งูมีพิษของเมืองไทย




ปัจจุบันพิษของงูที่นำมาผลิตเซรุ่มมี 6 ชนิดด้วยกันคือ งูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูแมวเซา งูกะปะ และงูเขียงหางไหม้ พิษของงูต่างๆ เหล่านี้ได้นำมาผ่านกรรมวิธีการทำเซรุ่ม เพื่อรักษาผู้ที่ถูกงูกัด พิษงูแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน การรักษาจึงต้องตรงกับประเภทของงูที่กัด เซรุ่มแก้พิษงูจึงแยกออกเป็นประเภทของงูต่างๆ แต่ละชนิดออกไป



งูเห่า (Naja kaouthia)
เป็นงูที่มีพิษมาก รุนแรงถึงชีวิต มีความยาวประมาณตั้งแต่ 1 - 2.24 เมตร และมีอยู่ชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย เมื่อตกใจจะเผ่นหนี และพ่นลมออกมาดังฟู่ฟู่ คล้ายเสียงขู่จึงเรียกว่า งูเห่า กินหนู กบ เขียด นก ลูกเป็ด ลูกไก่ เป็นอาหาร


งูมีพิษของเมืองไทย




งูสามเหลี่ยม (Bungarus fasciatus)
เป็นงูที่มีอำนาจพิษรุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิต ขนาดความยาวของลำตัวอยู่ช่วง 1-1.8 เมตร มัแนวกระดูกสันหลังยกเป็นสันสูงคล้ายสามเหลี่ยม สีลำตัวเป็นปล้องดำสลับเหลืองปลายหางกุด ปราดเปรียวในเวลากลางคืนเมื่อออกหากิน กินงูขนาดเล็ก กบ เขียด เป็นอาหาร


งูมีพิษของเมืองไทย




งูจงอาง (Ophiophagus hannah)
เป็นงูที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ที่เคยพบยาวเกือบ 6 เมตร ลักษณะคล้ายงูเห่า แต่โตกว่ามาก เป็นงูพิษที่มีนิสัยค่อนข้างดุ สามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า งูจงอางเป็นงูที่กินงูด้วยกัน และสัตว์จำพวกตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแก เป็นอาหาร


งูมีพิษของเมืองไทย




งูกะปะ (Calloselasma rhodostoma)
เป็นงูพิษขนาดเล็ก ความยาวลำตัวสูงสุดประมาณ 84 เซนติเมตร หัวเป็นรูปสานเหลี่ยมคอคอดเล็ก ตัวสีน้ำตาลแดง ลายรูปสามเหลี่ยมเปียกปูนสีน้ำตาลเข้มปนดำ เวลาถูกรบกวนจะแผ่ลำตัวแบนราบกับพื้น ฉกกัดได้รวดเร็ว กินหนู กินกบ เขียด เป็นอาหาร


งูมีพิษของเมืองไทย



งูแมวเซา (Daboia ruamensis)
เป็นงูที่มีอำนาจพิษรุนแรง กัดแล้วทำให้มีเลือดออกในอวัยวะภายใน ต่างๆ ลักษณะตัวอ้วนสั้น ลำตัวประมาณ 0.9-1.5 เมตร หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม ลำตัวพื้นสีน้ำตาลอ่อน และมีวงสีน้ำตาลเข้ม เมื่อถูกรบกวนจะพ่นลมออกมาทางจมูก งูชนิดนี้ฉกได้ว่องไวมาก กินหนูและนกเป็นอาหาร


งูมีพิษของเมืองไทย



งูเขียวหางไหม้ (Trameresurus)
เป็นงูที่มีพิษ ลำตัวสีเขียวและหางแดง ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ชอบอาศัยและหากินอยู่บนต้นไม้ ชอบเลื้อยปีนป่ายตามต้นไม้ กิ่งไม้ หางซึ่งพัฒนาเป็นพิเศษ ใช้เกาะยึดและเหนี่ยวตัวได้อย่างเหนียวแน่น กินหนู กบ เขียด ลูกนกเป็นอาหาร


งูมีพิษของเมืองไทย



การปฐมพยาบาลผู้ถูกงูกัด
ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ เพื่อดูว่ามีรอยเขี้ยวพิษงูหรือไม่ ถ้าเป็นงูพิษจะมีรอยเขี้ยวเป็นรอยลึก 1 -2 รอย ถ้ากัดครั้งเดียว
เมื่อพบว่าเป็นรอยเขี้ยว ให้ใช้ผ้าพันแผลหรือผ้าพันเคล็ดชนิดยืดหยุ่นได้ พันจากแผลแล้วพันต่อจนถึงข้อต่อ และหาไม้กระดานมาดาม และพันด้วยผ้าพันแผลทับอีกครั้ง เพื่อให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้น้อยที่สุด จากนั้นให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ที่อยู่ใกล้ที่สุด