หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 21

หัวข้อ: เจิ้งเหอ แม่ทัพเรือจีนมุสลิม

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ เจิ้งเหอ แม่ทัพเรือจีนมุสลิม

    เจิ้งเหอ แม่ทัพเรือจีนมุสลิม
    Zheng He หรือ Cheng Ho
    ค.ศ.1371-1433



    เจิ้งเหอ แม่ทัพเรือจีนมุสลิม



    เจิ้งเหอ (Zheng He หรือ Cheng Ho) (ค.ศ.1371-1433) เป็นผู้บัญชาการกองเรือมหาสมบัติของจีนสมัย ราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644)


    ภูมิหลังเจิ้งเหอ

    เจิ้งเหอ เป็นคน ชนชาติหุย แซ่หม่า (มาจากคำภาษาอาหรับว่า มุฮัมหมัด) ซึ่งเป็นแซ่ของ ชาวหุย ส่วนใหญ่ หม่าเหอ เกิดในครอบครัวมุสลิม ที่เมืองคุนหยาง มณฑล ยูนนาน เขาเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1371 (พ.ศ.1914) ในต้นราชวงศ์หมิง เป็นลูกหลานชั้นที่หกของ ซัยยิด อัจญาล ชัมสุดดีน อุมัร (Sayyid Ajjal Shams al-Din Omar) แม่ทัพของกองทัพมองโกล จากบุคอรอ เอเชียกลาง (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน) ซึ่งเป็นผู้ปกครองมณฑลเสฉวนและยูนนานผู้ลือนาม เจิ้งเหอมีพี่ชาย 1 คน พี่สาว 1 คน และน้องสาว 3 คน บิดาของเจิ้งเหอมีนามว่า หม่าฮายี หรือ ฮัจญีหม่า (Ma Hazhi หรือ Ma Haji)
    เมื่อหม่าเหออายุได้ 11 ปี ตรงกับช่วงที่กองทัพของ จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิ หมิงไท่จู่ (ชื่อรัชกาล หงอู่) ปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์หมิง นำกำลังทัพเข้ามาปราบปรามที่มั่นสุดท้ายของพวกเชื้อสายมองโกลที่ยังหลงเหลืออยู่ที่ยูนนาน และยึดครองยูนนานเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรหมิงได้สำเร็จในปีค.ศ.1382 ในเวลานั้นเด็กชายหม่าเหอผู้มีเชื้อสายจากเอเชียกลาง ถูกจับกลับไปยังเมืองหลวง และถูกตอนเป็นขันทีมีหน้าที่รับใช้เจ้าชายจูตี้
    หม่าเหอมีความสามารถสูง เฉลียวฉลาด ได้รับความไว้วางใจอย่างสูง กระทั่งต่อมาได้กลายเป็นแม่ทัพคู่ใจของเจ้าชายจูตี้ ในการทำศึกรบพุ่งกับกองทหารมองโกลทางตอนเหนือ หม่าเหอมีส่วนสำคัญช่วยให้จูตี้ได้รับชัยชนะขึ้นสู่บัลลังก์เป็นจักรพรรดิ หมิงเฉิงจู่ (ค.ศ.1403-1424) จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์หมิง

    จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ตั้งให้หม่าเหอเป็นหัวหน้าขันที และพระราชทานแซ่เจิ้งให้ เรียกว่า เจิ้งเหอ แต่ชื่อที่รู้จักกันดีก็คือ ซันเป่ากง หรือ ซำปอกง ตามบันทึกในประวัติศาสตร์จีน

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ เจิ้งเหอ แม่ทัพเรือจีนมุสลิม

    เจิ้งเหอ แม่ทัพเรือจีนมุสลิม



    ภายหลังการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ได้เพียงปีเดียว จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ก็มีบัญชาให้สร้างกองเรือสินค้า เรือรบ และเรือสนับสนุน เพื่อไปเยือนเมืองท่าต่างๆ ในทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย นับเป็นกองเรือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ชาติจีนและของโลกในยุคนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการออกไปแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าและเครื่องราชบรรณาการจากรัฐต่างๆ อันจะสร้างความมั่งคั่งให้กับราชสำนักหมิง และความสันติสุขในบรรดาประเทศทางตอนใต้
    ทั้งนี้ จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ทรงมอบภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ให้กับเจิ้งเหอ ในการควบคุมการก่อสร้างกองเรืออันยิ่งใหญ่ และเป็นแม่ทัพผู้บัญชาการสูงสุด ยาตราไปบนผืนท้องสมุทร ในฐานะที่เป็นตัวแทนแห่งองค์จักรพรรดิมังกร การเดินทางสำรวจทางทะเลของเจิ้งเหอถูกบันทึกไว้โดย มุฮัมหมัด หม่า ฮวน หรือ มุฮัมหมัด ฮาซัน หนุ่ม จีนมุสลิม จากชนชาติหุย ชนชาติเดียวกับเจิ้งเหอ เขาสามารถพูดภาษาอาหรับได้ และเป็นล่ามให้เจิ้งเหอ เขาบันทึกการสำรวจทะเลของเจิ้งเหอในหนังสือชื่อ ยิงใยเช็งลัน หรือ การสำรวจชายฝั่งมหาสมุทร (Ying yai sheng lan หรือ The Overall Survey of the Ocean's Shores)


    เจิ้งเหอ แม่ทัพเรือจีนมุสลิม



    เส้นทางเดินเรือ

    เส้นทางเดินเรือของเจิ้งเหอเริ่มต้นที่นครนานจิง จากนั้นแวะไปยังเมืองเหล่านี้คือ จามปา (Champa ตอนกลางของเวียดนาม) กัมพูชา (Cambodia กัมพูชา) สยาม (Siam ประเทศไทย) มะละกา (Malacca มาเลเซีย) ปาหัง (มาเลเซีย) กลันตัน (Kelantan มาเลเซีย) บอร์เนียว (Borneo เกาะบอร์เนียว หรือกาลิมันตัน) มัชฌปาหิต (Majapahit อาณาจักรฮินดูบนเกาะชวา อินโดนีเซีย) ซุนดา (Sunda เกาะชวา อินโดนีเซีย) ปาเล็มบัง (Palembang เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย) เซมูดารา (Semudara เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย) Aru (อินโดนีเซีย) แลมบรี (Lambri อินโดนีเซีย) Lide (อินโดนีเซีย) Batak (อินโดนีเซีย) ศรีลังกา (Ceylon) มัลดีฟส์ (Maldives มัลดีฟส์) กาลิกัท (Calicut อินเดีย) คีลอน (Quilon อินเดีย) มะละบาร์ (Malabar อินเดีย) ฮอร์มุซ (Hormuz เปอร์เซีย ปัจจุบันอยู่ใน อิหร่าน) โดฟา (Dhofar) เอเดน (Aden เยเมน) ซานา (Sana) มักกะฮฺ (Mecca ซาอุดิอารเบีย) มากาดิซู (Magadishu) บราวา (Brawa โซมาเลีย) มาลินดิ (Malindi เคนยา)



    :heart:

  3. #3
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ เจิ้งเหอ แม่ทัพเรือจีนมุสลิม

    เปรียบเทียบกองเรือของเจิ้งเหอกับกองเรือของนักสำรวจชาวตะวันตก


    เจิ้งเหอ แม่ทัพเรือจีนมุสลิม


    เรือมหาสมบัติ หรือ เป่าฉวน อันเป็นเรือธงของเจิ้งเหอนั้น ตามบันทึกในสมัยราชวงศ์หมิงระบุว่า มีขนาดความยาวถึงลำละ 400 ฟุต กว้าง 160 ฟุต มี 9 เสากระโดงเรือ ในขบวนกองเรือประกอบไปด้วยเรือเสบียง เรือกำลังพล เรือรบ ฯลฯ รวมกว่า 300 ลำ ลูกเรือเกือบ 28,000 ชีวิต

    หากนำเรือมหาสมบัติของจีนมาเปรียบเทียบกับเรือ ซานตา มาเรีย (Santa Maria) หรือเรือธงของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักเดินเรือชาวอิตาลี ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ค้นพบโลกใหม่คือทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ.1492 ซึ่งห่างจากปีที่กองเรือของเจิ้งเหอออกสำรวจมหาสมุทรครั้งแรกถึง 87 ปี เรือซานตา มาเรียของโคลัมบัส วีรบุรุษผู้ค้นพบโลกใหม่ ยังเล็กกว่าเรือมหาสมบัติของจีนถึง 4 เท่า โดยมีความยาวเพียง 85 ฟุต กว้าง 20 ฟุต มีกองเรือติดตาม 3 ลำ และลูกเรือ 87 คน

    ต่อมาในปี ค.ศ.1498 วาสโก ดา กามา (Vasco Da Gama) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ได้ล่องเรืออ้อมแหลมกูดโฮปที่อาฟริกาใต้มาจนถึงชายฝั่งตะวันออก ระหว่างการเดินเรือไปยังอินเดียได้เป็นผลสำเร็จ กองเรือของเขาก็มีความยาวเพียง 85-100 ฟุต และลูกเรือ 265 คนเท่านั้น และในปี ค.ศ.1521 เฟอร์ดินันด์ แมคแจลลัน (Ferdinand Magallan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส เดินเรือมาถึงทะเลจีนใต้ ด้วยการเดินเรือมาทางตะวันตกเป็นครั้งแรก กองเรือของเขามีความยาวเพียง 100 ฟุต และมีลูกเรือเพียง 160 คน เท่านั้น

  4. #4
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ เจิ้งเหอ แม่ทัพเรือจีนมุสลิม

    สินค้าและเครื่องบรรณาการ


    เจิ้งเหอ แม่ทัพเรือจีนมุสลิม


    กองเรือมหาสมบัติบรรทุกสินค้าเลื่องชื่อของจีน เช่น กระเบื้องลายคราม ผ้าไหม เครื่องเขิน และสิ่งของมีค่าต่างๆ เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าต่างแดนที่ประเทศจีนต้องการ เช่น งาช้าง นอแรด กระดองกระ ไม้หายาก เครื่องหอมเช่น กำยาน ยา ไข่มุก และหินมีค่าต่างๆ พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการจากผู้ครองดินแดนต่างๆ กลับมาถวายแด่องค์จักรพรรดิที่นครนานจิง นอกจากนี้ยังนำสัตว์ต่างถิ่น เช่น สิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ (โดยบอกว่าเป็น กิเลน สัตว์มงคลในเทพนิยายจีน) กลับไปถวายด้วย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบมาก และกลายเป็นของแปลกและน่าตื่นเต้นสำหรับชาวจีนที่พบเห็นเป็นครั้งแรก

    ที่เมืองท่าของอาหรับ ชาวจีนมีความสนใจด้านยาและการบำบัดโรคของชาวอาหรับเป็นพิเศษกว่าอย่างอื่น หลังจากมีการพิมพ์หนังสือทางการแพทย์อาหรับในประเทศจีนที่ชื่อว่า หุยเหยาฟัง หรือ ตำรับยาชาวหุย หรือ ตำรับยาชาวจีนมุสลิม (Hui yao fang) ชาวจีนได้แลกเปลี่ยนผ้าไหมและเครื่องลายครามของตน กับสินค้าของพ่อค้าอาหรับดังต่อไปนี้คือ

    1. ว่านหางจระเข้ ซึ่งใช้สำหรับทำความสะอาดและเป็นยาบำรุงกำลัง
    2. myrrh เป็นยางไม้มีกลิ่นหอม เป็นยากันบูดของชาวอียิปต์โบราณ ที่ชาวจีนเชื่อว่าทำให้เลือดไหลเวียนดี ร่างกายกระปรี้กระเปร่าขึ้น
    3. benzoin ยางไม้เหนียวกลิ่นหอมช่วยให้หายใจสะดวก
    4. storax ยาแก้อักเสบ
    5. mubietzi ยาสมุนไพรแก้แผลเปื่อย

  5. #5
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ ลักษณะกองเรือมหาสมบัติ 1

    ลักษณะกองเรือมหาสมบัติ 1



    เรือมหาสมบัติ ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือหลงเจียง (Longjiang) เมืองนานจิง อดีตเมืองหลวงอันเก่าแก่ของจีน การต่อเรือไม้ที่หลงเจียงเริ่มต้นด้วยการวางตำแหน่งตัวลำเรือ และฝากั้นช่องเรือมีระยะห่างเป็นระเบียบเท่าๆ กัน ตัวลำเรือถูกปิดด้วยแผ่นกระดานรูปตัดทางยาวที่วางเหลื่อมกันเป็นชั้นๆ เสากระโดงจะถูกวางอย่างมั่นคงอยู่บนหัวเรือ เรียกว่า "mao tan" (หรือแท่นบูชาสมอเรือ) แผ่นกระดานถูกตอกหมันเรือให้ยึดกันไว้ด้วยเส้นใยปอกระเจา และใช้ปูนขาวและน้ำมันตังอิ๋วชโลมซ้ำเข้าไปอีกที ตะปูเหล็กที่ใช้ตอกแผ่นกระดานก็ถูกชโลมน้ำมันด้วยเพื่อป้องกันสนิมที่จะทำลายใยไม้ .

    ส่วนผสมของน้ำมันตังอิ๋วนั้นเริ่มแรกต้องเคี่ยวบนไฟให้งวด และแข็งตัวพอสมควรเพื่อชโลมกันน้ำรั่วซึมตัวเรือ ซึ่งชาวจีนรู้จักใช้สิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ในขณะที่เรือที่แล่นในมหาสมุทรอินเดียโดยทั่วไปสมัยนั้น ใช้โคลนและมันหมูในการยึดแผ่นกระดานเรือเข้าด้วยกัน เมื่อใช้ไปนานๆ แผ่นกระดานเรือจะแยกออกจากกัน ทำให้เรือรั่วเสียหายได้ง่าย

    เสากระโดงเรือสำเภาของจีนโดยทั่วไปจะทำมาจากไม้เฟอร์ (fir) ที่แข็งแรง ไม้ shanmu ไม้ที่ใช้ทำตัวเรือและฝากั้นช่องในเรือทำจากต้นเอล์ม (elm) ไม้การบูร ไม้ sophora หรือไม้ nanmu ซึ่งเป็นไม้สนซีดาร์ (cedar) ชนิดพิเศษจากมณฑลเสฉวน (Sichuan) หางเสือทำจากไม้ต้นเอล์ม ส่วนคันหางเสือหรือพังงาทำมาจากไม้โอ๊ค กรรเชียงเรือทำมาจากไม้เฟอร์ ไม้ juniper ซึ่งเป็นไม้จำพวกสน และไม้ catalpa

  6. #6
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ ลักษณะกองเรือมหาสมบัติ 2

    ลักษณะกองเรือมหาสมบัติ 2


    อู่ต่อเรือที่หลงเจียงแบ่งห้องเก็บของเป็น 10 แถวๆ ละ 60 ห้อง ซึ่งใช้สำหรับเก็บวัสดุที่ใช้สำหรับต่อเรือของกองเรือมหาสมบัติ ซึ่งมีทั้งแผ่นกระดานจากซากเรือเก่าๆ ที่กู้ขึ้นมาด้วย
    เรือเหล่านี้มีหัวเรือเรียว แหลมราวกับมีด ที่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมขนาดใหญ่ได้ ส่วนตัวเรือจะบานออกมีดาดฟ้ายื่นออกมา กระดูกงูเรือออกแบบเป็นรูปตัววี (V) เพื่อให้เรือไม่โคลง หัวเรือสูง เรือมี 4 ชั้น ชั้นล่างสุดบรรจุด้วยหินและดินเพื่อถ่วงน้ำหนักของเรือไม่ให้โคลง ชั้นที่สอง สำหรับเป็นที่พักลูกเรือและห้องเก็บของ ชั้นที่สามเป็นครัวกลางแจ้ง ห้องอาหารและหอบังคับการเดินเรือ ชั้นที่สี่เป็นชั้นสำหรับกองปฏิบัติการเดินเรือ หัวเรือมีความแข็งแรงมากและถูกใช้สำหรับดันเรือเล็ก นอกจากนี้ได้ออกแบบมาเพื่อให้ต้านทานแนวปะการังซึ่งมีอยู่มาก และทำอันตรายต่อเรือมานักต่อนักแล้วในแถบทะเลจีนใต้
    ความแข็งแกร่งของเรือมหาสมบัติส่วนหนึ่ง มาจากการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ของชาวจีนเอง ช่องตรงกราบเรือใช้ลำไผ่หลายต้นอัดเข้าไปเพื่อกันน้ำรั่วซึม เรือมหาสมบัติได้ออกแบบหางเสือให้มีดุลยภาพและสามารถยกขึ้นหรือลงได้ ทำให้เรือทรงตัวได้ดีขึ้นเหมือนเป็นกระดูกงูเรืออีกอันหนึ่ง หางเสือชนิดพิเศษที่ทำให้เรือทรงตัวดีขึ้นนี้ถูกวางไว้หัวเรือ เพื่อทำให้เรือลำใหญ่ๆ เหล่านี้ถือหางเสือได้ง่ายขึ้น ในขณะที่ชาวยุโรปรู้จักใช้การแบ่งกราบเรือเป็นช่องและหางเสือที่มีดุลยภาพนี้ในราวตอนปลายศตวรรษที่ 18 หรือต้นศตวรรษที่ 19
    เรือมหาสมบัติมีเสากระโดงเรือ 9 ต้น ใบเรือเป็นรูปสี่เหลี่ยมทำด้วยผ้าไหม 12 ใบ ทำให้ใช้ประโยชน์จากแรงลมได้ดีที่สุดและมีความเร็วกว่าเรือสำเภาปกติของจีน ทั้งๆ ที่เรือมหาสมบัติที่บรรทุกปืนใหญ่ 24 กระบอกที่มีความยาวกระบอกละ 8-9 ฟุต นี้ไม่ได้ถือเป็นเรือรบ และไม่มีดาดฟ้าเรือใหญ่ๆ เพื่อการต่อสู้ ในทางกลับกัน เรือมหาสมบัติถูกออกแบบมาให้เป็นเรือที่หรูหรา มีห้องโถงใหญ่สำหรับไว้ต้อนรับอาคันตุกะของพระจักรพรรดิ ห้องโถงที่มีหน้าต่างและแบ่งเป็นช่องๆ ประดับประดาด้วยระเบียงและราวซี่ลูกกรงที่สวยงาม ที่เก็บสินค้าในเรือเต็มไปด้วยผ้าไหมราคาแพงและเครื่องลายครามสำหรับแลกเปลี่ยนกับประเทศต่างแดน

  7. #7
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ ลักษณะกองเรือมหาสมบัติ 3

    ลักษณะกองเรือมหาสมบัติ 3


    ตัวลำเรือได้รับการแกะสลักและวาดลวดลายอย่างงดงาม บริเวณหัวเรือถูกประดับด้วยหัวสัตว์ และวาดลวดลายเป็นตามังกร ตัวลำเรือวาดลวดลายมังกรและนกอินทรีเพื่อความเป็นสิริมงคล บริเวณท้องเรือบรรจุด้วยปูนขาว ผ้าสักหลาดมีขนข้างเดียวถูกเก็บไว้บริเวณแนวเรือที่ขนานกับน้ำทะเล ในจำนวนเรือ 317 ลำนั้นไม่แน่ว่าจะมีเรือขนาดใหญ่กี่ลำที่พระจักรพรรดิสั่งให้ต่อที่นานจิงช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ.1405 ดังที่ Lou Maotang นักประพันธ์ชาวจีนเคยตั้งข้อสังเกตไว้ใน San Bao taijian Xiyang ji tongsu yanyi วรรณกรรมที่เขาประพันธ์ขึ้นในศตวรรษที่ 16 เกี่ยวกับสมุทรยาตราของเจิ้งเหอว่า ในกองเรือมหาสมบัติอาจมีเรือขนาดใหญ่เพียง 4 ลำ คือสำหรับแม่ทัพเจิ้งเหอ และรองแม่ทัพของเขาเท่านั้น

    จากรายงานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่า กองเรือมหาสมบัติประกอบด้วยเรืออีกหลายชนิดและหลายขนาด เรือขนาดใหญ่รองลงมาจาก เรือมหาสมบัติ คือ เรือบรรทุกม้า ที่มีเสากระโดงเรือ 9 ต้น มีขนาดยาว 339 ฟุตและกว้าง 138 ฟุต เรือเหล่านี้ใช้บรรทุกม้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าระดับประเทศ นอกจากนี้ สินค้าของวังหลวงและวัสดุก่อสร้างนั้น เป็นสิ่งจำเป็นในการซ่อมแซมเรือกลางมหาสมุทร

    นอกจากนี้มี เรือบรรทุกสัมภาระ ที่มีเสากระโดงเรือ 7 ต้น มีความยาวของตัวเรือ 257 ฟุตและกว้าง 115 ฟุต เป็นเรือบรรทุกอาหารสำหรับลูกเรือที่มีจำนวนมากถึง 28,000 คนในการสำรวจบางครั้ง เรือขนาดเล็กลงมาเป็น เรือลำเลียงทหาร ซึ่งมีเสากระโดงเรือ 6 ต้น ลำตัวเรือยาว 220 ฟุตและกว้าง 83 ฟุต ใช้ในการขนส่งกองทหาร นอกจากนี้ยังมีเรือรบ 2 แบบ แบบแรก มีเสากระโดงเรือ 5 ต้น ขนาดตัวเรือยาว 165 ฟุต ส่วนแบบที่สองจะเล็กกว่าแต่แล่นใบเร็วกว่าจะมีความยาว 120-128 ฟุต ไว้จัดการกับโจรสลัดในท้องทะเล
    มีการสร้างถังบรรจุน้ำขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับลูกเรือของกองเรือมหาสมบัติใช้ดื่มกินเป็นระยะเวลา 1 เดือนหรือมากกว่า ซึ่งถือเป็นกองทัพเรือรายแรกของโลกที่มีการเตรียมการณ์พร้อมเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม โดยปกติกองเรือจะพยายามหยุดที่ท่าเรือทุกๆ 10 วันเพื่อเติมน้ำ ซึ่งคาดว่าในการสำรวจทะเลครั้งใหญ่ต่อๆ มา คงแวะประมาณ 20 ครั้งหรือมากกว่า

  8. #8
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    การสื่อสารในกองเรือ

    การสื่อสารในกองเรือ


    การสื่อสารในท้องทะเลระหว่างเรือลำต่างๆ ของกองเรือมหาสมบัติทำได้ด้วยระบบเสียงและแสงที่ประณีตมาก เรือทุกลำจะมีธงใหญ่หนึ่งผืน ระฆังเตือนสัญญาณ ธงสีต่างๆ 5 ผืน กลองใหญ่ 1 ลูก ฆ้องหลายลูก และโคมไฟ 10 อัน สัญญาณเสียงใช้เพื่อออกคำสั่งบนเรือ ใช้กลองในการเตือนเรือลำอื่นๆ สำหรับหลบภัยจากพายุ ใช้โคมไฟเป็นสัญญาณยามค่ำคืนหรือยามอากาศขมุกขมัว ใช้นกพิราบสำหรับการสื่อสารทางไกล เรือแต่ละลำจะปักธงสัญญาณสีต่างๆ กันเพื่อแยกความแตกต่าง และธงดำที่มีตัวอักษรขาวจะบ่งบอกว่าเรือลำนั้นอยู่ในกองใด หมวดใด



    การบัญชาการในกองเรือและขบวนลูกเรือ


    ในกองเรือนอกจากมีมหาขันทีเจิ้งเหอผู้เป็นผู้บัญชาการกองเรือแล้ว มีขันทีอีก 7 คนเป็นตัวแทนของพระจักรพรรดิและเป็นคณะทูตของประเทศ ขันที 10 คนเป็นผู้ช่วยฑูต และขันทีอีก 52 คนทำงานด้านอื่น การบัญชาการทัพเรือยังมีนายพลเรือ 2 นาย ดูแลกองเรือทั้งหมด มีผู้บังคับกองพล 93 นาย ผู้บังคับกองพัน 104 นาย และผู้บังคับกองร้อย 103 นาย .

    กัปตันเรือแต่ละลำได้รับการแต่งตั้งจากพระจักรพรรดิและมีอำนาจที่จะ สั่งเป็นสั่งตายได้ เพื่อความเป็นระเบียบของกองเรือ นอกจากนี้ในกองเรือยังมีเลขานุการ 2 คนเป็นผู้ดูแลด้านเอกสาร เลขานุการอาวุโสคนหนึ่งมาจากกรมพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นกรมที่ต้องจัดหาข้าวสารและฟางหรือหญ้าแห้งสำหรับกองเรือ มีเจ้าหน้าที่จากกรมการศาสนา 2 คนมาดูแลด้านพิธีการทูต มีโหร 1 คนสำหรับทำนายและพยากรณ์ดินฟ้าอากาศ ดูปฏิทินและอธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีอาจารย์อีก 10 คน ผู้รู้หนังสือต่างประเทศ มาเป็นล่ามบนเรือ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีล่ามภาษาอาหรับ และผู้ที่รู้ภาษาเอเชียกลาง (เตอร์ก - เปอร์เซีย)รวมอยู่ด้วย

    กองเรือมีหมอและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 180 คนเพื่อเก็บรวมรวบสมุนไพรจากต่างแดน มีสัดส่วนเจ้าหน้าที่การแพทย์ 1 คนต่อลูกเรือ 150 คน นอกจากนี้ยังมีช่างฝีมือด้านต่างๆ ไว้ซ่อมแซมเรือหากมีปัญหากลางทะเล ลูกเรือทุกคนตั้งแต่ระดับต่ำสุดจนถึงสูงสุด จะได้รับรางวัลเป็นเงินทอง และเสื้อผ้าจากพระจักรพรรดิเมื่อเดินทางกลับถึงเมืองจีน พวกเขาและครอบครัวจะได้รับรางวัลเป็นพิเศษ หากเสียชีวิตลงหรือบาดเจ็บระหว่างการเดินทาง

  9. #9
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ สมุทรยาตราทั้ง 7 ครั้ง ครั้งที่ 1

    สมุทรยาตรา ครั้งที่ 1


    การเดินเรือทั้ง 7 ครั้งของเจิ้งเหอมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    1) ครั้งที่ 1 (ค.ศ.1405-1407 /พ.ศ.1948-1950) เจิ้งเหอเป็นผู้บัญชาการ มีขันที หวังจิ่งหง (Wang Jing hong) เป็นรองแม่ทัพ [4] กองเรือจำนวน 317 ลำ พร้อมด้วยลูกเรือ 27,870 ชีวิต จอดแวะที่จามปา (เวียตนาม) มัชฌปาหิต บนเกาะชวา และเซมูดารา ปาเล็มบัง และ Deli ชายฝั่งด้านเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นได้เดินเรือไปถึงศรีลังกา และเมืองท่ากาลิกัท ประเทศอินเดีย ซึ่งเรียกกันว่า ประเทศที่ยิ่งใหญ่แห่งมหาสมุทรตะวันตก (the Great Country of the Western Ocean) กองเรือของเจิ้งเหอได้ปราบปรามกลุ่มโจรสลัดที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินเรือบริเวณช่องแคบมะละกา และจับหัวหน้าโจรสลัดซึ่งเป็นคนจากมณฑลกวางตุ้งนาม เฉินจู่อี้ (Chen Zuyi ) มาสำเร็จโทษที่นครนานจิง
    เจิ้งเหอไม่พบร่องรอยของอดีตจักรพรรดิหมิงฮุ่ยตี้ที่สันนิษฐานว่า อาจหลบหนีมาอยู่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในปี ค.ศ.1407 จีนได้เข้ารุกรานอันนาม (Annam) หรือเวียดนามเหนือ และยึดครองอยู่จนถึงปี ค.ศ.1427

  10. #10
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ สมุทรยาตราทั้ง 7 ครั้ง ครั้งที่ 2

    สมุทรยาตราทั้ง 7 ครั้ง ครั้งที่ 2


    2) ครั้งที่ 2 (ค.ศ.1407-1409 / พ.ศ.1950-1952) เจิ้งเหอเป็นผู้บัญชาการ มีขันทีหวังจิ่งหงเป็นรองแม่ทัพ รวมทั้ง หู เซียน (Hou Xian) [5] คาดว่าในการเดินเรือครั้งนี้ กองเรือของเจิ้งเหอได้นำตัวฑูตอยุธยาที่เดินทางไปยังราชสำนักหมิงด้วยตัวเองก่อนหน้านี้กลับไปส่งที่เมืองอยุธยาด้วย นอกจากนี้เจิ้งเหอได้แต่งตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ของเมืองกาลิกัท ในการเดินเรือครั้งที่ 2 นี้ กองเรือจอดแวะที่จามปา สยาม (อยุธยา) มัชปาหิต (Majapahit) บนเกาะชวา และเซมูดารา และ Deli ชายฝั่งด้านเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นได้เดินเรือไปถึงศรีลังกา และเมืองท่ากาลิกัท ประเทศต่างๆ ส่งบรรณาการที่มีค่า รวมทั้งนกและสัตว์หายาก
    เชื่อกันว่า การเข้ามาถึงสยามหรือกรุงศรีอยุธยาของกองเรือเจิ้งเหอในปีนั้น ทำให้มีการเปลี่ยนราชวงศ์ของอยุธยา เจ้านครอินทร์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ผู้เคยไปเยือนและพำนักในราชสำนักหมิงนับปี ก้าวขึ้นมาเป็นกษัตริย์อยุธยาแทนสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งราชวงศ์อู่ทอง ซึ่งปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในขณะนั้น

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •