กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: ปปช. มีมติว่า "พีรพันธุ์-สีหนาท" ใช้อำนาจปปง.โดยไม่ชอบ

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ปปช. มีมติว่า "พีรพันธุ์-สีหนาท" ใช้อำนาจปปง.โดยไม่ชอบ

    ปปช. มีมติว่า "พีรพันธุ์-สีหนาท" ใช้อำนาจปปง.โดยไม่ชอบ
    ในการสั่งตรวจบัญชีสื่อมวลชน-เอ็นจีโอ-นักการเมือง

    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    วันที่ 2 พฤษภาคม 2552

    <o:p></o:p>
    หมายเหตุ
    คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มีมติเมื่อวัน ที่ 30 เมษายน 2552 ในคดีที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบธุรกรรมการเงินของบุคคลและนิติบุคคลต่าง ๆ โดยมิชอบ ว่า
    <o:p></o:p>
    การกระทำของ พล.ต.ต. พีรพันธุ์ เปรมภูติ ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและ พ.ต.อ สีหนาท ประยูรรัตน์ </st1:ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศและติดตามประเมินผล สำนักงาน ปปง. มีมูลเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
    <o:p></o:p>
    ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 85 วรรคสอง และการกระทำของ พล.ต.ต. พีรพันธุ์ ยังมีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ด้วย


    *************************************************************

    ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดการวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

    เรื่องกล่าวหา พล.ต.ต. พีรพันธุ์ เปรมภูติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ปปง.(ปัจจุบันประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเทียบเท่าระดับ 11) กับพวก ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน
    <o:p></o:p>
    ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง (มีนายวิชา มหาคุณ เป็นประธานอนุกรรมการ) กรณีกล่าวหา พล.ต.ต. พีรพันธ์ กับพวกว่า ดำเนินการตรวจสอบธุรกรรมการเงินของบุคคลและนิติบุคคลต่าง ๆ (ประกอบด้วยสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนและนักการเมือง) โดยมิชอบนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า
    <o:p></o:p>
    เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2545 พล.ต.ต. พีรพันธุ์ เปรมภูติ ได้สั่งการให้ พันตำรวจเอก สีหนาท ประยูรรัตน์ (ปัจจุบันรักษาการเลขาธิการ ปปง. เข้าดำเนินการตรวจสอบการทำธุรกรรมการเงินของบุคคลและนิติบุคคลต่าง ๆ เนื่องจากได้รับหนังสือร้องเรียน (บัตรสนเท่ห์) กล่าวหาว่า บุคคลและนิติบุคคลต่าง ๆ ดังกล่าว อาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน
    <o:p></o:p>
    ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้น ไม่ปรากฏรายงานธุรกรรมของบุคคลและนิติบุคคลดังกล่าว ในฐานข้อมูลรวบรวมรายงานการทำธุรกรรม (AERS) ของสำนักงาน ปปง. แต่อย่างใด แต่ พ.ต.อ.สีหนาท ได้ทำการวิเคราะห์สถานะการเงินและผลประกอบการของบริษัทนิติบุคคล ที่มีรายชื่อถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อสารมวลชน รวมทั้งการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของบุคคลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนิติบุคคลเหล่านี้
    <o:p></o:p>
    แล้วเสนอความเห็นให้ พล.ต.ต. พีรพันธุ์ ทราบว่า ผลประกอบการของนิติบุคคลดังกล่าว น่าสงสัยว่า อาจเข้าข่ายความผิดมูลฐาน ในเรื่องฉ้อโกงประชาชน นิติบุคคลบางรายน่าสงสัยว่า นำเงินทุนจากที่ใดมาขยายกิจการ นิติบุคคลบางรายขาดทุนอย่างต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี แต่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ บุคคลที่เกี่ยวข้องมีการเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้ง
    <o:p></o:p>
    เห็นควรตรวจสอบกระแสเงินในบัญชีธนาคารไทย ทั้ง 17 แห่งของบริษัทและกลุ่มบุคคลดังกล่าว รวมทั้งบุคคลในครอบครัวเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาต่อไป ซึ่ง พล.ต.ต. พีรพันธุ์ เห็นชอบกับข้อเสนอดังกล่าวและสั่งการให้พ.ต.อ.สีหนาท ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน ของกลุ่มบุคคลดังกล่าว

    หลังจากนั้นพ.ต.อ. สีหนาท มีหนังสือสำนักงาน ปปง.ถึงสถาบันการเงินต่าง ๆ ขอให้ตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมของบุคคลและนิติบุคคลต่าง ๆ ตามหนังสือร้องเรียน (บัตรสนเท่ห์) เป็นเหตุให้บุคคลผู้ถูกตรวจสอบ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้เพิกถอนหนังสือสำนักงาน ปปง. ที่ขอให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงินดังกล่าว
    <o:p></o:p>

    ก่อนที่ศาลปกครองกลาง จะมีคำวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งในเรื่องนี้ ปรากฏว่า พล.ต.ต. พีรพันธุ์ และพ.ต.อ. สีหนาท และสำนักงาน ปปง. มีหนังสือถึงสถาบันการเงิน แจ้งยกเลิกหนังสือขอตรวจสอบข้อมูลทางธุรกรรม เป็นผลให้ในเวลาต่อมาศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ โดยปรากฏตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางในตอนหนึ่งว่า
    <o:p></o:p>
    ข้อเท็จจริงที่ปรากฏแก่ พล.ต.ต. พีรพันธุ์ และพ.ต.อ. สีหนาท ประยูรรัตน์ มีเพียงหนังสือร้องเรียน (บัตรสนเท่ห์) กล่าวหาบุคคลและนิติบุคคล รวมทั้งผู้ฟ้องคดีซึ่งถูกตรวจสอบว่า เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำอันเป็นความผิดมูลฐาน ยังไม่ปรากฏว่า มีการกระทำความผิดมูลฐานหรือการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเกิดขึ้น และไม่ได้มีข้อเท็จจริงหรือเหตุอันควรเชื่อว่า บุคคลและนิติบุคคล รวมทั้งผู้ฟ้องคดี อาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้ายปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินใด ที่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด

    และที่สำคัญคือ สำนักงานไม่ได้รายงานคณะกรรมการธุรกรรม หรือคณะกรรมการธุรกรรม มิได้มีการมอบหมายให้ พ.ต.อ.สีหนาท ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเลขาธิการ ให้ดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม แม้ว่า พ.ต.อ. สีหนาท จะได้รับมอบหมายจากพล.ต.ต.พีรพันธุ์ ซึ่งเป็นเลขาธิการและเป็นประธานกรรมการของคณะกรรมการธุรกรรม ก็ตาม <o:p></o:p>
    แต่การมอบหมายของพล.ต.ต. พีรพันธุ์ ยังไม่เพียงพอที่จะเป็นเงื่อนไขในการใช้อำนาจตามข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2543) เพราะข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2543) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่มอบหมายให้ทำการตรวจสอบเพิ่มเติม คือ คณะกรรมการธุรกรรม ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้ องคดีทั้งสี่ในประเด็นนี้ จึงฟังไม่ขึ้น

    อาศัยเหตุผลต่าง ๆ ดังกล่าว ศาลเห็นว่า คำสั่งตามหนังสือเรื่องขอตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมที่ พ.ต.อ. สีหนาท ประยูรรัตน์ มีไปถึงสถาบันการเงิน และสั่งให้สถาบันการเงิน ส่งให้กับสำนักงาน ปปง. เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเหตุที่เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่ง ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะออกคำสั่งดังกล่าวได้ แต่โดยที่มีการแจ้งยกเลิกหนังสือขอตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรม อันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้แล้ว ถือว่าเหตุแห่งการฟ้ องคดีดังกล่าว ได้สิ้นสุดลง จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
    <o:p></o:p>

    คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ พล.ต.ต. พีรพันธุ์ สั่งการให้พ.ต.อ.สีหนาท ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน ของบุคคลและนิติบุคคลต่าง ๆ โดยมีหนังสือสำนักงาน ปปง. ถึงสถาบันการเงิน ขอให้ตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมของบุคคลดังกล่าว ทั้งที่ ปราศจากข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันสมควรในการตรวจสอบ
    <o:p></o:p>
    จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิของบุคคลที่ได้รับความคุ้มครอง ทั้งในด้านข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่การงาน เกียรติยศ ชื่อเสียงและความเป็นส่วนตัว อันเป็นการละเมิดต่อบุคคลดังกล่าว

    คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติว่า การกระทำของพล.ต.ต. พีรพันธุ์ และพ.ต.อ. สีหนาท มีมูลเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 85 วรรคสอง
    <o:p></o:p>
    และการกระทำของ พลตำรวจตรี พีรพันธุ์ เปรมภูติ ยังมีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

    ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยกับ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติและพ.ต.อสีหนาท ประยูรรัตน์ และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาล ซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีกับ พล.ต.ต พีรพันธุ์ ฐานความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 92 และมาตรา 97 แล้วแต่กรณีต่อไป


    <o:p></o:p>
    ที่มา มติชน
    <o:p></o:p>
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 09-05-2009 at 06:55.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •