กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: ลักษณะภูมิประเทศของไทย

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ลักษณะภูมิประเทศของไทย

    ลักษณะภูมิประเทศของไทย

    ลักษณะภูมิประเทศในแต่ละภาคของประเทศไทย

    ภาคเหนือ
    ภาคเหนือประกอบด้วยพื้นที่ของ 9 จังหวัด ได้แก่ 1.เชียงราย 2.แม่ฮ่องสอน 3.พะเยา 4.เชียงใหม่
    5.น่าน 6.ลำพูน 7.ลำปาง 8.แพร่ 9.อุตรดิตถ์
    --------------------------------------------------------------------------------
    ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงทอดยาวขนานกันในแนวเหนือ-ใต้ และระหว่างเทือกเขาเหล่านี้มีที่ราบและมี
    หุบเขาสลับอยู่ทั่วไป
    เทือกเขาที่สำคัญ คือ เทือกเขาหลวงพระบาง เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเขาขุนตาล
    และ เทือกเขาเพชรบูรณ์ ยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคนี้ ได้แก่ ยอดอินทนนท์(เดิมชื่อ ดอยอ่างกา) อยู่ในจังหวัด
    เชียงใหม่ มีความสูงประมาณ 2,595 เมตร
    เทือกเขาในภาคเหนือเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายยาว 4 สาย ได้แก่ แม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน แม่น้ำดังกล่าวนี้ไหลผ่าน
    เขตที่ราบหุบเขา พื้นที่ทั้งสองฝั่งลำน้ำจึงมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้มีผู้คนอพยพไปตั้งหลักแหล่ง
    ในบริเวณดังกล่าวหนาแน่น
    นอกจากนี้ภาคเหนือยังมีแม่น้ำสายสั้นๆ อีกหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำกก และแม่น้ำอิง ซึ่งไหลลงสู่ แม่น้ำโขง แม่น้ำปาย
    แม่น้ำเมย และแม่น้ำยวม ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน
    ---------------------------

    ภาคกลาง
    ภาคกลางประกอบด้วยพื้นที่ของ 22 จังหวัด ได้แก่ 1.สุโขทัย 2.พิษณุโลก 3.กำแพงเพชร 4.พิจิตร 5.เพชรบูรณ์(ภาคกลางตอนบน)
    6.นครสวรรค์ 7.อุทัยธานี 8.ชัยนาท 9.ลพบุรี 10.สิงห์บุรี 11.อ่างทอง 12.สระบุรี 13.สุพรรณบุรี 14.พระนครศรีอยุธยา
    15.นครนายก 16.ปทุมธานี 17.นนทบุรี 18.นครปฐม 19.กรุงเทพมหานคร 20.สมุทรปราการ 21.สมุทรสาคร 22.สมุทรสงคราม
    --------------------------------------------------------------------------------
    ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบดินตะกอนที่ลำน้ำพัดมาทับถม ในบริเวณที่ราบนี้มีภูเขาโดดๆซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขา
    หินปูนกระจาย อยู่ทั่วไป ภูมิประเทศตอนบนของภาคกลางเป็นที่ราบลูกฟูกคือเป็นที่สูงๆต่ำๆและมีภูเขาที่มีแนวต่อเนื่องจาก
    ภาคเหนือ เข้ามาถึงพื้นที่บางส่วนของจังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ส่วนพื้นที่ตอนล่างของภาคกลางนั้นเป็นดินดอนสามเหลี่ยม
    ปากแม่น้ำ เจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน นอกจากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ตอนล่างของภาคกลางยัง
    มีแม่น้ำไหลผ่านอีก หลายสาย ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำนครนายก เขตนี้เป็นที่ราบกว้างขวางซึ่ง
    เกิดจากดินตะกอน หรือดิน เหนียวที่แม่น้ำพัดพามาทับถมเป็นเวลานาน จึงเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกมาก และ
    เป็นเขตที่มีประชากรเยอะที่สุด ในประเทศไทย ฉะนั้นภาคกลางจึงได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของไทย
    --------------------------------------------------------------------------------

    ภาคอีสาน
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยพื้นที่ของ 20 จังหวัด ได้แก่ 1.เลย 2.หนองคาย 3.อุดรธานี 4.สกลนคร 5.นครพนม
    6.ขอนแก่น 7.กาฬสินธุ์ 8.มุกดาหาร 9.ชัยภูมิ 10.มหาสารคาม 11.ร้อยเอ็ด 12.ยโสธร 13.นครราชสีมา 14.บุรีรัมย์
    15.สุรินทร์ 16.ศรีสะเกษ 17.อุบลราชธานี 18.อำนาจเจริญ 19.หนองบัวลำภู 20 บึงกาฬ
    --------------------------------------------------------------------------------
    ภูมิประเทศทั่วไปมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายจาน ลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงใต้มีขอบเป็นภูเขาสูงทางตะวันตกและทางใต้
    ขอบทางตะวันตก ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็น ส่วนทางใต้ ได้แก่ เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขา
    พนมดงรัก พื้นที่ด้านตะวันตกเป็นที่ราบสูง เรียกว่า ที่ราบสูงโคราช ภูเขาบริเวณนี้เป็นภูเขาหินทราย ที่รู้จักกันดี
    เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยว คือ ภูกระดึง ภูหลวง ในจังหวัดเลยแม่น้ำที่สำคัญของภาคนี้ได้แก่ แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล
    ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากเทือกเขาทางทิศตะวันตก และทางใต้แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขง ทำให้สองฝั่งแม่น้ำเกิดเป็นที่ราบ
    น้ำท่วมถึงเป็นตอนๆ พื้นที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูปแอก*เป็นจำนวนมาก แต่ทะเลสาบเหล่านี้
    จะมีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้นเมื่อถึงฤดูร้อนน้ำก็จะเหือดแห้งไปหมด เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ น้ำจึงซึม
    ผ่านได้เร็ว ภาคนี้จึงมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถ
    ใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่ เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งมีเนื้อที่ถึงประมาณ 2ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 5
    จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้พยายามปรับปรุงพื้นที่
    ให้ดีขึ้น โดยใช้ระบบชลประทานสมัยใหม่ ทำให้สามารถเพาะปลูกได้จนกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ
    ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ก็ปลูกได้เฉพาะหน้าฝนเท่านั้น หน้าแล้งสามารถทำการเพาะปลูกได้เฉพาะ
    บางส่วนเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมบริเวณทั้งหมด
    ------------------------------------

    ภาคตะวันตก
    ภาคตะวันตก ประกอบด้วยพื้นที่ของ 5 จังหวัด ได้แก่ 1.ตาก 2.กาญจนบุรี 3.ราชบุรี 4.เพชรบุรี 5.ประจวบคีรีขันธ์
    --------------------------------------------------------------------------------
    ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง ได้แก่ เมือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวภูเขาที่ซับซ้อน
    มีที่ราบแคบๆ ในเขตหุบเขาเป็นแห่งๆและมีที่ราบเชิงเขาต่อเนื่องกับที่ราบภาคกลางเทือกเขาเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดของ แม่น้ำ
    แควน้อย (แม่น้ำไทรโยค)และแม่น้ำแควใหญ่(ศรีสวัสดิ์) ซึ่งไหลมาบรรจบกัน เป็นแม่น้ำแม่กลอง
    ระหว่างแนวเขามีช่องทางติดต่อกับพม่าได้ ที่สำคัญคือ ด่านแม่ละเมาในจังหวัดตาก และด่านพระเจดีย์สามองค์ ในจังหวัด
    กาญจนบุรี
    --------------------------

    ภาคตะวันออก
    ภาคตะวันออก ประกอบด้วยพื้นที่ของ 7 จังหวัด ได้แก่ 1.ปราจีนบุรี 2.ฉะเชิงเทรา 3.ชลบุรี 4.ระยอง 5.จันทบุรี
    6.ตราด 7.สระแก้ว
    --------------------------------------------------------------------------------
    ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปคือมีราบใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของภาค มีเทือกเขาจันทบุรีอยู่ทางตอนกลางของภาค
    มีเทือกเขาบรรทัดอยู่ทางตะวันออกเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา และมีที่ราบ
    ชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาจันทบุรีกับอ่าวไทย ถึงแม้จะเป็นที่ราบแคบๆ แต่ก็เป็นพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์
    เหมาะสำหรับการปลูกไม้ผล ในภาคนี้มีจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสะแก้วเป็นจังหวัดที่ไม่มีอาณาเขตจดทะเล
    นอกนั้นทุกจังหวัดล้วนมีทางออกทะเลทั้งสิ้น ชายฝั่งทะเลของภาคนี้ เริ่มจากปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
    ไปถึงแหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด ยาวประมาณ 505 กิโลเมตร เขตพื้นที่ชายฝั่งของภาคนี้มีแหลมและอ่าว
    อยู่เป็นจำนวนมากและมีเกาะใหญ่น้อยเรียงรายอยู่ไม่ห่างจากฝั่งนัก เช่น เกาะช้าง เกาะกูด เกาะสีชัง เกาะล้าน
    เป็นต้น
    ----------------------

    ภาคใต้
    ภาคใต้ประกอบด้วยพื้นที่ของ 14 จังหวัดได้แก่ 1.ชุมพร 2.สุราษฎ์ธานี 3.นครศรีธรรมราช 4.พัทลุง 5.สงขลา 6.ปัตตานี
    7.ยะลา 8.นราธิวาส 9.ระนอง 10.พังงา 11.กระบี่ 12.ภูเก็ต 13.ตรัง 14.สตูล
    --------------------------------------------------------------------------------
    ภูมิประเทศทั่วไปมีลักษณะเป็นคาบสมุทรยื่นไปในทะเล ทางตะวันตกของคาบสมุทรมีเทือกเขาภูเก็ตทอดตัวเลียบ
    ชายฝั่งไปจนถึงเกาะภูเก็ต ตอนกลางของภาคมีเทือกเขานครศรีธรรมราช ส่วนทางตอนใต้สุดของภาคใต้มีเทืกเขา
    สันกาลาคีรีวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก และเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างไทยกับมาเลเซียด้วย
    พื้นที่ทางชายฝั่งตะวันออกมีที่ราบมากกว่าชายฝั่งตะวันตก ได้แก่ ที่ราบในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช
    พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
    ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้มีชายหาดเหมาะสำหรับเป็นที่ตากอากาศหลายแห่ง เช่น หาดสมิหลา จังหวัด
    สงขลาและหาดนราทัศน์ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น เกาะที่สำคัญทางด้านนี้ ได้แก่ เกาะสมุยและเกาะพะงัน ส่วนชายฝั่ง
    ทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย มีเกาะที่สำคัญคือ เกาะภูเก็ต เกาะตะรุเตา เกาะยาวและเกาะลันตา
    นอกจากนี้ ในเขตจังหวัดสงขลาและพัทลุงยังมีทะเลสาบเปิด(Lagoon)ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย
    ตะวันออกเฉียงใต้ คือ ทะเลสาบสงขลา มีความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุด
    ประมาณ 20 กิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 974 ตารางกิโลเมตร ส่วนเหนือสุดของทะเลสาบเป็นแหล่งน้ำจืด
    เรียกว่าทะเลน้อยแต่ทางส่วนล่างน้ำของทะเลสาบจะเค็ม เพราะมีน่านน้ำติดความกับอ่าวไทย น้ำทะเลจึงไหล
    เข้ามาได้ ในทะเลสาบสงขลามีเกาะอยู่หลายเกาะ บางเกาะเป็นที่ทำรังของนกนางแอ่น บางเกาะเป็นที่อยู่ของเต่าทะเล
    นอกจากนี้ในทะเลสาบยังมี ปลา และกุ้งชุกชุมอีกด้วย
    ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้มีลักษณะเว้าแหว่งมากกว่าด้านตะวันออก ทำให้มีทิวทัศน์ที่
    สวยงามหลายแห่ง เช่น หาดนพรัตน์ธารา จังหวัดกระบี่ หมู่เกาะซิมิลัน จังหวัดพังงา ชายฝั่งตะวันตกของภาคใต้
    จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ
    แม่น้ำในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆไหลจากเทือกเขาลงสู่ทะเล ที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำโก-ลก
    ซึ่งกั้นพรมแดนไทยกับมาเลเซียในจังหวัดนราธิวาส แม่น้ำกระบุรี ซึ่งกั้นพรมแดนไทยกับพม่าในเขต
    จังหวัดระนอง แม่น้ำตาปี ในจังหวัดสุราษฎ์ธานี และแม่น้ำปัตตานี ในจังหวัดยะลาและปัตตานี
    -------------------------

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://202.29.138.73/studentweb/soc1/lesson2.html
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 23-01-2011 at 22:32.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •