มะยมเชื่อม สับปะรดกวน กระท้อน ลอยแก้ว มะม่วงน้ำปลาหวาน มะม่วงกวน

ตัวอย่างเครื่องดื่ม: น้ำมะนาว น้ำใบบัวบก น้ำมะเขือเทศ น้ำมะขาม น้ำสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบ มะเฟือง

เกร็ดความรู้: ผู้ที่ธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุน้ำ ในช่วงอายุแรกเกิด – ๑๖ ปีมักจะมีอาการเป็นหวัดคัดจมูก ตาแฉะ ในฤดูหนาว จะเจ็บป่วยง่ายเพราะธาตุน้ำกำเริบ





อาหารสมุนไพรประจำ ธาตุลม


ธาตุลม คือคนที่เกิดเดือน ๕, ๖, ๗ หรือเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน

ลักษณะรูปร่าง: ผิวหนังแท้หยาบกร้าน รูปร่างโปร่ง ผอมบาง ข้อกระดูก มักลั่นเมื่อ เคลื่อนไหว ขี้อิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ ช่างพูด เสียงต่ำ ออกเสียงไม่ชัดเจน ความรู้สึก ทางเพศไม่ค่อยดี

ควรรับประทานอาหารรส: เผ็ดร้อน

ตัวอย่างผลไม้ - ตัวอย่างผักพื้นบ้าน: ขิงข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย กระทือ ดอกกระเจียว ขมิ้นชัน ผักคราด ช้าพลู ผักไผ่ พริกขี้หนูสด สะระแหน่ หูเสือ ผักแขยง ผักชีลาว ผักชีล้อม ยี่หร่า สมอไทย กานพลู

ตัวอย่างเมนูอาหาร: แกงปลาดุกใส่กระทือ ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง แกงหอยขมใส่ใบช้าพลู สมอไทยทุบ ๆ ผัดน้ำมันพืช สมอไทย จิ้มน้ำพริก

ตัวอย่างอาหารว่าง: บัวลอยน้ำขิงเต้าฮวย เต้าทึง มันต้มขิง ถั่วเขียว ต้มขิง เมื่ยงคำ

ตัวอย่างเครื่องดื่ม: น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำข่า น้ำก้านพลู

เกร็ดความรู้: ผู้ที่ธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุลม ในช่วงอายุ ๓๒ ปีขึ้นไป มักจะมี อาการเวียนหัว หน้ามืด เป็นลมง่าย ในฤดูฝน จะเจ็บป่วยง่าย เพราะธาตุลมกำเริบ




อาหารสมุนไพรประจำ ธาตุไฟ

ธาตุไฟ คือ คนที่เกิดเดือน ๒, ๓, ๔ หรือ มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม

ลักษณะรูปร่าง: มักขี้ร้อน ทนร้อนไม่ค่อยได้ หิวบ่อย กินเก่ง ผมหงอกเร็ว มักหัวล้าน ผิวหนังย่น ผม ขน และหนวดอ่อนนิ่ม ไม่ค่อยอดทนใจร้อน ข้อกระดูกหลวม มีกลิ่นปากกลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปานกลาง

ควรรับประทานอาหารรส: ขม เย็น และจืด

ตัวอย่างผลไม้: แตงโม มันแกว พุทรา แอปเปิ้ล

ตัวอย่างผักพื้นบ้าน: ผักบุ้ง ตำลึง ผักกระเฉด ผักกระสัง สายบัว ผักกาดจีน ผักกาดนา ผักกาดนกเขา มะระ ผักปรัง มะรุม มะเขือยาว ผักหนาม ยอดมันเทศ กระเจี๊ยบมอญ สะเดา ยอดฟักทอง หยวกกล้วย หม่อน มะเขือยาว กุ้ยช่าย

ตัวอย่างเมนูอาหาร: ผัดผักบุ้ง แกงจืดตำลึง ผัดสายบัวใส่พริก แกงส้มมะรุม แกงคูน แกงจืดมะระ แกงส้มหยวกกล้วยใส่ปลาช่อน ยำผักกะเฉด ผักหนามผัดน้ำมันหอย

ตัวอย่างอาหารว่าง: ซาหริ่ม ไอศกรีม น้ำแข็งใส ตัวอย่าง

เครื่องดื่ม: น้ำแตงโมปั่น น้ำใบเตย น้ำเก็กฮวย

เกร็ดความรู้: ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟ ในช่วงอายุ ๑๖-๓๒ มักจะหงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียบ่อย เป็นคนเจ้าอารมณ์ในฤดูร้อน จะเจ็บป่วยง่ายอาจเป็น ไข้ตัวร้อนได้ง่าย เพราะธาตุไฟกำเริบ




แหล่งที่มาของข้อมูล:
แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ สถาบันการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยการแพทย์แบบองค์รวม สำนักงานปลัดกระทรวงสารธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพของโภชนา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

สถาบันการแพทย์แผนไทย (The Institute of Thai Traditional Medicine)